คุณรู้จักผิวหนังดีแค่ไหน มาดูกัน...

5 1

    สวัสดีค่ะ วันนี้รินเซ่ขอนำเสนอเรื่องราวที่เราควรรู้ นั่นก็คือ เรื่องของผิวหนัง นั่นเอง ถ้าเราเข้าใจโครงสร้างของผิวหนัง ก็จะเป็นประโยชน์ ในการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจถึงวิธีการดูแลผิว ซึ่งรินเซ่จะบอกเล่าเรื่องราวโครงสร้างของผิวหนังให้เข้าใจง่ายดังนี้ค่ะ          อันดับแรกเลย ต้องบอกก่อนว่าผิวหนังของคนเราเรียกได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดที่ทำหน้าที่ควบคุมความร้อน และการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย และยังทำหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้สารแปลกปลอมจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย โดยโครงสร้างของผิวหนัง 

Image: “Layers of Skin” by Phil Schatz. License: CC BY 4.0 ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

2.ชั้นหนังแท้ (Dermis หรือ Corium)

3.ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Hypodermis หรือ Subcutaneous fat layer)

อื่นๆ จะเป็นส่วนที่ยื่นออกจากผิวหนัง (Skin appendage)

ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

            ชั้นนี้จะเป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของผิวเรา กระบวนการผลัดเซลล์หรือการเกิดขี้ไคลก็อยู่ในชั้นนี้นั่นเอง โดยชั้นหนังกำพร้านี้จะประกอบไปด้วยหลายชั้นย่อยอีก จำนวน 5 ชั้นย่อยดังนี้1.1 สตราตัมคอร์เนียม (stratum corneum หรือ honey layers)

1.2 สตราตัมลูซิดัม (stratum lucidum)

1.3 สตราตัมแกรนูโลซัม (stratum granulosum)

1.4 สตราตัมสไปโนซัม (stratum spinosum)

1.5 สตราตัมเบซาเล (stratum basale) 

Image: “Layers of the Epidermis” by Phil Schatz. License: CC BY 4.0

สตราตัมคอร์เนียม เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของผิวหนัง เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต ทำหน้าที่ในการเป็นตัวกั้นซึมผ่านของสาร ชั้นนี้จะมีการผลัดเซลล์อย่างต่อเนื่อง ออกเป็นเซลล์คอร์นีโอไซต์ (corneocyte) หรือเซลล์ขี้ไคลที่หลุดลอกออกไปนั่นเอง โดยกระบวนการผลัดเซลล์ผิวนั้นจะช่วยให้ผิวคงความชุ่มชื้นและมีสุขภาพดี กระบวนการสร้างเซลล์ผิวหนังจะเกิดจากชั้นผิวหนังด้านในสุด คือ ชั้นสตราตัมเบซาเล มีเซลล์ทำหน้าที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดหรือที่เรียกกันว่า "stem cell" ทำหน้าที่ในการ สร้างเซลล์ผิวขึ้นมาจากการแบ่งตัวของเซลล์ดันขึ้นมาเรื่อยๆ โดยจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากหลอดเลือดผ่านทาง เมมเบรนชั้นพื้น (basement membrane) และในชั้นนี้จะมีเมลานิน (melanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีจะสร้างขึ้นในเมลาโนไซต์ (melanocyte) โดยใช้ไทโรซิน (tyrosin) เราอาจจะได้ยินกันบ่อยๆ สำหรับสารให้ความขาวบอกว่าสารนั้นๆจะไปยั้บยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสไม่ให้สร้างไทโรซิน เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างเม็ดสี ก็จะทำให้ผิวขาวกระจ่างขึ้น กระบวนการดังกล่างเกิดในชั้นนี้นั่นเองค่ะ

ชั้นหนังแท้ (Dermis หรือ Corium)

          ชั้นนี้จะอยู่ถัดลงมาข้างในจากชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่มีความสำคัญอีกชั้นหนึ่ง เป็นแหล่งสารอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบค้ำจุนชั้นหนังกำพร้า โดยจะพบว่าชั้นนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น คอลลาเจน อีลาสติน กรดไฮยาลูโรนิก เซลล์ไฟโบรบลาสต์ ซึ่งเซลล์ส่วนใหญ่ในชั้นนี้ก็จะเป็นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (fibroblasts) ทำหน้าที่ในการสร้างส่วนประกอบต่างๆ อย่างคอลลาเจน (collagen) ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่เนื้อเยื่อผิวหนัง หากคอลลาเจนลดลงหรือเสื่อมสภาพมากก็จะทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอยและความย่อนคล้อยอีลาสติน (elastin) มีลักษณะยืดหยุ่นเหมือนยาง ทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นแก่เนื้อเยื่อผิวหนัง กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ช่วยเติมเต็มระหว่างคอลลาเจนกับอีลาสตินมีคุณสมบัติในการคงความชุ่มชื้นสูง ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้น 

Image: “Hair” by Phil Schatz. License: CC BY 4.0

ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Hypodermis หรือ Subcutaneous fat layer)

              เป็นผิวหนังชั้นลึกในสุดประกอบด้วยเซลล์ไขมัน ไฟโบรบลาสต์ และแมคโครฟาจ โปรตีนคอลลาเจน และหลอดเลือดต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงจำนวนมากซึ่งทำหน้าที่กักเก็บพลังงาน เป็นฉนวนร่างกายและปกป้องผิวจากแรงกระแทกภายนอก สุดท้ายจะเป็นส่วนที่ยื่นออกจากผิวหนัง (Skin appendage) ประกอบด้วย รูขุมขน (hair follicle) ติดอยู่กับต่อมไขมัน (sebaceous gland) ต่อมเหงื่อ (eccrine sweat gland) ต่อเหงื่อไร้ท่อ (apocrine sweat gland) และเล็บ          และทั้งหมดโครงสร้างผิวหนังทั้งมวลที่รินเซ่เอามาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะให้ผู้อ่านทุกท่านได้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างผิวกันมากขึ้นคราวนี้เราจะได้ดูแลผิวหนังทั้งหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ที่ล้วนแล้วแต่มีสารที่สำคัญและส่งผลต่อการนำไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องนั่นเอง


Rinzes

Rinzes

FULL PROFILE