ชีวิตของเจ้าหญิงที่ไม่ได้สุขชั่วกาลนานเหมือนในนิยาย
candy 53 9เรื่องราวเทพนิยายหรือ romance หวานแหววมักจะบรรยายถึงชีวิตที่สวยงามเลิศเลอของนางเอกที่เป็นเจ้าหญิง แม้ว่าอาจจะมีช่วงที่กลายมาเป็นเจ้าหญิงตกยาก ก็ยังใช้ชีวิตอย่างลัลล้าสามารถขับร้องเพลงอย่างเปี่ยมสุข เจ้าหญิงมักจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้วิเศษและสร้างรักแท้ชั่วนิรันดร์กับเจ้าชายที่เพิ่งจะเห็นหน้ากันได้อย่างเหลือเชื่อ ในยามที่เธอตกอยู่ในอันตราย เจ้าชายผู้หลงรักเธออย่างไร้เงื่อนไขจะบุกป่าฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่างเพื่อดึงเธอกลับมาสู่อ้อมอกและเข้าพิธีวิวาห์แสนงดงาม ในวันหนึ่ง เจ้าชายและเจ้าหญิงก็จะกลายมาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีความสุขไปชั่วกาลนาน
แต่เรื่องราวของเจ้าหญิงและราชินีตามหน้าประวัติศาสตร์นั้นมีความ dark จนอาจจะทำให้คุณใจหายกับชีวิตของผู้หญิงที่ถึงแม้จะถูกยกว่ามีสายเลือดอันสูงส่ง แต่ก็ยังมีต้องพบกับชะตากรรมที่ห่างจากเจ้าหญิงในนิยายอย่างสิ้นเชิง
การอภิเษกสมรสที่เริ่มต้นด้วยความเกลียดชัง และต้องถูกสวามีเล่นงานทุกวิถีทาง
แฟนๆของซีรีส์ Bridgerton ย่อมคุ้นเคยกับคำว่า Regency ที่มาจากช่วงเวลาแห่งการปกครองอังกฤษโดย "เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ" (Prince Regent) ซึ่งมีเรื่องราวชวนกล่าวขานหลากหลายประการ ทั้งอาการทางจิตเวชของผู้เป็นพระบิดาจนไม่สามารถทำหน้าที่กษัตริย์ได้ และที่สำคัญ ความสัมพันธ์กับเจ้าหญิงพระชายานั้นก็เลวร้ายไม่ต่างจากศัตรูคู่อาฆาตเลยทีเดียว
Caroline เจ้าหญิงแห่ง Brunswick สืบเชื้อสายจากมาผู้ปกครองแผ่นดินทั้งทางฝั่งพระบิดาและพระมารดา แต่ความสัมพันธ์ครอบครัวที่แตกร้าวนั้นทำให้เจ้าหญิงเติบโตขึ้นมาโดยไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้เป็นเลดี้ที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติของราชสำนักยุโรป เธอไม่ได้รับการศึกษาที่ช่วยเชิดหน้าชูตานัก แม้ว่าจะมีพระมารดาเป็นพระราชธิดาแห่งกษัตริย์อังกฤษ แต่ก็ไม่เชี่ยวชาญในการอ่านเขียนนัก ถึงจะสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ "การแข่งขัน" กับเจ้าหญิงสัญชาติ German คนอื่นๆ ที่ตั้งความหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าสาวของเจ้าชายรัชทายาทแห่งอังกฤษ George, เจ้าชายแห่ง Wales นั่นเอง
ด้วยสถานะอันสูงส่ง ทำให้ Caroline ถูกหมายตาจากเจ้าชายหลายอาณาจักรเพื่อไปเป็นเจ้าสาว การหาคู่ที่เหมาะสมและเชิดชูเกียรติให้เลื่องลือนั้นมีความสำคัญต่อเสด็จพ่อและเสด็จแม่จนบีบบังคับให้เธอห่างไกลจากเรื่องด่างพร้อย เธอไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารกับพี่ชายตามลำพังด้วยซ้ำไป และไม่เคยถูกปล่อยให้ไปงานเต้นรำหรูหรา เมื่อมีโอกาสสักครั้งหนึ่ง คู่เต้นรำของเธอก็เป็นพี่ชายเท่านั้น การเลี้ยงดูในรูปแบบที่ตัดขาดกับการพบปะกับเพศตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงนั้นไม่ได้สร้างความรื่นรมย์ใจให้กับเจ้าหญิงแม้แต่น้อย เธอจะหาโอกาสขี่ม้าไปตามแหล่งที่อยู่อาศัยของสามัญชน จนเกิดข่าวลือตามมาว่า การเกลือกกลั้วกับคนต่างชนชั้นได้นำมาสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จากที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหญิงโฉมงามที่เหล่าเจ้าชายพยายามเจรจาขอแต่งงาน ก็ไม่มีทีท่าว่าเจ้าหญิงจะได้ออกเรือนสักที จนอายุล่วงไปถึง 25 ปี ซึ่งถือว่าล่วงเลยวัยหาคู่แต่งงานสำหรับผู้คนในยุคนั้น
