ค่านิยมความงามอันน่าสนใจของญี่ปุ่นในอดีต

54 10
แน่นอนว่าญี่ปุ่นคือหนึ่งในผู้นำใตวงการอุตหกรรมความงามที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก    ผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณและได้สร้างความพึงพอใจต่อผู้คนในยุค modern      พวกเราต่างคุ้ยเคยถึงรูปลักษณ์สุดเป๊ะของชาวญี่ปุ่น  แต่เคยสงสัยกันไหมว่า  ค่านิยมความงามของคนโบราณในดินแดนพระอาทิตย์อุทัยเป็นเช่นไร


มาติดตามพร้อมๆกับเราเลยค่ะ




สีดำคือสิ่งแทนความงามสง่าเลอค่าจนต้องนำมาย้อมฟันให้ดำติดทนนาน


โอฮากุโระ   หรือการย้อมฟันให้ดำปี๋เคยได้รับความนิยมล้นเหลือในสมัยเฮอัง (ค.ศ. 794-1192) และปฏิบัติเรื่อยมานับร้อยๆปีจนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกลายมาเป็นเรื่องต้องห้ามในยุคหลัง


การย้อมฟันดำของญี่ปุ่นโบราณนั้นอาจจะฟังดูคล้ายคลึงกับเทรนด์การกินหมากจนฟันดำของชาวไทย แต่ความซับซ้อนของความเชื่อเรื่องความงามนี้มีความแตกต่างออกไปในแต่ล่ะยุค เช่น ในปลายสมัยเฮอังที่ชนชั้นสูงในผ่านพิธีฉลองการเจริญวัยแล้วจะย้อมฟันดำเพื่อประกาศถึงฐานะทางสังคมอันสูงส่ง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง แม้แต่ชาวไร่ชาวนาก็ยังย้อมฟันดำปี๋กันทั่วไป
  



สำหรับคนยุคใหม่ที่เชื่อว่า สีดำสื่อถึงความมืดมนหรือดูสกปรกไม่น่ามอง แต่เหตุใด ชาวญี่ปุ่นโบราณจึงเชื่อว่าฟันดำจึงเป็นตัวแทนของความสวยความงามไปได้ ?


ในยุคโบราณที่ยังไม่มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทันตกรรม ชาวญี่ปุ่นพบกับปัญหาสุขภาพในช่องปากเนื่องจากไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ รวมถึงการรับประทานอาหารและดื่มชาที่ทำให้ฟันมีคราบเหลืองจนดูไม่โสภา โดนเฉพาหญิงชั้นสูงที่พอกแห้งจนขาวราวกับหิมะจะก็ยิ่งเน้นให้ฟันมีสีเหลืองชัดจนต้องอับอาย การเคลือบฟันให้เป็นสีดำปกปิดฟันเหลืองจนกลายมาเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่รักสวยรักงาม เมื่อแย้มริมฝีปากก็จะดูคล้ายกับหลุมดำที่ว่างเปล่า กลบเกลื่อนฟันที่มีปัญหาไปหมดสิ้น และยังเชื่อว่า น้ำยาสีดำนี้จะเป็นปราการป้องกันฟันผุได้เป็นอย่างดี





ส่วนผสมของน้ำยาย้อมฟันดำที่เรียกว่า" คาเนะมิสึ" คือ ผงตะไบเหล็ก น้ำส้มสายชู ชา และสาเก สีดำจะติดได้หลายวัน แต่มีรายงานว่าเป็นน้ำยาที่มีกลิ่นแย่มาก ทำให้เรานึกถึงสาวญี่ปุ่นที่มักจะใช้มือปิดปากยามเอื้อนเอ่ยหรือหัวเราะไม่ให้เห็นฟัน แต่หากเป็นยุคโบราณ ผู้หญิงชั้นสูงต้องวางท่านิ่งเฉยไม่แสดงออกถึงอารมณ์ที่หลากหลาย

เพราะการเคลือบสีดำนี้ไม่สามารถคงอยู่ได้นาน สีดำอาจจะหลุดออกมานอกปาก จึงไม่น่าแปลกใจที่สตรีญี่ปุ่นจะทาปากสีแดงสดเพื่อไม่ให้ดูเปรอะเปื้อนนั่นเอง


