วิธีการดูวันหมดอายุสกินแคร์แบบง่ายๆไม่ให้มีพลาด
Wave1992 47 12
ซื้อสกินแคร์อย่าลืมดูวันหมดอายุกันครับ บทความนี้เวฟขอพูดเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสกินแคร์ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังมีคนที่สับสน วันนี้เลยขอแชร์เป็นข้อมูลให้กันครับ
วันหมดอายุแบ่งเป็น วันหมดอายุก่อนเปิดใช้และวันหมดอายุภายหลังการเปิดใช้ครั้งแรก เวฟจะพูดคุยเกี่ยวกับวันหมดอายุของสกินแคร์ วิธีการสังเกตุ และเมื่อสกินแคร์หมดอายุจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง พร้อมแล้วมาดูกันครับ
มาเริ่มต้นที่ช่วงอายุของสกินแคร์ที่เรียกว่า Skincare Shelf Life โดยปกติแล้วสกินแคร์ที่ผลิตใหม่จะมีช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี โดยสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารกันเสียที่เรามักจะคุ้นหูกัน คือ Paraben โดยสารกันเสียตัวนี้จะช่วยคงสภาพผลิตภัณฑ์ได้นานกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใส่สารกันเสียมา แต่สารกันเสียก็มาพร้อมกับโอกาสทางการระคายเคืองผิวที่มากขึ้นด้วยครับ ฉะนั้นทุกครั้งก่อนจะซื้อใช้ อย่าลืมดูวันหมดอายุนะครับ ถ้าไม่มีวันหมดอายุระบุมา ก็ให้คำนวณจากวันผลิตได้
ตัวอย่าง Shelf Life ของสกินแคร์ประเภทต่างๆ มีดังนี้
จะเห็นได้ว่าแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีช่วงอายุต่างกัน และอายุระหว่างการใช้งานจริงก็สั้นกว่า ฉะนั้นทุกครั้งที่จะซื้อสกินแคร์ใหม่มาใช้ อย่าลืมเช็ควันหมดอายุ (Expiration Date หรือ EXP) กันนะครับ รวมทั้งสัญลักษณ์รูปกระปุกเปิดฝา ที่มีตัวเลขตามด้วยอักษร M ที่เป็นตัวบอกระยะช่วงเวลาใช้สกินแคร์หลังเปิดใช้ครับ เรียกว่า Period After Opening (PAO) ครับ ตัวอย่างเช่น ข้างกล่องมีวันหมดอายุ 06/23 แต่ในสัญลักษณ์รูปกระปุกเปิดฝา มีเลข 6M นั้นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์นี้หมดอายุในเดือน 6 ปี 2023 แต่หลังเปิดใช้จะต้องใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน ถ้ากลัวจะหลงลืม เวฟแนะนำให้เขียนกำกับวันที่เริ่มเปิดใช้สกินแคร์ทุกครั้งครับ
ในกรณีที่หาวันหมดอายุไม่เจอ เราสามารถอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ (Batch Code) แทนได้ ด้วยการคีย์รหัสของผลิตภัณฑ์ลงในเวปไซด์ อย่างเวปไซต์ checkcosmetic.net เป็นต้น โดยรหัสผลิตภัณฑ์มักจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขครับ ดูจากกล่องหรือที่ตัวผลิตภัณฑ์ได้ครับ ตัวอย่าง Batch Code ของ Estée Lauder ANR จะเป็น F89 ตรงกับปีที่ผลิต 8/19 เมื่อเชคผ่านเวปไซต์พบว่าจะหมดอายุในอีก 26 เดือนครับ (ดูรูปประกอบได้ครับ)
นอกจากนี้สกินแคร์ก็ยังสามารถเสียหรือมีการปนเปื้อนได้ก่อนระยะเวลาหมดอายุจริง หากเก็บรักษาสกินแคร์ผิดวิธี เช่น การปิดฝาไม่สนิท, ทำฝาตกพื้นแล้วไม่ได้ทำความสะอาดและนำมาปิดต่อทันที, การ, การเก็บในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เป็นต้น ดังนั้นการสังเกตสกินแคร์จากประสาทสัมผัสด้วยตัวเราจึงสำคัญด้วยเช่นกัน เราสามารถสังเกตได้จาก
การใช้ครีมที่เกินช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด นอกจากจะใช้โดยเปล่าประโยชน์ เพราะการเสื่อมประสิทธิภาพของส่วนผสม ก็ยังเพิ่มโอกาสการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ เช่น ผื่นแพ้ สิว และการติดเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา เป็นต้น ดังนั้นอย่าไปเสียดายเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุครับ
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สกินแคร์ของเราใช้ได้นานและมีประสิทธิภาพ?
