กลุ่มคนที่ถูกตีตราในสังคมเกาหลี
candy 55 10
แม่เลี้ยงเดี่ยวและผู้ที่เติบโตมาจากการเลี้ยงดูของแม่เลี้ยงเดี่ยว
Barack Obama Alicia Keys Keanu Reeves Mariah Carey ต่างได้รับการเลี้ยงดูจากแม่โดยที่ไม่มีพ่อไม่ได้อยู่เคียงข้าง เมื่อก้าวเข้ามาสร้างความสำเร็จในระดับแถวหน้า พวกเค้าได้ยกย่องเทิดทูนแม่ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
ในอดีตหลายสิบปีก่อน เกาหลีใต้เคยเป็นประเทศที่มีตัวเลขการหย่าร้างต่ำ จาก norm ดั้งเดิมที่ยึดมั่นว่า ผู้ที่ผ่านการหย่ามาแล้วจะไม่เป็นที่ยอมรับและมีโอกาสหาคู่ครองใหม่ได้ยากลำบาก ทำให้ generation เก่าก่อนจะต้องกล้ำกลืนฝืนทนกับชีวิตคู่ที่ไม่พึงปรารถนา ผู้คนในสังคมได้ให้ความสำคัญต่อครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวจะ toxic เกินเยียวยา แต่พวกเค้าไม่สามารถปล่อยให้ลูกเติบโตไปพบกับการปฏิบัติย่ำแย่จากคนรอบข้าง นั่นเป็นเพราะว่า การเป็นลูกที่มีแม่เลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงดูถือเป็นตราบาปที่จะฝังใจไปอีกเนิ่นนาน เมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป ผู้คนได้รับการศึกษาและรับอิทธิพลแนวคิดจากสังคมที่ก้าวไปสู่โลกที่พัฒนาแล้ว และตัดสินใจยุติชีวิตไม่พึงปรารถนาด้วยการหย่าขาดออกจากคู่ครอง ตัวเลขการหย่าพุ่งสูงขึ้นจนไม่ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้าม
แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อคติต่อแม่เลี้ยงเดี่ยวก็ยังเกาะติดในค่านิยมสังคมอย่างเหนียวแน่น... โดยเฉพาะแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้แต่งงานที่ต้องถูกบีบคั้นรุนแรงกว่าแม่เลี้ยงเดี่ยวจากการหย่าร้างหรือสามีเสียชีวิต
แม่เลี้ยงเดี่ยวในเกาหลีใต้บางคนได้ออกมาเปิดใจว่า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่พวกเธอต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ
- หากตั้งท้องโดยไม่มีผู้ชายมารับผิดชอบเป็นพ่อเด็ก อาจจะถูกคนรอบข้างกดดันให้ยกลูกให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และถ้าตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ก็ต้องพบกับข้อกล่าวหาว่าเห็นแก่ตัว เพราะเด็กจะต้องพบทนทุกข์กับคำดูถูกเมื่อโตขึ้น การตัดขาดจากลูกต่างหากคือความเสียสละที่แท้จริง
- แม่บางคนไม่ได้ต้องการยกเด็กให้ผู้อื่นรับอุปการะ แต่ครอบครัวกดดันจนในที่สุดก็กลายมาเป็นความผิดพลาดที่เอาคืนไม่ได้จนต้องเสียใจไปตลอดชีวิต
- ผู้หญิงที่มีลูกโดยไม่ได้แต่งงานและไม่มีพ่อเด็กอยู่ด้วยจะไม่เป็นที่ต้อนรับในวันรวมญาติ เพราะถือว่าเป็นแกะดำที่ละเมิดความเชื่อของการสร้างครอบครัวที่ต้องมีพ่อแม่ลูก ร้ายกว่านั้นอาจจะถูกพ่อแม่ตัดขาดไปก็มี
