รวมลิสต์เครื่องสำอาง Cruelty Free ไม่ทดลองในสัตว์ ผ่านเรื่องเล่าของ #SaveRalph
sweetsong13 51 16
กระแสแบนเครื่องสำอางที่ทดลองในสัตว์ ยังวนกลับมาใหม่ได้เรื่อยๆ เรามักจะเห็นเพื่อนๆ ตามหาเครื่องสำอาง Cruelty Free หรือ Not Tested on Animals กันบ่อยๆ มีหลายองค์กรได้ออกแคมเปญต่อต้านการใช้สัตว์เป็นตัวทดลองเพื่อผลิตเครื่องสำอาง ถ้าใครยังจำกระแสกระแส #SaveRalph ที่ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นไวรัลทั่วอินเตอร์เน็ตได้ ก็ทำให้คนหันมาตระหนักรู้ และตามหาแบรนด์เครื่องสำอางที่ Cruelty Free กันมากขึ้น
เนื้อหาในบทความ
- #SaveRalph คืออะไร มาจากไหน
- การทดลองในสัตว์กับเครื่องสำอาง
- ดูยังไงว่าเครื่องสำอางแบรนด์ไหน Cruelty Free
- เครื่องสำอางที่ขายในจีนได้มีการ ทดลองกับสัตว์ ทั้งหมด!?
- รวมลิสต์แบรนด์ Cruelty Free สวยแบบไม่ทำร้ายสัตว์
- สรุป
#SaveRalph คืออะไร มาจากไหน
องค์กร The Humane Society ของอเมริกา ได้ทำหนังสั้นแคมเปญเชิญชวนให้คนแบนเครื่องสำอางที่ทำการทดลองในสัตว์ ถ้าใครไม่กล้าดูเดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟัง
เค้าทำเป็นแนวสารคดีตามติดชีวิต “ราล์ฟ" กระต่ายทดลองในห้องแล็บ ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงไปทำงาน (เข้าแล็บทดลอง) ร่างกายของเจ้ากระต่ายราล์ฟเต็มไปด้วยบาดแผลและความเจ็บปวด
เมื่อราล์ฟไปถึงที่ทำงาน ซึ่งก็คือห้องแล็บ ได้พบเจอเพื่อนกระต่ายทดลอง เพื่อนก็บอกให้ลองขอความช่วยเหลือกับเหล่าตากล้องให้พาเราออกไปจากที่นี่ที แล้วก็ถึงเวลงานของราล์ฟ ก็คือ การโดนฉีดสารเคมีบางอย่างเข้าที่ดวงตา ในอะนิเมเชั่นจะแสดงให้เห็นว่าราล์ฟได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ก็เสร็จงาน เป็นอันปิดจ๊อบของวันนี้
ประโยคกระแทกใจที่ราล์ฟได้พูดไว้ก็คือ “พ่อแม่ พี่น้องและลูกของผม ทุกตัวก็เป็นสัตว์ทดลองเหมือนผม และทุกตัวล้วนตายในหน้าที่กันหมด แต่ก็โอเคแหละ เราเกิดมาเพื่อเป็นสัตว์ทดลอง”, “มันเป็นหน้าที่ของเรา”, “เราทำเพื่อมนุษย์นี่นา พวกเขาสูงส่งกว่าสัตว์แบบเรา”
และในตอนจบของคลิปก็ข้อความที่ทางองค์กรฝากไว้คือ “ไม่ควรมีสัตว์ตัวไหนต้องทรมานและตาย เพียงเพราะความงาม”
การทดลองในสัตว์กับเครื่องสำอาง
อย่างที่รู้กันว่าเครื่องสำอางและสกินแคร์ รวมถึงบอดี้แคร์ต่างๆ ที่เราใช้กัน ก่อนที่คนจะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็ต้องมี การทดลองในสัตว์ (Animal Testing) ก่อนออกวางจำหน่าย ทำไมเราตองทดลองในสัตว์ล่ะ เหตุผลง่ายๆ เลย ก็เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยกับมนุษย์!
หลายคนอาจจะจินตนาการว่า สัตว์ในห้องทดลองต้องโดนฉีดยา ถลกหนังกันอย่างรุนแรง และน่าสงสาร ความจริงแล้วเหล่านักวิจัยเค้าไม่ได้โหดร้ายกันแบบนั้นหรอกนะ แล้วก็ใช่ว่าจะไปจับ กระต่าย หนู แมว ข้างทางแล้วมาเข้าแล็บได้เลยนะ สัตว์ทดลอง ที่ถูกนำมาใช้ในการวิจัย จะถูกเลี้ยงและเพาะพันธ์ุมาอย่างดี สัตว์ทดลองที่จะนำมาใช้ ต้องมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับคนมากที่สุด
จนเกิดกระแสการต่อต้าน การใช้เครื่องสำอางที่ทดลองในสัตว์ ซึ่งมีมานานแล้ว สัตว์ก็มีชีวิตเหมือนกัน ทำไมต้องมาเป็นหนูทดลองให้คนเราด้วย เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีมากมาย เช่น การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยง ไม่เห็นต้องใช้สัตว์เลย
แต่บางอย่างเราก็ไม่สามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้ เพราะต้องการความแม่นยำจริงๆ เช่น ยา วัคซีน การทดสอบความเป็นพิษของอาหาร หรือการแพ้เครื่องสำอาง การใช้สัตว์ทดลองมาใช้ในแต่ละครั้งจึงผ่านการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้วิธีอื่นได้ และจำเป็นที่ต้องใช้สัตว์จำนวนให้น้อยที่สุด
การใช้สัตว์ทดลอง ก็ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อได้ ที่สำคัญต้องมี “จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” ด้วยเช่นกัน นักวิจัยบางคนก็รักสัตว์เหมือนลูก และทำใจลำบากในการการุณยฆาตสัตว์
ใครที่ไม่เห็นด้วยกับ การทดลองในสัตว์ ยุคนี้ผู้บริโภคอย่างเราก็มีตัวเลือกมากมายให้เลือก ถ้าไม่อยากสนับสนุนหรือเลี่ยงการทดลองในสัตว์ ก็มองหาเครื่องสำอางที่มีคำว่า Cruelty Free หรือ Vegan กันได้เลย
ดูยังไงว่าเครื่องสำอางแบรนด์ไหน Cruelty Free
เราจะรู้ได้ยังไงว่าแบรนด์ไหนเป็น Cruelty Free หรือไม่ ทดลองในสัตว์ (Not Animal Testing) บ้าง ก็แค่มองหาโลโก้ 1 ใน 3 แบบนี้ ที่เป็นองค์กรที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่ทดลองกับสัตว์จริงๆ ใช้ได้สบายใจ หายห่วง!
ตัวแรก CCF RABBIT หรือ CRUELTY FREE (LEPING BUNNY)
กระต่ายกำลังกระโจน พร้อมมีรอยยิ้มมุมปากเบาๆ เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร "the Coalition for Consumer Information on Cosmetics" (CCIC)
ตัวที่สอง PETA BUNNY
รูปกระต่ายหูรูปหัวใจสีชมพูอ่อน เป็นสัญลักษณ์จากองค์กรที่ต่อสู้เพื่อการคุ้มครองสัตว์ ที่มีชื่อว่า "the People for the Ethical Treatment of Animal's" (PETA)
ตัวที่สาม NOT TESTED ON ANIMALS
รูปกระต่ายหมอบ เป็นสัญลักษณ์จากองค์กรอิสระ "Choose Cruelty Free
กระต่ายกำลังกระโจน พร้อมมีรอยยิ้มมุมปากเบาๆ เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร "the Coalition for Consumer Information on Cosmetics" (CCIC)
ตัวที่สอง PETA BUNNY
รูปกระต่ายหูรูปหัวใจสีชมพูอ่อน เป็นสัญลักษณ์จากองค์กรที่ต่อสู้เพื่อการคุ้มครองสัตว์ ที่มีชื่อว่า "the People for the Ethical Treatment of Animal's" (PETA)
ตัวที่สาม NOT TESTED ON ANIMALS
รูปกระต่ายหมอบ เป็นสัญลักษณ์จากองค์กรอิสระ "Choose Cruelty Free
เครื่องสำอางที่ขายในจีนได้มีการ ทดลองกับสัตว์ ทั้งหมด!?
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ถูกบอกต่อแทบจะมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ว่าถ้าเราอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนทดลองในสัตว์มั้ย ก็ให้ดูว่าขายในจีนได้หรือเปล่า ถ้าขายได้ก็คือยังมีการทดลองในสัตว์อยู่ ขอบอกเลยว่าไม่จริงเสมอไปนะคะ!
จริงอยู่ว่าจีนเค้าเคยมีกฎหมายว่าเครื่องสำอางที่จะนำเข้ามาขายในประเทศ ต้องผ่านการทดลองในสัตว์แล้วเท่านั้น ถึงจะสามารถวางขายได้ แต่ว่าตอนนี้เค้าเพิ่งเปลี่ยนกฎหมายนี้ไปเมื่อหนึ่งเดือนที่ผ่านมานี้เองค่ะ ว่าเครื่องสำอางที่นำเข้ามา ไม่จำเป็นต้องทดลองในสัตว์แล้วก็ได้ งานนี้อดีตนักร้องคนดังอย่างแม่ริริ ถึงได้หอบหิ้ว Fenty Beauty ไปเปิดขายในจีนได้อย่างสวยงามนี่แหละค่ะ
รวมลิสต์แบรนด์ Cruelty Free สวยแบบไม่ทำร้ายสัตว์
ตอนนี้มีหลายแบรนด์มากๆ ที่ไม่ได้ทำการทดลองในสัตว์แล้ว บางแบรนด์เลิกทดลองกับสัตว์ไปหลายสิบปี คนยังเข้าใจผิดอยู่เลย ถือซะว่าเป็นหนึ่งในทางเลิกของเราแล้วกันนะคะ
- Amuse
- Aveda
- Biotherm
- bite beauty
- Comfort Zone
- COSRX
- Dr.Dennis Gross Skincare
- Drunk elephant
- frank body
- Giorgio Armani Beauty
- Hourglass
- It Cosmetics
- KAJA
- Kat von d
- Kiehl's
- Klairs
- L'Oreal
- La Roche-Posay
- Lancôme
- Lime crime
- Lush
- Luxes
- Marc Jacobs
- Maybeline
- nudestix
- percy & reed
- Rare beauty
- Rose inc
- SATURDAY SKIN
- Shu Uemura
- smashbox
- Glow Recipe
- Tarte
- The Body Shop
- TONY MOLY
- Too Faced
- UNLEASHIA
- Urban Decay
- Wet n Wild
- YOUTHFORIA
- YSL Beauty
- Yves Rocher
สรุป
มีหลายแบรนด์มากๆ ที่ออกมาสนับสนุนการไม่ทดลองสัตว์ในแวดวงเครื่องสำอาง แต่อย่าลืมว่า Cruelty Free กับ Vegan จะแตกต่างกัน เครื่องสำอางวีแกนคือไม่มีส่วนผสมที่มาจากสัตว์เลย บางแบรนด์เป็นทั้งสองอย่าง บางแบรนด์อาจจะแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ผู้บริโภคอย่างเราๆ ต้องหมั่นสังเกตจุดยืนของแบรนด์ที่อยากอุดหนุนกันดีๆ เลยล่ะ
นี่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเล็กๆ เท่านั้น! ใครอยากเมคชัวร์จริงๆ ว่าแบรนด์ไหนบ้างที่ไม่ทดลองในสัตว์ ก็ไปดูได้ที่เว็บไซต์ทางการขอพีต้าได้เลยที่ https://crueltyfree.peta.org หรือทักไปถามแบรนด์ตรงๆ เลยก็ได้เช่นกันค่า