ในหนังสือรวมเรื่องสั้น Tsutsumi Chunagon Monogatari   จากยุคเฮอัง  มีเรื่องสั้น  "ท่านหญิงผู้ชื่นชอบแมลง"  ที่มีนางเอกเป็นสาว "หลุดโลก"  เธอเป็นมิตรกับเหล่าแมลง ไม่สนใจรูปลักษณ์ของตัวเอง  ไม่ตกแต่งผมเผ้า  ไม่ถอนขนคิ้ว ไม่ย้อมฟันให้เป็นสีดำเพราะคิดว่ามันดูสกปรก  วันหนึ่ง นายมหารหนุ่มได้ผ่านมาเห็นเธอจากไกลๆและนึกชื่นชมถึงความงามขึ้นมาทันที  แต่เมื่อเธอยิ้มแย้มให้เห็นฟันที่ "ส่องประกายระยิบระยับ"  เขาถึงรู้สึกรังเกียจเพราะคิดว่า เธอดูแหกคอกและป่าเถื่อน!


เมื่อมาถึงสมัยเอโดะ    ค่านิยมเรื่องย้อมฟันดำได้เปลี่ยนไป  มีแต่เชื้อพระวงศ์ชายและชนชั้นสูงที่ยังมีฟันดำ     จากที่เคยเป็นสัญลักษณ์ที่เลอค่า  ก็มีเพียงผูู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือผู้หญิงโสดอายุมากกว่า 18  นางคณิกาและเกอิชาที่ยังย้อมฟันดำอยู่  ส่วนหญิงสาววัยแรกแย้มได้เมินหนีต่อการย้อมฟันเพราะเกรงว่าจะถูฏมองเป็นสาวทึนทึกรววมถึงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์นั่นเอง

เมื่อชาวตะวันตกที่เริ่มเดือนทางเข้ามาในยุคนี้ได้พบเห็นผู้หญิงฟันดำก็ได้เกิดความรู้สึกต่อต้าน บางคนมองว่านี่คือความคิดที่น่ารังเกียจที่ต้องการกดผู้หญิงให้ดูอัปลักษณ์เพื่อป้องกันการคบชู้สู่ชาย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นมุมมองจากผู้ที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
 
เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19  ที่ประเทศก้าวเข้าสู่ความโมเดิร์น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกคำสั่งห้ามไม่ใช้เชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงย้อมฟันอีก  และส่งผลให้เทรนด์ฟันดำหายไปจากกลุ่มคนธรรมดาทั่วไปอีกด้วย   ในปัจจุบัน อาจจะพบโอฮากุโระจากละครพีเรียดหรือไม่ก็ฮานามาจิ (เขตที่เกอิชาพำนักและทำงาน) เท่านั้น



ถอนคิ้วจริงและเขียนคิ้วลอยกลางหน้าผาก



"ฮิคิมายุ" การถอนคิ้วออกจนหมด "ฮิคิมายุ" และ "เทนโจมายุ"การเขียนคิ้วหนาลอยสูงจากระดับคิ้วธรรมชาติได้รับความนิยมควบคู่มากับการย้อมฟัน นัยร้อยนับพันปีก่อนนั้น คนญี่ปุ่นหาได้ยึดติดกับความงามตามธรรมชาติ และพยายามเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ให้เข้ากับ beauty standard ดังในฉากที่ปรากฏใน "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่" หรือเจ้าหญิงคากุยะ นิทานอันเลื่องลือของชาวญี่ปุ่น เมือเติบใหญ่เป็นสาวน้อยผู้งดงามและก้าวเข้าสู่พิธีฉลองบรรลุนิติภาวะ เจ้าหญิงถูกบังคับให้ถอนคิ้วและย้อมฟันดำเพื่อให้ดูเลอค่าสมกับเป็นสาวสูงศักดิ์ แต่เธอมิได้เต็มใจแม้แต่น้อย

" ถ้าไม่มีคิ้วแล้ว ตอนเหงื่อออกก็ไหลเข้าตากันพอดีสิ" เจ้าหญิงคากุยะโวยวาย

" เจ้าหญิงจะมีเหงื่อได้เช่นไร" หญิงรับใช้ตอบอย่างเย็นชา


" ฟันดำปิ๊ดปี๋ดูประหลาดจะตายไป ข้าจะกล้าอ้าปากหัวเราะให้ใครเห็นได้ไง"


"เจ้าหญิงสูงศักดิ์เค้าไม่อ้าปากกันหรอกนะเจ้าคะ"

แม้ว่าเจ้าหญิงจะรักในอิสระมากแค่ไหน สุดท้าย เธอก็ต้องยอมรับการปรุงโฉมจนคิ้วโล้นเลี่ยนและฟันดำ ตัวตนที่สดใสร่าเริงของเธอหายไป เหลือแต่ท่าทางเย็นชาไร้รอยยิ้มของเจ้าหญิงที่สูงส่งยากจะเอื้อมถึง



ในปัจจุบัน พวกเราต่างก็คุ้นเคยกับคำบอกว่า "คิ้วเป็นมงกุฏของใบหน้า" แต่แนวคิดของผู้คนในอาณาจักรโบราณแห่งนี้เชื่อว่า เมื่อปล่อยผมยาวเหยียดระใบหน้าลงมา ก็ทำให้ขาดความสมดุล โดยเฉพาะหน้าผากที่ดูโล่งมากเกินป และทำการจัดระเบียบโครงหน้าใหม่ด้ววยการถอนหรือโกนคิ้วออกจนหมด แล้วเขียนคิ้วเบลอๆฟุ้งๆลอยสูงเกือบจรดไรผม



จากการรับอิทธิพลมาจากอาณาจักรจีนโบราณในราชวงศ์ถัง เหล่ารงขุนนางและเจ้านายชั้นสูงก็ได้อินกับคิ้วที่สูงเหินราวกับเมฆากลางหน้าผาก ในวรรณกรรมสุดเก่าแก่อย่างตำนานเก็นจิที่ได้เล่าเรื่องราวของฮิคารุ เก็นจิ คาสโนว่าแห่งยุคเฮอัง ก็ได้พร่ำพรรณาถึงความงดงามของคิ้วชาววัง


เหตุใดคิ้วตามธรรมชาติจะต้องถูกกำจัดไป แล้วเขียนขึ้นมาใหม่ซะสูงปรี๊ด!?
คุณคงเคยได้ยินเรื่องการเก็บความรู้สึกภายในของคนญี่ปุ่นมาแล้ว  และนั่่นเป็นสิ่งที่ตกทอดกันมานับพันปี  และนั่นได้ส่งผลต่อค่านิยมความงามของคนโบราณ เพราะคิ้วคืออวัยวะที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก  สำหรับหมู่ชนชั้นสูงที่ได้รับการเลี้ยงดูให้รักษากิริยาให้งามสง่า  ยังต้องคำนึกถึงผลกระทบทางการเมืองจนต้องเก็บความรู้สึกนึกคิดให้แนบเนียนที่สุด ไม่ให้ผู้อื่นโดยเฉพาะตู่แข่งหรือศัตรูอ่านเกมออกจากการแสดงสีหน้าท่าทาง      นอกจากจะมีความนิยมชมชอบคิ้วคู่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ว่างดงามเลอค่าแล้ว    มันยังเข้ากับความค่านิยมของการแสดงสีหน้าไร้ความรู้สึก  หลายคนที่เคยชมละครพีเรียดจะพบว่า ทั้งชายและหญิงต่างแต่งคิ้วในแบบเดียวกัน

ขาว ดำ แดง  พาเลตต์หลักของญี่ปุ่นโบราณ

เมื่อพูดถึงสามสีนี้กับโทนของเครื่องสำอางญี่ปุ่น หลายคนคนนึกถึงภาพของเกอิชาที่ต้องใช้เวลาทาแป้งผสมน้ำ (โอชิโรอิ) อย่างประณีตให้ผิวขาวราวกับกระดาษ ทาปากแดงสดและกรีดตาคมกริด้วยสีแดงและดำ และพาเลตต์นี้ได้รับความนิยมในหมู่สตรีสูงศักดิ์มาเนิ่นนานโดยที่ไม่แตะต้องสีอื่นๆในการแต่งหน้าเลย  


เหมือนกับประเพณีการย้อมฟัน เมื่อญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 19 การโกนและเขียนคิ้วสูงก็ถูกล้มเลิกไป จากการบันทึกของชาวตะวันตกที่ได้พบกับสตรีสูงศักดิ์ชาวญี่ปุ่นนั้น อาจจะเต็มไปด้วยความชื่นชมในกิริยามารยาทที่นุ่มนวลงดงาม แต่ก็ตกตะลึงกับภาพผู้หญิงปากแดงสีเลือด ฟันดำ หน้าขาวเผือด และคิ้วลอยด้านบนหน้าผากจนต้องนำมาเล่าสู่กันฟังว่าเป็นลุคที่สุดสะพรึง!