- ถูกไล่ออกจากงาน หรือปฏิเสธไม่ให้เข้าทำงานหากมีลูกโดยไม่มีสามี และมักถูกกล่าวหาว่าใช้สถานะแม่เลี้ยงเดี่ยวเพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน (จากที่จะได้รับสวัสดิการช่วยเหลือจำนวนหนึ่ง แต่ก็มีเงื่อนไขในการยื่นรับพอสมควร)
- ความรังเกียจนั้นรุนแรงขนาดที่ เคยมีแม่เลี้ยงเดี่่ยวที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กไปให้สัมภาษณ์ด้วยการเบลอหน้าตา แต่มีคนจดจำได้ว่าเป็นเธอ ที่ผ่านมานั้นเธอไม่ได้บอกคนอื่นว่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อความจริงเปิดเผย ลูกค้าก็หลีกเลี่ยงไม่มาใช้บริการ ส่วนลูกวัยประถมก็ถูกเยาะเย้ยเหมือนเป็นเรื่องสนุก
- มีความเป็นไปได้ที่เด็กจะถูกกีดกันจากกลุ่มเพื่อน เพราะพ่อแม่คนอื่นไม่ต้องการให้ลูกตัวเองเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่มีพ่อ ปลูกฝังความคิดรังเกียจแม่เลี้ยงเดี่ยวกันให้ตั้งแต่เด็กๆกันเลยทีเดียว
- คำถามที่แม่เลี้ยงเดี่ยวต้องเจอคือ เพราะอะไรจึงไม่ทำแท้ง ? และ เพราะอะไรจึงไม่ยกลูกให้คนอื่นเลี้ยง? โดยเฉพาะผู้ที่ยังต้องดิ้นรนหาเลี้ยงลูกโดยไร้วี่แววพ่อ แม้ว่าจะมีสวัสดิการช่วยเหลือทางการเงินอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ก็ต้องทนกับสายตาดูแคลนของคนอื่น
- กฏหมายเปิดโอกาสให้ฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากพ่อเด็ก แต่แม่เลี้ยงเดี่ยวต้องถูกกล่าวหาว่าเป็นนักขุดทอง หลายคนไม่เรียกร้องความรับผิดชอบจากพ่อเพราะไม่อยากถูกซ้ำเติมว่าใช้หากินกับลูก
- แม้แต่แม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีฐานะทางการเงินดีและสามารถเลี้ยงดูลูกโดยไม่ต้องดิ้นรนก็ยังถูกพิพากษาว่าไม่เสียสละมากพอ หากกลายมาเป็นแม่เลี้้ยงเดี่ยวจากการหย่าร้าง ก็ถูกโทษว่าทำหน้าที่แม่และภรรยาไม่ดีพอ เพราะควรจะทำทุกวิถีทางในการรั้งสามีไว้เพื่ออนาคตของลูก
- เมื่อใดก็ตามที่เด็กที่มีแม่เลี้ยงเดี่ยวมีปัญหา ผู้คนจะโยนความผิดว่าเพราะเป็นลูกไม่มีพ่อ
- มีการสำรวจผู้หญิงที่มีลูกโดยไม่ได้แต่งงานไว้ราวๆสองหมื่นกว่าคน แต่เชื่อว่า ยังมีอีกผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้อีกจำนวนมากเพราะวิตกกังวลว่า หากผู้อื่นรู้แล้วจะถูกเลือกปฏิบัติจนต้องเก็บเป็นความลับ
ทัศนคติย่ำแย่ต่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
ผู้หญิงที่มีลูกโดยที่ไม่ได้แต่งงานสื่อถึงความสำส่อน ไร้ศักดิ์ศรี เป็นความน่าอับอายที่ถูกมองว่าไม่ควรได้รับโอกาสในการเริ่มชีวิตกับคู่ครองคนใหม่ เพราะมัวหมองเกินกว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้อง
แม้ว่าพวกเธอตั้งใจจะเลี้ยงดูลูกเอง ก็ถือว่านี่คือพฤติกรรมที่ไม่รับผิดชอบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เป็นพ่อเด็ก แม่เลี้ยงเดี่ยวจะต้องยอมรับความผิดไว้เพียงผู้เดียว
ผู้คนจำนวนมากเชื่อมั่นว่า แม่เลี้ยงเดี่ยวไร้คุณสมบัติในความเป็นแม่ เพราะไม่สามารถมอบชีวิตที่ดีที่สุดที่อยู่บนพื้นฐานของสมาชิครอบครัวที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้กับลูกได้
ความยากลำบากนี้ทำให้แม่เลี้ยงเดี่ยวรวมตัวกันเป็นสมาคมและ online community เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำกับคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน แต่นั่นไม่ได้ทำให้สังคมลบเลือนตราบาปจากตัวพวกเธอไป และนี่ทำให้สื่อต่างประเทศเข้ามาเจาะลึกประเด็นนี้แล้วหลายครั้ง สำหรับหลายคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน เมื่อได้พบว่าแม่เลี้ยงเดี่ยวในเกาหลีใต้ถูกเลือกปฏิบัติถึงเพียงนี้ย่อมจะสร้างความรู้สึกที่ขัดแย้ง เพราะนี่คือประเทศที่สามารถพัฒนาทัดเทียมอารยประเทศได้อย่างรวดเร็ว แม้จะพบกับวิกฤติทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่กลับพิพากษาคนร่วมสังคมเพียงเพราะมีสถานะแม่เลี่ยงเดี่ยว
เมื่อคุณได้ชมเรื่องราวของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องเผชิญการเลือกปฎิบัติผ่านซีรีส์ อาจจะทำให้คิดว่าเป็นวิธีเรียกเรตติ้งด้วยการเสริมแต่งให้ดราม่าเกินจริงเพื่อบีบคั้นอารมณ์คนดู แต่หลายเรื่องราวจากปากแม่เลี้ยงเดี่ยวตัวจริงในเกาหลีกลับฟังรันทดซะยิ่งกว่าในละครเสียอีก
หลายปีก่อน เคยได้ยินเสียงเล่าลือว่า ซีรีส์ The Greatest Marriage มีพล็อทชวนปวดตับเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ดูก็ get ทันที เพราะศูนย์กลางของเรื่องคือ ผู้ประกาศสาวชื่อดังที่เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ เธอมีความรักร้อนแรงกับชายหนุ่มทายาทแชโบล แต่ดันท้องอย่างไม่ได้ตั้งใจ และพ่อแม่แฟนก็ยี้ที่เธอไม่ได้มาจากตระกูลรวยล้นฟ้า เธอจึงเชิดหน้าแยกตัวไปไม่คิดหวนกลับและตัดสินใจเก็บลูกในท้องไว้ กว่าจะผ่านอุปสรรคที่ถูกเลือกปฏิบัติจากความเป็นแม่เลี่้ยงเดี่ยวก็เลือกตาแทบกระเด็น พอจะเริ่มตั้งตัวได้ อดีตแฟนที่เคยเซ็นยกสิทธิ์การเลี้ยงดูให้ กลับมาแว้งกัดด้วยการฟ้องร้องแย่งลูกไปจากอกเธอ ซ้ำร้าย แทนที่สังคมจะเห็นใจคนเป็นแม่ ยังเลือกเข้าข้างผู้ชายอย่างไม่ลังเล รุมถล่มเธออย่างร้ายกาจ จะต่อสู้เช่นไรก็ยากจะเห็นทางเอาชนะพ่อและปู่ย่าของลูกที่เป็นกลุ่มทรงอิทธิพล ทั้งเรื่อง แทบจะไม่มีพลังงานด้านบวก แต่เป็นการขยี้ประเด็นความทุกข์ของแม่เลี้ยงเดี่ยวให้น่าขยาด แม้แต่ผู้หญิงที่ดูเก่งกาจมั่นใจก็ยังต้องพ่ายแพ้ ขึ้นอยู่โชคชะตาว่า จะมีเจ้าชายขี่ม้าขาวมาคอยช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ไปได้หรือไม่
กง ฮโยจินเป็นนางเอกที่มีสร้างชื่อเสียงจากซีรีส์เรตติ้งสูงปรี๊ดมาแล้วหลายเรื่อง แฟนๆต่างคุ้นเคยกับกับภาพของเธอในบทสาวหัวอ่อนแสนดีขี้กลัว แต่การรับบทนางเอกซีรีส์ชื่อดัง When The Camellia Blooms ที่ออนแอร์ผ่าน Netflix กลายมาเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เธอคว้ารางแดซัง (รางวัลสูงสุดแห่งการแสดง) เป็นครั้งแรก บท "ดงแบค" แม่เลี้ยงเดี่ยวเจ้าของร้านเหล้าในย่านชุมชนกลายมาเป็นขวัญใจผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว จากสร้างเสียงชื่นชมว่า นางเอกชื่อดังได้ฉีกบทบาทด้วยการแสดงออกถึงพลังหญิงในการต่อกรกับสังคมที่เหยียดหยามแม่เลี้ยงเดี่ยว และเป็นตัวอย่างชั้นดีที่พิสูจน์ให้ผู้ชมได้เปลี่ยนแปลงอคติต่อผู้หญิงที่เลี้ยงดูลูกโดยไร้สามีเคียงข้าง และหันมาเปิดใจยอมรับว่า นี่ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายหรือชวนสมเพชเวทนาแต่อย่างใด
แต่เดี่๋ยวก่อน! หากคุณชมตั้งแต่ต้นจนจบก็จะพบว่า กว่าดงแบคจะลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเอง เธอก็ต้องทนให้คนในชุมชน bully ตั้งแต่ลูกยังแบเบาะจนโตเข้าเรียนประถม ความคิดของเธอวนเวียนอยู่กับการ "เจียมเนื้อเจียมตัว" แม้จะมีใจให้กับผู้ชายแสนดีที่เข้ามาทุ่มเทความรักให้เธอโดยไม่แคร์เรื่องลูกติด เธอก็ต้องย้ำเตือนทั้งตัวเองและฝ่ายชายว่าเธอไม่คู่ควรต่อความรักของเขาแม้แต่น้อย
แน่นอนว่า ซีรีส์เกาหลีมีชื่อลือชาเรื่องการบิวท์ดราม่าน้ำตาพุ่ง ยิ่งตัวเอกอาภัพและต้องสู้ชีวิตจากอุปสรรคหนักหนามากเท่าใด ก็น่าจะทำให้ผู้คนอินและเอาใจช่วย แต่นี่อาจจะทำให้ผู้ชมจากต่างประเทศบางคนรู้สึกอึดอัดคับข้องใจอยู่บ้าง
การมีลูกติดและพยายามทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัวด้วยลำแข้งตัวเองมันต้อยต่ำขนาดนั้นเชียวหรือ ?
แต่เดี่๋ยวก่อน! หากคุณชมตั้งแต่ต้นจนจบก็จะพบว่า กว่าดงแบคจะลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเอง เธอก็ต้องทนให้คนในชุมชน bully ตั้งแต่ลูกยังแบเบาะจนโตเข้าเรียนประถม ความคิดของเธอวนเวียนอยู่กับการ "เจียมเนื้อเจียมตัว" แม้จะมีใจให้กับผู้ชายแสนดีที่เข้ามาทุ่มเทความรักให้เธอโดยไม่แคร์เรื่องลูกติด เธอก็ต้องย้ำเตือนทั้งตัวเองและฝ่ายชายว่าเธอไม่คู่ควรต่อความรักของเขาแม้แต่น้อย
แน่นอนว่า ซีรีส์เกาหลีมีชื่อลือชาเรื่องการบิวท์ดราม่าน้ำตาพุ่ง ยิ่งตัวเอกอาภัพและต้องสู้ชีวิตจากอุปสรรคหนักหนามากเท่าใด ก็น่าจะทำให้ผู้คนอินและเอาใจช่วย แต่นี่อาจจะทำให้ผู้ชมจากต่างประเทศบางคนรู้สึกอึดอัดคับข้องใจอยู่บ้าง
การมีลูกติดและพยายามทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัวด้วยลำแข้งตัวเองมันต้อยต่ำขนาดนั้นเชียวหรือ ?
ฉากปกติที่คุณสามารถพบเห็นในซีรีส์และเว็บตูน
- แม้ว่าจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ถูกเพื่อนร่วมงานพูดถึงด้วยน้ำเสียงที่เจือความสมเพชว่า "คงจะต้องลำบากมามากเพราะมีแม่เลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงมา"
- การแสดงทัศนคติว่า การมีแม่เลี้ยงเดี่ยวคือความเสียเปรียบ แม้ว่าจะฝ่าฟันอุปสรรคจนได้ดี แต่ก็ต้องทุ่มเทมากมากยิ่งขึ้นเพราะนี่คือปมด้อยที่ทำให้โฑรไฟล์มีรอยด่างพร้อย
- ความหวั่นเกรงที่จะบอกความจริงกับคนอื่นว่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว กดดันถึงขั้นที่บางตัวละครกำชับลูกไม่ให้บอกใครว่ามาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว เพราะเสี่ยงที่จะถูก bully
- ครอบครัวที่แสดงความรังเกียจและต่อต้านเมื่อพบว่าลูกชายคบหากับแม่เลี้ยงเดี่ยว
- สภาพของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มักจะดู "พัง" และถูกคนยัดเยียดว่า ความผิดพลาดที่ไม่มีสามีทำให้ลูกไร้พ่อ และนี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชีวิตของพวกเค้าย่ำแย่
มีการสร้างซีรีส์ที่เล่าเรื่องราวของแม่เลี้ยงเดี่ยวในเกาหลีใต้ขึ้นมามากมาย โดยมากแล้ว พวกเราจะไม่ได้เห็นภาพการใช้ชีวิตที่มีความสุขตามอัตภาพของแม่ลูกเท่าใดนัก แน่นอนว่า การทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกตามลำพังจะเป็นความท้าทายที่แม่เลี้ยงเดี่ยวแทบทุกคนต้องรับมือ (แม้ว่าจะมีสมาชิกครอบครัวช่วยเหลือบ้างก็ตาม) แต่แนวคิดด้านลบที่สะท้อนจากซีรีส์เกาหลีนั้นดูเหมือนกับจะประกาศอยู่ในตัวว่า นอกจากจะต้องพยายาม balance ชีวิตด้วยหน้าที่ดูแลครอบครัวโดยไม่มีสามีมาช่วยเหลือแล้ว มันเป็นเรื่องแสนปกติที่แม่เลี้ยงเดี่ยวและลูกจะต้องถูกเย้ยหยัน และทำใจอดทนกับเรื่อง bully กว่าที่จะตอบโต้กับอคติของคนในสังคมได้ ตัวละครหลายเรื่องต้องฝืนทนจนใกล้ขีดสุด ทั้งๆที่พวกเค้าสมควรจะได้รับกำลังใจและการให้เกียรติไม่แพ้แม่คนอื่นๆ
ภาพของแม่เลี้ยงเดี่ยวในซีรีส์ Was it love ? ที่ก้มหัวขอโทษพ่อแม่ของเด็กที่ก่อเรื่องทะเลาะกับลูกของเธอแทบจะทันทีโดยไม่ถามไถ่สาเหตุจากฝ่ายตัวเอง เพียงเพราะคู่กรณีเอ่ยปากเหยียดว่า วิธีการเลี้ยงลูกแบบโอ๋เกินไปของเธอทำให้คนอื่นดูออกชัดว่าเป็นเด็กไม่ไม่มีพ่อ อาจจะทำให้บางคนเกิดความขัดแย้งในใจว่า ก้าวมาถึงยุค 2020s เราก็ยังได้เห็นคนที่ต้องก้มหัวขอโทษคนอื่นเพราะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่หรือ ?
แท้จริงแล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้มิได้มองข้ามปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อแม่เลี้ยงเดี่ยว และจัดให้มี "วันแม่เลี้ยงเดี่ยว" และพยายามส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ผู้คนยุติการตีตราบาปอันไร้ความเป็นธรรมนี้ แต่ดูหมือนว่า นี่คือหนึ่งในปัญหาสังคมที่ยากจะแก้ไขที่มาพร้อมกับแนวคิดชายเป็นใหญ่ที่หยั่งลึกจนยากจะถอนรากถอนโคนออกมาได้
เมื่อปีที่แล้ว ข่าวการตั้งครรภ์ของซายูริ ฟูจิตะ คนดังจาก TV show ที่ก้าวเข้ามาสร้างชื่อเสียงที่เกาหลีใต้ได้สร้างเสียงวิจารณ์อย่างอื้ออึงเมื่อเธอให้กำเนิดลูกด้วยวิธี IVF (ใช้น้ำเชื้อจากธนาคารอสุจิที่ญี่ปุ่น) เติมเต็มความฝันในการเป็นแม่คนในวัย 48 ผู้หญิงที่พร้อมในการมีลูกแต่ไม่มีคู่ครองและหันมาใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อให้กำเนิดลููกดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้แปลกใหม่ในสังคมตะวันตก หรือแม้แต่ในญี่ปุ่นที่ยังมีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูง ก็ไม่ได้ต่อต้านมากมายนัก แต่ในเกาหลีใต้ ชาวเน็ทหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่า ซายูริไม่ได้ถูกโจมตีหนักจากชาวเกาหลีเพราะว่าเธอเป็นคนญี่ปุ่นนั่นเอง หากเป็นคนดังสัญชาติเกาหลีแล้ว สังคมอาจจะไม่แสดงความยินดีกับกับแม่เลี้ยงเดี่ยวได้อย่างเต็มปาก
