ถกประเด็นดราม่าชาตินิยม netizen จีน VS เกาหลี
candy 46 11ช่องยักษ์ใหญ่ถอดซีรีส์ฟ้าผ่า!
เจอข้อกล่าวหาบิดเบือนประวัติศาสตร์และใช้พร็อพจีนในฉาก
กระแสความขัดแย้งระหว่างจีนและเกาหลีมีแรงกดดันมากมายขนาดไหน คำประกาศ cancel ซีรีส์ Joseon Exorcist จากช่อง SBS น่าจะพิสูจน์เรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน
การนำเรื่องราวจากบันทึกทางประวัติศาสตร์มาเสริมเติมแต่งด้วยจินตนาการแล้วสร้างเป็นผลงานบนหน้าจอนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีแต่อย่างใด ผู้สร้างperiod drama มักสร้างพล็อทจากความสับสนวุ่นวายในการแย่งชิงอำนาจการปกครองของชนชั้นสูงในยุคโบราณในมุมมองต่างๆ และผลงานเหล่านี้ได้โกยเรตติ้งสูงลิบลิ่วมาแล้วหลายครั้ง
แม้แต่ผู้ชมชาวไทยก็น่าจะคุ้นเคยกับชื่อของ "พระเจ้าแทจง" แห่งโซชอน และจดจำได้ว่า ผู้สร้าซีรีส์ได้นำเสนอพระราชาผู้นี้ในภาพของเจ้าชายผู้ทะเยอะทะยาน และใช้ความเก่งกาจก้าวขึ้นครองบัลลังก์จากการนองโลหิตขององค์ชายพี่น้อง มีซีรีส์เกาหลีถ่ายทอดเรื่องราวของพระเจ้าแทจงออกมาหลายเวอร์ชั่น
แต่เมื่อมาถึง Joseon Exorcist ที่นำเสนอพล็อทแหวกแนวไปจากผลงาน period ที่ผ่านมา นั่นคือการขับไล่ปีศาสที่สิงสู่ในร่างมนุษย์ในรูปแบบของคริสเตียนและผีดิบกินคน ผลงานเรื่องนี้กลับไปไม่ถึงฝั่งฝัน หลังจากออนแอร์ไปเพียงแค่ 2 ตอนก็ไม่สามารถฝ่ากระแสโจมตีรุนแรงไปได้ ช่อง SBS ได้ประกาศ cancel Joseon Exorcist ท่ามกลางความโกรธเกรี้ยวของผู้ชมที่ไม่สามรถยอมรับพร็อพประกอบฉากที่แสดงถึงความเป็นจีน นั่นคือ ขนมไหว้พระจันทร์ ขวดเหล้าที่มีอักษรจีน และไข่เยี่ยวม้า
นอกเหนือจากนั้น ผู้ชมหลายคนได้แสดงความเห็นต่อต้านการนำเสนอภาพของพระเจ้าแทจงที่โหดร้าย ไล่เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ แต่การแสดงการรับอิทธิพลจากจีนโบราณในซีรีส์ เปรียบเหมือนกับเชื้อเพลิงที่ทำให้ไฟแห่งความขัดแย้งได้โหมกระหน่ำรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
แม้จะมีเสียงแย้งมาว่า ภาพพร็อพต่างๆที่แสดงถึงตวามเป็นจีนนั้นไม่ใช่ที่ดูเกินจริง เนื่องจากการแผ่ขยายอิทธิพลอันมหาศาลของอาณาจักรจีนโบราณได้ปรากฏในหลากหลายประเทศแถบเอเชีย แม้แต่ประเทศไทยที่อยู่่ไกลจากภูมิภาคเอเชียบูรพาออกมาก็ยังรับวัฒนธรรมจีนโบราณปลายประการมาต่อยอด
แต่นี่อาจจะไม่ใช่ช่วงเหมาะสมในการพรรณนาภาพของการรับอิทธิพลจีนในผลงานK Drama เพราะก่อนหน้านี้ มีการเปิด war โจมตีทางวัฒนธรรมระหว่างคนทั้งสองชาติมาค่อนข้างหนักอยู่แล้ว และทำให้ limit ของคนเกาหลีต่อเรื่องความเป็นจีนยิ่งเปราะบางขึ้นไปอีก ประชาชนนับแสนร่วมลงชื่อให้ช่องถอดซีรีส์เรื่องนี้ออกจากผัง รวมถึงสปอนเซอร์ที่ถอนตัวออกกันแทบไม่ทัน
ทีมสร้างเผชิญข้อกล่าวหาหนัก "รับทุนจีนมาอวยจีน"
หากติดตามดราม่าสไตล์เกาหลีมาหลายครั้งก็น่าจำให้หลายคนฟันธงได้ว่า ฝ่ายที่ถูกโจมตีย่อมจะไม่เลือกตอบโต้กระแสสังคมด้วยความแข็งกร้าว และเลือกที่จะขอโทษเพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ แต่ทาง Network ต้องเจอกับคำกล่าวหาที่แรงขึ้นไปอีกว่า รับเงินจากนายทุนจีนเพื่ออวยจีนผ่านซีรีส์!