แต่เรื่องราวกลับพลิกผันเมื่อคู่หมายได้ปรากฏขึ้นมา เขาคนนั้นคือ George ลูกพี่ลูกน้องจากอังกฤษ โอรสแห่่งพระเจ้า George ที่ 3 เจ้าชายรัชทายาทผู้มีอนาคตเป็นใหญ่รอภายหน้า ทั้งคู่หมั้นหมายโดยไม่เคยได้พบหน้ากันจริงๆ และไม่เป็นที่ปิดบังว่า เจ้าชายGeorgeจำใจต้องทำตามความประสงค์ของพระบิดาเพราะสถานะการเงินที่ย่ำแย่จนติดหนี้สินไว้สูงลิ่ว หากไม่เข้าพิธีวิวาห์กับเจ้าหญิง Caroline ก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนเงินรายได้เพิ่มเติม ในที่สุดเมื่อพวกเค้าได้มาพบกัน จากความกระอักกระอ่วนของการคลุมถุุงชนก็ลามปลายมาเป็นความเกลียดชัง เจ้าหญิงติว่าว่าที่สวามีอ้วนเผละดูไม่เหมือนภาพวาดที่หล่อเหลา ส่วนเจ้าชายก็แสดงความรังเกียจเมื่อเจ้าหญิงแสดงกิริยามารยาทที่ขาดการอบรมให้สวยงามสำรวมตามอุดมคติของราชสำนักอังกฤษ
ความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยความเกลียดชังนั้น นำไปสู่หน้าประวัติศาสตร์ที่ฉาวโฉ่ราวกับกำลังชมละครน้ำเน่า
พระชายาที่ถูกเนรเทศและกีดกันออกจากการเลี้ยงดูเลือดเนื้อเชื้อไข
- เจ้าชายเมามายในพิธีวิวาห์ และไม่ปิดบังเลยว่ารู้สึกฝืนใจแค่ไหน ทั้งยังเคยเข้าพิธีที่ไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายกับม่ายสาวสามัญชนมาก่อน
- เจ้าชายประกาศว่าร่วมรักกับพระชายาเพียง 3 ครั้ง นั่นคือคืนแรกที่เข้าหอและคืนต่อมา และ 9 เดือนต่อมา เจ้าหญิงก็ให้กำเนิดพระธิดา ชีวิตแต่งงานก็ดิ่งสู่หุบเหวลึกลงไปเรื่อยๆ
- เจ้าหญิงยังไม่ทันคลอด เจ้าชายก็ทูลเสด็จพ่อว่าต้องการแยกทางกันพระชายา ส่วนเจ้าหญิงก็ทนไม่ไหวเช่นเดียวกัน เธอไม่ได้รับอนุญาตให้มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูพระธิดา และสื่อก็ตีพิมพ์ข่าวจนรู้ไปทั่วหัวระแหงว่า เธอไม่ไเคยได้ความรักจากสวามี เพียงสองปีหลังจากการวิวาห์ เจ้าหญิงก็ได้ย้ายออกจากวัง และมีข่าวลือว่าทั้งสองต่างก็มีชู้รักอย่างเพลิดเพลินใจไม่ต้องห่วงว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร
- เจ้าชายพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อจะหย่าขาดจากพระชายา ยิ่งได้รับอำนาจในการปกครองประเทศในฐานะเจ้าชายผู้สำเี็จราชการเมื่อพระบิดาเจ็บป่วยทางจิตเวชอย่างรุนแรง ก็สามารถบีบให้เจ้าหญิงไร้ทางไป และยิ่งยากจะเข้าหาพระธิดา ในที่สุดเจ้าหญิงก็ต้องเดินทางออกจากประเทศ เมื่อพระธิดาคนเดียวสิ้นชีวิตไปอย่างกะทันหัน เจ้าชายไม่ยอมแม้แต่จะให้ราชสำนักส่งข่าวร้ายไปที่พระชายาด้วยซ้ำไป
- เมื่อพระเจ้า George ที่ 3 ได้จากโลกนี้ไป เจ้าชาย George ก็ได้ขึ้นครองราชย์กลายมาเป็นกษัตริย์อย่างเต็มตัว เจ้าหญิงจึงหมายมั่นปั้นมือถึงตำแหน่งราชินีอันชอบธรรม จึงเดินทางกลับมายังอังกฤษ แต่ก็ยังถูกกีดกันจากสวามีที่เกลียดชังเธอเต็มหัวใจถึงขนาดไม่ยอมให้เข้ามาที่พิธีราชาภิเษก แม้ว่าเธอจะไม่มีท่าทีหวั่นเกรง และมุ่งมั่นต่อการสถาปนาขึ้นเป็นราชินีอังกฤษ แต่ทันทีที่ได้มาเยือนราชสำนัก เธอกลับล้มป่วยและสิ้นใจในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ต่อมา