ซายูริได้เปิดใจผ่าน social media ว่า
"ฉันได้กลายเป็นแม่ของลูกชายแล้วค่ะ การตัดสินใจเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่มันไม่ใช่การตัดสินใจที่น่าอับอายแต่อย่างใด ฉันขอขอบคุณลูกชายที่ทำให้ฉันรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นแม่ค่ะ"
" ฉันอยากจะขอบคุณทุกคน จากใจของฉัน คนที่เคยยึดมั่นตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต่อไปนี้จะทุ่มเทเพื่อลูกชายค่ะ"
เธอได้ระบุเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนี้เพื่อมีลูกว่า ตามกฎหมายเกาหลีใต้ ผู้หญิงโสดไม่สามารถทำ IVF ได้ เนื่องจากเธอมีอายุมากแล้วจึงยากจะตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ และเธอไม่สามารถแต่งงานกับผู้ชายโดยไร้ความรักได้ และมีความหวังว่า เกาหลีใต้จะเปลี่ยนมาอนุญาตให้ผู้หญิงโสดเลือกมีลูกด้วยวิธีนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ข่าวดีของซายูริดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาร่วมยินดีเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีชาวเน็ทที่ต่อต้านการเลือกเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของเธอว่า รู้สึกเวทนาเด็กที่เกิดมาโดยไม่มีพ่อ แทนที่จะรับบริจาคอสุจิ เธอควรจะเร่งหาผู้ชายดีๆมาเป็นสามีแล้วมีลูกและครอบครัวอันสมบูรณ์จะเหมาะสมกว่า
ซายูริได้เปิดใจผ่าน social media ว่า
"ฉันได้กลายเป็นแม่ของลูกชายแล้วค่ะ การตัดสินใจเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่มันไม่ใช่การตัดสินใจที่น่าอับอายแต่อย่างใด ฉันขอขอบคุณลูกชายที่ทำให้ฉันรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นแม่ค่ะ"
" ฉันอยากจะขอบคุณทุกคน จากใจของฉัน คนที่เคยยึดมั่นตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต่อไปนี้จะทุ่มเทเพื่อลูกชายค่ะ"
เธอได้ระบุเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนี้เพื่อมีลูกว่า ตามกฎหมายเกาหลีใต้ ผู้หญิงโสดไม่สามารถทำ IVF ได้ เนื่องจากเธอมีอายุมากแล้วจึงยากจะตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ และเธอไม่สามารถแต่งงานกับผู้ชายโดยไร้ความรักได้ และมีความหวังว่า เกาหลีใต้จะเปลี่ยนมาอนุญาตให้ผู้หญิงโสดเลือกมีลูกด้วยวิธีนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ข่าวดีของซายูริดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาร่วมยินดีเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีชาวเน็ทที่ต่อต้านการเลือกเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของเธอว่า รู้สึกเวทนาเด็กที่เกิดมาโดยไม่มีพ่อ แทนที่จะรับบริจาคอสุจิ เธอควรจะเร่งหาผู้ชายดีๆมาเป็นสามีแล้วมีลูกและครอบครัวอันสมบูรณ์จะเหมาะสมกว่า
พ่อเลี้ยงเดี่ยวก็ไม่เว้น
พระเอก One Spring Night คืออีกหนึ่งตัวอย่างของอคติของพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยวในเกาหลีใต้ เขาคือชายหนุ่มรูปงามการศึกษาดี หน้าที่การงานมั่นคงตรงตาม type ที่คนเกาหลีปลาบปลื้ม แถมยังมีพ่อแม่ที่แสนน่ารัก แต่เพราะมีลูกติดจากสาวคนรักที่หนีหายไป เรื่องนี้ทำให้เพื่อนร่วมงานพูดลับหลังเขาด้วยความสังเวชใจว่า " ใครจะอยากได้คนแบบนี้กันล่ะ
แม้ว่าพ่อเลี้ยงเดี่ยวอาจจะไม่ถูกเหยียดหยามมากเท่าที่แม่เลี้ยงเดี่ยวต้องพบเจอ แต่ก็ต้องพบกับการประเมินค่าว่ามีคุณสมบัติไม่ดีพอจะสร้างครอบครัวเช่นกัน
ในซีรีส์นั้น แม่เลี้ยงเดี่ยวสุด strong ที่ทุ่มเททุกอย่างเพื่อลูกจะได้พบกับชายหนุ่มแสนดี ซึ่งดูจะเป็น message ต่อคนดู หากทำความดีแล้ว แม้ว่าจะถูกยัดเยียดว่าเป็นผู้ที่แปดเปื้อนไปด้วยตราบาป แต่ในที่สุดก็จะมีคนที่เหมาะสมมองเห็นคุณค่าของแม่เลี้ยงเดี่ยวและเปิดใจยอมรับเธออย่างเต็มที่ โดยไม่หวั่นต่ออคติของคนรอบข้าง
แต่ในความเป็นจริง มีโอกาสมากแค่ไหนที่ผู้หญิงวัยสามสิบปลายที่มีลูกติดจะมีตัวเลือกสุดเริ่ดเข้ามาพร้อมๆกันเหมือนกับใน TV ?