ซึ่งที่จริงแล้ว เทรนด์หน้าขาวเผืvดก็เคยได้รับความนิยมอย่างสูงในยุโรปโบราณเช่นกัน  ที่ทำให้ตกอกตกใจกันน่าจะเป็นฟันและคิ้วมากกว่า


โทนเนอร์ยอดนิยมแห่งยุคเอโดะ

ในยุคนี้การประทินโฉมให้ดูงามเลิศเลอไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในแวดวงชนชั้นสูงอีกต่อไป   หากจะพูดว่า "ญี่ปุ่นก็คือญี่ปุ่น"  ก็น่าจะเหมาะสมกับ topic นี้  เพราะในสมัยเอโดะ  ได้มีการจัดจำหน่ายหนังสือแนะนำเทคนิคเพื่อความงาม รวมถึงจัดจำหน้าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณกันแล้ว     เนื่องจาก trendsetter ของยุคนี้จะเป็นเกอิชา โออิรัน (นางโลมชั้นสูง) รวมไปถึงนักแสดง   เมื่อมีข่าวร่ำลือว่าพวกเค้าใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามชิ้นใด ก็จะกลายเป็นเทรนด์ที่ชาวเอโดะต้องไขว่คว้าหามาใช้ตาม



ว่ากันว่า โทนเนอร์น้ำดอกไม้มีหมอผู้หนึ่งเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา จากหนังสือความงาม "Miyako Customs Makeup Den" ได้บรรยายไว้ว่า หลังจากแต่งหน้าแล้วใช้แปรงทาน้ำดอกไม้ลงไปจะช่วยให้ผิวดูเปล่งปลั่งและมีกลิ่นหอม รวมถึงลดความบวม และยังแนะนำวิธีกลั่นน้ำดอกไม้มาใช้เอง จะเรียกว่าน้ำตบสมัยโบราณก็ไม่น่าจะผิดนัก




หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นหนึ่งในต้นกำเนิดของ beauty magazine ในญี่ปุ่น เมื่อสองร้อยปีก่อนก็มีสารพัด how to ให้ผู้หญิงติดตามกันแล้ว และต้องพิมพ์ซ้ำยาวนานต่อกันเกินร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหน้าผมก็มีแนะนำครบ หลายคนน่าจะเดากันออกว่าสิ่งที่ผู้คนในยุคนั้นเชิดชูมากที่สุดคือผิวขาวนั่นเอง ถึงกับมีคำพูดว่า ผู้หญิงจำเป็นต้องมีผิวขาว ถึงแม่ว่าจะมีข้อด้อยอื่นๆ ตราบใดที่มีผิวขาวก็สามารถกลบเกลื่อนสิ่งเหล่านั้นได้



การไฮไลท์จมูกสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ
จากหนังสือ Miyako Customs Makeup Den   ได้แนะนำวิธีการไฮไลท์จมูกด้วยปัดแป้งที่สว่างทำให้จมูกดูเรียวตรงขึ้นจากแสงตกกระทบ     นี่คือสองร้อยกว่าปีก่อน!    





ตาโตชั้นตาชัดไม่ใช่ความสวยเป๊ะในยุคเอโดะ


ในปัจจุบัน สื่อความงามญี่ปุ่นทั้งหลายแหล่ได้นำเสนอเทคนิคการแต่งหน้าที่ทำให้ดวงตาดูกลมโตขึ้นหลายเท่า แต่ในสมัยโบราณนั้นชื่นชมในดวงตายาวเรียว และหนังสือ How To แห่งยุคเอโดะนี้ก็ได้โชว์วิธีการแต่งตาให้ดูเล็กลง amazing ใช่มั้ยล่ะ!

ผู้ประพันธ์ได้แนะนำให้ผู้หญิงที่มี "ตาโตเกินไป" ฝึกหลุบตามองต่ำเป็นเวลา8 นาที และกำหนดระดับการมองยามนั่งและยืนเพื่อทำให้ตาดูเรียวเล็กลง ไม่โตจนเกินงาม และเพื่อความมั่นใจก็ต้องตบแป้งไปที่เปลือกตาแบบหนาๆ น่าจะเป็นการพรางเส้นเปลือกตาสองชั้นที่ชัดเจนไม่ตรงกับความนิยมในยุคนั้น



ญี่ปุ่นนั้นสมเป็นญี่ปุ่นจริงๆ!


The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE