ถึงเป็นไบเบิ้ลแห่งโลกแฟชั่นก็ยังเคยฉาว

64 6
เป็นเวลาเนิ่นนานที่ VOGUE ได้ยืนหยัดในฐานะสื่อทรงอิทธิพลแห่งโลกแฟชั่น   ถึงขนาดที่มีคำเปรียบเทียบว่า การชี้นำจาก magazine เจ้านี้ก็ไม่ต่างจากถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนยึดถือเป็นข้อปฏิบัติไม่ต่างจากพระคัมภีร์ในหมวดแฟชั่น...


แต่ถึงกระนั้น VOGUE ก็ไม่สามารถเลี่ยงดราม่าที่ฉาวโฉ่และข้อผิดพลาดชวนเหวอไปได้

มาติดตามกันเลยค่ะ




VOGUE ITALIA  1988


ตราบาปหน้าเทาที่ทำให้ Naomi Campbell ต้องหลั่งน้ำตา


เมื่อครั้งที่ยังเป็นนางแบบวัยทีนที่กำลังพุ่งแรงเป็นที่สุดในช่วงปลายยุค 80s ความฝันของ Naomi ็กลายมาเป็นจริงเมื่อได้รับเลือกให้เป็นนางแบบขึ้นปก VOGUE ITALIA แต่ฝันของเธอกลับต้องสูญสลาย เมื่อได้พบว่า การประสานงานของทีมงานที่ควรจะเป็นมืออาชีพกลับชุ้นกว่าที่คิด makeup artist ไม่ได้รับแจ้งมาก่อนว่าเธอเป็นนางแบบผิวดำ (ในอดีต มีนางแบบผิวดำเพียงไม่กี่คนที่สามารถก้าวขึ้นมาในระดับ mainstream การเปิดใจยอมรับความแตกต่างนั้นถือว่าน้อยมากทีเดียว)

สิ่งที่ทำได้ ก็มีแต่การผสมสีรองพื้นที่มีอยู่ ระหว่างการถ่ายทำ Naomi ก็รู้ดีแก่ใจว่า ความเทาได้มาเยือนเธอซะแล้ว แต่เมื่อได้เห็นหน้าปก VOGUE ตอนวางแผง เธอถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว

" ชั้นอยากจะขึ้นปก VOGUE ITALIA มากจริงๆ แต่ชั้นไม่อยากหน้าเทาแบบนี้ "


หลายคนลงความเห็นว่า  สีหน้าของเธอบนปกก็ปิดบังความสะพรึงต่อเฉดความเทาของใบหน้าตัวเองไว้ไม่มิดเลย



VOGUE ITALIA  2018


ถูกประนามว่าจงใจใช้ภาพ black face เพื่อจุดกระแสความสนใจด้วยเรื่องฉาว


เพราะอะไร Gigi Hadid จึงต้องเขียนคำอธิบายพร้อมกับขออภัยยืดยาวจากผลงานการถ่ายแบบปก VOGUE ฉบับนี้ ?


.เมื่อไบเบิ้ลแฟชั่นได้เปิดตัวหน้าปกนี้ออกมา ก็ได้กระแสความไม่พอใจจากแฟนๆ ของ Gigi ที่ร่วมกล่าวหาว่า VOGUE ได้ตกแต่งภาพจนเธอดูเปลี่ยนไปราวกับคนละคน หรือแม้กระทั่ง race ก็ยังเปลี่ยน!


แทบทุกครั้งที่มีภาพทำนองนี้ปรากฏออกสื่อ เสียงประท้วงเรื่อง Blackface ก็จะกระหึ่มขึ้นทันที





Bet.com ประชดประชันว่า VOGUE เปลี่ยนโทนสีผิวของ Gigi  ให้เข้มขึ้นถึง 17 เฉด    ส่วน independent.co.uk  ให้ความเห็นว่า   เธอไม่ได้ทำ blackface อย่างแน่นอน   แต่สังคมก็ควรต้องให้ความสำคัญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อภาพปก VOGUE อันนี้

แต่สำหรับปฏิกิริยาจากชาวเน็ท กระแสโจมตีนั้นร้อนแรงไม่ใช่เล่นๆ



มีหลายคนออกมาปกป้องว่า ดูยังไง ภาพ Gigi บนปก VOGUE ก็ไม่ใช่ blackface แต่เธอดูเหมือนกับผู้หญิงอิตาเลียนและคนยุโรปแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีผิวที่แทนเข้ม