วิธีง่ายๆ คือ ควรเก็บในพื้นที่อากาศถ่ายเท พ้นแสงแดด อุณหภูมิไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพื่อเลี่ยงการเกิดเหงื่อหรือหยดน้ำครับ นอกจากนี้ควรหมั่นทำความสะอาดภาชนะตักหากมี เพื่อลดการปนเปื้อน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ภาชนะชำรุดไม่สมบูรณ์ กรณีทำฝาปิดตกพื้น ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนนำกลับมาปิดใช้ตามปกติครับ ที่สำคัญอย่าใช้สกินแคร์ร่วมกับคนอื่น จะเป็นคนในครอบครัว แฟน ก็ไม่ได้ครับ เพราะจะเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียบนชั้นผิวที่ต่างกันครับ
สำหรับสกินแคร์ที่หมดอายุแล้ว จะใช้ทำอะไรได้บ้าง มาดูกันครับ
สุดท้ายนี้ สำหรับใครเป็นสายตุน ตุนอย่างมีสติ โปรโมชั่นดีๆ ก็ดูหน่อยว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆผลิตปีไหน หมดอายุเมื่อไหร่ จะได้ใช้ทัน ไม่เสียเปล่าครับ หลังเปิดใช้ก็ใช้ให้พอดีกับ PAO ตามช่วงเวลาที่สัญลักษณ์กระปุกเปิดฝาได้แจ้งไว้ อย่าไปเสียดายถ้าหมดอายุแล้ว เดี๋ยวจะไม่คุ้มกับอาการแพ้ที่ตามมาครับ
ขอบคุณครับ
วันหมดอายุแบ่งเป็น วันหมดอายุก่อนเปิดใช้และวันหมดอายุภายหลังการเปิดใช้ครั้งแรก เวฟจะพูดคุยเกี่ยวกับวันหมดอายุของสกินแคร์ วิธีการสังเกตุ และเมื่อสกินแคร์หมดอายุจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง พร้อมแล้วมาดูกันครับ
มาเริ่มต้นที่ช่วงอายุของสกินแคร์ที่เรียกว่า Skincare Shelf Life โดยปกติแล้วสกินแคร์ที่ผลิตใหม่จะมีช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี โดยสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารกันเสียที่เรามักจะคุ้นหูกัน คือ Paraben โดยสารกันเสียตัวนี้จะช่วยคงสภาพผลิตภัณฑ์ได้นานกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใส่สารกันเสียมา แต่สารกันเสียก็มาพร้อมกับโอกาสทางการระคายเคืองผิวที่มากขึ้นด้วยครับ ฉะนั้นทุกครั้งก่อนจะซื้อใช้ อย่าลืมดูวันหมดอายุนะครับ ถ้าไม่มีวันหมดอายุระบุมา ก็ให้คำนวณจากวันผลิตได้
ตัวอย่าง Shelf Life ของสกินแคร์ประเภทต่างๆ มีดังนี้
- มอยส์เจอร์ไรเซอร์ มีอายุ 2-3 ปี แต่หลังเปิดแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 1 ปี
- ครีมกันแดด มีอายุ 2-3 ปี แต่หลังเปิดแล้วจะอยู่ได้ 6-12 เดือน
- โทนเนอร์ มีอายุ 2-3 ปี แต่หลังเปิดแล้ว ควรใช้ให้หมดใน 1 ปี
- เซรั่ม มีอายุ 2-3 ปี แต่หลังเปิดใช้ ควรใช้ให้หมดภายใน 3-12 เดือน ตามชนิดของเซรั่ม
- คลีนเซอร์ มีอายุ 2-3 ปี หลังเปิดใช้งาน ควรใช้ให้หมดใน 1 ปี
- ครีมรอบดวงตา มีอายุ 2-3 ปี หลังเปิดใช้ ควรใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน
- ผลิตภัณฑ์รักษาสิว มีอายุ 1-2 ปี หลังเปิดใช้ จะใช้ได้นาน 6-12 เดือน
จะเห็นได้ว่าแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีช่วงอายุต่างกัน และอายุระหว่างการใช้งานจริงก็สั้นกว่า ฉะนั้นทุกครั้งที่จะซื้อสกินแคร์ใหม่มาใช้ อย่าลืมเช็ควันหมดอายุ (Expiration Date หรือ EXP) กันนะครับ รวมทั้งสัญลักษณ์รูปกระปุกเปิดฝา ที่มีตัวเลขตามด้วยอักษร M ที่เป็นตัวบอกระยะช่วงเวลาใช้สกินแคร์หลังเปิดใช้ครับ เรียกว่า Period After Opening (PAO) ครับ ตัวอย่างเช่น ข้างกล่องมีวันหมดอายุ 06/23 แต่ในสัญลักษณ์รูปกระปุกเปิดฝา มีเลข 6M นั้นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์นี้หมดอายุในเดือน 6 ปี 2023 แต่หลังเปิดใช้จะต้องใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน ถ้ากลัวจะหลงลืม เวฟแนะนำให้เขียนกำกับวันที่เริ่มเปิดใช้สกินแคร์ทุกครั้งครับ
ในกรณีที่หาวันหมดอายุไม่เจอ เราสามารถอ่านรหัสผลิตภัณฑ์ (Batch Code) แทนได้ ด้วยการคีย์รหัสของผลิตภัณฑ์ลงในเวปไซด์ อย่างเวปไซต์ checkcosmetic.net เป็นต้น โดยรหัสผลิตภัณฑ์มักจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขครับ ดูจากกล่องหรือที่ตัวผลิตภัณฑ์ได้ครับ ตัวอย่าง Batch Code ของ Estée Lauder ANR จะเป็น F89 ตรงกับปีที่ผลิต 8/19 เมื่อเชคผ่านเวปไซต์พบว่าจะหมดอายุในอีก 26 เดือนครับ (ดูรูปประกอบได้ครับ)
นอกจากนี้สกินแคร์ก็ยังสามารถเสียหรือมีการปนเปื้อนได้ก่อนระยะเวลาหมดอายุจริง หากเก็บรักษาสกินแคร์ผิดวิธี เช่น การปิดฝาไม่สนิท, ทำฝาตกพื้นแล้วไม่ได้ทำความสะอาดและนำมาปิดต่อทันที, การ, การเก็บในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เป็นต้น ดังนั้นการสังเกตสกินแคร์จากประสาทสัมผัสด้วยตัวเราจึงสำคัญด้วยเช่นกัน เราสามารถสังเกตได้จาก
- มีกลิ่นหืน กลิ่นไม่เหมือนเดิม
- มีเชื้อรา มีจุดดำในเนื้อสาร
- สีเนื้อสารเปลี่ยนไป
- เกิดการแยกชั้นของสาร เช่น มีชั้นน้ำมันออกมา
- มีเหงื่อหรือหยดน้ำเกาะ หากเก็บไม่พ้นแสงอาทิตย์และอุณหภูมิสูง โอกาสการเกิดหยดน้ำปนเปื้อนก็มีมาก
- เมื่อทาแล้วรู้สึกผิดปกติทางผิวหนัง เนื้อสัมผัสไม่เหมือนเดิม
การใช้ครีมที่เกินช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด นอกจากจะใช้โดยเปล่าประโยชน์ เพราะการเสื่อมประสิทธิภาพของส่วนผสม ก็ยังเพิ่มโอกาสการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ เช่น ผื่นแพ้ สิว และการติดเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา เป็นต้น ดังนั้นอย่าไปเสียดายเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุครับ
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สกินแคร์ของเราใช้ได้นานและมีประสิทธิภาพ?
วิธีง่ายๆ คือ ควรเก็บในพื้นที่อากาศถ่ายเท พ้นแสงแดด อุณหภูมิไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพื่อเลี่ยงการเกิดเหงื่อหรือหยดน้ำครับ นอกจากนี้ควรหมั่นทำความสะอาดภาชนะตักหากมี เพื่อลดการปนเปื้อน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ภาชนะชำรุดไม่สมบูรณ์ กรณีทำฝาปิดตกพื้น ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนนำกลับมาปิดใช้ตามปกติครับ ที่สำคัญอย่าใช้สกินแคร์ร่วมกับคนอื่น จะเป็นคนในครอบครัว แฟน ก็ไม่ได้ครับ เพราะจะเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียบนชั้นผิวที่ต่างกันครับ
สำหรับสกินแคร์ที่หมดอายุแล้ว จะใช้ทำอะไรได้บ้าง มาดูกันครับ
- กลุ่มคลีนเซอร์/โฟมล้างหน้า : ใช้ทำความสะอาดแปรงแต่งหน้า ล้างอ่างที่เลอะคราบเครื่องสำอางได้
- โทนเนอร์ที่มีแอลกอฮอล์ : ใช้ทำความสะอาดกระจก เครื่องแก้ว และ เฟอร์นิเจอร์ได้ แต่ต้องไม่ใช่โทนเนอร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว เพื่อกันปัญหากรดทำลายพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะประเภทไม้
- ครีมบำรุงผิว : สามารถนำมาขัดเครื่องหนังได้ เช่น กระเป๋า รองเท้า **แต่ต้องมั่นใจว่าไม่มีสี น้ำหอม แอลกอฮอล์ และสารผลัดเซลล์ผิว
- ทิ้งผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่ไม่ใช้ แล้วเก็บขวดบรรจุภัณฑ์สวยๆ สำหรับเป็นภาชะปลูกต้นไม้ในบ้าน เช่น พลูด่าง เป็นต้น
สุดท้ายนี้ สำหรับใครเป็นสายตุน ตุนอย่างมีสติ โปรโมชั่นดีๆ ก็ดูหน่อยว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆผลิตปีไหน หมดอายุเมื่อไหร่ จะได้ใช้ทัน ไม่เสียเปล่าครับ หลังเปิดใช้ก็ใช้ให้พอดีกับ PAO ตามช่วงเวลาที่สัญลักษณ์กระปุกเปิดฝาได้แจ้งไว้ อย่าไปเสียดายถ้าหมดอายุแล้ว เดี๋ยวจะไม่คุ้มกับอาการแพ้ที่ตามมาครับ
ขอบคุณครับ