เจ้าสาววัย 9 ขวบ
ในระยะหลังๆ เราได้ยินเสียงวิจารณ์การนำเสนอเจ้าหญิงจากหนัง Disney อยู่บ่อยครั้งว่าเป็นการชักจูงให้ผู้ชม romanticize การล่วงละเมิดผู้เยาว์ เมื่อเหล่าเจ้าหญิงที่พบรรักแท้กับเจ้าชายจนได้แต่งงานกันมีวัยเพียง 15-16 แต่ในศตวรรษที่17 เจ้าหญิงน้อยแห่งอังกฤษก็จำต้องเข้าพิธีวิวาห์กับเจ้าชายวัยทีน แม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้เป็นสวามีและชายากันตาม "พฤตินัย" เพราะยังเยาว์วัย จำเป็รต้องรอเวลาจะกว่าจะบรรลุนิติภาวะ แต่นี่ก้ได้แสดงชัดเจนว่า เส้นทางชีวิตของของเจ้าหญิงนั้น จะถูกบัญญัติไว้อย่างไม่สามารถบิดพลิ้วไปได้แม้แต่น้อย แม้จะเป็นแค่เด็กหญิงวัย 9 ขวบ ก็ต้องเข้าพิธีวิวาห์สาบานตนเป็นภรรยาของของเจ้าชายจากต่างแดนเพื่อสร้างความเป็นปีกแผ่นให้กับราชวงศ์
ภาพลักษณ์ที่ตกต่ำลงของเชื้อพระวงศ์จนผู้คนและขุนนางแสดงท่าทีต่อต้านทำให้พระเจ้า Charles ที่1แห่งอังกฤษคิดหาวิธีปรับภาพลักษณ์ใหม่และสร้างฐานอำนาจที่แข็งแกร่งขึ้นหลังจากที่ถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการปกครองของกษัตริย์ ยิ่งอภิเษกราชินีที่นับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก ก็ทำให้ถูกโจมตีสร้างความแตกแย้งให้ร้าวลึกลงไป
ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองภายในกำลังตึงเครียดอย่างหนัก การสร้างพันธมิตรจากการหาคู่ให้กับพระธิดาคนโตที่ยังเป็นเพียงเด็กหญิงวัยใสก็ดูจะเป็นทางออกสำหรับกษัตริย์เพื่อรักษาบัลลังก์เอาไว้ การสมรสทางการเมืองเป็นที่อยู่คู่กับเชื้อพระวงศ์ยุโรปมาหลายศตวรรษ แต่ก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหญิงเจ้าชายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว ในกรณีของเจ้าหญิง Mary Henrietta Stuart ที่ต้องเข้าพิธีวิวาห์อย่างเร่งด่วนกับเจ้าชายจากอาณาจักร Orange ( Netherlands ในปัจจุบัน) ไม่ได้รับคำแซ่ซ้องยินดีจากปวงชนในประเทศ เพราะต่างรู้กันดีว่า สงครามกลางเมืองใกล้จะปะทุขึ้นทุกที เจ้าชายแห่ง Orange เสด็จกลับประเทศและเฝ้าคอยให้เจ้าหญิงโตขึ้นมาอีกนิดเพื่อที่จะตามไปทำหน้าที่พระชายา แต่ในปีถัดมา สงครามก็บีบให้เจ้าหญิงต้องลี้ภัยไปยังประเทศของสวามี (ในนาม) เมื่ออายุครบ 12 ปี เจ้าหญิงก็ได้เข้าพิธีวิวาห์ครั้งที่สอง และร่วมเรียงเคียงหมอนเป็นสามีภรรยาอย่างสมบูรณ์ในปีถัดมา
ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองภายในกำลังตึงเครียดอย่างหนัก การสร้างพันธมิตรจากการหาคู่ให้กับพระธิดาคนโตที่ยังเป็นเพียงเด็กหญิงวัยใสก็ดูจะเป็นทางออกสำหรับกษัตริย์เพื่อรักษาบัลลังก์เอาไว้ การสมรสทางการเมืองเป็นที่อยู่คู่กับเชื้อพระวงศ์ยุโรปมาหลายศตวรรษ แต่ก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหญิงเจ้าชายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว ในกรณีของเจ้าหญิง Mary Henrietta Stuart ที่ต้องเข้าพิธีวิวาห์อย่างเร่งด่วนกับเจ้าชายจากอาณาจักร Orange ( Netherlands ในปัจจุบัน) ไม่ได้รับคำแซ่ซ้องยินดีจากปวงชนในประเทศ เพราะต่างรู้กันดีว่า สงครามกลางเมืองใกล้จะปะทุขึ้นทุกที เจ้าชายแห่ง Orange เสด็จกลับประเทศและเฝ้าคอยให้เจ้าหญิงโตขึ้นมาอีกนิดเพื่อที่จะตามไปทำหน้าที่พระชายา แต่ในปีถัดมา สงครามก็บีบให้เจ้าหญิงต้องลี้ภัยไปยังประเทศของสวามี (ในนาม) เมื่ออายุครบ 12 ปี เจ้าหญิงก็ได้เข้าพิธีวิวาห์ครั้งที่สอง และร่วมเรียงเคียงหมอนเป็นสามีภรรยาอย่างสมบูรณ์ในปีถัดมา
ไม่ต่างจากสามัญชนในยุคนั้น เด็กหญิงที่ร่างกายยังไม่เจริญวัยเต็มที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์และเร่งให้กำเนิดทายาทสืบสกุลทำให้เกิดความเสี่ยงถึงตาย อันมาจากการแพทย์ที่ยังไม่ก้าวหน้าทำให้อัตราแม่และเด็กในท้องเสียชีวิตระหว่างคลอดสูงลิบลิ่ว เจ้าหญิงอังกฤษที่เข้าสู่ราชสำนักดัชท์ตั้งแต่ยังเด็กได้ตั้งครรภ์และแท้งในวัยเพียง 16 ปี สามปีต่อมาก็ให้กำเนิดเจ้าชายรัชทายาทได้ในที่สุด แต่ก่อนที่โอรสจะลืมตาดูโลกเพียงไม่นาน จู่ๆ สวามีต้องมาพบจุดจด้วยไข้ทรพิษโดยไม่มีใครคาดหมาย เธอต้องสู้รบกับพระมารดาสวามีที่ขัดแย้งกันอย่างหนักตามสไตล์ศึกแม่ผัวลูกสะใภ้อยู่ตลอดสิบปี จนกระทั่งล้มป่วยอย่างกะทันหัน มันคือมัจจุราชที่คร่าชีวิตไปมากมายในยุคนั้น รวมถึงเจ้าหญิง Mary วัย 29 ที่สิ้นใจจากไข้ทรพิษเช่นเดียวกันกับสวามีนั่นเอง
โรคแพ้วังของจักรพรรดินีผู้เลอโฉม
เมื่อพูดถึงเรื่องราวของ "คนงามที่อาภัพ" จากประวัติศาตร์ ชื่อของจักรพรรดินี Elisabeth มักจะปรากฏเด่นชัด หากตัดสินเพียงแต่ภาพภายนอก เธออาจจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีชื่อเสียงเรื่องความงามขจรไปไกลและช่างดูเหมาะสมกับจักรพรรดิผู้ทรงอำนาจอย่างไร้ที่ติ แต่ชีวิตที่ทุกข์ระทมในราชสำนักได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสุขภาพของเธอ แต่เมื่อเดินทางออกไปอาศัยอยู่ห่างไกลวังในVienna เมื่อใด อาการเจ็บป่วยก็จะทุเลาลงอย่างน่าประหลาด
ชีวิตภายใต้แรงกดดันจากพระมารดาของสวามีที่ร้ายกาจจนเลื่องลือ
ภาพลักษณ์ของจักรพรรดินี Elisabeth ที่รู้จักกันดีในชื่อเล่นSissi หรือ Sisi มักจะถูกนำเสนอผ่านความหมกมุ่นอยู่กับรูปโฉมและไม่สามารถยอมปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในราชสำนัก Vienna แต่เรื่องราวเบื้องหลังนั้นชวนจิตตกกว่านั้นมาก
Sisi เคยมีชีวิตสงบสุขในแคว้น Bavariaที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม เธอเกิดในครอบครัวของผู้สูงศักดิ์ที่มีญาติมิตรเป็นผู้ปกครองอาณาจักรใกล้เคียง ดัชเชสที่ยังเป็นสาวใสและไม่ได้รับการลเี้ยงดูอย่างเคร่งครัดตามธรรมเนียมของราชสำนัก
แต่เพราะเธอมีป้าเป็นพระมารดาของจักพรรดิหนุ่มแห่ง Austria ชีวิตจึงต้องพลิกผันไป เพราะเสด็จป้าผู้นี้มีชื่อเสียงเรื่องความทะเยอทะยานต้องการกุมอำนาจไว้กับสายเลือดของตัวเอง จึงมองหาเจ้าสาวที่เข้าตาด้วยเงื่อนไขที่ว่า ต้องเป็นญาติในวงศ์ตระกูลเดียวกันและมีบุคลิกว่านอนสอนง่าย ซึ่งเป้าหมายที่ถูกใจที่สุดคือ Helena พี่สาวของ Sisi
แต่เมื่อได้พบกัน พระจักรพรรดิกลับไม่เหลียวแล Helena เขาหลงไหลในความสดใสร่าเริงของดัชเชสผู้น้อง เธอยังมีรูปโฉมที่โดดเด่นกว่าพี่สาวอย่างชัดเจน ไม่ว่าเสด็จแม่จะเกลี้ยกล่อมเช่นใด พระจักรพรรดิก็ไม่ยินยอมอภิเษกกับหญิงสาวที่แม่หมายตาไว้ และยื่นคำขาดว่า ถ้าไม่ได้อภิเษกกับ Sisi ก็จะไม่อภิเษกกับใครทั้งนั้น