 เธออาจจะไม่ถูกโจมตีหนักขนาดนี้ ถ้าเรื่องราวทำนองเดียวกันไม่ได้เกิดขึ้นมาก่อน  แต่เมื่อปี 2015  Gigi เคยถ่ายปก VOGUE Italia เจ้าเดิม   เธอมาพร้อมกับผิวสีเข้มและวิกผม Afro ที่สร้างความกระแสความไม่พอใจ   ชาวเน็ทหลายคนลงความเห็นว่า เป็นการปลอมแปลง race เดิมของตัวเอง  นำลุคของคนดำมาเป็นจุดขายแล้วใช้คำว่าแฟชั่นมาบังหน้า 
เสื้อผ้าหน้าผมที่ทำให้ผู้ชมนึกถึงนักร้องสาวผิวดำจากยุค  70s


Steven Klein ช่างภาพที่เป็นผู้รับผิดชอบการถ่ายภาพแฟชั่นครั้งนี้ไม่เคยอยู่ห่างไกลจากเรื่องฉาว เขานำเสนอผลงานที่ถูกโจมตีว่าเป็น blackface มาแล้วหลายครั้ง อย่างการจับนางแบบผิวขาวซีดมาเพนท์เป็นสีดำทั้งตัวในการถ่าย editorials ใน VOGUE

แม้กระทั่งซุปตาร์อย่าง Madonna ก็เคยเปิดเผยว่า เธอเคยร่วมงานกับช่างภาพชื่อดังคนนี้และเพนท์หน้าตัวเองให้เข้มดำเพื่อให้เข้ากับคอนเสปท์ Black Madonna ในการถ่ายทำภาพปกอัลบั้ม แต่ผู้จัดการห้ามปรามเธอไว้ก่อน 
Vogue ได้ชี้แจงข้อกล่าวหาเรื่อง  blackface  ว่า  Steven Klein ได้นำเสนอคอนเสปท์ของเสื้อผ้าใส่ไปทะเลที่มาพร้อมกับผิวสีบรอนซ์  ( ชุดหน้าปกเป็นชุดกางเกงขายาวปักเลื่อมระยิบทั้งตัว+มงกุฎ)  แต่ก็เข้าใจว่า ผลงานนี้ทำให้เกิดการโต้แย้งในหลุ่มผู้อ่าน และแสดงคำขอโทษหากได้สร้างความขุ่นเคืองให้

ทางด้าน Gigi ที่เป็นถูกจับผิดหนักกว่าตัวช่างภาพได้เปิดใจว่า ในฐานะนางแบบ เธอไม่มีอำนาจการตัดสินใจใดๆในการควบคุมภาพผลงาน ทั้งเรื่องการสร้างสรรค์คอนเสปท์และการตกแต่งภาพ เรียกได้ว่าเดินออกจากกองถ่าย หน้าที่ก็จบลง ส่วน "ผิวบรอนซ์" นั้นก็เป็นสไตล์ประจำตัวของ Steven Klein อยู่แแล้ว ซึ่งเธอเชื่อว่า VOGUE italia ไม่ได้มีเจตนาในทางไม่ดี แต่ก็แข้าใจถึงความกังวลของผู้คนที่มีต่อภาพเหล่านี้

Gigi ยังออกตัวว่า เธอไม่เคยมีความมุ่งหมายที่จะเบียดบังชิงโอกาสจากนางแบบคนอื่น และยืนยันว่า หากเธอสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ได้ทุกขั้นตอน มันก็จะไม่ออกมาในรูปแบบนี้ และยกให้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับmagazine อื่นๆให้ใคร่ครวญก่อน เธอปิดท้ายว่า วงการแฟชั่นจะต้องตระหนักในการยอมรับความแตกต่างให้มากกว่านี้








VOGUE US 2013





ธีมสถานการณ์ในโลกปัจจุบันเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยครั้งจากภาพถ่ายในแม็กกาซีนแฟชั่น  แต่มันก็มีเส้นบางๆที่กั้นระหว่างไอเดียบรรเจิดกับการเล่นกับความรู้สึกคนที่ต้องทุกข์ทรมานจากโศกนาฏกรรม

VOGUE ได้สร้างกระแสความสนใจอย่างเกรียวกราวจากการนำเสนอภาพผลงานทางศิลปะแฟชั่นเพื่ออุทิศให้แก่ฮีโร่ที่ทุ่มเทช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียจากพายุเฮอร์ริเคนที่ร้ายกาจ

แต่เสียงตอบรับจากสังคมไม่ได้อบอุ่นหรือมีเสียงชื่นชม   และที่จริงแล้วเราก็เชื่อว่า หลังจากตัดสินใจอนุมัติให้ถ่ายแฟชั่นแบบ theme นี้  VOGUE ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าจะมีสิ่งใดรออยู่



Slate.com ได้ตั้งคำถามกับทีมงาน VOGUE ว่า  ไม่มีใครในทีมรู้สึกตะขิดตะขวงใจกับถ้อยคำที่ใช้บรรยายภาพบ้างหรือไร ?

