🌞UV มีผลต่อผิวอย่างไร? ความรุนแรงขนาดไหน? ทำไมเราควรต้องทากันแดด? มาดูกัน (part 1)🌞☀️
RukCosmeticsPharmacist 42 9รังสี UV หรือ Ultraviolet ทำร้ายผิวของเราได้ยังไง?
ความรุนแรงขนาดไหน? ทำไมเราควรต้องทากันแดด?
ที่ตีพิมพ์วารสารต่างประเทศให้เลยแล้วกันนะคะ
เริ่มจากพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเลย
ชั้นผิวหนัง ชั้นผิวเราจะประกอบด้วย 2 ชั้น
Epidermis (ชั้นบน) กับ Dermis (ชั้นล่าง) ถูกเชื่อมกันด้วยชั้นบางๆ
ซึ่งชั้นนี้แหละเป็นตัวผลิตเซลล์ผิวชื่อ keratinocyte
แล้วเซลล์ผิวก็จะถูกดันๆขึ้นมา พร้อมๆกับถูกโปรแกรม
ให้มีขนาด รูปร่าง หน้าที่ๆแตกต่างกันไปในชั้นต่างๆ ของผิวหนังชั้นบน
ด้วยความที่เปเปอร์นี้ พูดถึงเรื่องสีผิวกับแดด
เค้าก็เลยเสนอในมุมเดียวว่า
เวลาผิวหนังถูกดันๆขึ้นมา มันก็จะพาเม็ดสีเมลานิน
ซึ่งถูกยัดในถุงชื่อ Melanosome (เมลาโนโซม)
ในการพาเม็ดสีผิวขึ้นมาด้านบนให้เราเห็นกัน
? ลงดีเทลของ Melanin
หน้าที่ของมัน จะทำหน้าที่เป็น Natural sun screen
หรือสารธรรมชาติจากร่างกายที่ช่วยปกป้องรังสี UV
ไม่ให้ทำร้ายผิว คุมสมดุลของผิวหนัง
ปกป้องผิวจากการทำร้ายของอนุมูลอสระ และ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (Antimicrobial)
ประเภทเมลานิน แบ่งเป็น 2 ประเภท
? ยูเมลานิน (Eumelanin) = เม็ดสีเข้มดำ/น้ำตาล
เป็น UV-protective ป้องกันรังสี UV
? ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) = เม็ดสีอ่อน แดง/บลอนด์
เป็น UV-permeable รังสี UV ผ่านเข้ามาได้ง่าย
เนี่ยแหละสาเหตุที่ทูนหัวผิวไวแสง ส่วนนึงเพราะเป็คนผิวขาวไงหละ
เม็ดสี Eumelanin น้อยแต่ Pheomelanin เยอะ
เลยขาดการปกป้องแสงแดดจากธรรมชาติไปหน่อยนึง
ซึ่งยิ่งขาวก็จะยิ่งไวแสงและเสี่ยงการเป็นมะเร็งผิวหนัง
ทีนี้แล้วขาวแค่ไหนถึงจะเสี่ยงเป็นมะเร็งขนาดนั้น
หรือต้องคล้ำแค่ไหนถึงจะไม่ไวแดด?
ก็มาดูกันที่ห้วข้อต่อไป
????????????
Skin Pigmentation สีผิวกับการตอบสนองต่อแสงแดด
หัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งประเภทผิวแบบ Fitzpatrick phototype โดยตรง
(รักได้ลงบทความรายละเอียดเรื่องการแบ่งประเภทผิวแบบนี้ไว้
หากใครต้องการรู้ดีเทลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาอ่านได้ที่คอนเท้นนี้นะคะ
"Fitzpatrick skin types การแบ่งประเภทผิวแบบฟิสแrทริก" https://www.facebook.com/Pharm.Ruk.Cosmetics/photos/a.114211357032405/123218849464989/?type=3&theater
ฟิสแพทริก จะเป็นการแบ่งประเภทผิว 6 ประเภท
เช่น Type 1 เป็นผิวขาว ผมบลอนด์
ไปจนถึง Type 6 เป็นชาวผิวสี ผมดำสนิท
นอกจากสีผิวก็มีการแบ่งว่า คนไหนไวแสง เสี่ยงมะเร็งแค่ไหน
จะดูจากเงื่อนไขต่อไปนี้
? จำนวนเม็ดสี Eumelanin ของผิว ตา ผม
? ประเมินความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
? ระดับการอักเสบของผิวจาก UV
ซึ่งเค้าก็ไม่ได้เช็กแบบไก่กา
เค้ามีเครื่องมือในการวัดผลได้อย่างจริงจัง
โดยเช็กได้จากค่า MED = Minimal Erythematous dose
แปลไทยคือ ปริมาณ UVB ที่ทำให้ผิวไหม้เบิร์นภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
(วัดจากการแดงและบวมของผิว)
เพราะฉะนั้น พวกขาวๆไวแดดเนี่ย
ค่า MED จะน้อย โดนแดดนิดหน่อยไหม้
แต่กลุ่มที่ผิวคล้ำที่มี eumelanin เยอะ
MED ก็จะสูง ไหม้แดดยากกว่าค่า
ซึ่งคนไทยจะอยู่ใน Fitzpatrick phototype 3 - 4
ทุกอย่างจะกลางๆไปหมด
ผิวออกเหลืองๆไม่เสี่ยงมาก
ผิวอักเสบจากแดดก็กลางๆ
ความเสี่ยงมะเร็งก็กลางๆ
เรียกว่าอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยนั่นเอง
แต่ถ้าในบางคนที่ผิวออกขาวขึ้นมาหน่อย
อยู่ในประเภท 3 แต่ขาวเกือบๆจะเป็นประเภท 2
ก็เป็นไปได้ที่ผิวจะไวแสงมากขึ้น อักเสบง่ายขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้าทูนหัวอยู่ในเลเวลนี้ ก็น่าจะได้คำตอบแล้วนะ
ว่าทำไมผิวตัวเองไวแดดจัง
????????????
เมื่อรู้ปัจจัยภายในที่ทำให้ผิวไวแสงไปแล้ว
เรามาดูปัจจัยภายนอกที่ทำให้เราไหม้แดดง่าย นั่นก็คือ
☀️☀️ รังสีUV ☀️☀️
รังสี UV เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงของความยาวคลื่นที่ตามองเห็น กับ รังสีแกมม่า แบ่งเป็น
1. UV-A ?
ความยาวคลื่นสูงสุด 315-400 nm แต่ พลังงานต่ำสุด
โดนโอโซนดูดซับน้อยสุดเลยตกลงมาถึงพื้นโลก 90-95%
แค่นั้นยังไม่พอยังสามารถทะลุลงผิวหนังเราถึงชั้นล่างซึ่งก็คือ dermis ได้ด้วย
แล้วทำให้เกิดอนุมูลอิสระไปทำลาย DNA ของผิวได้
2. UV-B ?
ความยาวคลื่นสูง 280-320 nm ค่าพลังงานกลางๆ
โดนโอโซนดูดซับไว้ประมาณนึงก็เลยมาถึงพื้นโลกแค่ 5-10%
โชคดีที่ผิวหนังชั้นบนหรือ Epidermis ดูดไว้ได้อีกเลยมีแค่บางส่วนที่ลงไปชั้น Dermis
แต่ข้อเสียคือ ส่วนที่เหลือที่ลงไปได้จะไปทำให้ DNA ของผิวกลายพันธุ์/เกิดมะเร็งได้
3. UV-C ?
ความยาวคลื่นต่ำสุด 100-280 nm แต่พลังงานสูงสุดทะลุแมกซ์
เป็น UV ที่โหดสุด อันตรายสุด
แต่โชคดีที่ชั้นโอโซนดูดไปได้เยอะ เลยไม่ได้ลงมาถึงพื้นโลกมาทำลายผิวเท่าไหร่
เว้นแต่ว่าโลกร้อนมีก๊าซเรือนกระจก ช่องโอโซนโหว่ อันนี้ก็จะอีกเรื่องละ
(ช่วยกันลดโลกร้อนด้วยนะคะพลีส ???)
ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเขตศูนย์สูตร โซนร้อนแดดเปรี้ยงปร้างมาก
ถึงจะพอมีความชื้นมีเมฆบ้างที่บดบังรังสี UV
แต่โดยรวมแดดก็ยังจัดอยู่ในระดับแรงมากอยู่ดีค่ะ
ก็เป็นไปได้ที่จะมีรังสี UV มากกว่าที่อื่น
ยังไม่พอ ยิ่งอยู่ในกรุงเทพซึ่งมลภาวะและก๊าซพิษทำลายโอโซนเยอะ
รูโหว่โอโซนก็มากกว่าปกติ ก็อาจทำให้ทูนหัวได้รับรังสีแต่ละชนิดมากกว่าปกติ
บวกกับร่างที่มีผิวไปทางขาว Eumelanin ก็ไม่ได้เยอะแยะอะไร
เลยไหม้ง่ายขึ้นไปอี๊กนั่นเองค่า
สำหรับหัวข้อถัดไป เพื่อให้ลึกขึ้นสะใจสายวิชาการ
เราจะมาดูกันว่าแดดทำอะไรกับเซลล์ผิวเรา
แต่ขอให้จำไว้ก่อนเลยว่า !!!
แดดทำให้ ดำ อักเสบ ผิวหนา ผิวแก่ (ageing) และ มะเร็ง !!!
(กาดอกจัน 700 ดอกไว้เลย)
? แดดทำให้ดำ (ใช้คำว่าดำเพื่อให้จำง่าย) ✋???
เมื่อเราเจอแดดแรงๆ หรือแดดเบาๆ แต่ระยะเวลานาน
UV-B จะไปทำลายเซลล์ผิว
พอเซลล์ผิว keratinocyte เกือบๆจะตาย
นางจะใช้แรงเฮือกสุดท้ายหลั่งสาร POMC ออกมา (Pro-opiomelanocortin)
ซึ่ง POMC จะทำหน้าที่เหมือนนกพิราบ
ส่งจดหมายซึ่งก็คือ ฮอร์โมน MSH (Melanocyte Stimulating Hormone)
ฮอร์โมน MSH จะถูกส่งไปหาแม่ทัพ
ซึ่งก็คือ Melanocyte (เซลล์ผลิตเม็ดสี)
แม่ทัพก็จะสั่งการในวังตั่งต่างๆ ผ่าน Adenylate Cyclase
ได้ cAMP กระตุ้นการสร้าง CREB และ Mitf
โดยที่ 2 ตัวนี้จะทำให้เกิดการสะสมวัตถุดิบในการผลิตเม็ดสี
เช่น Tyrosinase และเอนไซม์ต่างๆ จนกระทั่งได้ Eumelanin ออกมา
เม็ดสีเข้มที่ได้ก็จะถูกทยอยส่งขึ้นมาที่ผิว
เผื่อไว้คราวหน้าถ้าต้องเจอแดดแบบนี้อีก ผิวจะได้เข้มแข็ง
และแข็งแรงมากพอ ที่จะไม่ทำให้เซลล์เกือบตายแบบเดิมอีก
สรุป ผิวคล้ำดำจ้า จากกลไกปกป้องตัวเองล้วนๆ ✅
? แดดทำให้อักเสบผิวหนา
เป็นผลฉับพลันทันทีจากการตากแดดเกินลิมิต
จนเซลล์ไม่ใช่แค่เกือบตายนะ แต่เซลล์ตายไปเลย !!
ข้อเมื่อกี๊แค่เกือบตายเลยแค่กระตุ้นให้ผิวดำ
แต่พอรอบนี้หนักขึ้นจนเซลล์ผิวตาย
มันจะไปกระตุ้นอีกแบบนึง
โดยมี p53 เพิ่มขึ้นมา
ส่งผลให้กระบวนการสร้างเซลล์ผิวเพิ่มขึ้น ผลคือผิวหนาขึ้นนั่นเอง
สำหรับเซลล์ผิวบางส่วนที่เกือบๆจะตาย ก็จะไปกระตุ้นแบบข้อแรก
ทำให้สุดท้ายผิวทั้งดำทั้งหนาไปเลยจ้า ?????
? แดดทำให้เซลล์บาดเจ็บ (อาจเป็นมะเร็งในขั้นนี้แหละ)
โดยแดดจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ
ภาษาอังกฤษ คือ ROS (Reactive Oxygen Species)
เช่น Superoxide anion, Hydrogen peroxide หรือ Hydroxyl radical
ซึ่งจะทำให้ Nucleotide องค์ประกอบของโปรตีนในผิวเกิดการกลายพันธุ์
เพราะอนุมูลอิสระพวกนี้ จะทำให้ DNA จับคู่สายผิดตำแหน่ง
จากเดิม G/C กลายเป็น จับ G/A แทน
ถ้าสมมติระบบร่างกายไม่สามารถแก้ได้ ก็จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังค่ะ
✅✅ ซึ่งวิธีการแก้ไขคือ เซลล์ผิวเราจะมีระบบซ่อมบำรุง 2 อัน
?อันแรก ชื่อ BER (Base Excision Repair)
ทำหน้าที่ตรวจคู่สาย DNA ว่ามีอันไหนจับผิดคู่รึเปล่า
นางก็จะมาตัดทิ้ง ซ่อมใหม่ แล้วก็ต่อให้ถูกใหม่ เรียกง่ายๆ เหมือนเราเผลอติดกระดุมสลับเม็ดแล้วต้องานั่งแกะใหม่ติดใหม่จนหมดอ่ะ
? อันที่สอง แผนกตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มาออกมา จับกับอนุมูลอิสระไปเลย เช่น
- Superoxide dismutase (SOD’s) วิ่งจับกับ Superoxide anion
- Gluthathione, Catalase วิ่งจับกับ Hydrogen peroxide
พอสองตัวแรกโดนจับ
อนุมูลอิสระที่อันตรายที่สุดอย่าง Hydroxyl radical
ก็ไม่เกิดขึ้นมาทำร้ายเซลล์ผิวให้จับคู่เบสผิดๆถูกๆอีก
ผิวเราก็จะปลอดภัยจากการเป็นมะเร็งค่ะ
????????????
ลองคิดดูนะ
เปรียบเหมือนเราใส่เสื้อ ติดกระดุมผิดแค่แถวเดียวยังเสียเวลา แล้วก็หงุดหงิดเลย
แต่ผิวเรามีตั้งกี่ล้านเซลล์ แล้วแต่ละเซลล์มี DNA ยาวเบื๊อยยยยยยย
ไหนจะพันเกลียวกันเองไหนจะพันเกลียวกะเส้นข้างๆ
ลองได้จับคู่ผิดขึ้นมาคือแย่เลย
เชื่อเหอะเลี่ยงแดดได้ให้ทำ สงสารร่างกายมั่ง
ที่ต้องมานั่งแกะสายดีเอ็นเอทีคู่แล้วซ่อมต่อใหม่ทีละจุดนะคะ
ยังไงก็เลี่ยงแดดทากันแดดมั่งนะค้าาา
อย่าให้ร่างกายต้องมาลำบาก และเสี่ยงมะเร็งกันเลยน้า
ปล.ยังไม่จบนะว่าแดดทำไรกับผิวไรได้มั่ง
เดี๋ยวพรุ่งนี้รักจะมาต่อที่เหลือให้จบนะคะ
#เพราะรักจึงบอก
#เภสัชกรรักคนเดิม เพิ่มเติมคืออ่านเปเปอร์ยากๆมาเล่าให้ฟังง่ายๆค่ะ