พลิกหลังกล่องก่อนซื้อสกินแคร์ วิธีอ่านส่วนผสมบนฉลากแบบเข้าใจง่ายๆ ฉบับหมอผิวหนัง | Jeban x SkinX
by
DaisyOfficial
เทคนิคเลือกสกินแคร์ตามส่วนผสม
เริ่มจากการดูว่าสารที่ใช้เป็นส่วนผสมนั้น ตอบโจทย์สภาพผิว หรือปัญหาผิวของเราหรือไม่ เช่น ถ้าเรามีปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ ควรมองหาส่วนผสมกลุ่ม Whitening แต่ถ้าต้องการเพิ่มความชุ่มชื้น ควรเลือกสารในกลุ่มมอยส์เจอไรเซอร์ ที่ช่วยเติมน้ำให้ผิว
นอกจากสารที่เป็นส่วนผสมหลักแล้วยังมีสารที่มีฤทธิ์เสริม เช่น สารเคลือบผิวที่ช่วยลดการระเหยของน้ำ ทำให้สกินแคร์อยู่บนผิวได้นานยิ่งขึ้น เช่น กลีเซอรีน มิเนอรัลออยล์
วิธีเลือกซื้อสกินแคร์
- ประเมินประเภทผิวตัวเองก่อนว่าเราคือประเภทไหน
ก่อนซื้อสกินแคร์สักชิ้นต้องรู้จักผิวตัวเอง และประเมินผิวตัวเองก่อนว่าเป็นผิวประเภทไหน ทั้งผิวธรรมดา ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย ผิวผสม หรือผิวมัน เพื่อที่จะได้เลือก Skincare Routine ไม่ว่าจะเป็น โฟมล้างหน้า เซรั่ม มอยส์เจอไรเซอร์ หรือครีมกันแดด ให้เหมาะกับผิวหน้า - สังเกตปัญหาผิวของตัวเอง
ควรดูก่อนว่าเรามีปัญหาผิวแบบไหน เราเป็นสิวง่ายหรือไม่ เราผิวแพ้ง่ายหรือเปล่า หลังจากนั้นให้ดูว่าเรามีปัญหามีฝ้า กระ จุดด่างดำ หรือเปล่า เพื่อที่จะได้เลือกสกินแคร์ได้อย่างตรงจุดที่สุด
หลังกล่องสกินแคร์บอกอะไรบ้าง?
ผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั่วไปมักจะระบุส่วนประกอบ หรือ Active Ingredients ไว้ที่ด้านหลังกล่อง หรือบนบรรจุภัณฑ์
- ส่วนผสมจะเรียงตามเปอร์เซ็นต์ หรือปริมาณขอสารที่ใส่ โดยชื่อสารที่เรียงอยู่ลำดับแรกๆ จะมีปริมาณมากที่สุด
- มีสัญลักษณ์ อย. ที่ช่วยให้มั่นใจอีกระดับว่า มีส่วนผสมนั้นอยู่จริง และผลิตภัณฑ์นั้นมีความปลอดภัย
ส่วนผสม หรือสารไหนที่ควรระวังในการเลือกใช้?
ส่วนผสมที่ควรระวัง คือ กลุ่มที่ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของออยล์ ที่มีความเป็นไขมัน หรือน้ำมันค่อนข้างมาก อาจทำให้เกิดโอกาสอุดตันได้บ่อยกว่าสารที่มีน้ำเป็นส่วนผสม (Water base)
เช่น คนที่มีปัญหาผิวแห้ง หรือผิวแพ้ระคายเคืองง่าย อาจต้องเลือกตัวครีมที่มีความเหนียวข้นเพื่อช่วยเรื่องการเคลือบผิว และต้องระวังสารในกลุ่มน้ำหอม แอลกอฮอล์ ที่ทาไปแล้วทำให้รู้สึกเย็น และอาจเกิดอาการแสบบริเวณที่ทาได้
ส่วนผสมหรือสารไหนที่ใช้ได้ แต่คนมักเข้าใจผิด
สารที่คนมักเข้าใจว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และมักใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์บ่อยๆ คือ “พาราเบน” หรือที่คุ้นกันในชื่อสารกันเสีย แต่ในความเป็นจริง ตัวสารกันเสียนี้ มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแพ้ หรือกระตุ้นให้เกิดการแพ้น้อย แต่กลับกัน การที่ไม่ใส่พาราเบนลงในส่วนผสม ก็มีโอกาสทำให้เกิดการแพ้จากสารตัวอื่นได้เหมือนกัน
สัญลักษณ์ที่เป็นรูปตัวเลขที่หลังรูปกระปุกสกินแคร์คืออะไร?