นี่คือคำชี้แจงจากทีมงาน Joseon Exorcist โดยสรุป
- ฉากในซีรีส์เป็นดินแดนที่อยู่ที่ชายแดนที่ติดกับจักรวรรดิของราชวงศ์หมิง ตัวละครที่เป็นนักบวชไล่ผีจากตะวันตกนั้นได้เดินทางมาจากจักรวรรดิหมิง ด้วยจินตนาการของผู้สร้างที่เชื่อว่า ย่อมต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนสองอาณาจักร จึงได้ปรากฏprop ต่างๆที่แสดงความเป็นจีนนั่นเอง
- ยอมรับว่า ทั้งเสื้อผ้าและ prop ที่ดูเป็นจีนนั้นเป็น "ความผิดพลาด" ของทีมงานที่ได้คำนึงถึงประเด็นที่เปราะบาง และสัญญาว่าจะลบภาพต่างๆที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ยืนยันว่า ไม่ได้รับเงินทุนจากจีน การสร้างผลงานเรื่องนี้มาจากเงินทุนในเกาหลี 100%
- แม้จะหยิบยืมชื่อของตัวละครในประวัติศาสตร์ แต่ซีรีส์เป็นแนวแฟนตาซีเหนือจริงที่สร้างจากจินตนการเรื่องวิญยาณปีศาจที่เข้ามาแทรกแซงความทะเยอทะยานในใจคนท่ามกลางความสับสนวุนวายในอาณาจักรโชซอน
- ขอก้มศีรษะขอโทษผู้ชมที่ไม่สามารถแสดงความรับผิดชอบในการถ่ายทอดตัวละครที่สร้างมาจากบุคคลทางประวัติศาสตร์ทั้งๆ และประกาศขอแก้ไขและถ่ายทำใหม่ด้วยความเข้มงวดมากขึ้น
แต่คำขอโทษนี้ก็ไม่ดึงให้พวกเค้าพ้นวิกฤติไปได้ Joseon Exorcistถูกถอดออกจากผังไปอย่างรวดเร็ว และน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างสำคัญให้กับผู้สร้างทั้งวงการต้องระแวดระวัดกันทุกความเคลื่อนไหว
แม้อยากจะให้ผลงานดูสมจริงสอดคล้องกับประวัติศาสตร์และเสริมแต่งเรื่องราวให้เข้มข้นจากจินตนาการที่แปลกใหม่ แต่ "อย่าได้มี prop จีนในละครพีเรียดเป็นอันขาด"
จากสายตาของหลายคนที่สังเกตุการณ์อยู่ภายนอกนั้น คำชี้แจงของผู้สร้างก็ฟังมีเหตุผลอยู่ไม่น้อย ในยุคโบราณนั้น ไม่มีทั้งประเทศจีนและเกาหลี แต่เป็นอาณาจักรโบราณที่อยู่ใกล้เคียงกัน การรวบรวมอำนาจชองอาณาจักรโชซอนนั้นมีการรับวัฒนธรรมจากอาณาจักรเพื่อนบ้านที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ และยังยินยอมเป็นประเทศราชของฮ่องเต้หย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงในรัชสมัยการปกครองของพระเจ้าแทจงนั่นเอง
