เรื่องราวน่ารู้ของเสื้อผ้าอาภรณ์ชนชั้นสูงยุโรป
candy 58 12
บรรดาพร็อพที่สร้างความโดดเด่นให้กับแฟชั่นของชนชั้นสูงในยุโรปเมื่อหลายศตวรรษก่อนจะมีชื่อเรียกว่าอะไร และที่มาอันน่าสนใจของสิ่งเหล่านี้จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันได้เลยค่ะ
Panniers
ในยุคปัจจุบัน เราคงไม่ต้องมาคอยตั้งคำถามว่า เสื้อผ้าที่สวมใส่กันนั้นมีความกว้างขนาดไหน แต่หากเป็นยุคแห่งความฟุ้งเฟ้อในราชสำนักยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 ต้องบอกเลยว่า ถ้ากว้างไม่พอจนคนอื่นเอื้อมมาถึงตัวได้ง่ายๆ อาจจะต้องเตรียมแต่งองค์ทรงเครื่องกันใหม่!
ไม่เพียงแต่กว้างเท่านั้น ชุดของสตรีชั้นสูงจะให้ความรู้สึกที่แบน เหมือนกับตรึงกระดานไว้กับท่อนกระโปรง ส่วนนี่เองที่เรียกว่า Pannier (หรือแพนนีเยอร์) ชุดที่ดูเหมือนกับการหอบม่านติดตัวตลอดเวลานี้อาจจะแตกต่างกับภาพของเจ้าหญิงในจินตนาการ แต่ก็เป็นเทรนด์ที่ฮิตข้ามศตวรรษเลยทีเดียว
พอพูดถึงPanniers หลายคนคงนึกถึงภาพของแฟชั่นจากหนัง Marie Antoinette และสันนิษฐานว่า ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ปั้นเทรนด์นี้เหมือนกับอาภรณ์อื่นๆที่โด่งดังในยุโรป แต่ความจริงแล้ว เป็นราชสำนักในสเปนที่จุดประกายความมิติที่กว้างและแบน ดังที่ได้ปรากฏในผลงานศิลปะของจิตรกรชื่อก้อง Velázquez
ที่มาของชื่อpanniers มาจากตะกร้าแพคคู่บรรจุขนมปัง (หรือสิ่งของอย่างอื่น) ที่มีม้าหรือลาแบกไว้ทั้งสองด้าน ซึ่งตรงกับconcept ของการสานโครงสร้างชุดที่เน้นความกว้างของช่วงสะโพกนั่นเองค่ะ วัสดุของที่ใช้ทำโครงสร้างนี้ก็มีทั้งโลหะ ไม้เหลา หรือกระดูกปลาวาฬ
panniers ถูกจับคู่กับช่วงบนที่คอดกิ่วด้วย corset ที่ดูส่วนทางกับความกว้างของช่วงล่าง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 สตรีในราชสำนักจะใส่ panniers ที่กว้างมากๆ อาจจะถึง 7 feet ในงานสังคมที่เป็นทางการ และกว้างแบบเบาๆในวันทั่วไป ด้วยความกว้างในระดับนี้ ทำให้ fashionista ชั้นสูงในยุคนั้นไม่สามารถเดินผ่านประตูพร้อมๆ กันสองคนได้ อย่าว่าแต่เดินผ่านประตูเลย จะนั่งเสวนาประสาไฮโซก็ต้องทำมุมให้พอดีเพื่อจะเอื้อมตัวไปกระซิบเม้ามอยกันได้
Crinoline
โครงสร้างที่กว้างและแบนแบบ panniers อาจจะไม่ได้เป็นชุดสไตล์เจ้าหญิงในอุดมคติของหลายคน แต่สิ่งที่ตราตรึงใจพวกเรากลับเป็นกระโปรงที่มีมี volume พองฟู เวลาคนดังใส่เดรสแบบนี้บนพรมแดงเมื่อใดก็ถูกเปรียบเทียบว่าเหมือนเจ้าหญิงในเทพนิยายอยู่เรื่อยไป และภาพของเจ้าหญิงในนิยายก็นำมาจากความจริงนั่นเองค่ะ ตัวช่วยที่ทำให้ท่อนล่างของชุดที่แสนงดงามดุจความฝันเรียกว่า Crinoline ค่ะ
crinoline ได้ก้าวเข้ามาแทนที่ panniers ที่เสื่อมความนิยมลงไปในศตวรรษที่ 19 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้รับการพัฒนาให้วนเวียนปรากฏในผลงานจากห้องเสื้อจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ชื่อของใันมาจากคำว่า crin (ขนม้าในภาษาฝรั่งเศส) ผสมกับ cotton และ linen ซึ่งเป็นวัสดุดั้งเดิมในการตัดเย็บกระโปรงชั้นในที่เพิ่มความvolumeให้กับชุด และสร้างความนิยมข้ามไปลายประเทศเมื่อมีการคิดค้นโครงที่ทำจากโลหะขึ้นมาแทนกระโปรงขนม้า
Crinoline ถูกสร้างขึ้นมาใน Parisในกลางศตวรรษที่19 และเพียงเวลาไม่นาน มันก็ได้กลายเป็นเทรนด์สุดเปรี้ยงปังสั่นสะเทือนยุโรป ดังที่หลายคนน่าจะได้ยินมาก่อนว่า ยามที่ผู้ดีฝรั่งเศสเค้าอินอะไรกันสักอย่าง ผู้ดีในประเทศในละแวกเดียวกันก็เกาะเทรนด์ตามไปด้วย ในช่วงแรกที่โรงงานผลิตสุ่มกระโปรงขึ้นมาก็ไม่ใหญ่กินที่กินทางเท่าใดนัก แต่ยิ่งนานวันไปก็เกิดแนวคิดว่า สุ่มยิ่งใหญ่ตู้มสิยิ่งหรูเริ่ด! วิธีการแต่งตัวก็แทบจะปีนบันไดแต่งกัน เหล่าสาวรับใช้ต้องสาละวนช่วยนายหญิงใสสุ่ม ชวนให้เหนื่อยแทนเลยทีเดียว
Crinoline เป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกชนชั้นเอื้อมถึง ไม่ได้ปรากฏในราชสำนักที่แสนฟุ้งเฟ้อเท่านั้น ความคลั่งไคล้ในกระโปรงสุ่มมหึมานี้ถูกตั้งฉายาว่า Crinolineomania และถูกจิกกัดไว้อย่างเจ็บแสบ จากมุมมองของสุภาพบุรุษที่เห็นหญิงสาวเดินออกจากบ้านอย่างทุลักทุเลเพราะต้องหอบกระโปรงที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล รวมไปถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระราชินี Victoria แห่งอังกฤษได้ขอให้แขกรับเชิญในพิธีเสกสมรสของพระธิดางดสวมใส่ crinoline เพราะเกรงว่ากระโปรงสุ่มจะกินบริเวณของสถานที่จัดงานจนเบียดเสียดกันจนเกินไป! ( แม้ว่าพระองค์จะเคยใส่crinoline หลายครั้งก็ตาม)
เราพอจะเข้าใจว่าเหตุใดมันจึงมีกระแสต่อต้านขึ้นมา เพราะมันดูไม่เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ แม้แต่การเต้นรำในงานสังคมอันหรูหรา หากเป็น crinoline ขนาดใหญ่ที่สามารถดึงดูดความสนใจจากแขกเหรื่อในงาน แต่ถ้ามีสุภาพบุรุษรูปงามมาขอเต้นรำแล้ว อาจจะดูกระอักกระอ่วนจากการยืดสุดแขน การโอบแนบชิดอาจจะไม่เกิดขึ้น
กระโปรงสุ่มอาจจะเป็นชุดในฝันของผู้หญิงหลายคนที่อยากจะลองสัมผัสความรู้สึกที่เหมือนกับเจ้าหญิงในเทพนิยาย แต่ในยุคที่มันเป็นไอเท็มที่ผู้หญิงใส่กันทั่วบ้านทั่วเมือง ก็ถูกถือได้ว่าเป็นการสวมใส่ความเสี่ยงให้กับตัวเองไปด้วย เพราะเนื้อผ้าที่ยาวเหยียดและความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเอาตัวรอดเมื่อกระโปรงถูกประกายไฟเผาไหม้ ตัวเลขการเสียชีวิตจากสาเหตุไฟคลอกในขณะที่สวม crinolineจำนวนไม่น้อยยิ่งสร้างเสียงวิจารณ์ในแง่ลบ ไม่รวมถึงอุบัติเหตุที่ชุดไปเกี่ยวกับเครื่องเรือน พาหนะ หรือถูกเท้าคนอื่นเหยียบ เทรนด์นี้จึงเริ่มจางหายไป ถึงจะเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมใหม่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ไม่ใช่ชุดลากพื้น แต่เป็นชุดกระโปรงสุ่มความยาวระดับเลยครึ่งน่องและไม่พองมากนัก
Pelisse
ถ้าคุณเป็นแฟนการ์ตูนตาหวานเหมือนกับผู้เขียน น่าจะคุ้นเคยกับแนวทะลุมิติที่มีพระเอกสุดหล่อเป็นเจ้าชายหรือขุนนางระดับสูง คุณนักเขียนหลายคนได้ประยุกต์แฟชั่นที่พบได้จาก portrait ต่างๆเหล่าผู้ดีในยุโรปมาผสมผสานกับจินตนาการ เมื่อได้เจอบางสิ่งในผลงานการ์ตูนหลายเรื่อง ก็เริ่มมีคำถามที่ค้างคาใจว่า
"เพราะอะไรจึงต้องพาด jacket ไว้เอียงๆด้านเดียว ?"