ในขณะนั้น Sisi มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น แต่ชีวิตของเธอก็เหมือนกับสตรีสูงศักดิ์คนอื่นๆในยุคนั้น นั่นคือ ต้องยินยอมให้ครอบครัวเลือกเจ้าบ่าวที่เป็นเชื้อพระวงศ์ระดับสูง และโดยมากแล้วจะต้องแต่งงานกันในเครือญาติ เธอเดินทางไปอภิเษกกับจักรพรรดิตอนที่อายุได้ราวๆ 16 ปี ด้วยความไร้ประสบการณ์เรื่องการปฏิบัติตัวในราชสำนักที่เคร่งครัด และหลายคนคงเดาได้แล้วว่า ความสัมพันธ์แบบ แม่สามี-ลูกสะใภ้เริ่มต้นด้วยอคติตั้งแต่เริ่มต้น
Sisi เคยมีชีวิตสงบสุขในแคว้น Bavariaที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม เธอเกิดในครอบครัวของผู้สูงศักดิ์ที่มีญาติมิตรเป็นผู้ปกครองอาณาจักรใกล้เคียง ดัชเชสที่ยังเป็นสาวใสและไม่ได้รับการลเี้ยงดูอย่างเคร่งครัดตามธรรมเนียมของราชสำนัก
แต่เพราะเธอมีป้าเป็นพระมารดาของจักพรรดิหนุ่มแห่ง Austria ชีวิตจึงต้องพลิกผันไป เพราะเสด็จป้าผู้นี้มีชื่อเสียงเรื่องความทะเยอทะยานต้องการกุมอำนาจไว้กับสายเลือดของตัวเอง จึงมองหาเจ้าสาวที่เข้าตาด้วยเงื่อนไขที่ว่า ต้องเป็นญาติในวงศ์ตระกูลเดียวกันและมีบุคลิกว่านอนสอนง่าย ซึ่งเป้าหมายที่ถูกใจที่สุดคือ Helena พี่สาวของ Sisi
แต่เมื่อได้พบกัน พระจักรพรรดิกลับไม่เหลียวแล Helena เขาหลงไหลในความสดใสร่าเริงของดัชเชสผู้น้อง เธอยังมีรูปโฉมที่โดดเด่นกว่าพี่สาวอย่างชัดเจน ไม่ว่าเสด็จแม่จะเกลี้ยกล่อมเช่นใด พระจักรพรรดิก็ไม่ยินยอมอภิเษกกับหญิงสาวที่แม่หมายตาไว้ และยื่นคำขาดว่า ถ้าไม่ได้อภิเษกกับ Sisi ก็จะไม่อภิเษกกับใครทั้งนั้น
ในขณะนั้น Sisi มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น แต่ชีวิตของเธอก็เหมือนกับสตรีสูงศักดิ์คนอื่นๆในยุคนั้น นั่นคือ ต้องยินยอมให้ครอบครัวเลือกเจ้าบ่าวที่เป็นเชื้อพระวงศ์ระดับสูง และโดยมากแล้วจะต้องแต่งงานกันในเครือญาติ เธอเดินทางไปอภิเษกกับจักรพรรดิตอนที่อายุได้ราวๆ 16 ปี ด้วยความไร้ประสบการณ์เรื่องการปฏิบัติตัวในราชสำนักที่เคร่งครัด และหลายคนคงเดาได้แล้วว่า ความสัมพันธ์แบบ แม่สามี-ลูกสะใภ้เริ่มต้นด้วยอคติตั้งแต่เริ่มต้น
"หน้าที่" ของมเหสีที่กดดันคือการให้กำเนิดรัชทายาท นอกจากนั้น เรื่องข้อปฏิบัติอันแสนเคร่งครัดในรั้ววังก็ทำให้ Sisi ต้องเผชิญกับความตึงเครียดอย่างหนัก พระมารดาสวามีก็ไม่ถูกใจในตัวเธอ ส่วนจักรพรรดิที่เคยลุ่มหลงในความงามของเธอก็เริ่มห่างเหินไป แม้จะตั้งครรภ์ไม่นานหลังจากอภิเษกสมรส แต่ก็ถูกกีดกันไม่ให้ใกล้ชิดกับพระธิดา เรียกได้ว่า พรากแม่ลูกออกจากกันตั้งแต่ยังเป็นทารกน้อย ซ้ำร้าย ยังไม่ทันได้ทำหน้าที่แม่ ก็ต้องเสียชีวิตจากกันไปเพราะเจ้าหญิงน้อยก็มีชีวิตอยู่ 2 ปีเท่านั้น ยิ่งเวลาผ่านไปก็ยังไม่สามารถให้กำเนิดรัชทายาท ทั่วราชสำนักก็มองเธอด้วยความเย็นชา เมื่อให้กำเนิดพระธิดาคนที่ 2 ความทุกข์ที่ถูกพรากลูกน้อยออกจากอกทำให้เธอเริ่มแสดงอาการโรคซึมเศร้าในเวลาต่อมา
หลังจากอภิเษกเข้าสู่ปีที่ 4 Sisi ก็ได้ให้กำเนิดเจ้าชายรัชทายาทได้ในที่สุด Sisi แต่เธอนั่นก็ดูจะไม่ได้เพิ่มอำนาจให้เธอต่อกรกับพระมารดาสวามีผู้อยู่เบื้องหลังอำนาจในราชสำนักได้ เธอพยายามประท้วงด้วยการอดอาหาร และงดการปฏิบัติกรณียกิจต่างๆเพราะสุขภาพไม่อำนวย จนถูกมองว่าเป็นข้ออ้างในการเลี่ยงหน้าที่จักรพรรดินีAustia ส่วนโอรสของเธอก็เติบโตขึ้นมาแบกรับกับความคาดหวังสูงส่งจนเกิดเป็นแรงบีบคั้น อุปนิสัยที่ดูไปทางเสด็จแม่อาจจะมีส่วนที่ทำให้เจ้าชายรัชทายาทเจ็บป่วยทางจิตใจเช่นเดียวกัน และนั่นก็นำไปสู่โศกนาฏกรรม เมื่อโอรสผู้เดียวที่ Sisi ไม่ได้รับโอกาสให้เลี้ยงดูได้ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองไปพร้อมกับชู้รัก ไม่มีวันได้ขึ้นครองบัลลังก์
หลังจากอภิเษกเข้าสู่ปีที่ 4 Sisi ก็ได้ให้กำเนิดเจ้าชายรัชทายาทได้ในที่สุด Sisi แต่เธอนั่นก็ดูจะไม่ได้เพิ่มอำนาจให้เธอต่อกรกับพระมารดาสวามีผู้อยู่เบื้องหลังอำนาจในราชสำนักได้ เธอพยายามประท้วงด้วยการอดอาหาร และงดการปฏิบัติกรณียกิจต่างๆเพราะสุขภาพไม่อำนวย จนถูกมองว่าเป็นข้ออ้างในการเลี่ยงหน้าที่จักรพรรดินีAustia ส่วนโอรสของเธอก็เติบโตขึ้นมาแบกรับกับความคาดหวังสูงส่งจนเกิดเป็นแรงบีบคั้น อุปนิสัยที่ดูไปทางเสด็จแม่อาจจะมีส่วนที่ทำให้เจ้าชายรัชทายาทเจ็บป่วยทางจิตใจเช่นเดียวกัน และนั่นก็นำไปสู่โศกนาฏกรรม เมื่อโอรสผู้เดียวที่ Sisi ไม่ได้รับโอกาสให้เลี้ยงดูได้ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองไปพร้อมกับชู้รัก ไม่มีวันได้ขึ้นครองบัลลังก์
เพื่อหลบเลี่ยงสงครามประสาทในรั้ววัง Sisi ได้เดินทางออกจาก Vienna ไปพำนักต่างเมืองหรือต่างประเทศอย่างสันโดษครั้งละนานๆ แต่เมื่อกลับมาทำหน้าที่พระจักรพรรดินีเมื่อใด อาการเจ็บป่วยของเธอก็ดูรุนแรงขึ้น ทั้งมีไข้ ไอ แทบจะนอนไม่ได้ มีอาการไมเกรนทำให้ทรมาน เท้าบวมจนเดินไม่ถนัด อาเจียน อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อเดินทางออกจากราชสำนัก และมีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอาการจากโรคเครียดนั่นเอง และการแยกตัวจากสภาพแวดล้อม toxicก็เปรียบเป็นการเยียวยาให้จิตใจและร่างกายแข็งแรงขึ้น
ทั้งๆที่เธอมีอาการเจ็บป่วยจนต้องเก็บตัว แต่จักรพรรดิมีความประสงค์จะมีโอรสอีกคนเพื่อการันตีเรื่องการสืบต่อราชสมบัติ แต่หมอหลวงได้ยืนยันว่า สุขภาพของ Sisi ไม่แข็งแรงพอที่จะตั้งครรภ์อีกได้ เธอได้ใช้เหตุผลนี้ในการปฏิเสธการร่วมเรียงเคียงหมอนกับจักรพรรดิ และทุ่มเทเวลาในการเรียนรู้ศาสตร์ที่สนใจ และที่สำคัญคือการทุ่มเทเพื่อความงามอันเยาว์วัยที่กินเวลามากมายในแต่ล่ะวัน เธอได้ให้กำเนิดธิดาคนสุดท้องในวัยสามสิบ และก็ยังรักษาความงามได้อย่างไม่สร่างซาจนถึงวัยกลางคนก็ยังดูอ่อนวัยเสมอ
Sisi จากโลกนี้ไปอย่างสุดสะเทือนขวัญด้วยน้ำมือฆาตกรผู้คลั่งลัทธิอนาธิปไตย ด้วยอุปนิสัยรักสันโดษและไม่ต้องการเดินทางอย่างฟุ่มเฟือยเอืกเกริก ในขณะที่เธอเดินทางด้วยเท้าพร้อมกับนางกำนัลคนสนิทเพียงคนเดียวไปยังเรือโดยสารใน Geneva ก็ถูกชายชาวอิตาเลียนจู่โจมแทงไปที่หน้าอก ก่อนหน้านั้น Sisi ได้ปิดบังตัวตนด้วยการใช้นามแฝงในการเดินทาง แต่ก็ถูกสื่อเปิดเผย เปิดโอกาสให้ Luigi Lucheni ผู้วางแผนสังหารเชื้อพระวงศ์ดักรอโจมตีระหว่างทาง ปิดฉากเส้นทางชีวิตของ Sisi จักรพรรดินีที่งามล้ำแต่ต้องผ่านมรสุมชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต่างจากนางเอกนิยายรันทด
ต้องเป็นมเหสีของญาติร่วมสายเลือดและตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่เครื่องจักรผลิตทายาทจนสิ้นชีวิตตั้งแต่วัยสาว
การสมรสในเครือญาติไม่ใช่เรื่องแหวกแนวในราชวงศ์ Habsburg ด้วยวิธีรวบอำนาจไว้ในวงศ์ตระกูลเดียว ไม่ให้คนนอกเข้ามาแบ่งปันผลประโยชน์เช่นนี้ทำให้การนับญาติด้วย Family Tree ของราชวงศ์นี้เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดกันยุ่งเหยิงไปหมด
อิงฟังต้า Margaret Theresa พระธิดาของราชาและราชินีแห่ง Spain ได้รับการเลี้ยงดูอย่างประคบประหงมด้วยความคาดหวังว่า เธอจะกลายเป็นเจ้าสาวของผู้ปกครองอาณาจักรที่ทรงอำนาจและยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับราชวงศ์ แม้ว่าจะไม่ได้ถูกบีบให้เข้าพิธีวิวาห์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงเหมือนในกรณีเจ้าหญิงอังกฤษในด้านบน แต่พระบิดา-พระมารดา ( ที่ยังเป็นลุง-หลานกันอีกด้วย) ได้สาละวนกับการเจรจาทางการทูตเพื่อเลือกเจ้าบ่าวที่เหมาะสมกับพระธิดาตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสา และได้รับข้อเสนอจากอาณาจักรต่างๆไว้พิจารณา ชายที่มีฐานะสูงส่งดูเข้าตามากที่สุดกลับกลายมาเป็น จักรพรรดิ Leopold ที่1 แห่ง Holy Roman น้าชายของอิงฟังต้า แผนการสนับสนุนการอภิเษกสมรสร่วมสายเลือดใกล้ชิดก็ได้เริ่มต้นขึ้น แม้ว่าฝ่ายหญิงจะยังเป็นเด็กอยู่ก็ตาม
อิงฟังต้าวัย 15 ปีเดินทางมายัง Vienna เพื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสอันยิ่งใหญ่อลังการ ช่องว่างความแตกต่าง11ปีของวัยนั้นอาจจะไม่ห่างถึงขนาดเปรียบไปได้ว่าเป็นรุ่นราวคราวพ่อ-ลูก มีรายงานว่า เขาหลงไหลเธออย่างถอนตัวไม่ขึ้น Margaret Theresa ตั้งครรภ์แทบจะทันทีหลังจากได้ร่วมเรียงเคียงหมอนกับสวามีที่เธอมักเรียกว่า "ท่านน้า" และตั้งครรภ์ซ้ำๆตลอดระยะเวลาหกปีที่ได้กลายมาเป็นมเหสี เธอให้กำเนิดทายาท 4 คน แต่มีพระธิดาเพียงคนเดียวที่รอดชีวิตไปถึงวัยผู้ใหญ่ รวมไปถึงแท้งลูกอย่างน้อยๆสองครั้ง นั่นหมายความว่า เธอแทบไม่ได้หยุดพักจากการตั้งครรภ์เลย นอกจากจิตใจที่ปวดร้าวเพราะลูกน้อยเสียชีวิตกันไปเกือบหมด ร่างกายที่ไม่แข็งแรงอยู่ก่อนหน้ายิ่งถูกกระหน่ำซ้ำเติมให้ทรุดโทรมลงไป เธอให้กำเนิดพระธิดาคนที่ 4ที่มีชีวิตเพียงไม่กี่วัน และมันกลายเป็นการคลอดครั้งสุดท้าย เพราะหนึ่งปีหลังจากนั้น Margaret Theresa ก็เสียชีวิตตามลูกๆไป
จักรพรรดิหลงไหล Margaret Theresa อย่างล้นเหลือและแสดงความรักตามแบบฉบับของ "สายเปย์" ไม่ว่ามเหสีจะชื่นชอบสิ่งใด ก็ทุ่มเงินบันดาลให้ ไม่ว่าจะเป็นงานฉลองสมภพที่ยกคณะ opera มาให้ความบันเทิงและเชิญแขกเหรื่อมาร่วมงานเลี้ยงห้าพันคน หรือจะเป็นการแสดง ballet บนหลังม้าด้วยเทคนิคตระการตาเหมือนรถม้ากำลังลอยอยู่กลางอากาศ เธอไม่ใส่ใจเรียนรู้ภาษา German และยึดมั่นขนบธรรมเนียมจากราชสำนัก Spain อย่างเหนียวแน่นจนข้าราชบริพารเกิดความรู้สึกต่อต้าน แต่เธอก็ยังเป็นคนโปรดของ"ท่านน้า" แน่นอนว่า ภาระหน้าที่อันสำคัญ หนีไม่พ้นการให้กำเนิดรัชทายาท แต่ก็ไม่เป็นผล เธอดูตั้งครรภ์ได้อย่างง่ายดาย แต่ไม่สามารถให้กำเนิดโอรสที่รอดชีวิตไปสืบต่อราชสมบัติได้ ยิ่งปรากฏว่าร่างกายของเธออ่อนแอลงเท่าใด ก็ดูจะสมใจข้าราชบริพารที่ปรารถนาให้จักรพรรดิอภิเษกมเหสีคนใหม่