ตัวเลขหลังกล่องนั้น เป็นตัวบอกเวลาหมดอายุหลังจากที่เราเปิดใช้สกินแคร์ตัวนั้นแล้ว ซึ่งตัวเลขจะบอกว่าหลังจากเปิดใช้แล้ว เราควรใช้ให้หมดในเวลากี่เดือน ซึ่งมักจะระบุเป็นเลข 6 เดือน หรือ 12 เดือน ซึ่งการบอกแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการแพ้ และระคายเคือง จากการใช้ครีมหมดอายุ
วิธีสังเกตสกินแคร์หมดอายุ
หากไม่แน่ใจให้สังเกตจาก สี กลิ่น หรือเนื้อสัมผัส ว่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้มาก่อนหรือไม่ ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจ หรืออยากลองใช้จริงๆ อาจลองทาครีมบริเวณท้องแขน แล้วสังเกตดูว่าเกิดอาการแพ้หรือมีความผิดปกติกับผิวหรือไม่
สกินแคร์ต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน?
ผิวหนังคนเรามีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม อากาศ และฮอร์โมนในร่างกาย ที่มีผลกระทบต่อผิว เช่นผิวหน้าที่เคยมัน อาจจะกลับมาแห้งได้ ดังนั้นสกินแคร์ที่ใช้ก็ควรเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพผิว และปัญหาผิวในช่วงนั้นๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้สกินแคร์ตัวเดียวไปตลอด ยกเว้นว่าเป็นตัวที่ใช้แล้วดี ก็สามารถใช้ได้เรื่อยๆ และปรับเปลี่ยนบางตัวใน Routine ให้เข้ากับผิวช่วงนั้นแทน
แต่ถ้าไม่รู้จะปรับใช้ส่วนผสมไหนดี สามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ให้ช่วยแนะนำว่าควรจะเริ่มยังไง โดยดูจากส่วนผสมที่ช่วยแก้ปัญหาผิวเพิ่มเติม แต่ต้องไม่เพิ่มโอกาสให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองตามมาได้
- วิธีการเลือกซื้อสกินแคร์ คือเริ่มจากประเมินประเภทผิวตัวเองว่าเราคือประเภทไหน และสังเกตปัญหาผิวของตัวเองว่าเรามีปัญหาผิวอะไร
- บนกล่องสกินแคร์จะระบุปริมาณของส่วนผสมที่มากที่สุดไว้ในลำดับแรกๆ และจะมีมีสัญลักษณ์ อย. ที่ช่วยให้มั่นใจอีกระดับว่ามีส่วนผสมนั้นอยู่จริง และมีความปลอดภัย
- พาราเบน หรือสารกันเสียคือสารที่คนมักเข้าใจว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แต่จริงๆ แล้วมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแพ้น้อย แต่กลับกันหากไม่ใส่พาราเบนก็มีโอกาสทำให้เกิดการแพ้จากสารตัวอื่นได้เช่นเดียวกัน
- วิธีสังเกตว่าสกินแคร์หมดอายุ ให้สังเกตจาก สี กลิ่น หรือเนื้อสัมผัส ว่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่เดิม ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจให้ลองทาครีมบริเวณท้องแขน แล้วสังเกตดูว่ามีความผิดปกติกับผิวหรือไม่
- สกินแคร์ควรเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม อากาศ และฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงให้เหมาะสมกับสภาพผิว และปัญหาผิวในช่วงนั้นๆ
มีเรื่องผิวกวนใจ ปรึกษาปัญหาด้านผิวหนัง ได้ทุกเรื่อง ได้ทุกที่
กับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ SkinX แอปพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์
ขอบคุณข้อมูล :
นายแพทย์พนด ชินพิพัฒน์ แพทย์ผิวหนังจากโรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี