เสียหายกันไปเท่าไหร่ กับค่าผ้าอนามัยในแต่ละเดือน
sweetsong13 50 12
ผ้าอนามัยถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามักยกมาถกเถียงและแลกเปลี่ยนกันถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับไว้ในทุกๆ เดือน แม้ในสมัยนี้จะมีตัวเลือกมากมายให้เราใช้ แต่ก็ถือว่าราคาค่อนข้างสูงอยู่ดี ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่แบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่ค่อยไหว เกิดการตั้งคำถามในวงกว้างมากขึ้นว่าทำไมถึงได้ราคาแพงเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำ
ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุมที่ถูกนิยามว่าเป็นเครื่องสำอาง ซึ่งศุลกากรระบุว่าเครื่องสำอางเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีภาษีร้อยละ 40 ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าผ้าอนามัยถูกเก็บภาษีเท่ากับสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ แต่ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุมเท่านั้น เก็บภาษีร้อยละ 7 ตามปกติ
บางประเทศได้ยกเว้นการเก็บภาษีผ้าอนามัยเพราะเป็นสวัสดิการที่รัฐให้ เช่น แคนาดา, เยอรมัน, ออสเตรเลีย, อินเดีย, เคนยา, อังกฤษ, สเปน บางรัฐในสหรัฐอเมริกา และสก็อตแลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่ผ่านกฎหมายให้แจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน
ถึงอย่างนั้นผ้าอนามัยในไทยก็ยังคงมีราคาแพง คนจำนวนมากช่วยกันรณรงค์ว่าผ้าอนามัยควรเป็นสวัสดิการเหมือนกับประเทศอื่นๆ ควรยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัย หรือแจกฟรีไปเลยจะดีกว่าเพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต ผู้หญิงไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ และไม่ควรเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องแบกรับไว้ในทุกๆ เดือน
เราทำการรวบรวมคำตอบของชาวจีบันทั้ง 163 คน ที่มาแลกเปลี่ยนค่าใช้จ่ายผ้าอนามัยและประเภทที่ใช้ในแต่ละเดือน แบ่งเป็น
- ผ้าอนามัยแบบแผ่น 82 คน คิดเป็น 50%
- ถ้วยอนามัย 32 คน คิดเป็น 20%
- ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัย 22 คน คิดเป็น 13%
- ผ้าอนามัยแบบกางเกง 12 คน คิดเป็น 7%
- ผ้าอนามัยแบบสอด 8 คน คิดเป็น 5%
- ผ้าอนาแบบมัยซักได้ 3 คน คิดเป็น 2%
- แพมเพิร์สผู้ใหญ่ 4 คน คิดเป็น 2%
จะมีผ้าอนามัย 4 แบบที่ต้องเสียเงินในทุกๆ เดือน ได้แก่
- ผ้าอนามัยแบบแผ่น 1-500 บาท
- ผ้าอนามัยแบบกางเกง 200-500 บาท
- ผ้าอนามัยแบบสอด 100-300 บาท
- แพมเพิร์สผู้ใหญ่ 200-500 บาท
1. ผ้าอนามัยแบบแผ่น
ผ้าอนามัยแบบแผ่นถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุดถึง 50% เพราะคุ้นเคยและใช้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ มีตัวเลือกให้เลือกเยอะ ใช้ตามปริมาณรอบเดือนของแต่ละคน มาน้อยก็ใช้น้อย มามากก็ต้องใช้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าอนามัย 3-4 แผ่นต่อวัน ตามคำแนะนำของสาธารณสุขเราควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-4 ชั่วโมง
ในหนึ่งเดือนเสียค่าผ้าอนามัยต่ำกว่า 100 บาท 24%, 101-200 บาท 36%, 301-400 บาท 16%, มากกว่า 400 บาท 3% และไม่ระบุ 12%
ผ้าอนามัยแบบแผ่นถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุดถึง 50% เพราะคุ้นเคยและใช้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ มีตัวเลือกให้เลือกเยอะ ใช้ตามปริมาณรอบเดือนของแต่ละคน มาน้อยก็ใช้น้อย มามากก็ต้องใช้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าอนามัย 3-4 แผ่นต่อวัน ตามคำแนะนำของสาธารณสุขเราควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-4 ชั่วโมง
ในหนึ่งเดือนเสียค่าผ้าอนามัยต่ำกว่า 100 บาท 24%, 101-200 บาท 36%, 301-400 บาท 16%, มากกว่า 400 บาท 3% และไม่ระบุ 12%
2. ถ้วยอนามัย
ถ้วยอนามัยกำลังเป็นที่นิยมมาก มีชาวจีนบันเลิฟการใช้ถ้วยอนามัยมากถึง 20% และเป็นสิ่งที่อยากลองใช้มากที่สุด เพราะช่วยลดขยะ รักษ์โลก ไม่ต้องกังวลว่าจะเลอะระหว่างวัน เคลื่อนไหวสะดวก ไม่อับชื้น ไม่เลอะ สามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติจนเกือบลืมไปว่ามีประจำเดือน ซื้อแค่ถ้วยเดียวก็ใช้งานได้ยาวๆ เป็น 10 ปี!