แม้จักรพรรดิจะแสดงความโหยหาอาวรณ์มเหสีผู้ล่วงลับด้วยความเศร้าเหลือประมาณ แต่ราชสำนักก็บีบให้เร่งเสาะหามเหสีลำดับ 2ที่จะให้กำเนิดเจ้าชายรัชทายาทโดยเร็วที่สุด และจัดงานอภิเษกหลังจาก Margaret Theresa เสียชีวิตเพียงไม่กี่เดือน แต่กลับเกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำรอย มเหสีคนใหม่ให้กำเนิดทารกที่มีชีวิตอยู่เพียงไม่นาน ส่วนตัวเธอเองก็ติดโรคร้ายจนเสียชีวิตในวัยยี่สิบต้นๆ
เมื่อสูญเสียทั้งมเหสีและเลือดเนื้อเชื้อไขไปติดๆกัน ก็ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับจักรพรรดิเป็นยิ่งนัก แต่ชีวิตของผู้ปกครองแผ่นดินที่ยังไร้รัชทายาทก็ไม่สามารถหลบเลี่ยงการหาคู่ครองใหม่เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่อการสืบสายเลือดสูงส่งไปได้ คุณสมบัติของมเหสีลำดับ 3เรียกว่า "ตอบโจทย์" ทุกประการ เธอให้กำเนิดทายาทกับจักรพรรดิถึง 10 คน แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรอดชีวิตจนเติบใหญ่ แต่ก็มีเจ้าชายรัชทายาทสองคนที่เป็นความหวังในการสืบสานสายเลือดขัตติยะ ส่วนตัวจักรพรรดินีคนสุดท้ายก็มีอายุยืนยาวถึง65ปี ซึ่งในยุคนั้นถือว่าอายุยืนมากทีเดียว
นั่นก็ได้สะท้อนว่า สำหรับเจ้าหญิงผู้ได้รับเลือกให้มาอยู่เคียงข้างผู้ปกครองแผ่นดิน นอกจากจะต้องรับการอบรมให้เพียบพร้อมทุกด้าน หากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแกร่งพอ ถึงจะรอดพ้นจากโรคติดต่อร้ายแรงไปได้ หากถูกดดันให้ทำหน้าที่เสมือนกับเครื่องจักรผลิตลูกโดยไม่ว่างเว้นก็เป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน
เมื่อสูญเสียทั้งมเหสีและเลือดเนื้อเชื้อไขไปติดๆกัน ก็ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับจักรพรรดิเป็นยิ่งนัก แต่ชีวิตของผู้ปกครองแผ่นดินที่ยังไร้รัชทายาทก็ไม่สามารถหลบเลี่ยงการหาคู่ครองใหม่เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่อการสืบสายเลือดสูงส่งไปได้ คุณสมบัติของมเหสีลำดับ 3เรียกว่า "ตอบโจทย์" ทุกประการ เธอให้กำเนิดทายาทกับจักรพรรดิถึง 10 คน แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรอดชีวิตจนเติบใหญ่ แต่ก็มีเจ้าชายรัชทายาทสองคนที่เป็นความหวังในการสืบสานสายเลือดขัตติยะ ส่วนตัวจักรพรรดินีคนสุดท้ายก็มีอายุยืนยาวถึง65ปี ซึ่งในยุคนั้นถือว่าอายุยืนมากทีเดียว
นั่นก็ได้สะท้อนว่า สำหรับเจ้าหญิงผู้ได้รับเลือกให้มาอยู่เคียงข้างผู้ปกครองแผ่นดิน นอกจากจะต้องรับการอบรมให้เพียบพร้อมทุกด้าน หากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแกร่งพอ ถึงจะรอดพ้นจากโรคติดต่อร้ายแรงไปได้ หากถูกดดันให้ทำหน้าที่เสมือนกับเครื่องจักรผลิตลูกโดยไม่ว่างเว้นก็เป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน
มาที่บทสรุป
ถูกสวามีกลั่นแกล้ง บีบให้หย่า เนรเทศไปแดนไกลไม่เจอหน้าลูก
เป็นเครื่องมือทางการเมือง ต้องเข้าพิธีวิวาห์ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
เจ็บป่วยทางจิตใจเพราะถูกบีบคั้นจากวิถีราชสำนักที่เคร่งครัดและเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี
ต้องเป็นภรรยาของญาติใกล้ชิด และถูกบีบตั้งครรภ์ให้ได้มากที่สุด จนสุขภาพอ่อนแอเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
นี่แหละชะตากรรมของเจ้าหญิงที่เราไม่ได้เจอใน romance สุดประทับใจ
The End