"ชายหญิง สิ่งสมมติ" นิทรรศการที่ทำให้เราไม่ลืมเปิดใจ
theminnie 9 1
เอ๊ะ.... แล้วเราเป็นคนปิดใจตั้งแต่เมื่อไหร่!!
โดยรวมๆ เราก็เป็นคนน่ารักคนนึงของสังคม ของประเทศนะ (ชมตัวเองก็ได้ ^^")
โดยเฉพาะประเด็นทางเพศ เราก็มีเพื่อนหลากหลายแบบ เพื่อนหนุ่ม เพื่อนสาว เพื่อนเกย์ เพือนทอม เพื่อนดี้ เราไปด้วยดีกับทุกๆ แนวเลยนะเออ
ลองไปเข้าเขาวงกตแห่งนี้ดู....
โดยรวมๆ เราก็เป็นคนน่ารักคนนึงของสังคม ของประเทศนะ (ชมตัวเองก็ได้ ^^")
โดยเฉพาะประเด็นทางเพศ เราก็มีเพื่อนหลากหลายแบบ เพื่อนหนุ่ม เพื่อนสาว เพื่อนเกย์ เพือนทอม เพื่อนดี้ เราไปด้วยดีกับทุกๆ แนวเลยนะเออ
ลองไปเข้าเขาวงกตแห่งนี้ดู....
ที่ชวนเข้าไปดูในหมู่ภาพด้านบนคือ Gender Maze เขาวงกตแห่งเพศ ที่เราถือว่าเป็นส่วน พรีวิวของนิทรรศการ "ชายหญิงเป็นสิ่งสมมติ"
คือ เราอาจจะใช้คำต่างๆ อธิบายผู้คนแบบรวมความหมายค่านิยมทางเพศไปด้วย เช่น เรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ (ชมผู้หญิงใช่มั้ยล่ะ แล้วผู้ชายถ้าจะเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ได้มั้ย? แล้วผู้หญิงอย่างเราที่พับผ้าไม่เคยสำเร็จ มันมีความผิดมั้ย... เก๊าเองนี่แหละ T__T)
เขาวงกตที่เดินยังไงก็ไม่หลงตรงนี้ เรียกน้ำย่อยสมองให้เราลองคิดก่อน ว่าเราฟิกซ์บทบาทความเป็น "ผู้ชาย" "ผู้หญิง" แน่นหนาแบบไหน
ถึงว่าไปค้นหาที่มาที่ไป.....
คือ เราอาจจะใช้คำต่างๆ อธิบายผู้คนแบบรวมความหมายค่านิยมทางเพศไปด้วย เช่น เรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ (ชมผู้หญิงใช่มั้ยล่ะ แล้วผู้ชายถ้าจะเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ได้มั้ย? แล้วผู้หญิงอย่างเราที่พับผ้าไม่เคยสำเร็จ มันมีความผิดมั้ย... เก๊าเองนี่แหละ T__T)
เขาวงกตที่เดินยังไงก็ไม่หลงตรงนี้ เรียกน้ำย่อยสมองให้เราลองคิดก่อน ว่าเราฟิกซ์บทบาทความเป็น "ผู้ชาย" "ผู้หญิง" แน่นหนาแบบไหน
ถึงว่าไปค้นหาที่มาที่ไป.....
"ชาย หญิง เป็นสิ่งสมมติ"
นิทรรศการที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ
ที่มิวเซียมสยาม
เราไปเดินดูกันค่ะ ว่า ขณะที่เพศตามร่างกายเติบโตไปตามวัย เพศทางหัวใจเติบโตตามไปด้วยหรือไม่
นิทรรศการที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ
ที่มิวเซียมสยาม
เราไปเดินดูกันค่ะ ว่า ขณะที่เพศตามร่างกายเติบโตไปตามวัย เพศทางหัวใจเติบโตตามไปด้วยหรือไม่
ถ้าเข้าไปดูส่วนแรกของนิทรรศการแล้ว เราจะเข้าใจว่าความเป็นเพศนั้น มันไม่ได้ต้องไปในทางเดียวกันเสมอไป
เพศตอนเกิด กับ การแสดงออกทางเพศ แรงดึงดูดทางเพศ และทางใจ ก็ไม่จำเป็นต้องไปในทางเดียวกัน
อย่างที่เราเห็นว่าจะมีคำเรียกอันแสนจะหลากหลาย เอาเฉพาะที่มาพรีวิวให้เรามึน
L B T T G
Lesbian - หญิงรักหญิง, Bisexual - รักได้ทั้ง 2 เพศ, Transgeder - มีอัตตลักษณ์ทางเพศต่างจากเพศกำเนิด, Transsexaul - ผ่าตัดเปลี่ยนเพศแล้ว, Gay - ชายรักชาย (หรือบางทีก็เรียกคนรักเพศเดียวกัน)
Q I A P N Q
Questioning - กำลังค้นหา, Intersex - กำกวม คือ มีอัวยวะไม่ตรงกับชายหรือหญิง หรือมีอวัยวะทั้ง 2 เพศ, Asexual - ไม่สนใจฝักใฝ่เรื่องทางเพศ, Pansexual - รักได้กับคนทุกเพศสภาพ, Non-Binary - ไม่แบ่งขั้วชายหรือหญิง, Queer - คนที่มีความลื่นไหลทางเพศ
พอเราเห็นคำแบ่งแยกรสนิยมและความดึงดูดทางเพศที่หลากหลายขนาดนี้แล้ว เราก็เออ.... สภาพร่างกายมันจำกัดได้ไม่กี่ประเภท แต่ความรู้สึกทางใจมันเลือกได้หลายหลาก แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล
แล้วทำไมเราไม่ค่อยได้รับรู้ถึงความหลากหลายเหล่านี่นะ!
เพศตอนเกิด กับ การแสดงออกทางเพศ แรงดึงดูดทางเพศ และทางใจ ก็ไม่จำเป็นต้องไปในทางเดียวกัน
อย่างที่เราเห็นว่าจะมีคำเรียกอันแสนจะหลากหลาย เอาเฉพาะที่มาพรีวิวให้เรามึน
L B T T G
Lesbian - หญิงรักหญิง, Bisexual - รักได้ทั้ง 2 เพศ, Transgeder - มีอัตตลักษณ์ทางเพศต่างจากเพศกำเนิด, Transsexaul - ผ่าตัดเปลี่ยนเพศแล้ว, Gay - ชายรักชาย (หรือบางทีก็เรียกคนรักเพศเดียวกัน)
Q I A P N Q
Questioning - กำลังค้นหา, Intersex - กำกวม คือ มีอัวยวะไม่ตรงกับชายหรือหญิง หรือมีอวัยวะทั้ง 2 เพศ, Asexual - ไม่สนใจฝักใฝ่เรื่องทางเพศ, Pansexual - รักได้กับคนทุกเพศสภาพ, Non-Binary - ไม่แบ่งขั้วชายหรือหญิง, Queer - คนที่มีความลื่นไหลทางเพศ
พอเราเห็นคำแบ่งแยกรสนิยมและความดึงดูดทางเพศที่หลากหลายขนาดนี้แล้ว เราก็เออ.... สภาพร่างกายมันจำกัดได้ไม่กี่ประเภท แต่ความรู้สึกทางใจมันเลือกได้หลายหลาก แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล
แล้วทำไมเราไม่ค่อยได้รับรู้ถึงความหลากหลายเหล่านี่นะ!
การแบ่งพื้นที่ (และหน้าที่) สำหรับชายหญิงเริ่มมาตั้งแต่โบราณนานนม แต่ก่อนมีแค่ผู้ชายที่ออกจากบ้านไปทำงานโน่นนี่ แต่แม่การะเกดจะออกจากเรือนไปทะเวนตามที่ต่างๆ มันไม่ใช่เรื่อง!
พื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่เลยเป็นที่ให้บริการสำหรับผู้ชาย โดยเฉพาะห้องน้ำ พอหลังยุควิตอเรียที่ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านได้แล้ว แต่ห้องน้ำก็ยังเป็นห้องเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ทำให้สาวๆ ไม่ได้เข้าห้องน้ำ อั้นกลับบ้านกันไป
พอมีกฎหมายแยกห้องน้ำชายหญิง ก็ดูเหมือนจะดีขึ้น พร้อมๆ กับความศิวิไลซ์จากการสร้างอาณานิคมแผ่ไปทั่วโลก ก็เกิดการกำหนด dress code สำหรับผู้ชายและผู้หญิง
มันก็ดูเหมือนจะดี!
แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้การแบ่งสภาพระหว่าง ผู้หญิงและผู้ชายจึงชัดเจนขึ้น และซ้ำเป็นการตอกย้ำว่าโลกนี้มีเพศและรสนิยมเพียง 2 แบบท่านั้น
(ชักจะเห็นปัญหาแล้วใช่มั้ยล่ะ)
พื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่เลยเป็นที่ให้บริการสำหรับผู้ชาย โดยเฉพาะห้องน้ำ พอหลังยุควิตอเรียที่ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านได้แล้ว แต่ห้องน้ำก็ยังเป็นห้องเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ทำให้สาวๆ ไม่ได้เข้าห้องน้ำ อั้นกลับบ้านกันไป
พอมีกฎหมายแยกห้องน้ำชายหญิง ก็ดูเหมือนจะดีขึ้น พร้อมๆ กับความศิวิไลซ์จากการสร้างอาณานิคมแผ่ไปทั่วโลก ก็เกิดการกำหนด dress code สำหรับผู้ชายและผู้หญิง
มันก็ดูเหมือนจะดี!
แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้การแบ่งสภาพระหว่าง ผู้หญิงและผู้ชายจึงชัดเจนขึ้น และซ้ำเป็นการตอกย้ำว่าโลกนี้มีเพศและรสนิยมเพียง 2 แบบท่านั้น
(ชักจะเห็นปัญหาแล้วใช่มั้ยล่ะ)
ตามคำในภาพเลยค่ะ... สื่อก็ช่วยตอกย้ำค่านิยมและความเชื่อต่างๆ ด้วยความแมส ก็เลยทำให้เข้าถึงความหลากหลายไม่ได้ดีนัก
ในจุดนี้เราจะได้เห็นพัฒนาการความหลากหลายทางเพศของไทย ตั้งแต่อยุธยามาเลย พร้อมๆ กับตัวอย่างของสื่อที่เข้าใจความหลากหลายทางเพศ และไม่เข้าใจ (ซึ่งที่ไม่เข้าใจก็สร้างผลกระทบไปได้ไกลได้อีก)
ย้อนกลับไปที่เขาวงกต หลายๆ คำก็เกิดจากสื่อ... สื่อนี่ก็หมายรวมถึงพวกเราด้วยนะคะ ถ้าเราช่วยแชร์ ช่วยผลิตคำต่างๆ เหล่านั้นออกไป ก็ทำให้เกิดการไหลวนๆ ไปอีก
ในจุดนี้เราจะได้เห็นพัฒนาการความหลากหลายทางเพศของไทย ตั้งแต่อยุธยามาเลย พร้อมๆ กับตัวอย่างของสื่อที่เข้าใจความหลากหลายทางเพศ และไม่เข้าใจ (ซึ่งที่ไม่เข้าใจก็สร้างผลกระทบไปได้ไกลได้อีก)
ย้อนกลับไปที่เขาวงกต หลายๆ คำก็เกิดจากสื่อ... สื่อนี่ก็หมายรวมถึงพวกเราด้วยนะคะ ถ้าเราช่วยแชร์ ช่วยผลิตคำต่างๆ เหล่านั้นออกไป ก็ทำให้เกิดการไหลวนๆ ไปอีก
ระหว่างที่กำลังคิ้วขมวดกับการนำเสนอประเด็น ไม่ยอมรับความหลากหลาย จนเกิดปัญหาต่างๆ เราก็เดินมาเจอคำว่า Human = Human เหมือนจะเตือนว่า ถ้าเราปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่ากัน มันก็จะช่วยลดปัญหาไปได้ (ใช่หรือเปล่า)
ที่ตอนแรกๆ ให้ดูว่า เราเรียกคนมีรสนิยมทางเพศอันหลากหลายได้มากมายกว่าที่เรารู้มาก จริงๆ ไม่ต้องจำอะไรแบบนั้นก็ได้ค่ะ เพราะสุดท้ายทุกคนก็เป็นมนุษย์เหมือนกันหมด
เมื่อปริศนาไขกระจ่างแล้ว โฟลวของนิทรรศการช่วยให้เราได้ผ่อนคลายขึ้นด้วยการดูภาพวาดจากน้องๆ อายุ 10-18 ปี เด็กๆ จินตนาการถึงความเท่าเทียมทางเพศตามความเข้าใจของตัวเอง (ถึงเราจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็ยืนพิจารณาความสวยงามและสร้างสรรค์ของน้องๆ ไปเรื่อย)
ที่ตอนแรกๆ ให้ดูว่า เราเรียกคนมีรสนิยมทางเพศอันหลากหลายได้มากมายกว่าที่เรารู้มาก จริงๆ ไม่ต้องจำอะไรแบบนั้นก็ได้ค่ะ เพราะสุดท้ายทุกคนก็เป็นมนุษย์เหมือนกันหมด
เมื่อปริศนาไขกระจ่างแล้ว โฟลวของนิทรรศการช่วยให้เราได้ผ่อนคลายขึ้นด้วยการดูภาพวาดจากน้องๆ อายุ 10-18 ปี เด็กๆ จินตนาการถึงความเท่าเทียมทางเพศตามความเข้าใจของตัวเอง (ถึงเราจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็ยืนพิจารณาความสวยงามและสร้างสรรค์ของน้องๆ ไปเรื่อย)
ชื่นชมศิลปะจากจินตนาการของน้องๆ ในเรื่องความเท่าเทียมไปแล้ว คราวนี้เราไปดูเรื่องจริงกันบ้างค่ะ
โซนสารพัดสี มองจากมมุมบนเหมือนฉากละคร เค้าตั้งโซนนี้ว่า "ฉากชีวิต"
มีของมาจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น ของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ กว่าจะค้นพบตัวเอง ของเตือนใจ จดหมาย คำสบประมาท และความไม่เข้าใจจากคนต่างๆ
การใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่หลากหลาย มันก็ยากอยู่ แล้วเค้าต้องสู้ขนาดไหนกันนะ
โซนสารพัดสี มองจากมมุมบนเหมือนฉากละคร เค้าตั้งโซนนี้ว่า "ฉากชีวิต"
มีของมาจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น ของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ กว่าจะค้นพบตัวเอง ของเตือนใจ จดหมาย คำสบประมาท และความไม่เข้าใจจากคนต่างๆ
การใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่หลากหลาย มันก็ยากอยู่ แล้วเค้าต้องสู้ขนาดไหนกันนะ
เสื้อตัวแดงธรรมดาๆ ตัวนี้ เปลี่ยนชีวิตคุณกอล์ฟ (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์) ให้ได้เขียนบทหนังยาวเรื่องแรก หลังจากที่ยื่นให้หลานชายใส่ และหลานตอบกลับว่า "เขาไม่ใส่เสื้อผ้าตุ๊ด" จากนั้น หนังเรื่อง Insects In the backyard จึงเกิดขึ้น พร้อมกับการตั้งคำถามว่า โลกใบนี้ทำอะไรกับความเข้าใจมนุษย์อย่างหลานตัวน้อยของเค้า
ยังมีต้นฉบับลายมือนิยายแนว Girl Love ของ(แม่หมอ) การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ ที่ 30 ปีก่อนกว่าจะเขียนเรื่องแนวนี้ได้ มันไม่ง่ายเลย
(จิ้มที่ภาพ มีของอีกหลายๆ คนที่ที่น่าสนใจค่ะ)
ยังมีต้นฉบับลายมือนิยายแนว Girl Love ของ(แม่หมอ) การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ ที่ 30 ปีก่อนกว่าจะเขียนเรื่องแนวนี้ได้ มันไม่ง่ายเลย
(จิ้มที่ภาพ มีของอีกหลายๆ คนที่ที่น่าสนใจค่ะ)
ตัดภาพมาที่นอกนิทรรศการนิดนึงค่ะ พอดีเราไปวันเปิดงาน คุณรัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น เอารองเท้ามาโชว์ พร้อมเล่าเรื่องด้วยตัวเองค่ะ (ลืมถ่ายรูปรองเท้าที่โชว์ในฉากมา T_T)
เป็นรองเท้าที่ใช้วิ่งร่วมด้วยช่วยพี่ตูน กับโปรเจ็คต์ "ก้าวคนละก้าว" แต่ระหว่างทางที่วิ่งไป 200 กิโล ก็มีโดนล้อเลียนเรื่องสีผิว และชี้ชวนให้ดูกระเทยวิ่ง
คุณรัศมีแขบอกว่า นี่ก็คือความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง อยากให้หยุดคิดก่อนทำอะไรแบบนี้ เพราะบางคนอาจจะทำไปโดยไม่รู้ตัว
นับเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับความหลากหลาย (ที่เราคิดว่าอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่เชื่อว่าได้ยินอะไรแบบนี้ออกบ่อย)
เป็นรองเท้าที่ใช้วิ่งร่วมด้วยช่วยพี่ตูน กับโปรเจ็คต์ "ก้าวคนละก้าว" แต่ระหว่างทางที่วิ่งไป 200 กิโล ก็มีโดนล้อเลียนเรื่องสีผิว และชี้ชวนให้ดูกระเทยวิ่ง