สิ่งที่ถ่ายทอดความเป็นจีนอย่างลัทธิขงจื๊อใหม่ การเมืองการปกครอง ภาษาและ ศิลปะประเพณีที่ปรากฏอยู่ในซีรีส์เกาหลีไม่ได้ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้มาก่อน ในอดีตยังมีผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอย่าง Empress Ki ที่เล่าเรื่องราวของสตรีชาวโครยอที่ได้พลิกผันกลายไปเป็นจักรพรรดินีแห่งราชวงศ์หยวนของอาณาจักรจีนโบราณมาแล้ว
แต่การนำเสนอภาพลักษณ์ของพระเจ้าแทจงในด้านร้ายกาจนั้น ทำให้ชาวเกาหลีจำนวนมากเชื่อว่า นี่เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากอคติลำเอียง เหยียดหยามพระราชาอาณาจักรเกาหลีโบราณด้วยความจงใจบิดเบือนและแสดงท่าทีสนับสนุนชาติคู่อริ จนไม่สามารถปล่อยผ่านไปได้
จุดประกายความขัดแย้งจากซีรีส์เรตติ้งสูงที่เพิ่งจบไป
ชาวเน็ทเกาหลีจวก นักประพันธ์เหยียดเชื้อชาติเกาหลีชัดเจน
Mr. Queen แห่ง tvN นั้นสร้างความนิยมสูงปรี๊ดทั้งในเกาหลีใต้และบ้านเรา แต่แม้จะอวสานด้วยเรตติ้งสวยงามเกิน 17% ทั้งๆที่เป็นซีรีส์ที่ออนแอร์ผ่าน cable TV แต่ก็เคยมีปัญหาที่คล้ายคลึงกันมาก่อน เพียงแต่ยังไม่หนักหนาสาหัสจนสามารถยืนหยัดออนแอร์ไปถึงตอนจบได้
ดราม่าที่ว่านั้น เกิดขึ้นมาจากการ remake จากต้นฉบับผลงานที่เป็นนิยายและละครชื่อดังจากจีนนั่นเองค่ะ
ผู้ชมชาวเกาหลีได้แสดงความไม่พอใจเมื่อพบว่า Xian Chen นักประพันธ์ Go Princess Go ได้ใช้คำพูดล้อเลียนชาวเกาหลีในยุคโบราณและมีพฤติกรรมแบ่งแยกทางเชื้อชาติทั้งในผลงานเรื่องนี้และในนิยายเรื่องอื่น
Mr.Queen ยังต้องพบกับแรงกดดันจากคำโจมตีเรื่องการอ้างอิงตัวละครจากประวัติศาสตร์ ดังเช่น การใช้คำพูดบรรยายพงศาวดารโชซอนว่าเป็น "แทบลอยด์" และการวิพากษ์วิจารณ์ lifestyle คนโบราณที่หมกมุ่นกับเรื่องผีสางเทวดาว่าเป็นการดูหมิ่นบรรพบุรุษ แต่กระแสโจมตีไม่ดุเดือดเลือดพล่านเช่นเดียวกับ Joseon Exorcist ได้พบเจอ ผู้สร้างออกประกาศขออภัยอย่างนอบน้อม และชี้แจงว่า ไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์จากนักประพันธ์นิยาย (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเหยียดเกาหลี) แต่เป็นลิขสิทธิ์จากละครจีน
เราไม่แน่ใจนักว่า Mr. Queen ได้ใช้ prop แบบจีนในฉากเหมือนกันหรือไม่ แต่เชื่อว่า ถึงตอนนี้ tvN น่าจะโล่งยิ่งกว่าโล่งที่ผ่านมรสุมไปได้อย่างสวยงาม ไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนกับ SBS ส่วนนักเขียนบทของทั้งสองเรื่องนี้อาจจะต้องถูกจ้องจับผิดไปอีกนานเลยทีเดียว
ดราม่าชี้หน้าว่าขโมยวัฒนธรรม
Hanbok ปะทะ Hanfu
ประเด็นข้อถกเถียงกันข้ามปี
ชาวเน็ทจีน - ฮันบกเป็นสิ่งที่รับจากฮัั่นฝูของจีน ดังนั้นจึงเป็นการเลียนแยยวัฒนธรรมจีน
ชาวเน็ทเกาหลี - ฮันบกมีเอกลักษณ์แตกต่างกับฮั่นฝูอย่างชัดเจน ไม่ใช่ฮั่นฝูสักหน่อย
เราเริ่มต้นจากจุดนี้กันก่อนค่ะ
ฮั่นฝู มีความหมายคือ เครื่องแต่งกายของชาวฮั่น มีหลากหลายรูปแบบ พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ นับพันปี จะระบุว่าเป็นแบบไหน คงบรรบายให้ครบในหน้ากระดาษสั้นๆไม่ได้ เพราะมีมากมายหลายแบบ
ฮันบก มีความหมายคือ เครื่องแต่งกายแบบเกาหลี ถือเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ มีการพัฒนาดีไซน์ตามแต่ละยุคเช่นเดียวกัน แต่ กีไซน์หลักคือเอวสูงระดับใต้อก และท่อนล่างที่พองบาน
เมื่อคิม โซฮยอน ได้ post ภาพที่เธอสวมใส่ชุดที่สวยงามนี้ที่ social media เพื่ออวยพรวันปีใหม่ของเกาหลี (ที่เรียกว่าซ็อลลัล ) กลับดึงดูดให้ชาวเน็ทกลุ่มหนึ่งเข้ามาจิกกัดเธอว่า "เป็นขี้ขโมย" เพราะเธอใส่ฮันบกที่แย่งไอเดียมาจากชาวจีน แก้คำพูดว่า มันคือตรุษจีนต่างหาก ไม่ใช่วันขึ้นปีใหม่เกาหลี แม้กระทั่งจิกว่า เธอใส่ฮันฝูแบบผิดๆ เพราะทบผิดข้าง จะเลียนแบบก็ทำให้ถูกหน่อย
โอ้โห แรงหนัก ! และเชื่อว่ายังมีคำพูดร้ายๆยิ่งกว่านี้ แต่เป็นคอมเมนท์ภาษาจีนที่แปลไม่ได้อยู่เยอะเชียว
นั่นหมายความว่า หากพบว่าชาวเกาหลีใส่ชุดฮันบก หรือแตะต้องสิ่งใดที่ชาวเน็ทจีนเชื่อว่าชนชาติตนเองเป็นเจ้าของแต่ดั้งเดิม ก็จะเปิดสงครามทันที! คำว่า "ประเทศขี้ขโมย" มีการวิวถึง886,000 ครั้งใน Weibo และดูเหมือนว่ามันไม่ใช่ดราม่าที่จะหาทางประนีประนอมกันได้ง่ายๆ
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะจินตนาการกันออกแล้วว่าชาวเน็ทเกาหลีถึงกับสตั๊นไปเป็นแถว และแน่นอนว่า หลายคนใช้คำพูดดุเด็ดเผ็ดร้อนโต้กลับ และยืนยันว่า ชุดที่คิม โซฮยอนใส่นั้นเป็นฮันบกของชาวเกาหลี ไม่ได้เลียนแบบฮั่นฝูของจีน
"คนจีนก็เคลมว่าทุกอย่างเป็นของตัวเองนั่นแหละ ยกเว้น Covid"
" คนพวกนี้ก็แค่รู้สึกหวาดหวั่นที่เกาหลีสามารถส่งออกวัฒนธรรมให้ประสบความสำเร็จระดับโลกและสั่นคลอนพวกเค้าได้ล่ะสิ"
"คนญี่ปุ่นและคนเวียดนามก็ต้องมาเจออะไรแบบนี้เหมือนกัน"
