ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ทันมะเร็งปากมดลูก ป้องกันง่ายกว่ารักษา
Speak Out 26 12“มะเร็ง” โรคร้ายที่เพียงได้ยินชื่อก็ผวากันหมดแล้ว แต่พอบอกว่า “มะเร็งปากมดลูก” สาวๆ หลายคนกลับรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว มันไม่เกิดขึ้นกับเราหรือคนที่เรารักหรอกน่า แต่สถิตินั้นบอกในทางตรงข้ามกับที่เรารู้สึกเลยนะ
รู้ไหมในทุกวันมีผู้หญิงไทย 12 คน เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก หรือคิดแบบรายชั่วโมง ในทุก 2 ชั่วโมง มีผู้หญิง 1 คน ถูกมะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิต
ทั้งที่สมัยนี้มีวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ง่ายมากแล้ว เรารู้แล้วด้วยว่าเจ้าไวรัสตัวร้าย สาเหตุสำคัญของโรคนี้มันอยู่ในตัวเรานี่เอง ส่วนการป้องกันนั้นแสนง่าย ง่ายกว่าการมารักษาตอนเกิดโรคร้ายแล้วหลายเท่าเลยล่ะ
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไรสาหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งติดต่อได้จากการที่มีเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสใกล้ชิดกัน ไวรัสนี้มักอยู่ในที่อับชื้น เช่น ที่กดชักโครก ที่รองนั่ง ก๊อกน้ำห้องน้ำสาธารณะ แต่เชื้อในที่สาธารณะมีโอกาสต่ำมากที่จะทำให้ติดเชื้อ การติดเชื้อเอชพีวีส่วนใหญ่เกิดจากเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสใกล้ชิดที่บริเวณอวัยวะเพศ และมะเร็งปากมดลูกอยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว
เชื่อไหม 80 % ของผู้หญิงเราเคยมีเชื้อ หรือกำลังมีเชื้อเอชพีวีอยู่ในร่างกาย โดยที่ไม่รู้ตัวเลย
เชื้อเอชพีวีก่อโรคได้ทั้งหญิงและชายไม่ได้เป็นภัยร้ายคุกคามเฉพาะผู้หญิง แต่เชื้อเอชพีวีที่มักไปก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก เสี่ยงทำให้เกิดโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
- ผู้หญิง เชื้อเอชพีวีทำให้เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนักและหูดหงอนไก่
- ผู้ชาย เชื้อเอชพีวีทำให้เสี่ยงมะเร็งองคชาต มะเร็งปากช่องคลอดและหลอดคอ มะเร็งทวารหนัก หรือหูดที่อวัยวะเพศ
ป้องกันง่ายกว่ารักษาหากป้องกันไวรัสเอชพีวีได้ หมายถึง การป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้นั่นเอง มีวิธีป้องกันได้ง่ายๆ 2 ทางคือ
- ป้องกันที่ต้นเหตุ ฉีดวัคซีนเอชพีวี เพื่อป้องกันต้นเหตุของมะเร็งที่เกิดจากเชื้อเอชพีวี
- สามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีได้ตั้งแต่อายุ 9 -15 ปี โดยฉีดเพียง 2 เข็ม ผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ฉีด 3 เข็ม แนะนำให้ฉีดในหญิงอายุ 9-26 ปี เด็กผู้ชายก็ฉีดได้ในช่วงอายุ 9- 26 ปีเช่นกัน
- ส่วนคนที่มีอายุเกิน 26 ปีแล้ว หรือเคยได้รับเชื้อมาแล้ว สามารถฉีดวัคซีนเพื่อการป้องกันโรคได้ แต่หากเคยติดเชื้อเอชพีวีแล้วอาจได้รับประโยชน์น้อยลง แต่ก็ยังควรหาทางป้องกันอยู่ดี
- คุณผู้ชายก็ฉีดได้เหมือนกันค่ะ ป้องกันมะเร็งในระบบสืบพันธ์และป้องกันโรคมาติดกับผู้หญิงด้วย
- รู้เร็ว รักษาได้เร็ว ตรวจภายในเป็นประจำ ผู้หญิงควรไปตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไปแนะนำการตรวจแป๊บเสมียร์เพื่อหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูก และผู้หญิงอายุ30ปีขึ้นไปแนะนำการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV DNA
หยุดมะเร็งปากมดลูก Stop Cervical Cancerข่าวดี ช่วงนี้ใครสนใจรับการตรวจและฉีดวัคซีน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จัดโครงการ “I Say Yes to Stop Cervical Cancer รวมพลังสร้างเกราะป้องกันต้านภัยมะเร็งปากมดลูก”เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธารวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งยากไร้และยังช่วยปกป้องหญิงไทยให้ปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก ผ่านการบริจาคสมทบทุนซื้อพวงกุญแจคีย์การ์ดที่ระลึก เพื่อรับสิทธิ์เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเชื้อไวรัสเอชพีวีรวมไปถึงรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ณ ศูนย์สุขภาพสตรีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้จัดทำพวงกุญแจคีย์การ์ดที่ระลึกทั้งหมด 3 แบบ
- พวงกุญแจคีย์การ์ดสีเขียว ราคา 790 บาทสามารถแลกรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1 ครั้ง
- พวงกุญแจคีย์การ์ดสีขาว ราคา 1,590 บาท สามารถแลกรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเชื้อไวรัสเอชพีวีดีเอ็นเอ 1 ครั้ง
- พวงกุญแจคีย์การ์ดสีทอง ราคา 1,990 บาทสามารถแลกรับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ 1 เข็ม
ใครสนใจสามารถเข้าไปรับชมคลิปรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง "มะเร็งปากมดลูกป้องกันง่ายกว่ารักษา" โดยความร่วมมือของสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ซึ่งคลิปนี้ได้เหล่านักแสดงชื่อดังและคุณหมอมาเล่าเรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เข้าใจง่ายมาก ดูแล้วรู้เลยว่า ป้องกันมะเร็งปากมดลูกแต่เนิ่นๆนั้น ง่ายกว่าการรักษาโรคมากมายแค่ไหน
สนใจร่วมบริจาคด้วยตนเองได้ที่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ หรือโอนเงินผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ชื่อบัญชี "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (โครงการ I Say Yes เพื่อผู้ป่วยยากไร้)" เลขที่บัญชี 407-649333-2 ใบเสร็จรับเงินจากการร่วมสมทบทุนซื้อพวงกุญแจคีย์การ์ดป้องกันมะเร็งปากมดลูกในโครงการ "I Say Yes to Stop Cervical Cancer" สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 2576 6833-36 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30กันยายน 2560 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ https://www.facebook.com/chulabhornhospital