jacket ที่ว่านั้นมีชื่อเรียกคือ pelisse เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารม้า บุรุษตระกูลสูงได้วางมาดเท่เป็นนายแบบภาพวาดเหมือน นั่นก็อาจจะมาจากความภาคภูมิใจในความเป็นชายชาติทหาร แม้บางคนจะไม่เคยต่อสู้ในสนามรบจริงๆ
หน่วยรบทหารม้าได้สร้างชื่อเสียงเกรียงไกรในยุโรปกลางโดยมีจุดเริ่มที่Hungary ในศตวรรษที่15 แล้วทั่วยุโรปก็ได้นำแนวทางการฝึกฝนนักรบเพื่อแสดงแสนยานุภาพกองทัพในการห้ำหั่นกันในศึกสงคราม เครื่องแบบทหารม้าในแต่ละประเทศอาจจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาคือpelisse jacket ตัวสั้นที่พาดไว้ที่ไหล่ซ้ายของนายทหาร ซึ่งจะมีตัวช่วยยึดไม่ให้เสื้อเลื่อนหลุดลงไป ดีไซน์ของpelisseจะสอดคล้องกับเสื้อด้านใน ทั้งการปักแถบ กระดุมมาเป็น set นั่นเองค่ะ
เหตุผลที่พาดเสื้อไว้ที่ก้านซ้าย ไม่สวมใส่ไปตามปกติเป็นเพราะว่า pelisse จะทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ป้องกันคมดาบจากศัตรู ซึ่งการใส่เกราะนั้นไม่ได้เหมาะกับการทำศึกในตามรูปแบบของทหารม้าเบาที่ใช้ความเร็วในการต่อสู้ แม้มันจะไม่ได้มีความแข็งแรงพอจจะต้านทานอาวุธ แต่ก็อาจจะลดบาดแผลหนักให้เป็นเบาได้
จะเห็นจากภาพเหมือนได้ว่า เหล่าเชื้อพระวงศ์และชายจากตระกูลสูงส่งจะไม่ปลด pelisse ออก เพราะเป็นนายแบบในภาพที่จะถูกเก็บรักษาสืบทอดต่อคนรุ่นหลังทั้งมีก็ต้องมาแบบเต็มยศ
pelisse ค่อยๆหายไปในปลายศตวรรษที่19 แต่ก็มียังมีใช้อยู่บ้าง จนกระทั่งรูปแบบการสู้รบได้เปลี่ยนไป ไม่ได้ขี่ม้ารบราฆ่าฟันก็เหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีประเทศที่มีกองทหารม้าที่ใส่ pelisse คือ Denmark ค่ะ
pelisse ค่อยๆหายไปในปลายศตวรรษที่19 แต่ก็มียังมีใช้อยู่บ้าง จนกระทั่งรูปแบบการสู้รบได้เปลี่ยนไป ไม่ได้ขี่ม้ารบราฆ่าฟันก็เหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีประเทศที่มีกองทหารม้าที่ใส่ pelisse คือ Denmark ค่ะ
เครื่องแบบทหารม้าได้ส่งอิทธิพลต่อแฟชั่นในยุค Regency จนมี pelisse ในเวอร์ชั่นสำหรับเลดี้ ซึ่งมันไม่ได้เป็น jacketพาดไหล่ แต่เป็นเสื้อคลุมตัวยาวเย็บชายติดกับเฟอร์ที่ fit กับรูปร่าง และมีดีไซน์การปักและขดเชือกเหมือนแฟชั่นทหาร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการสร้างสรรค์ชุดคลุมนี้ให้ดู feminine มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องใช้เฟอร์ให้เหมือนกับทหารม้าแบบเป๊ะๆ
item นี้ถูกกล่าวถึงในนิยายในยุค Regency ตัวนักประพันธ์ชื่อก้องโลกอย่าง Jane Austen ก็เคยระบุมนจดหมายว่า เธอสวมใส่ pelisses เช่นเดียวกัน
Cravat
ก่อนที่จะมี necktie และ bow tie (หูกระต่าย) cravat คือสัลักษณ์ของสุภาพบุรุษยุค Regency พวกเค้าต้องใส่ใจกับการพันผ้ารอบลำคอ ถึงขนาดต้องมีคู่มือสอนวิธีผูก cravat ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อเสริมความมั่นใจ
ที่จริงแล้ว หนุ่มผู้ดีทั้งหลายอาจจะไม่ต้องเรียนรู้วิธีผูก cravat แต่เป็นข้ารับใช้ที่รับหน้าที่แต่งองค์ทรงเครื่องให้คุณชายเหล่านี้ดูหล่อเหลาที่สุด
แต่เมื่อได้เห็นจากหลายๆตัวอย่างแล้ว ความปลาบปลื้มต่อคอเสื้อสูงชนติ่งหูของหนุ่มๆก็อาจจะปิดโอกาสไม่ให้ใครได้เห็นลำคอ นอกเสียจากจะเปลื้องผ้าให้ดูต่อหน้า!
trendsetter ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการผูก cravat แห่งยุค Regency คือ Beau Brummell ดาวสังคมที่ทุ่มเททั้งเงินทองและเวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการแต่งองค์ทรงเครื่องจนผู้ดีหนุ่มหลายคนเริ่มเอาอย่าง รวมไปถึงเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทน มีผู้บัยทึกถึงแฟชั่นผูก cravat ของเขาไว้ว่า ปกเสื้อของเขาใหญ่ถึงขนาดที่เมื่อยังไม่พับลงมาก็สามารถซ่อนทั้งใบหน้าไว้ในคอเสื้อได้เลย ส่วนผ้าที่ใช้ผูกcravat ก็ตั้งขึ้นมาวัดได้เป็นฟุต แล้วบรรจงค่อยๆพับลงมาให้มีขนาดที่พอเหมาะด้วยความพิถีพิถัน ทั้งยังจับจีบให้ดูมีมิติตามที่ต้องการ
ทีจริงแล้ว cravat ไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในยุค regency แต่ได้ปรากฏมาตั้งแต่สมัยโรมัน การใช้ผ้าขาวพันรอบคอแล้วผูกในรูปแบบต่างๆเริ่มได้รับความนิยมไปหลายประเทศทั่วยุโรปนับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้า Louisที่ 14 แห่งฝรั่งเศส หลังจากพ่อค้าชาวโครแอทได้เดินทางมายัง Paris แฟชั่นการผูกผ้าที่คอของพวกเขาได้สร้างความอยากรู้อยากเห็นระคนชื่นชมจากชาวฝรั่งเศส กำเนิดเป็นเทรนด์ร้อนแรง และพัฒนารูปแบบมาเรื่อยมา
Pierre Jean Georges Cabanisนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มาพร้อมกับความเยอะของ cravat ดูเผินๆแล้วเหมือนใส่เฝือกคอ!
สำหรับยุคใหม่ necktie ก็คือ cravat ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาแล้ว เห็นได้ชัดเจนจากภาษาฝรั่งเศสที่เป็นแหล่งกำเนิดคำนี้ขึ้นมา นั่นก็คือ la cravate ซึ่งหมายถึงnecktie นั่นเอง
แต่ถ้าจะให้ยกสไตล์ที่ทำให้นึกถึงกับการผูก cravat ในศตวรรษก่อนๆก็คงเป็น ascot tie ที่ใช้necktie ขนาดใหญ่กว่าทั่วไปผูกแล้วซ่อนปลายไว้ใต้เสื้อ ถึงจะไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ necktie แต่ก็พบเห็นได้ในบางโอกาส