แม่เลี้ยงเดี่ยวจาก Romance is a Bonus Book เป็นตัวแทนของผู้หญิงวัยสามสิบปลายที่ทุ่มเทกับการดูแลครอบครัวจนละเลยความฝันของตัวเอง เมื่อถูกสามีทอดทิ้งอย่างไม่แยแสและเอารัดเอาเปรียบเรื่องค่าเลี้ยงดูลูก แม้จะพยายามหาเงินเลี้ยงตัวและส่งเสียลูกสาวที่กำลังเรียนต่อต่างประเทศ (การทุ่มเทให้ลูกเกินฐานะคือพล็อทยอดนิยมในซีรีส์เกาหลี) แต่ก็ตกต่ำจนต้องหมดเนื้อหมดตัวและกลายเป็นคนไร้บ้าน
เมื่อเธอตั้งหลักใหม่ด้วยการงานในสำนักพิมพ์ ศักยภาพของworking woman ที่จางหายไปตอนที่ออกจากงานมาเป็นแม่บ้านเต็มตัวก็เริ่มเฉิดฉาย เสน่ห์ของเธอพุ่งปรี๊ด จนชายหนุ่มรุ่นน้องโพรไฟล์เป๊ะสองคนเข้ามาแข่งขันแย่งชิงหัวใจของคุณแม่ผู้ไม่เคยย่อท้อ
เมื่อเธอตั้งหลักใหม่ด้วยการงานในสำนักพิมพ์ ศักยภาพของworking woman ที่จางหายไปตอนที่ออกจากงานมาเป็นแม่บ้านเต็มตัวก็เริ่มเฉิดฉาย เสน่ห์ของเธอพุ่งปรี๊ด จนชายหนุ่มรุ่นน้องโพรไฟล์เป๊ะสองคนเข้ามาแข่งขันแย่งชิงหัวใจของคุณแม่ผู้ไม่เคยย่อท้อ
ความน่ารักของแม่ลูกแห่ง Welcome to Waikiki สร้างความประทับใจให้กับแฟนๆอย่างถ้วนหน้า เพราะเป็นซีรีส์ที่ฮาและรั่วสุดชีวิต อาจจะทำให้หลายคนหลงลืมภาพลักษณ์ของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ถูกตีคุณค่าไว้อย่างต่ำเตี้ยในโลกแห่งความเป็นจริง
จากรายงานของ https://kostat.go.kr เมื่อปีที่แล้ว พบว่า ตัวอย่างการสำรวจของชาวเกาหลี 31% สามารถยอมรับเด็กที่ไม่ได้เกิดจากพ่อแม่ที่แต่งงานกัน และนั่นถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นมาบ้างแล้ว หากเราสามารถนำการสำรวจนี้มาอ้างอิงได้จริงๆ ก็หมายความว่า คนเกาหลีเกินครึ่งไม่ยอมรับเด็กที่เกิดจากแม่เลี้ยงเดี่ยว (หรือพ่อ)
ฟังแล้วชวนใจหายไม่น้อยเลย
เราเป็นผู้หนึ่งที่เชื่อมั่นว่า คุณสมบัติความเป็นแม่หาได้วัดกันที่การมีตัวตนของพ่อเด็กหรือสถานะการแต่งงาน แม่เลี้ยงเดี่ยวก็เป็นแม่ไม่ต่างจากคนอื่นๆ และหวังว่าสักวัน สังคมจะยุติการลดทอนคุณค่ามนุษย์ด้วยความคิดที่คับแคบเช่นนี้
The End