ในสถานการณ์ที่ต่างฝ่ายต่างปรี๊ดใส่กันแบบนี้ มักจะมีเกรียนที่เข้ามาปั่นให้ยิ่งแตกแนกเพิ่มขึ้นไปอีก อย่างกรณีของ Shiyin บล็อกเกอร์สาวที่พบเห็นคอมเมนท์หนึ่งที่โจมตีว่า จีนต่างหากที่รับเอาวัฒนธรรมเกาหลีมาตั้งแต่ยุคโบราณ จีนเป็นแค่เมืองหนึ่งที่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรเกาหลี (ฟังยังไงก็เป็นการยั่วยุให้ยิ่งบาดหมางกัน) เธอจึงนำเอาบทความทางประวัติศาสตร์มาร่ายอธิบายให้ชาวเน็ทเข้าใจและยอมรับว่า มันไม่แปลกแต่อย่างใดที่ ฮันบกจะดูคล้ายกับฮั่นฝู เนื่องจากอิทธิพลจากวัฒนธรรมในราชวงศ์หมิงที่แผ่ศาลไปไกล และไม่ควรรู้สึกอับอายหรือต้องบ่ายเบี่ยงว่า ฮันบกไม่ได้รับอิทธิพลมจากฮั่นฝู
บล็อกเกอร์รายนี้ยืนยันว่า เธอได้รับการโจมตีชาวชาวเน็ทเกาหลีจำนวนมากที่ไม่ยอมรับฟังข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วยความพยายามหักล้างว่า จีนต่างหากที่เลียนแบบชุดฮันบกของชนชาติเกาหลียุคโบราณ
หลายคนนน่าจะแยกชุดฮันบก (บน) จากฮั่นฝูได้ไม่ยาก ฮันฝูในบางยุคนั้นจะมีสองท่อนและเอวสูง แต่ฮันบกนั้นจะมีความพองของช่งประโปรงที่โดดเด่นมาก เราจะได้เห็นผู้หญิงหอบกระโปรงกันในละครพีเรียดกันบ่อยๆ
อย่างไรก็ถาม ชาวจีนหลายคนได้ชี้ว่า ดีไซน์เอวสูงที่เรียกว่า "รู่ฉุน" นี้ได้ปรากฏอยู่ในหลายราชวงศ์ โดยเฉพาะราชวงศ์ถังที่ตรงกับอาณาจักรรวมชิลลา สองอาณาจักรได้ติดต่อซื้อขายเสื้อผ้าอาภรณ์กัน และสันนิษฐานว่า ชาวเกาหลีโบราณได้รับเอา fashion จากอาณาจักรราชวงศ์ถังมาประยุกต์และพัฒนามาเป็นฮันยกในเวลาต่อมา
การจ้องจับผิดว่าใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายเลียนแบบยังดำเนินต่อไป จากกรณีของพระเอกจีนรูปหล่อ สวีข่าย ที่ได้โชว์ภาพ costume จากละครพีเรียดเรื่องใหม่ที่ตรงกับช่วงเวลาราชวงศ์หมิง ก็ทำให้ชาวเน็ทเกาหลีจำนวนหนึ่งเกิดความคลางแคลงใจว่า นี่คือการฉกไอเดียชุดประจำชาติของผู้ชายเกาหลีในยุคโบราณมาใช้ (การใส่หมวกของผู้ชายที่เราได้เห็นในละครพีเรียดเกาหลีบ่อยครั้ง) ทำให้ producer จีนต้องออกมาชี้แจงว่า นี่คือเสื้อผ้าที่ปรากฏในราชวงศ์หมิง ซึ่งในยุคนั้นเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรจีน
เมื่อดราม่าไม่มีทีท่าจะหยุดแม้ว่าจะได้โชว์ภาพหลักฐานเรื่องเสื้อผ้าในราชวงศ์หมิง เขาก็ได้ให้ความเห็นว่า ข้อเท็จจริงย่อมมีเสียงดังหนักแน่นกว่าคำพูดกล่าวอ้างลอยๆ และแดกดันกลับว่าว่า เขาไม่ใส่ใจพวกที่ลืมรากเหง้าบรรพบุรุษตัวเอง!
ความขัดแย้งนี้สั่งสมมาพักใหญ่ จนเริ่มมองภาพออกแล้วว่า เหตุใด การใช้prop จีนในละครพีเรียดเกาหลีจึงถูกกระหน่ำโจมตีอย่างรุนแรงจนหลุดผัง
อย่างการแสดงระบำอารีรังผสมผสานกับการ break dance ในรายการ Street Dance of China ซึ่งเป็นการแข่งขันด้วยการเต้นและร่ายรำตามวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในจีน และแนะนำในรายการว่า นี่คือรูปแบบการร่ายรำของชาว Joseon-jok ( กลุ่มชาวเกาหลีที่อาศัยในจีน) ทำให้ชาวเน็ทเกาหลีรู้สึกว่า นี่คือความพยายามของจีนในการอ้างการเป็นเจ้าของเครดิตวัฒนธรรมเกาหลี บางคนโจมตีว่า ทุกวันนี้ จีนได้ผลิตรายการ TV ต่างๆที่ดูเหมือนกับรายการเกาหลีออกมาเพียบ และไม่ได้ใส่ใจให้เครดิตกับต้นแบบ
Youtuber ชื่อดังที่ถูกถล่มเพราะใช้ปิ่นปักผมตอนที่นำเสนอลุคฮันบก
เมื่อต้นปีนี้ Pony beauty guru ชื่อดังได้ใส่ฮันบกใน tutorial video ที่โปรยหัวไว้ว่าสวัสดีปี2021 สวัสดีฮันบก และดึงดูดหลายคำชื่นชมไม่ต่างจากvideo ตัวอื่นๆ แต่ดราม่า "ขโมยวัฒนธรรม" ได้บังเกิดจนได้ เมื่อมีชาวจีนสังเกตว่า เธอใช้เครื่องประดับผมแบบจีนเพื่อ styling ลุคฮันบกจนสวยงาม ชาวเน็มคนหนึ่งได้ค้นต้นตอของปิ่นปักผมแบบเดียวกันยืนยันว่า เป็นสินค้า made in China และก่อเกิดคลื่อนความไม่พอใจจากชาวจีนขึ้นมาอีกครั้ง
" เธอใช้วัฒนธรรมจีนเพื่อโพรโมทลุคแบบเกาหลี นี่อยากจะหาเรื่องกันรึไง"
"เธอน่าจะอยากสื่อให้เห็นมากๆว่าจีนเป็นเจ้าของเกาหลี"
" เธอมีแฟนกลุ่มใหญ่ที่จีน ทำรายได้ตั้งเยอะแยะจากคนจีน เราสมควรจะได้รับคำชี้แจงจากเธอนะ"
" เธอใช้วัฒนธรรมจีนเพื่อโพรโมทลุคแบบเกาหลี นี่อยากจะหาเรื่องกันรึไง"
"เธอน่าจะอยากสื่อให้เห็นมากๆว่าจีนเป็นเจ้าของเกาหลี"
" เธอมีแฟนกลุ่มใหญ่ที่จีน ทำรายได้ตั้งเยอะแยะจากคนจีน เราสมควรจะได้รับคำชี้แจงจากเธอนะ"
สงครามผักดอง
เกาหลีเดือด ซัดจีน "แอบอ้างความเป็นเจ้าของอาหารประจำชาติ"
"กิมจิเป็นของจีน"
ไม่น่าแปลกใจเลยว่า การประกาศกร้าวจากชาวเน็ทจีนบางรายจะทำให้ชาวเกาหลีเดือดควันออกหู
เพราะนี่คืออาหารประจำชาติที่พวกเค้าแสนผุกพันมาตั้งแต่จำความได้ แต่ละครอบครัวต้องแพคเก็บในตู้เย็น มีทั้งกิมจิสูตรประจำบ้าน เปิดหยิบมากินกันได้ตั้งแต่เช้า จะปิ้งย่าง ซุป ข้าวผัด ของทอด ก็มีกิมจิเป็นนางเอกสำคัญที่ขาดไปไม่ได้
ความภาคภูมิใจในผักดองเครื่องเคียงนี้ทำให้มีหน่วยงานที่ช่วยโพรโมทให้กิมจิตรตลาดตะวันตกให้ได้ ด้วยการพัฒนาจากนักวิทยาศาสตร์เพื่อลดกลิ่นเฉพาะตัวที่ชาวตะวันตกไม่พึงปรารถนา ด้วยความหวังว่า นี่จะเป็นอาหารประจำชาติเกาหลีที่จะสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก
แต่เมื่อมีการแย้งว่า กิมจิเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบไอเดียของจีนโบราณ สงครามผักดองก็ได้บังเกิด
หลายคนน่าจะรู้จัก Li Ziqi youtuber สาวจีนที่ประสบความสำเร็จล้นหลามจากcontentการใช้ชีวิตในชนบท หลายคนยกให้เธอเป็นยอดหญิงที่ทำได้แทบทุกอย่าง และชื่นชมว่า การชม videoของเธอเปรียบเหมือนกับการบำบัดจิตใจที่ตึงเครียดให้รู้สึกผ่อนคลาย
แต่เมื่อเธอนำเสนอวิธีการทำกิมจิเก็บไว้รับประทาน ก็ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์จากชาวเน็ทเกาหลีบางคนว่า เธอขโมยวัฒนธรรมเกาหลีเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง บ้างก็กล่าวหาเธอว่า พยายาม "เนียน"ว่านี่คืออาหารจีน เพราะไม่ได้ระบุในvideo ว่านี่เป็นอาหารประจำชาติเกาหลี และยังมีแฮชแทกว่า "อาหารจีน" อาจจะทำให้ผู้ติดตามต่างประเทศเข้าใจไปผิดๆ
แม้ว่าเจ้าตัวจะไม่ได้ลุกมาโต้ตอบให้ดราม่าเพิ่มความร้อนแรง แต่ชาวเน็ทจีนบางกลุ่มได้ยืนยันว่า กิมจิมาจากวัฒนธรรมการดองผักที่มีมาแต่โบราณโดยเฉพาะ "เป่าฉ่าย" ที่ชาวจีนบางคนเรียกว่า เป็นกิมจิในเวอร์ชั่นจีนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO ไปไม่นานมานี้ นอกจากจะทำให้ชาวเกาหลีจำนวนหนึ่งโกรธเคือง ก็ยังมีหวาดวิตกว่า จีนกำลังพยายามฉกวัฒนธรรมชาติอื่นไปเป็นของตัวเอง
แต่เมื่อเธอนำเสนอวิธีการทำกิมจิเก็บไว้รับประทาน ก็ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์จากชาวเน็ทเกาหลีบางคนว่า เธอขโมยวัฒนธรรมเกาหลีเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง บ้างก็กล่าวหาเธอว่า พยายาม "เนียน"ว่านี่คืออาหารจีน เพราะไม่ได้ระบุในvideo ว่านี่เป็นอาหารประจำชาติเกาหลี และยังมีแฮชแทกว่า "อาหารจีน" อาจจะทำให้ผู้ติดตามต่างประเทศเข้าใจไปผิดๆ
แม้ว่าเจ้าตัวจะไม่ได้ลุกมาโต้ตอบให้ดราม่าเพิ่มความร้อนแรง แต่ชาวเน็ทจีนบางกลุ่มได้ยืนยันว่า กิมจิมาจากวัฒนธรรมการดองผักที่มีมาแต่โบราณโดยเฉพาะ "เป่าฉ่าย" ที่ชาวจีนบางคนเรียกว่า เป็นกิมจิในเวอร์ชั่นจีนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO ไปไม่นานมานี้ นอกจากจะทำให้ชาวเกาหลีจำนวนหนึ่งโกรธเคือง ก็ยังมีหวาดวิตกว่า จีนกำลังพยายามฉกวัฒนธรรมชาติอื่นไปเป็นของตัวเอง