เจ้าหน้าที่ได้อพยพออกไปด้วยเรือแพที่ลอยระดับสูงกว่ารถที่จอดจมน้ำอยู่ และกลับมาทำงานในวันถัดมา " เราต้องกลับมาทำให้ฐานปฎิบัติการกลับมามีสัญญาณออนไลน์ได้อีกครั้ง" Robin Yang. เจ้าหน้าที่เทคนิคอธิบาย " ทุกๆคนต้องร่วมระดมความคิดและทำทุกสิ่งตามหน้าที่"   ชุดซาตินดัชเชสจาก Oscar de la Renta

พายุเฮอร์ริเคน Sandy ได้พราก 285 ชีวิตอันเป็นที่รักของครอบครัว  อีกนับพันกลายเป็นคนไร้บ้าน   ไม่แปบลกใจนักที่การแสดงจุดยืนของ VOGUE ได้เรียกเสียงวิพากษ์อย่างเผ็ดร้อน   เพราะท่ามกลางความสูญเสียของผู้คนที่ต้องการขวัญกำลังใจและความช่วยเหลือให้ผ่านพ้นวันคืนที่เลวร้ายไปได้   ภาพของนางแบบที่แต่งเสื้อผ้าหน้าผมจัดเต็มโพสจิกกล้องแตกเพื่อสร้างซีนกับกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือก็คงไม่ได้เกิดความรู้สึก"เติมเต็ม"ใดๆขึ้นมา   ส่วนเหล่าเจ้าหน้าที่ก็ถูกวางสถานะไว้ไม่ต่างprop  ที่ส่งให้นางแบบขายาวปรี๊ดดูโดดเด่นขึ้น


ไม่ว่า VOGUE จะตั้งใจสร้างกระแส หรือมีเจตนาที่จะขอบคุณเจ้าหน้าที่ด้วยการถ่ายแบบแฟชั่นจริงๆ  แต่การจับนางแบบมายืนโพสสวยๆท่ามกลางการทำงานยุ่งเป็นมือระวิงก็ดูจะไม่สร้าพลังงานบวกแต่อย่างใด   หลายคนตำหนิว่า นี่คือคอนเสปท์ที่ดูไร้รสนิยมและขาดความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์     จะมีผู้ประสบภัยสักกี่คนที่รู้สึกมีความหวังมากขึ้นเมื่อได้เห็นภาพเหล่านี้

การยกย่องให้เกียรติกลุ่มเจ้าหน้าที่ในแบบฉบับของ VOGUE ด้วยการจับนางแบบในชุดเลิศหรูใาโพสในตำแหน่งที่เด่นที่สุด ส่วนเจ้าที่ยืนเกาะกลุ่มด้านล่างเหมือนอุปกรณ์ประดับฉากได้สร้างความคลางแคลงใจให้กับสังคม

New York magazine ได้ออกโรงเตือนว่า
"VOGUE ได้ทุ่มเทใช้เวลาและความพยายามเพื่อเรี่ยไรเงินบริจาคในการช่วยเหลือฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากพายุ Sandy บทบาทนี้ของพวกเค้าไม่ควรถูกมองข้ามไป" แต่อย่างไรก็ตาม นี่มันไม่เหลวไหลไปหน่อยหรอกเหรอ เหล่าเจ้าหน้าที่ผู้มากับเฮลิคอปเตอร์ เรือ และอปกรณ์ในการช่วยเหลือต่างๆ ต้องมาแบ่งเวลาจากการทำงานเพื่อมาจ้วงแจวพายเรือกับ Chanel Iman ด้วยรึ ?"





VOGUE  US  2008




เหตุใดภาพของนักกีฬาหนุ่มบึกบึนกับซูเปอร์โมเดลผมบลอนด์จึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหน้าปกที่ฉาวที่สุดในวงการ magazine ?

