รวมศัพท์ slang แบบเกาหลีที่มักได้ยินจากซีรีส์
candy 50 9
ภาพความโมเดิร์นจากซีรีส์เกาหลีนั้นทำให้แฟนๆต่างติดอกติดใจถึงขนาดว่าต้องจองทริปตามรอยไปพิสูจน์สถานที่จริงว่า cool ตรงกับที่พวกเราได้เห็นในจอหรือไม่ ความโดดเด้นอีกหนึ่งอย่างที่สัมผัสได้จากการเสพซีรีส์คือภาษาเกาหลีที่ดัดแปลงภาษาอังกฤษมาใช้เอง รวมถึงการย่อ-สมาสคำมาใช้เป็นศัพท์slang ใช้กันเก๋ๆ
จะมีำอะไรบ้างนั้น มาติดตามชมได้เลยค่ะ
จะมีำอะไรบ้างนั้น มาติดตามชมได้เลยค่ะ
อา-อา 아아 (a-a) = อเมริกาโน่เย็น
นอกจากคุณจะได้เห็นฉากซัดโซจูในซีรีส์เป็นเรื่องปกติ แต่ยังมีอีกภาพหนึ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เช่นกันคือฉากการสั่งกาแฟใน coffee shop ที่สวยน่านั่งสุดๆ ก่อนที่จะเกิดวิกฤติโรคระบาดนั้น นักท่องเที่่ยวจากบ้านเราเองก็เคยไปตามรอย coffee shop ที่ปรากฏในซีรีส์เกาหลีกันหลายคน
และแน่นอนว่า ถ้าอยากจะดื่มด่ำกับสิ่งที่เทรนดี้สุดๆ ก็ต้องสั่ง Iced Americano สไตล์เกาหลีนั่นเอง
" ทำไมไม่สั่ง Iced Americano ดื่มให้ชื่นใจล่ะค่ะ" นางเอกทนายสาวแห่ง Vincenzo ถามพระเอกหนุ่มอิตาเลียนเชื้อสายเกาหลีอย่างหวังดี เมื่อเห็นเขาสั่ง Espresso ร้อน เขาเหลือบมองเธออย่างหน่ายใจและบอกว่า "ที่อิตาลี คนเค้าคิดว่า Iced Americano ก็เหมือนกับน้ำเสียแหละครับ"
ใช่แล้วค่ะ ด้วยวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่แตกต่างกัน ทำให้คนสองชาติมีมุมมองต่อกาแฟชนิดนี้อย่างแตกต่างกันสุดขั้ว ในอิตาลี คุณอาจะต้องบอกว่าอยากดื่ม Espresso เพียงบอกว่าขอกาแฟที่หนึ่ง un caffé ก็จะได้ Espresso มาดื่มปลุกพลังกันแล้ว นักเขียนจาก Vincenzo ทำการบ้านมาถูกเป๊ะ เพราะมีคนอิตาเลียนจำนวนไม่น้อยที่เย้ยหยันไม่ยอมรับว่า Americano ที่เจือจางนั้นเป็นกาแฟที่แท้จริง และเหน็บแนมว่าเป็นน้ำเสียที่ไม่อาจจะดื่มได้
แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ในเกาหลี Iced Americano คือเครื่องดื่มยอดนิยมที่สามารถสั่งได้ทั้งวัน ด้วยความนิยมชมชอบในรสชาติที่ไม่เข้มขม (หรือจะเรียกว่าอยู่ใน levelที่จางมากๆน่าจะเหมาะกว่า) ไม่ต้องรอคอยนาน และไม่ต้องคิดกังวลเรื่องการสั่ง option อื่นๆให้ยุ่งยาก ใครๆก็ดื่ม Iced Americano กันทั้งนั้น trendy ตั้งแต่ในซีรีส์ไปจนถึง webtoon แต่ด้วยความที่ชื่อเรียกดูจะยาวยืดสำหรับชาวเอเชียน พวกเค้าจึงตั้งชื่อย่อให้กับเครื่องดื่มยอดฮิตตัวนี้ ซีรีส์ It's okay not to be okay ก็ยังมีฉากสอน slang นี้เลยนะ