ทางกระทรวงเกษตรเกาหลีใต้ได้แถลงการณ์ว่า การรับรองมาตรฐาน ISO เป่าฉ่ายของจีนนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับกิมจิของเกาหลี และจะต้งแยกแยะอาหารสองชนิดนี้ให้ชัดเจนว่า ไม่ได้รวมเป็นสิ่งเดียวกัน
เรื่องผักดองได้นำไปสู่การ debate ระดับชาติ เมื่อโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้รับคำถามเรื่องความขัดแย้งในครั้งนี้ เธอได้ตอบว่า ในเมืองจีนนั้นมีใช้ำคำว่าเป่าฉ่ายเรียกกิมจิ เป็นอาหารดองที่ไม่ได้ปรากฏในประเทศแถบอื่นและมีผักดองสองชิดมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีส่วนผสม รสชาติ วิธีทำที่แตกต่าง และนำเสนอว่า ควรจะแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้วยมิตรภาพมิใช่อคติ มิเช่นนั้นจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่มีผลประทบต่อความรู้สึก"
(คล้ายๆกับจะยอมรับว่า กิมจิไม่ใช่เป่าฉ่าย แต่ไม่ระบุออกมาอย่างตรงไปตรงมา)
แต่ดูเหมือนว่า ความเชื่อเรื่องกิมจิเป็นของคนจีนนั้นจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมา เพราะบางคนยังให้ความเห็นว่า ที่จีนนั้นเป็นตลาดส่งออกกิมจิสำคัญที่เกาหลีทำธุรกิจด้วย ยังมีเมืองที่โด่งดังจากการทำกิมจิส่งขายที่เกาหบีจนได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งกิมจิ" ซะด้วยซ้ำ
นอกจากนั้น ดราม่าเน็ทไอดอล mukbang เกาหลี ที่ต้องถูก cancel จากดราม่ากิมจิ หลังจากที่ชาวเน็ทจีนได้พบว่า เธอกด like ให้กับcomment เรื่องจีนยายามเคลมความเป็นเจ้าของกิมจิ และถูกมองว่า เธอต่อต้านประเทศจีน ทั้งๆที่มีสัญญาทำงานกับบริษัทจีน และแม้ว่าเธอจะประกาศขอโทษพร้อมชี้แจงว่า เป็นการกด like โดยไม่ได้อ่านข้อความให้ชัดเจน แต่ก็ไม่ทำให้กระแสเรียกร้องให้ boycott เธอลดลงไป จนถูกปลดออกจากสัญญาในที่สุด
"กิมจิมาจากเกาหลี แต่เป็นอาหารสำหรับทุกคน "
นี่คือการโต้กลับแบบนิ่มนวลแแต่ฟังดูเด็ดขาดจากความเคลื่อนไหวของนักสิชาการชาวเกาหลี ที่ได้ลงทุนซื้อหน้าโฆษณาจาก The New York Times
Seo Kyoung-duk ซอ คยองด็อกได้บอกกับ The Korea Times ว่า พวกเค้าตัดสินใจที่จะไม่โต้ตอบด้วยการใช้อารมณ์โกรธ
" แทนที่จะตามฉะกับการแอบอ้างจากจีนเรื่องกิมจิ เราเลือกที่จะตอบกลับอย่างมีมารยาทด้วยการประกาศให้โลกรับรู้ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหารชนิดนี้และมีใช้ภาพที่ดูดึงดูดสายตา นั่นคือเหตุผลที่เราไม่ได้พาดพิงถึงจีนในโฆษณาตัวนี้"
และยังมีการเปอดเผยว่า ได้มีโครงการสร้างvideoหลายภาษาเพื่อสร้างความเข้าใขที่ถูกต้องเรื่องกิมจิ ไม่ให้ถูกบิดเบือนไปอีกด้วย