5 เทคนิค กินแป้งได้ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน!

27 10

เพื่อนเคยมีปัญหาแบบญาดาบ้างมั้ย อยากผอมเลยไม่ยอมกินแป้ง เพราะกลัวอ้วนจนไม่ค่อยมีแรง สมองเบลอไปทั้งวัน เพราะแป้งนั้นมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการมากก อดไปใช่ว่าจะดี วันนี้ญาดาเลยมีเทคนิคกินแป้งแบบไม่ต้องกลัวอ้วน มาบอกกัน!!

1. ทำความรู้จักแป้งให้มากขึ้น   

อย่างแรกคือเราต้องทำความรู้จักแป้งที่เป็นส่วนประกอบในอาหารซะก่อน จะได้รู้ทันและเลือกกินได้ถูก ไม่ยากเลยนะ เพราะ "แป้ง" ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่แบ่งได้ 2 ประเภท แยกให้ออกล่ะ

  1. Low GI  (Low Glycemic Index) แป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้า ประเภทนี้กินแล้วอยู่ในโซนปลอดภัย เพราะเป็นแป้งที่มีไฟเบอร์ เจ้าไฟเบอร์เป็นตัวช่วยให้แป้งถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้าลง ทำให้โอกาสในการสะสมไขมันมีน้อยลง 
  2. High GI (High Glycemic Index) แป้งที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว แบบนี้ถ้าขืนกินเข้าไปมาก มีสิทธิ์เพิ่มไขมันสะสมได้นะ ต้องระวังเลือกกินแป้งให้ถูกง่ายๆ แค่นี้ ก็ไม่อ้วนแล้วจ้าาา

2. แป้งจากธรรมชาติเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า คราวนี้มาดูว่าแป้งแบบไหนที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้าสุด ก็พวกแป้งที่มาจากธรรมชาตินี่แหละที่ปลอดภัยต่อน้ำหนักตัวที่สุด อย่างข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีต เส้นพาสต้า ฟักทอง ข้าวโอ๊ต แครอท ข้าวโพด มันเผา ดีต่อพุง ดีต่อใจ กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

3เลี่ยงแป้งที่ผ่านการขัดใยแป้งในกลุ่มนี้ยิ่งกิน ยิ่งเพิ่มไขมันสะสม เพราะตัวแป้งที่โดนขัดใยอาหารออกแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็วมาก แต่บอกเลยว่าเป็นแป้งที่สาวๆ ชอบบบ เพราะเส้นมันทั้งขาวอวบอ้วนน่ากิน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นมาม่า เส้นหมี่ ขนมจีน น้ำตาล โดนัท โอ้ยยย ใครจะไปห้ามใจได้ ท่องไว้ค่ะว่า อ้วน!!!

4. ไม่ใช่แป้งแต่ก็ทำจากแป้งนะ ระวังด้วยบรรดาน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย ถึงแม้ว่าหน้าตาจะไม่ใช่แป้ง แต่บอกเลยว่า อยู่ในประเภท High GI นะจ๊ะ เพราะน้ำอัดลมผสมน้ำตาลเยอะมากจะได้ให้มีรสชาติอร่อย โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งส่งผลเสียกับตับอย่างมาก มีสิทธิ์เป็นไขมันสะสมในตับได้ด้วยนะคะ ส่วนเครื่องดื่มชูกำลังก็ผสมน้ำตาลชนิดที่ดูดซึมได้ไว เพื่อให้รับประทานไปแล้วได้พลังงานไว จึงไม่แนะนำให้สาวๆ ซื้อมาดื่มบ่อยๆ เดี๋ยวจะเพิ่มน้ำหนักโดยที่ไม่รู้ตัวนะคะ

5. ฮอร์โมนต้องสมดุลย์เพื่อนๆ รู้มั้ยคะว่าในร่างกายของเราเนี่ย มีคลังที่เก็บแป้งและน้ำตาลอยู่ 2 ที่ คือ กล้ามเนื้อ และ ตับ แต่แป้งไม่สามารถเดินเข้าคลังได้เองถ้าไม่มีคนพาเข้าไป ร่างกายเราจึงมี “ฮอร์โมนอินซูลิน” ทำหน้าที่เสมือนเป็น Taxi นำผู้โดยสารไปส่งที่คลัง ถ้าฮอร์โมนในร่างกายสมดุลย์ก็สบายใจหายห่วงค่าา

เช่น เรากล้าไปกิน Honey Toast คนเดียวแบบไม่ชวนเพื่อน สิ่งที่เกิดขึ้นคือในกระแสเลือดของเราจะเต็มไปด้วยน้ำตาลจำนวนมหาศาล จนอินซูลินไม่สามารถเข้ามารับผู้โดยสารไปส่งได้ทัน สิ่งที่อินซูลินจะทำแทนที่จะเอาน้ำตาลไปเก็บในคลังก็คือ “เอาน้ำตาลเหล่านั้นไปเก็บเป็นไขมัน!!” ทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นในร่างกายของเรานั่นเอง (โถ่....พี่อินซูลินทำกับฉันได้)

ทีนี้กลับกันถ้าเรากินคาร์โบไฮเดรตที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า (Low GI) อินซูลินก็จะเอาน้ำตาลพวกนั้นไปเก็บในคลัง แปลว่าไม่เกิดการสะสมเป็นไขมัน แต่คลังเก็บแป้งของเราดันมีจำกัด เติมเข้าไปมากๆ มันก็เต็มได้เหมือนกัน และเมื่อไรที่มันถูกเก็บจนเต็มแล้ว แป้งส่วนที่เหลือก็ถูกนำไปเก็บเป็นไขมันอยู่ดี

ตารางแสดง ประเภทของคาร์โบไฮเดรต GI และปริมาณที่ควรกิน GL

Glycemic Index (GI) ช่วยแบ่งประเภทของคาร์โบไฮเดรต

  • GI ต่ำแสดงว่าเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า (แบบนี้ควรกิน)
  • GI สูงแสดงว่าเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็ว (แบบนี้มีสิทธิ์เพิ่มไขมันสะสม)
Glycemic Lode (GL) คือ ปริมาณที่ควรกิน

  • GL ต่ำ สามารถทานได้เยอะขึ้น
  • GL สูง ควรทานในปริมาณที่น้อย

เมื่อสาวๆ รู้อย่างงี้แล้ว ต่อไปก็สามารถที่จะเลือกประเภทของแป้งที่ดี กินแล้วเป็นมิตรกับร่างกายมากขึ้น จะได้ไม่อ้วนและสะสมเป็นไขมันบนตัวเราด้วยนะคะ

ตอนนี้ญาดากำลังศึกษาในเรื่องของ Fitness Nutrition Specialist และ Certified Personal Trainer อยู่ สาวๆ ที่ใส่ใจสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย กดติดตามกันได้นะคะ มีอะไรดีๆ มาแชร์กันอีกแน่นอนค่าาา


yada.beat

yada.beat

ตอนนี้ญาดากำลังศึกษาในเรื่องของ Fitness Nutrition Specialist และ Certified Personal Trainer อยู่ค่ะ สาวๆ ที่ใส่ใจสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย กดติดตามกันได้นะคะ

FULL PROFILE