ใช่แล้วค่ะ ด้วยวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่แตกต่างกัน ทำให้คนสองชาติมีมุมมองต่อกาแฟชนิดนี้อย่างแตกต่างกันสุดขั้ว ในอิตาลี คุณอาจะต้องบอกว่าอยากดื่ม Espresso เพียงบอกว่าขอกาแฟที่หนึ่ง un caffé ก็จะได้ Espresso มาดื่มปลุกพลังกันแล้ว นักเขียนจาก Vincenzo ทำการบ้านมาถูกเป๊ะ เพราะมีคนอิตาเลียนจำนวนไม่น้อยที่เย้ยหยันไม่ยอมรับว่า Americano ที่เจือจางนั้นเป็นกาแฟที่แท้จริง และเหน็บแนมว่าเป็นน้ำเสียที่ไม่อาจจะดื่มได้
แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ในเกาหลี Iced Americano คือเครื่องดื่มยอดนิยมที่สามารถสั่งได้ทั้งวัน ด้วยความนิยมชมชอบในรสชาติที่ไม่เข้มขม (หรือจะเรียกว่าอยู่ใน levelที่จางมากๆน่าจะเหมาะกว่า) ไม่ต้องรอคอยนาน และไม่ต้องคิดกังวลเรื่องการสั่ง option อื่นๆให้ยุ่งยาก ใครๆก็ดื่ม Iced Americano กันทั้งนั้น trendy ตั้งแต่ในซีรีส์ไปจนถึง webtoon แต่ด้วยความที่ชื่อเรียกดูจะยาวยืดสำหรับชาวเอเชียน พวกเค้าจึงตั้งชื่อย่อให้กับเครื่องดื่มยอดฮิตตัวนี้ ซีรีส์ It's okay not to be okay ก็ยังมีฉากสอน slang นี้เลยนะ
หากมีโอกาสได้สั่งกาแฟใน coffee shop เริ่ดๆในเกาหลี คุณสามารถอินไปกับเครื่องดื่มสุด trendyได้ด้วยการบอกพนักว่า a-a ju-se-yo อา-อา ย่อมาจาก a-i-seu a-me-ri-ka-no ที่เป็นการออกเสียง Iced Americanoแบบเกาหลีนั่นเองค่ะ
พก เซ พยอน ซัล 복세편살 (Bok-Se-Pyeon-Sal) = การใช้ชีวิตแบบ slow life ในโลกที่สับสนวุ่นวาย
เวลาชมซีรีส์เกาหลีหลายๆเรื่อง คุณอาจจะสัมผัสถึงพลังงานความเคร่งเครียดของชีวิตที่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน คนมากมายมีทิศทางการดำเนินที่ไปในแนวเดียวกัน ทุ่มเทให้กับการเรียน หางานที่มั่นคง และพยายามเพื่อตำแหน่งที่สูงขึ้นไป และยังมีความกดดันในการหาคู่ครองเพื่อสร้างครอบครัวที่พร้อมหน้า ทุกคนต้องพยายามวิ่งให้ถึง goal ที่ตั้งไว้ ทำให้การแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องกดดันตัวเองให้ทำได้ดีกว่าคนอื่นเสมอ
แต่พอมาถึง generation หลังๆ ก็มีการนำเสนอความคิดว่า ควรจะผ่อนคลายกว่าเดิม ลองทำตามที่ใจปรารถนาโดยไม่ต้องแบกรับเรื่องความกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดในอนาคตให้เครียดจนเกินไป น่าจะตรงกับ phrase ภาษาอังกฤษว่า YOLO หรือ you only life once ที่เคยเป็นคำพูดติดปากของหลายคน
แต่พอมาถึง generation หลังๆ ก็มีการนำเสนอความคิดว่า ควรจะผ่อนคลายกว่าเดิม ลองทำตามที่ใจปรารถนาโดยไม่ต้องแบกรับเรื่องความกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดในอนาคตให้เครียดจนเกินไป น่าจะตรงกับ phrase ภาษาอังกฤษว่า YOLO หรือ you only life once ที่เคยเป็นคำพูดติดปากของหลายคน
วังตา 왕따 (wangtta) = คนที่ถูก bully
ประเด็นร้อนแรงในสังคมเกาหลีนีไม่พ้นเรื่อง bully ในโรงเรียน จาก scandal ที่ผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง วังตาหมายถึงที่ถูกแบนจากกลุ่มเพื่อนหรือคนไม่มีใครอยากคบด้วย ทำให้ตกเป็นเป้าหมายของการ bully เป็นการเอาสองคำมาผสมกันคือ 왕 (วัง) พระราชาและ 따돌림 (ตาดอลลิม) พวกนอกคอก
ไม่มีใครอยากเป็นวังตา แต่มันคือปัญหาเรื้อรังในหลายสังคม แม้แต่ในประเทศที่เชิดชูเรื่องแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกันก็ยังต้องรับมือกับปัญหานี้เช่นกัน
ไม่มีใครอยากเป็นวังตา แต่มันคือปัญหาเรื้อรังในหลายสังคม แม้แต่ในประเทศที่เชิดชูเรื่องแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกันก็ยังต้องรับมือกับปัญหานี้เช่นกัน
ซิม-คุง 심쿵 (simkung) = อาการตกหลุมรักแบบศรปักอกกระแทกหัวใจ
เป็นอาการตอนที่คุณเจอคนที่หน้าตาดีเวิ่นเวอแล้วใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือแค่นึกถึกก็รู้สึกแปลบปลาบไปทั้งหัวใจ มาจากคำว่า หัวใจ 심장 (simjang) มาผสมกับ ตึ้กๆ 쿵쿵 (kungkung เสียงหัวใจเต้นแบบเกาหลี) เป็นอาการที่แฟนๆแทบทุกคนรู้สึกเมื่อได้เห็นสามีทิพย์นั่นเอง ฮืออออออ
ซารางกุน 사랑꾼 (sarangkkun) = คนที่ดูอินเลิฟ
อาจจะดำความหมายกันได้ง่ายๆ เพพราะสาวกบันเทิงกิมจิก็จะต้องรู้จักคำว่ารักในภาษาเกาหลีกันอยู่แล้ว เป็นการบรรยาลักษณะของคนที่กำลังมีความรักและแผ่ออร่าคนคลั่งรักออกมาจนคนอื่นสัมผัสได้
จากภาพของโซ จีซอบและคุณพิธีกรที่กลายมาเป็นภรรยาในปัจจุบัน อาจจะดูไม่คลั่งรักมากนัก แต่ก็มีเสียงแซวกันว่า เค้าปิ๊งกันจนเก็บอาการไม่ค่อยอยู่ ฝ่ายชายดูเขินและสับสนนิดๆ ส่วนคุณพิธีกรก็เป็น pro แต่ก็มีแว้บๆที่มีการส่งสายตาที่หวานแหวว
ผลที่ตามมาหลังจากนั้นเหรอคะ ? หลังจากที่เก็บรักษาความโสดมานาน เค้าก็แต่งงานท่ามกลางเสียงอวยพรปนน้ำตาที่อาลัยของแฟนๆนั่นเอง
หรือจะเป็นคู่ของฮยอน บิน-ซน เยจิน ที่กลิ่นอายความรักอบอวลมากจนหลายคนเชื่อมั่นว่า พวกเค้าไม่ได้เป็นแค่เพพื่อนร่วมงานแน่นอน หลังจากที่ยอมรับแบบน่ารักๆแล้ว ตอนนี้แฟนๆต่างก็ลุ้นเรื่องงานวิวาห์ เพราะดูเป็นคู่รักที่น่ารักชื่อเสียงดีงามนั่นเอง
ยังดารี 양다리 (yangdari) = โลกใบที่สอง
น่าจะตรงกับคำนิยามเป็นไทยอันนี้มากที่สุด เป็นอะไรที่พวกเราได้ยินกันบ่อยๆ ถ้าแปลเกาหลีตรงตัวคือขาสองข้าง แต่เมื่อเป็น slang ก็หมายถึงพวกที่คบซ้อนนั่นเอง
= หนุ่มเมืองกรุงผู้เย่อหยิ่ง
คำนี้ใช้บรรยายชายหนุ่มผู้ร่ำรวย หยิ่งยโส หลงตัวเอง และชอบเหวี่ยงวีน
เป็นการจับเอาพยางค์แรกของคำเหล่านี้มารวมกัน
까칠한 kkachilhan =หยาบกระด้าง
도시 dosi = เมือง
남자 namja = ผู้ชาย
พอจับมาเรียงกันก็จะได้เป็นคำนี้ แน่นอนว่า นี่คือ character พระเอกที่ไม่ห่างหายไปจากซีรีส์เกาหลีได้เลย
ฮยอน บิน จาก Secret Garden และ โซ จีซอบจาก The Master's Sun คือแบบอย่างแห่งความเป็นกาโดนัมที่เป๊ะสุดๆ พวกเค้าดูจะไม่ให้เกียรติใคร โดยจะเฉพาะผู้ที่มีสถานะด้อยกว่าอย่างนางเอก แสดงพฤติกรรมหยาบจาบจ้วงเพราะเคยชินกับวิถีอภิสิทธิ์ชนที่มีแต่คนก้มหัวให้ พระเอกในซีรีส์จะเปลี่ยนนิสัยแย่ๆทั้งหลายกลายมาเป็นหนุ่มน่ารักเพราะความดีงามของนางเอก แต่ในชีวิตจริงนั้น กาโดนัมก็อาจจะชวนปวาดผวามากกว่าจะเป็นผู้ชายในฝัน
รีจือ 리즈 (rijeu) = ช่วงเวลาหนุ่มสาวที่ยังเป๊ะสุดๆ
ใครที่ยังอายุน้อยอยู่คงไม่ต้องพบกับความรู้สึกโหยหาช่วงเวลาอันเรืองรองของชีวิตอันนี้ เพราะนี่คือช่วงที่เรตติ้งพุ่งสูงปรี๊ดจากความหนุ่มสาว ไม่ต้องมากังวลเรื่องระบบเอาผลาญพลังงานพังหรือริ้วรอยบนใบหน้า เป็นคำนิยามของภาพที่คนที่ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้วแอบเก็บมาคิดถึงนั่นเอง ถ้าเป็นในซีรีส์ ตัวละครวัยสามสิบมักจะถูกครอบครัวกดดันว่า ผ่านช่วงเวลาหนุ่มสาวที่แสนรุ่งโรจน์ไปแล้ว และถ้าไม่รีบแต่งงานก็จะลำบาก น่าจะได้ยินกันบ่อยๆใช่มั้ยคะ
แต่สำหรับคนดังเกาหลีใต้ ช่วงเวลาอันแสนเรืองรองนี้ยืดยาวออกไปยาวนานกว่าคนทั่วไปเยอะเลยล่ะ กว่าจะเริ่มเห็นว่ามีอายุขึ้นกันชัดเจนก็เลยเลขสี่กันไปแล้ว อย่างอี ยองเอ ที่สร้างความโด่งดังถล่มทลายไปหลายประเทศในเอเชียในบทแด จังกึม ที่ยังเป็นวัยทีนเอจทั้งๆที่ตอนนั้นเธออายุ 32 แล้ว และสวยใสเนียนมากๆ ไม่เหมือนกับเป็นการจับสาวสามสิบมารับบทเด็กสาววัยรุ่นแม้แต่น้อย แดจังกึมจบไปตั้ง 18 ปีก่อนแล้ว อี ยองเอก้าวเข้าสู่หลัก 5 ก็ยังงามไม่สร่างซา
หรือจะเป็นวอน บิน พระเอกที่ลึกลับมากกกกกกกที่สุดคนหนึ่ง ห่างหายไปจากวงการแสดงไปเนิ่นนาน รับแต่งานโฆษณา แต่ความหล่อคงกระพันของเขาก็ทำให้แฟนๆกล่าวขวัญอย่างอื้ออึง สำหรับเราแล้ว มองเค้าเป็นทาคุยะ คิมูระเวอร์ชั่นเกาหลี วันเวลาทำร้ายไม่ได้ ดูเป็นผู้ใหญ่ที่น่าค้นหา แต่ก็แอบคิดถึงตอนที่เค้าดังมากๆในยุค 2000s ไม่ได้ ความหล่อนี่ยืนหนึ่งจริงๆนะ เป็นรีจือที่แฟนๆมองอย่างทอดถอนใจ เพราะพี่แกเล่นไม่กลับมาแสดงเลย คุณภรรยายังรับงานอยู่แท้ๆ
มาที่การกิน -สังสรรค์กันบ้างค่ะ
ชีเม็ค 치맥 (chi-maek) = ไก่ทอดและเบียร์
เทรนด์การจับคู่ของอาหารและเครื่องดื่มมึนเมานี้เกิดขึ้นมาเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ว่าเค้าเพิ่งจะมาเริ่มกินกัน แต่มันกลายมาเป็นความฮ็อทอิทระดับปรากฏการณ์ไปต่างประเทศหลังจากที่ My Love from the Starได้โกยเรตติ้งสร้างความโด่งดังถล่มทลาย ภาพของจอน จีฮยอนที่กินไก่ทอดแล้วซดเบียร์อี้กๆทำให้ผู้คนจากจีนและฮ่องกงต่างหันมาอินกับชีเม็คแบบร้านไก่ทอดแทบแตก ช่วงที่ฮิตกันมากๆ ต้องต่อคิวรอซื้อไก่เป็นชั่วโทง และมีโควต้าให้ซื้อได้คนละสองชิ้นเท่านั้นOMG!
ธุรกิจไก่ทอดเกาหลีไม่ได้บูมขึ้นในจีนเท่านั้น นักท่องเที่ยวจีนหลายพันคนยังจองทริปเพื่อมานั่งกินได้ให้ได้บรรยากาศแท้ๆ รวมถึงบ้านเราเองก็ได้ตอบรับเฟรนไชส์ไก่ทอดเกาหลีอย่างอบอุ่นเช่นกัน
ไก่ทอดกับเบียร์มีอิทธิพลต่อคนเกาหลีใต้สูงมาก จนถึงขนาดที่ฉากซีรีส์ดังอย่าง Crash Landing On You ยังต้องมีไก่ทอดกับเบียร์ แต่เป็นเวอร์ชั่นเกาหลีเหนือนะจ๊ะ
โอ จอ ชี โก오저치고 (oh-jeo-chi-go ) = คืนนี้กินไก่มั้ย
เพราะชอบกินไก่ทอดจนซึมเข้าสายเลือดไปแล้ว คนเกาหลีจึงตั้งคำ slang ที่ย่อมาจากประโยคเต็มๆว่า “오늘 저녁 치킨 고” oneul-jeo-nyeok-chi-kin-go ใช้พูดกับคนกันเอง ฟังน่ารักดีค่ะ
อิลชา 일차 (ilcha) , อีชา 이차 (icha), ซัมชา 삼차 = Step 1, step 2, step 3
อาจจะพูดได้ว่าเปิดซีรีส์เกาหลีแล้วจะต้องเห็นฉากการสังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูงหรือเพื่อนร่วมงาน (ยกเว้นซีรีส์พีเรียดไปบ้างแล้วกัน) ซึ่งพวกเราก็น่าจะเคยได้ยินเรื่องธรรมเนียมมารยาทในการดื่มเหล้าของชาวเกาหลีมาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะเกิดอาการสงสัยกันบ้างว่า เหตุมด การสังสรรค์ของพวกเค้าจึงไม่จบที่เดียวไปเลย แม้จะเมามากแค่ไหน ก็ต้องจบจากร้านนี้ แล้วไปต่อร้านนู้น
เราจะมาเรียง step กันค่ะ
ขั้นแรก อิลชา คือการกินอาหารควบคู่ไปกับการดื่มตามปกติ
ขั้นสอง อีชา เมื่ออิ่มน่ำและเริ่มกรึ่มแล้วก็ไปดื่มต่อที่ร้านเหล้าหรือบาร์
ขั้นสาม ซัมชา อาจจะไปสุดเหวี่ยงที่โนแรบังหรือคาราโอเกะเกาหลี
ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มว่า สังสรรค์กัน 3step แล้วตอบสนองความพอใจหรือไม่ พวกเค้าอาจจะตกลงให้มี step ต่อไป แม้แต่การดื่มหรือกินรามยอนต่อหน้าร้านสะดวกซื้อก็ถือเป็น step ท้ายๆได้
พ็อคทานจู 드라마 (poktanju) = เหล้าบอมบ์
ปกติแล้วคำว่าพ็อคทานจะเป็น slang ที่ใช้บรรยายสถานการณ์แบบพังๆ เพราะมันแปลว่าระเบิดนั่นเองค่ะ สามารถนำมาใช้กับการทำงานที่ผิดพลาดหรือรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูแย่ แต่พอเติมคำว่าจูเข้าไป ก็จะหมายถึงเหล้าช็อทที่มีส่วนผสมจากเหล้าต่างชนิดกัน อย่างเบียร์+โซจู หรืออาจจะมีเหล้าตัวอื่นรวมไปด้วย หรือเรียกว่าเหล้าระเบิดนี้ก็เพราะว่า อานุภาพของมันค่อนข้างแรง อาจจะทำให้เมาเละเทะเร็วกว่าการดื่มเหล้าอย่างอื่นนั่นเอง
ซีรีส์เกาหลีจะนำเสนอวัฒนธรรมการดื่มอย่างตรงไปตรงมา หลายๆครั้งพระเอกนางเอกเมาจนดูไม่ได้ บางทีก็ผสมเหล้าเสิร์ฟอย่างสนุกสนาน สื่อยังตามอวยถึง skill การทำเหล้าบอมบ์ไปอีก ลีลานี่จัดเต็ม เอาหัวโขกโต๊ะแรงๆ ให้สะเทือนจนแก้วเหล้าตกลงมาผสมกัน หรือเขย่าขวดจนมีแรงดันฉีดใส่แก้วเหล้าจนฟองกระจาย ภาพที่หวือหวาแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการสังสรรค์แบบเกาหลีจริงรึเปล่านะ ?