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่อยากลองใช้แต่ก็ไม่กล้าซื้อมาใช้ เพราะกลัวเจ็บ ไม่มั่นใจว่าจะสามารถใส่ได้ และบางคนก็กังวลเรื่องความสะอาด คนที่ใช้ถ้วยอนามัยอยู่ก็ช่วยยืนยันว่า ถ้าใส่เป็นแล้วรับรองว่าจะติดใจแน่นอน ของแบบนี้ไม่ลองไม่รู้น้า
ถ้วยอนามัยกำลังเป็นที่นิยมมาก มีชาวจีนบันเลิฟการใช้ถ้วยอนามัยมากถึง 20% และเป็นสิ่งที่อยากลองใช้มากที่สุด เพราะช่วยลดขยะ รักษ์โลก ไม่ต้องกังวลว่าจะเลอะระหว่างวัน เคลื่อนไหวสะดวก ไม่อับชื้น ไม่เลอะ สามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติจนเกือบลืมไปว่ามีประจำเดือน ซื้อแค่ถ้วยเดียวก็ใช้งานได้ยาวๆ เป็น 10 ปี!
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่อยากลองใช้แต่ก็ไม่กล้าซื้อมาใช้ เพราะกลัวเจ็บ ไม่มั่นใจว่าจะสามารถใส่ได้ และบางคนก็กังวลเรื่องความสะอาด คนที่ใช้ถ้วยอนามัยอยู่ก็ช่วยยืนยันว่า ถ้าใส่เป็นแล้วรับรองว่าจะติดใจแน่นอน ของแบบนี้ไม่ลองไม่รู้น้า
3. ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัย
มีคนใช้ก็ต้องมีคนไม่ได้ใช้กันบ้าง มี 13% ที่ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัย เพราะกำลังตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีโรคประจำตัว และฉีดหรือฝังยาคุม กลุ่มนี้จึงประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสียเงินให้กับผ้าอนามัยเลย
มีคนใช้ก็ต้องมีคนไม่ได้ใช้กันบ้าง มี 13% ที่ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัย เพราะกำลังตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีโรคประจำตัว และฉีดหรือฝังยาคุม กลุ่มนี้จึงประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสียเงินให้กับผ้าอนามัยเลย
4. ผ้าอนามัยแบบกางเกง
ผ้าอนามัยแบบกางเกงบางและกระชับกว่าแพมเพิร์ส ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับประจำเดือนโดยเฉพาะ 7% เลือกใช้ผ้าอนามัยแบบกางเกงในวันที่รอบเดือนมามากเป็นพิเศษ เพราะให้ความรู้สึกเหมือนใส่กางเกงในปกติ แถมป้องกันการซึมเปื้อนได้ 360 องศา
วันหนึ่งใช้อย่างน้อย 4 ชิ้น ตกตัวละ 35 บาท ใส่ประมาณ 2 วัน ส่วนวันอื่นๆ ก็จะใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น ในหนึ่งเดือนกลุ่มนี้จะเสียค่าผ้าอนามัยประมาณ 200-500 บาท
ผ้าอนามัยแบบกางเกงบางและกระชับกว่าแพมเพิร์ส ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับประจำเดือนโดยเฉพาะ 7% เลือกใช้ผ้าอนามัยแบบกางเกงในวันที่รอบเดือนมามากเป็นพิเศษ เพราะให้ความรู้สึกเหมือนใส่กางเกงในปกติ แถมป้องกันการซึมเปื้อนได้ 360 องศา
วันหนึ่งใช้อย่างน้อย 4 ชิ้น ตกตัวละ 35 บาท ใส่ประมาณ 2 วัน ส่วนวันอื่นๆ ก็จะใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น ในหนึ่งเดือนกลุ่มนี้จะเสียค่าผ้าอนามัยประมาณ 200-500 บาท
5. ผ้าอนามัยแบบสอด
ผ้าอนามัยแบบสอดเหมาะกับคนที่เล่นกีฬาโดยเฉพาะว่ายน้ำ ลักษณะเป็นแท่งคล้ายสำลีอัดแข็ง และมีเชือกเล็กๆ ที่ส่วนปลาย ไว้ใช้ดึงผ้าอนามัยออกมา ควรเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง มีชาวจีบันใช้ผ้าอนามัยแบบสอด 5% เพราะสะดวกและมีโปรโมชั่นบ่อย บางคนก็ระคายเคืองกับแบบแผ่นจึงหันมาใช้แบบสอดแทน
ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ได้ใส่ยากอย่างที่คิด ถ้าได้ลองใส่อย่างถูกต้องแล้ว ต้องติดใจในความสะดวกและคล่องตัวแน่นอน ในแต่ละเดือนเสียค่าเงินไปกับผ้าอนามัยแบบสอด 100-300 บาท
ผ้าอนามัยแบบสอดเหมาะกับคนที่เล่นกีฬาโดยเฉพาะว่ายน้ำ ลักษณะเป็นแท่งคล้ายสำลีอัดแข็ง และมีเชือกเล็กๆ ที่ส่วนปลาย ไว้ใช้ดึงผ้าอนามัยออกมา ควรเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง มีชาวจีบันใช้ผ้าอนามัยแบบสอด 5% เพราะสะดวกและมีโปรโมชั่นบ่อย บางคนก็ระคายเคืองกับแบบแผ่นจึงหันมาใช้แบบสอดแทน
ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ได้ใส่ยากอย่างที่คิด ถ้าได้ลองใส่อย่างถูกต้องแล้ว ต้องติดใจในความสะดวกและคล่องตัวแน่นอน ในแต่ละเดือนเสียค่าเงินไปกับผ้าอนามัยแบบสอด 100-300 บาท
6. ผ้าอนามัยแบบซักได้
ผ้าอนามัยซักได้มีรูปร่างเป็นแผ่นเหมือนผ้าอนามัยแบบแผ่น แต่ทำจากผ้าที่ซึมซับประจำเดือนได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถซัก-ตาก กลับมาใช้ซ้ำได้ มีชาวจีบันใช้ผ้าอนามัยแบบซักได้ 2% เลือกใช้เพราะสามารถใช้ซ้ำได้ ไม่มีกลิ่น ไม่ระคายเคือง ดีต่อร่างกาย และลดขยะ
ถ้าประจำเดือนมาเยอะควรเปลี่ยนวันละ 3 ผืน ผ้าอนามัยซักได้ราคาประมาณ 50-300 บาทต่อแผ่น ถ้าเราใช้แบบ 100 บาท วันละแผ่น ในหนึ่งปีจะเสียเงินตกเดือนละ 8 บาทเท่านั้น
ผ้าอนามัยซักได้มีรูปร่างเป็นแผ่นเหมือนผ้าอนามัยแบบแผ่น แต่ทำจากผ้าที่ซึมซับประจำเดือนได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถซัก-ตาก กลับมาใช้ซ้ำได้ มีชาวจีบันใช้ผ้าอนามัยแบบซักได้ 2% เลือกใช้เพราะสามารถใช้ซ้ำได้ ไม่มีกลิ่น ไม่ระคายเคือง ดีต่อร่างกาย และลดขยะ
ถ้าประจำเดือนมาเยอะควรเปลี่ยนวันละ 3 ผืน ผ้าอนามัยซักได้ราคาประมาณ 50-300 บาทต่อแผ่น ถ้าเราใช้แบบ 100 บาท วันละแผ่น ในหนึ่งปีจะเสียเงินตกเดือนละ 8 บาทเท่านั้น
7. แพมเพิร์สผู้ใหญ่
ผ้าอ้อมผู้ใหญ่หรือแพมเพิร์สอาจไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้กับประจำเดือนโดยเฉพาะ แต่สามารถซึมซับประจำเดือนได้อย่างดีเช่นเดียวกัน ป้องกันการซึมเปื้อนได้ 360 องศา
ควรเปลี่ยนวันละ 2-4 ครั้ง มีชาวจีบันชอบใช้ถึง 2% เพราะสะดวกดี เหมาะกับวันที่ประจำเดือนมาเยอะๆ เฉลี่ยเสียค่าแพมเพิร์สต่อเดือน 200-500 บาท
ผ้าอ้อมผู้ใหญ่หรือแพมเพิร์สอาจไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้กับประจำเดือนโดยเฉพาะ แต่สามารถซึมซับประจำเดือนได้อย่างดีเช่นเดียวกัน ป้องกันการซึมเปื้อนได้ 360 องศา
ควรเปลี่ยนวันละ 2-4 ครั้ง มีชาวจีบันชอบใช้ถึง 2% เพราะสะดวกดี เหมาะกับวันที่ประจำเดือนมาเยอะๆ เฉลี่ยเสียค่าแพมเพิร์สต่อเดือน 200-500 บาท
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทุกคนมาแชร์กันในเฟซบุ๊กเพจน้า เห็นได้ว่าหลายคนก็ไม่ได้ใช้แค่แบบเดียว แต่เลือกแบบที่ชอบและเหมาะกับปริมาณประจำเดือนในแต่ละวัน ใครอยากแลกเปลี่ยนก็คอมเมนต์เพิ่มเติมกันได้เลยค่า