คุณรัศมีแขบอกว่า นี่ก็คือความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง อยากให้หยุดคิดก่อนทำอะไรแบบนี้ เพราะบางคนอาจจะทำไปโดยไม่รู้ตัว
นับเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับความหลากหลาย (ที่เราคิดว่าอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่เชื่อว่าได้ยินอะไรแบบนี้ออกบ่อย)
ตัดกลับมาที่ฉากชีวิต ที่โซนสีชมพู แต่มันไม่ได้หวานตามสีเท่าไหร่นัก
คนที่เพศตอนเกิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้อยากแสดงออกตามนั้น หน้าอกก็คืออุปสรรคใหญ่ เราคงเคยเจอเพื่อนมีความพยายามรัดหน้าอก ซ่อนความเป็นหญิง
ขณะที่บางคนก็ยอมเปลี่ยนสภาพของตัวเอง ด้วยการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ก็มีผลกระทบ ต้องดูแลบางจุดเป็นพิเศษ และบางทีก็เจ็บปวด แต่เป็นชีวิตที่เลือกแล้ว
โซนนี้มีความเห็นใจ transgender จริงๆ ถ้าดู The Denish Girl มาแล้วจะเข้าใจเลยว่า...ในความชมพูมีน้ำตาซ่อนอยู่
คนที่เพศตอนเกิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้อยากแสดงออกตามนั้น หน้าอกก็คืออุปสรรคใหญ่ เราคงเคยเจอเพื่อนมีความพยายามรัดหน้าอก ซ่อนความเป็นหญิง
ขณะที่บางคนก็ยอมเปลี่ยนสภาพของตัวเอง ด้วยการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ก็มีผลกระทบ ต้องดูแลบางจุดเป็นพิเศษ และบางทีก็เจ็บปวด แต่เป็นชีวิตที่เลือกแล้ว
โซนนี้มีความเห็นใจ transgender จริงๆ ถ้าดู The Denish Girl มาแล้วจะเข้าใจเลยว่า...ในความชมพูมีน้ำตาซ่อนอยู่
รับรู้เรื่องราวของคนอื่นในความพยายามจะแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศของพวกเค้าแล้ว ถึงเวลาของเราบ้างแล้วค่ะ
ก่อนเข้าชมนิทรรศการจะมี Gender Ticket ให้เราค่ะ เพื่อจะตอบในตอนท้ายว่า เราคิดว่าตัวเองเป็นเพศไหน และเราคิดยังไงกับความ genderless ในสังคมไทย (บางข้อก็หยอดตอบอย่างไวเลย บางข้อก็คิดหนักอยู่เหมือนกันค่ะ)
นิทรรศการเล็กๆ ที่ใช้เวลาเดินไม่นานนัก (ประมาณ 40 นาที) แต่ชวนให้เราคิดประเด็นสำคัญที่ใกล้ตัวมากๆ บางครั้งเราก็อยู่กับสิ่งสมมติมากเกินไปจนไม่กล้าจะเป็นตัวของตัวเอง และในทางตรงกันข้ามเราก็เอาความสมมติไปใส่ที่คนอื่น จนตัดสินเค้าจากมุมของเรา
นิทรรศการมีถึงเดือนกันยายนปีนี้นะคะ อยากให้ไปลองสัมผัสและลองคิดถึงมุมมองใกล้ตัวแบบนี้กันดูค่ะ
(จิ้มดูรายละเอียดที่การ์ดอีเว็นต์ด้านล่างได้เลยค่ะ)
ก่อนเข้าชมนิทรรศการจะมี Gender Ticket ให้เราค่ะ เพื่อจะตอบในตอนท้ายว่า เราคิดว่าตัวเองเป็นเพศไหน และเราคิดยังไงกับความ genderless ในสังคมไทย (บางข้อก็หยอดตอบอย่างไวเลย บางข้อก็คิดหนักอยู่เหมือนกันค่ะ)
นิทรรศการเล็กๆ ที่ใช้เวลาเดินไม่นานนัก (ประมาณ 40 นาที) แต่ชวนให้เราคิดประเด็นสำคัญที่ใกล้ตัวมากๆ บางครั้งเราก็อยู่กับสิ่งสมมติมากเกินไปจนไม่กล้าจะเป็นตัวของตัวเอง และในทางตรงกันข้ามเราก็เอาความสมมติไปใส่ที่คนอื่น จนตัดสินเค้าจากมุมของเรา
นิทรรศการมีถึงเดือนกันยายนปีนี้นะคะ อยากให้ไปลองสัมผัสและลองคิดถึงมุมมองใกล้ตัวแบบนี้กันดูค่ะ
(จิ้มดูรายละเอียดที่การ์ดอีเว็นต์ด้านล่างได้เลยค่ะ)