 หากเราบอกคำใบ้ว่า   มีคนตั้งฉายาขอ'หน้าปกนี้คือ King Kong LeBron   หลายคนน่าจะเดาออกได้แล้วว่า ภาพนี้ได้ส่งพลังงานดราม่าออกมาในรูปแบบใด
บางคนอาจจะเดาว่า แรงต่อต้านหน้าปกฉบับนี้คล้ายคลึงกับกรณีเสื้อ "Coolest Monkey In The Jungle"  ของ H&M       แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว เชื่อว่ามันเป็นการสื่อความหมายที่หมิ่นเหม่ไปคนละแบบ  

ความไม่พอใจที่ก่อตัวเป็นจลาจลเนื่องจากสโลแกนบนเสื้อ H&M นั้นเกิดจาก stigma ที่สร้างความเจ็บปวดของคนผิวดำตั้งแต่ในอดีตมาถึงปัจจุบันที่ยังถูกเหยียดหยามว่าไม่มีคุณค่าเท่าเทียมกับคนผิวขาว ยกตัวอย่างนักกีฬาและนักแสดงตลกที่ถูกคนดูปากล้วยใส่เพื่อแสดงออกให้เห็นว่า พวกเค้าไม่ได้รับการยอมรับในฐานะมนุษย์ รวมไปถึงเหล่าวีดีโอที่ประจานพฤติกรรมคนเหยียดผิวที่ผรุสวาทกราดเกรี้ยวใส่คนดำว่าต้อยต่ำกว่าความเป็นคน ( note ตรงนี้ด้วยว่า คนเอเชียน ก็เคยถูกพวกเหยียดผิวเรียกว่า yellow monkey เช่นเดียวกัน)


แต่ในกรณีของหน้าปก VOGUE  ที่มี Lebron James และ Gisele Bundchen ที่กลายเป็นประเด็นโต้เถียงกันว่า racist หรือไม่นั้น   ดราม่าได้ก่อตัวขึ้นจาก stereotype  ของคนผิวดำ

- คนดำดูอันตราย ไม่น่าไว้วางใจ
- คนดำโมโหร้ายชอบใช้กำลัง
- คนดำชอบลักเล็กขโมยน้อย
- คนดำแสดงออกทางเพศแบบล้นๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ

นี่เป็นส่วนหนึ่งของ stereotype ที่หลายคนยืนยันว่าได้นำไปสู่แนวคิดที่เป็นภัยต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในสังคมมีมีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน


ภาพ Lebron James ที่ยืนอ้าปากคำรามแล้วโอบเอวนางแบบดังไว้ด้วยมือเดียวได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า นี่เป็นอีกกรณีตัวอย่างของการหากินกับภาพ stereotype ของชายผิวดำ และโดยเฉพาะองค์ประกอบของภาพก็ยังไปคล้ายคลึงกับโปสเตอร์ King Kong ในสมัยสงครามโลก ก็ทำให้มีเพิ่มข้อครหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติมาอีก

หลายฝ่ายมั่นใจว่า ช่างภาพผู้โด่งดังอย่าง Annie Leibovitz จงใจใช้ภาพแสดงออกชัดเจนถึงประเด็นที่อ่อนไหว "ยั่วยุ" ความรู้สึกของผู้คนเพื่อสร้างกระแสให้กับผลงาน ซึ่งเป็นการตลาดที่ VOGUE  คุ้นเคยเป็นอย่างดี


แต่คนที่ได้รับผลกระทบไปไม่น้อยคือ Lebron ผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้ชายผิวดำคนแรกที่ได้ปรากฏอยู่บน VOGUE เพราะกลายเป็นว่า ความอื้อฉาวได้เบียดบังภาพที่น่าภูมิใจของงนักกีฬาผิวดำที่ประสบความสำเร็จไปจนหมด

Jemele Hill นักข่าว ESPN ให้ความเห็นว่า VOGUE สมควรจะได้รับพบกับกระแสโจมตี แต่คนที่ควรตำหนิมากที่สุดคือ LeBron ควรจะดูแลภาพลักษณ์ให้ดีกว่านี้ เขาไม่น่าจะปล่อยให้ magazineดังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตอกย้ำ stereotype จากสีผิว

"LeBron คือผู้ชายลำดับสามที่ได้ปรากฏอยู่บนปก VOGUE แต่มันยากจะเชื่อว่า magazine รายนี้จะจับเอา Brett Favre, Steve Nash หรือแม้กระทั่ง David Beckham มาโพสท่าเหมือนสัตว์ป่า "

"นักกีฬาผิวดำมักถูกนำเสนอในภาพของความโหดร้าย ก้าวร้าวเกินเหตุ และดูบ่งบอกในเรื่องเพศมากจนเกินไป "




candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE