ความรุนแรงในรั้วโรงเรียน : ปัญหาสังคมเกาหลีที่ร้ายแรงเกินกว่าscandal
candy 52 8จาก scandal เรื่องความรุนแรงของคิม จีซู ที่ทำสั่นสะเทือนวงการบันเทิงเกาหลีใต้ และยังถูกตีข่าวไปหลายประเทศทั่วโลก เล่นเอาแฟนๆตกตะลึงและกลายมาเป็น topic ร้อนแรงที่สังคมพิพากษาการกระทำในอดีตของพระเอกดังจนน่าจะฟันธงได้ว่า เขาคงไม่มีที่ยืนในวงการนี้อีกต่อไป
แต่แท้จริงแล้ว ต้นตอของปัญหาที่ยากจะแก้ไขนี้อยู่ที่ไหนกันแน่ ? เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมเกาหลีใต้แต่อย่างใด หลายคนยังมั่นใจว่า ในอนาคตข้างหน้า จะต้องมีเหตุการณ์กระชากหน้ากากคนดังในรูปแบบเดียวกันตามมา รวมไปถึงข่าวสะเทือนขวัญเมื่อเหยื่อถูก bully จนบาดเจ็บสาหัสหรือไม่สามารถทนกับความเจ็บปวดจนตัดสินใจจบชีวิตตัวเองอีกหลายกรณี
ภาพของนักเรียนใหม่ที่กลายมาเป็นฮีโร่หญิงต่อสู้กับความรุนแรงในรั้วโรงเรียนจากซีรีส์ Angry Mom อาจจะกลายมาเป็นตลกที่แสนร้ายกาจที่เรียกเสียงฮาไม่ได้สักนิด เมื่อหนึ่งในนักแสดงนำของเรื่องรับบทเป็นนักเรียนหนุ่มจอม bully จะมีพฤติกรรมเดียวกันในชีวิตจริง แม้พล็อทละครจะซับซ้อนแตกต่างกันออกไป แต่เมื่อความจริงถูกเปิดเผยออกมาว่าพระเอกหนุ่มภาพลักษณ์สวยงามมีประวัติที่กักขฬะมากขนาดไหน เชื่อว่าหลายคงจะทวงถามหาถึงความละอายใจและเกรงกลัวต่อบาป เขามั่นหน้าสร้างชื่อเสียงด้วยบทบาทที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมรุนแรงของตัวเอง และยังโลดแล่นในวงการสร้างชื่อเสียงเงินทองอย่างภาคภูมิใจเป็นเวลาหลายปีได้อย่างไร ?
พวก bully ในเกาหลีใต้ไม่วิตกกังวลว่าจะถูกเปิดโปงหรือไรนะ ?
พวก bully ในเกาหลีใต้ไม่วิตกกังวลว่าจะถูกเปิดโปงหรือไรนะ ?
:ซีรีส์เกาหลีมากมายหลายเรื่องได้พยายามตีแผ่ปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน และมักจะโฟกัสไปที่ครูบาอาจารย์ที่นิ่งเฉย หรือหวั่นเกรงต่ออิทธิพลครอบครัวของผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่รัฐและกระบวนการทางกฏหมายที่ไม่เอื้อให้เหยื่อต่อสู้เอาผิดพวก bully หลายเรื่องตอกย้ำหนักแน่นว่า เหยื่อไม่สามารถพึ่งพากระบวนทางกฎหมายได้ เพราะฝ่ายที่มีเงินจะสามารถอาศัยช่องโหว่และบิดเบือนความผิดของตัวเองให้เป็นไม่ผิด และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสบายใจ ในขณะที่เหยื่ออาจจะตายทั้งเป็น
การถ่ายทอดเรื่อง bully ในโรงเรียนผ่านผลงานงานหนังซีรีส์ส่วนใหญ่ ผู้ที่จะเข้ามาต่อกรกับความอยุติธรรมคือฮีโร่ที่ไม่เคยหวาดกลัวกับอิทธิพลมืด ดังซีรีส์ Angry Mom ที่คิม จีซูรับบทนำ นางเอกผู้เป็นแม่ของเหยื่อปลอมตัวเข้ามาฟาดฟันกับนักเรียนและครูอาจารย์และลากไส้ขบวนการ bully ออกมาได้ทั้งยวง
แต่ในชีวิตจริง หลายคนคงรู้ว่า มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฮีโร่มาช่วยเหลือเหยื่อเหมือนกับในซีรีส์ อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นเกาหลีจึงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใคร่ครวญดูว่า ต้องมีเหยื่อจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนเห็นพวก bully มีหน้ามีตาในสังคมอย่างชื่นบาน ในขณะที่พวกเค้าต้องเจ็บปวดทรมานกับฝันร้ายที่ยากจะลบเลือน ก็ทำให้คำว่าโรงเรียนเกาหลีฟังดูชวนสะพรึงไปเลย
แท้จริงแล้ว ปัญหานี้มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก ชาวเกาหลีที่ได้โยกย้ายไปศึกษาต่อในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกา ก็เคยถูก bully จากแนวคิดกีดกันทางเชื้อชาติ แต่ความรุนแรงในโรงเรียนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้วัยรุ่นฆ๋าตัวตายในเกาหลีใต้นั้น ทำให้ภาครัฐต้องระดมหาวิธีการป้องกันและแก้ไข แต่ก็ยังมีข่าวเหยื่อความรุนแรงออกมาเรื่อยๆ ไปถึงกรณีของเด็กมัธยมที่ฆ่าตัวตายหลังจากถูกทำร้ายมาสองปี แม้จะติดกล้องภายในโรงเรียนแล้ว แต่ก็ไม่สามารถหลีกหนีแกงค์ bullly ไปได้ และเกิดเป็นข่าวสลดใจตามมา
บาดแผลของเหยื่อที่ไม่ได้รักษาได้เพียงแค่จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ
จากการสำรวจของกระทรงศึกษาธิการเกาหลีใต้เมื่อปี 2019 จากนักเรียนจำนวน 130,000 คนถึงสาเหตุของการ bully ว่า
29.4% เห็นเป็นเรื่องตลก
19.2% ไม่มีเหตุผลใดเป็นพิเศษ
14.7% เหยื่อมีรูปลักษณ์หรือพฤติกรรมที่ "แปลก"
เพราะผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจนี้มีทั้งเด็กประถมและมัธยม เหตุผลการ bully ที่พวกเค้าบรรยายอาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่น่าจะเป็นสิ่งอธิบายเรื่องความหมกมุ่นของคนเกาหลีในการสร้างภาพลักษณ์อันสวยงามเพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมได้อย่างชัดเจน ปัญหา bully ในโรงเรียนมีความรุนแรงมาก หากว่าคุณแสดงตัวตนที่ผิดเพี้ยนไปจากค่านิยมเพียงนิดเดียวก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายการคุกคาม โดยที่ผู้กระทำผิดไม่รู้สึกแม้แต่น้อยว่า นี่คือพฤติกรรมย่ำแย่ที่อาจจะพังชีวิตใครบางคนจนไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้
การประกาศสำนึกผิดขอกลับตัวผ่านจดหมายของพระเอกดังก็ไม่ต่างจากกรณีตัวอย่างของคำว่า "เสียใจเพราะถูกจับได้" หาได้เกิดจากความละอายใจในสิ่งที่เคยทำลงไปอย่างแท้จริง บางคนอาจจะมองว่า นี่เป็นอดีตที่ตามมาหลอกหลอนคนดังที่กำลังรุ่งโรจน์ให้หมดอนาคต แต่แท้จริงแล้ว คนที่ถูกอดีตตามหลอกหลอนมาเนิ่นนานคือเหยื่อต่างหาก ร้ายไปกว่านั้น พวกเค้ายังต้องเฝ้ามองคนที่ยัดเยียดความทรงจำโหดร้ายให้กับตัวเองใช้ชีวิตที่แสนเลิศเลอและได้รับความรักจากผู้คนมากมาย
เมื่อพระเอกชื่อดังถูกปลดออกจากซีรีส์ที่เพิ่งจะเปิดตัวอย่างสวยงาม และเป็นไปได้ว่าจะถูกตัดโอกาสให้กลับมาสร้างชื่อเสียงในวงการได้อีก เหตุการณ์แบบกรรมตามสนองอาจจะทำให้ชาวเน็ทได้สัมผัสถึงความสะใจ แต่การประกาศขอโทษและยอมรับผิดนั้นจะชดเชยความรู้สึกของเหยื่อได้หรือไม่นั้น จากข้อกล่าวหาอันรุนแรงจากบุคคลนิรนามที่ได้สุมไฟในกระแส "แฉ bully"จนแผดเผาเป็นวงกว้างก็จะพบว่า หากทุกสิ่งเป็นความจริง มันคงเป็นเรื่องยากเย็นที่จะก้าวข้ามเรื่องนี้ไปได้
วัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์นิยม-อำนาจนิยมที่ทำให้ปัญหา bully ระบาดไปทั่ว
ภาพปัญหา bully ที่ถูกถ่ายทอดผ่านละครนั้นมักวนเวียนอยู่กับฉากเจรจาระหว่างผู้ปกครองของนักเรียนผู้กระทำผิดและเหยื่อโดยมีครูเป็นสื่อกลาง แต่โดยมากแล้ว เรามักจะเห็นครูปฏิบัติต่อพ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวยทรงอิทธิพลอย่างนอบน้อมซะยิ่งกว่าพ่อแม่ตัวเอง ส่วนฝั่งเหยื่อที่มีพื้นเพ "ด้อยกว่า" นั้น ไม่ว่าจะบาดแผลหรือหลักฐานมัดตัวเช่นไร ก็มิอาจเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเองได้ หากไม่ลาออกไปพวกเขาต้องกล้ำกลืนฝืนทนเพื่อจะได้หลุดออกจากขุมนรกนี้เมื่อจบการศึกษา
ปัญหา bully ในชีวิตจริงจะมาจากการใช้อำนาจคุกคามดังในละครหรือไม่ ?
คนเกาหลีใต้ขค้นชื่อลือชาเรื่องการให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์อย่างเข้มข้น นั่นทีสาเหตุหลักเพื่อหลีกเลี่ยงการ bully นั่นเอง
เมื่อเด็กๆเติบโตมาจากการเลี้ยงดูที่ชักจูงให้เชื่อว่า หากเป็นเจ้าของอำนาจแล้วจะสามารถทำทุกอย่างตามอำเภอใจ แม้ว่าจะเป็นการล่วงละเมิดผู้อื่นก็ไม่เกิดผลกระทบตามมา เมื่อรวมกับแนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบสุดกู่ ทำให้กลุ่มคนที่ถูกจัดว่าเป็น "ผู้ด้อยกว่า" ในสังคมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการ bully ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีฐานะทางการเงินไม่ดี ผู้ที่มาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาห่างจาก beauty standard มักจะกลายเป็นเป้าหมายความรุนแรง
ในขณะที่ผู้กระทำต้องการแสดงอำนาจด้วยพฤติกรรมรุนแรงสร้างความหวาดกลัวในโรงเรียนและอาศัยกลุ่มเพื่อนสนับสนุนเพื่อตามคุกคามเหยื่อ ยิ่งคนรอบข้างได้ประจักษ์ว่าการกระทำของพวกเค้ามีอานุภาพรุนแรงต่อเหยื่อมากขนาดไหน อำนาจก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้น หน้ำซ้ำยังสามารถลอยตัวจากกระทำผิดด้วยด้วยการใช้ความเป็น "อภิสิทธิ์ชน" หลบหลีกบทลงโทษเมื่อเหยื่อร้องขอความช่วยเหลือ
Class Of Lies ผลงานซีรีส์อีกเรื่องที่ขยี้เรื่องการใช้อำนาจของอภิสิทธิ์ชน ใช้เงินและอำนาจอุปถัมป์องค์กรเพื่อให้ดำเนินงานตามความต้องการ อันเป็นรากฐานของคอร์รัปชัน
" เรื่องราวแบบนี้มีอยู้ทุกหนทุกแห่ง ที่ทำงานกองทัพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ถึงเรียนจบออกไปสู่โลกแล้ว ถ้าไม่มีเงิน ไม่มีอำนาจ ไม่มีเส้นสาย ก็จะถูกแกล้งอยู่ดี"
นักเรียนหนุ่มวัยรุ่นบอกกับคุณครูถึง "สัจธรรมชีวิต" ที่ต้องยอมรับ ถึงแม้เขาจะเคยคิด
จะเอาผิดกลุ่มเด็กรวยที่รุม bully แต่เพราะเป็นคนยากจนต้องวิ่งวุุ่นทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้องและเรียนไปด้วย เขาจึงเลิกคิดจะต่อสู้
เราต่างก็รู้ดีว่า ตรรกะเรื่องผู้ที่เกิดมาต้นทุนไม่สูงต้องจำใจยินยอมให้คนมีอำนาจเหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้ปรากฏอยู่ในละครเท่านั้น แต่ก็ต้องสลดใจเมื่อได้เห็นว่า แม้แต่ในสังคมนักเรียนที่ยังเป็นเด็กก็ต้องรับมือกับเรื่องโหดร้ายเช่นนี้แล้ว
อีกหนึ่งผลงานดังที่โฟกัสเรื่องความรุนแรงในโรงเรียกคือ School 2015 เมื่อหัวโจกจอม bully ตามจองเวรเพื่อนร่วมชั้นที่กล้าหาญเพื่อนอีกคนที่ตกเป็นเป้าหมายก่อนหน้า การคุกคามทั้งร่างกายและจิตใจนั้นรุนแรงมากจนเหยื่อพยายามฆ่าตัวตาย เมื่อเรื่องราวดำเนินไปต้นสาบปลายเหตุของความรุนแรงก็ไม่น่าแปลกใจ พ่อของจอม bully สั่งสอนไม่ให้ลูกสาวทำตัวเหมือนสายลมที่อ่อนโยน เพราะจะทำให้วัชพืชเติบโตสร้างความเดือดร้อน แต่จงเหยียบย่ำมันให้สิ้นซาก!
ความตึงเครียดในระบบการศึกษาเกาหลีใต้ทำให้สภาพแวดล้อมมีความเสี่ยงต่อความรุนแรงในโรงเรียน
ชั่วโมงเรียนอันเข้มข้นยาวนานจนยากจะหาเวลาว่างผ่อนคลาย การแข่งขันเพื่อผลการเรียนและการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังเพื่อสร้างความภูมิใจให้กับครอบครัว ภาพเหล่านี้มักจะปรากฏตามซีรีส์ที่บอกเล่าเรื่องราวของวัยรุ่นเกาหลี และนักวิชาการชี้ว่า นี่คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยในความคิดของเด็กๆหลายคน
จู มี แบ จิตแพทย์จากเกาหลีใต้ได้ให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า
" เด้กนักเรียกนไม่ได้มองเพื่อนที่โรงเรียนในฐานะเพื่อน และเชื่อว่าจะจำเป็นต้องเอาชนะกันเพื่อความก้าวหน้า เด็กที่เรียนเก่งจะมุ่งมั่นเอนะเรื่องการเรียน ส่วนเด็กที่เรียนไม่ดีอาจจะพยายามหาทาง bully หรือบงการคนอื่น"
ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่แห่ง Daegu International School ได้ให้ความเห็นว่า ความตึงเครียดจากการแข่งขันในการเรียนได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไม่ดีอย่างการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน และบุคลากรในโรงเรียนไม่ควรจัดลำดับเปรียบเทียบนักเรียน และควรจะจัดสภาพแวดล้อมที่ทำให้นักเรียนรู้สึกวางใจ กล้าที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ แต่การแก้ไขปัญหานั้นไม่ใช่เรื่อง่ายเลย ทุกฝายจะต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กๆ
ครูบางคนเชื่อว่า ความรุนแรงที่เกิดในโรงเรียนเป็นผลมาจากการแบกความหวังอันสูงลิบลิ่วของพ่อแม่ แม้ว่าจะอยู่เพียงชั้นมัธยมต้น ก็ต้องฝ่าฟันเพื่อเข้าโรงเรียนมัธยมปลายชื่อดังให้ได้ พวกเค้าเกิดความเครียดสูงมากและบางคนเลือกระบายออกด้วยความรุนแรง วิธีป้องกันปัญหาคือ การปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูไม่ให้กดดันเด็กๆมากจนเกินไปนั่นเอง
สอดคล้องกับอาจารย์มหาวิทยาลัยในโซลที่ระบุว่า การให้มุ่งให้ความสำคัญแต่การจัดวัดระดับทำให้นักเรียนในเกาหลีใต้มีความเครียดสูงกว่าประเทศอื่น โดยเฉพาะระบบการศึกษาแบบเกาหลี เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนนานาชาติ เด็กๆสามารถค้นหาว่าตัวเองชื่นชอบและถนัดด้านใดเป็นพิเศษและต่อยอดพัฒนาความสามารถขึ้นมาโดยไม่เกิดความกดดันเท่ากับการเรียนการสอนแบบเกาหลี
(จากCNN และ Koreajoongangdaily)
โศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของน้องซึงมิน
เมื่อ 9 ปีก่อน ข่าวการฆ่าตัวตายของน้องซึงมินวัยเพียง 13 ได้สร้างความตกตะลึงให้กับชาวเกาหลีใต้ สื่อต่างประเทศได้เข้ามาเจาะลึกเพื่อตีแผ่สาเหตุที่ทำให้เด็กวัยใสตัดสินใจกระโดดตึก เขาเป็นหนุ่มน้อยสดใสร่าเริงที่คอยเต้นและร้องเพลงให้แม่ชมผ่อนคลายจนหายเหยื่อยล้าจากการทำงาน แต่เมื่อได้เห็นร่างอันไร้วิญญาณของซงมินก็ไม่สามารถทำใจให้เชื่อได้ว่าเขาจากไปแล้ว
" ตัวของเค้ายังอุ่นอยู่ ฉันจึงร้องหาหมอให้ช่วยเหลือ แต่ทุกคนบอกว่าลูกชายของฉันตายเสียแล้ว"
ซึงมินเขียนจดหมายสั่งเสียและบรรยายถึงชีวิตในโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับฝันร้าย เมื่อเด็กชาย 2 คนรวมหัวกันกลั่นแกล้ง รีดไถเงิน เอาหนังสือไปซ่อน และเริ่มทำร้ายร่างกายหนัก เขาถูกรัดคอด้วยสายไฟแล้วลากไปตามพื้น ใช้ไฟแช็คลนตามตัว
เรื่องเลวทรามเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ครอบครัวของเขาไม่รู้เลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งพ่อแม่ต้องมาพบกับศพจมเลือกภายใต้ผ้าคลุมสีขาว...และช็อคไปยิ่งว่านั้น เมื่อผลการชันสูตรพบว่า ร่างกายของลูกมีร่องรอบฟกช้ำจากการทุบตีเต็มไปหมด
แม่ของซึงมินที่มีอาชีพครูเปิดเผยว่า แม้ตัวการจอม bully ทั้งสองจะถูกส่วตัวไปชดใช้ความผิดในสถานพินิจ แต่โรงเรียนก็มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเห็นได้ชัดว่า แทนที่จะป้องกันปัญหา โรงเรียนพยายามกลบเกลื่อนไม่ให้มีข่าวฉาว เพราะเมื่อห้าเดือนก่อนที่ซึงมินจะฆ่าตัวตาย มีเด็กผู้หญิงที่อยู่ชั้นเดียวกันถูก bully จนตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองมาแล้ว แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขปัญหาจนเกิดเรื่องเศร้าขึ้นซ้ำ ( โรงเรียนปฏฺิเสธให้ความเห็น แต่เปลี่ยนครูใหญ่หลังจากที่เรื่องของซึงมินเป็นข่าวดังระดับชาติ)
เมื่อปี 2019 ข่าวการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนได้ทำให้ชาวเกาหลีร่วมวิพากษ์อย่างเผ็ดร้อน เมื่อเด็กชายวัยรุ่น 4 คนถูกเรียกตัวมาสอบสวนในฐานะผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของเด็กที่ตกลงมาจากตึก และนั่นเป็นเครื่องยืนยันว่าเรื่องราวการ bully ที่เราเห็นในซีรีส์ ไม่ได้มาจากจินตนาการของนักเขียนบทเพียงเท่านั้น ที่น่าสะพรึงคือ เด็กในภาพที่สามจากด้านซ้ายกำลังใส่ jacketของผู้เสียชีวิตในขณะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยกุญแจมือ ผู้ที่เปิดเผยเรื่องนี้คือแม่ของเหยื่อที่จดจำ jacket ตัวนี้ได้ และเจ้าหน้าที่ได้ส่งมันคืนต่อผู้สูญเสียในภายหลัง
วัยรุ่นทั้งสี่ถูกตั้งข้อหาทำร้ายร่างกายและขู่กรรโชก ตำรวจยังพบหลักฐานว่า เด็กสองคนได้ร่วมพูดคุยวางแผนทำร้ายเหยื่อผ่าน social media ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้เหยื่อหวาดกลัวอย่างรุนแรงและตัดสินใจกระโดดหนีไปที่เครื่องระบายอากาศที่อยู่ด้านล่าง แต่ทรงตัวไม่อยู่จึงพลัดตกลงมา
เหยื่อเป็นเด็กชายลูกครึ่งรัสเซีย-เกาหลี ( อีกหนึ่งกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเป้าหมาย bully เพราะในสังคมนี้ยังปัญหาเรื่อง discrimination อยู่)
ผู้กระทำผิดที่อยู่ในวัย 14-16 ได้รับโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่เกี่ยวกับผู้ต้องโทษที่เป็นผู้เยาว์ แต่มีความเป็นไปได้ว่า หากมีความประพฤติดีก็จะถูกคุมขังด้วยระยะเวลาขั้นต่ำคือ ราวๆ 18 เดือน
เมื่อครอบครัวเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายจากโรงเรียนและผู้กระทำผิด
เมื่อหลายปี พ่อแม่ของเด็กสาววัย 14 ที่กระโดดตึกฆ่าตัวตายได้ฟ้องร้องครูใหญ่ ครูที่ปรึกษา และพ่อแม่ของเด็กร่วมชั้นเรียนที่มีรายชื่อปรากฏในจดหมายลาตายให้ร่วมกันชดใช้เป็นเงินราวๆ 345,570 เหรียญดอลลาร์ หลังจากที่สู้คดีติดต่อกันหลายปี ศาลได้พิจารณาจากหลักฐานชี้ชัดว่า เหยื่อถูกทำร้ายร่างกายและบีบคั้นจิตใจอย่างหนักจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน และพิจารณาให้จำเลยชดใช้ให้กับครอบครัวเป็นเงิน 112,310 ดอลลาร์ เพราะมองว่าเหยื่อเป็นผู้ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง และครอบครัวจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลด้วย
(จาก www.upi.com)
เมื่อหลายปี พ่อแม่ของเด็กสาววัย 14 ที่กระโดดตึกฆ่าตัวตายได้ฟ้องร้องครูใหญ่ ครูที่ปรึกษา และพ่อแม่ของเด็กร่วมชั้นเรียนที่มีรายชื่อปรากฏในจดหมายลาตายให้ร่วมกันชดใช้เป็นเงินราวๆ 345,570 เหรียญดอลลาร์ หลังจากที่สู้คดีติดต่อกันหลายปี ศาลได้พิจารณาจากหลักฐานชี้ชัดว่า เหยื่อถูกทำร้ายร่างกายและบีบคั้นจิตใจอย่างหนักจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน และพิจารณาให้จำเลยชดใช้ให้กับครอบครัวเป็นเงิน 112,310 ดอลลาร์ เพราะมองว่าเหยื่อเป็นผู้ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง และครอบครัวจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลด้วย
(จาก www.upi.com)
ความรุนแรงในโรงเรียนเกิดขึ้นได้ทุกที่ แต่มันอาจจะไม่เป็นข่าวสร้างความฮือฮาเหมือนกับเรื่องดาราถูกแฉ อุทาหรณ์จากความเจ็บปวดและความสูญเสียตลอดระยะเวลาหลายปีจะทำให้ผู้คนสังคมหันมาให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างจริงจังและร่วมมือกันได้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยหรือไม่นั้น คำตอบในใจของหลายคนอาจจะไม่เหมือนกันไปหมด สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ คือการดูแลลูกหลานไม่ให้ต้องกลายเป็นทั้งผู้กระทำหรือเหยื่อ นี่คือคือปัญหาที่ร้ายแรงมากกว่า scandal ชั่วครั้งชั่วคราว มันอาจจะทำให้ชีวิตหลายคนต้องพังทลาย ไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหนก็ไม่อาจจะชดเชยได้
The End