เจาะพัฒนาการของไอดอล K Pop Generation ที่4

52 11
ถึงเวลานี้ คงไม่ต้องทวงถามข้อพิสูจน์แล้วว่า วัฒนธรรม K Popมีความแข็งแกร่งมากเพียงใด     ตลอดระยะเวลาเพียง2 ทศวรรษจากยุคบุกเบิกมาจนถึง generation ล่าสุด   K Pop ได้ฝ่ากำแพงความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและภาษาจนได้รับความนิยมอบ่างล้นหลาม  มิเพียงแต่ในทวีปเอเชีย  แต่ศิลปินระดับ top  สามารถสร้างปรากฏการณ์ความคลั่งไคล้ไปยังอีกฟากของโลก ทั้งยุโรป  อเมริกา  อเมริกาใต้  และยังเป็นที่กล่าวขวัญจากสื่อยักษ์ใหญ่ในตะวันตก   หลายคนคาดการณ์ว่า   อุตสาหกรรมธุรกิจบันเทิงจากเกาหลีจะยิ่งเพิ่มพูนความนิยม และยังไม่มีสัญญาณว่าจะเข้าใกล้ "จุดอิ่มตัว" หรือ "ขาลง"


หลายคนเชื่อมั่นว่า ช่วงความ peak ของวงไอดอลยอดนิยมนั้นจะมีระยะเวลาจำกัด แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นวงที่โด่งดังระดับแนวหน้า แต่หลายครั้งต้องแยกย้ายแตกวงด้วยเหตุผลต่างๆ เมื่อมีคลื่นลูกใหม่เข้ามา ก็จะค่อยๆ fade ไปเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ทำให้แฟนๆรู้สึกเคยชินเมื่อไม่ได้เห็นผลงานสร้างความฮือฮาจากไอดอลคนโปรดเหมือนเดิม ไอดอลบางคนสามารถต่อยอดไปยังวงการแสดง หรือโลดแล่นในวงการดนตรีต่อในฐานะศิลปินเดี่ยว แต่ก็ยังมีหลายคนที่หายหน้าหายไปตาไปจนแทบไม่น่าเชื่อว่า พวกเค้าเคยโด่งดังล้นเหลือ แม้จะมี come back แต่กระแสตอบรับก็อาจจะไม่ใกล้เคียงกับในอดีต

นำไปสู่คำถามที่ว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ ไอดอล K Pop จะเสื่อมความนิยมลงเหมือนกับ boy band และ girl bandจากตะวันตกที่เคยเฟื่องฟูเป็นที่สุดในช่วง 90s-2000sแล้วก็ค่อยๆซาหายไป

นี่คือความท้าทายของนักปั้นมือทองในการเลือกเฟ้นและฝึกฝนไอดอลฝึกหัดให้ก้าวมาสั่นสะเทือนวงการบันเทิงทดแทนไอดอลรุ่นเก่า


แน่นอนว่า การปั้นวงน้องใหม่ที่สามารถเข้ามาแทนที่วงรุ่นพี่ที่โด่งดังข้ามทวีปมาก่อนหน้าย่อมกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อน K Pop สู่เส้นทางแห่งความสำเร็จโดยไม่เข้าใกล้ทางตัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายเล็กหรือค่ายใหญ่ หากสร้างไอดอลที่เปรี้ยงปังทั้งในเกาหลีและนานาชาติจนมีแฟนๆแห่แหนติดตามจนปรากฏการณ์ความนิยมได้ ก็สามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาได้หลายทิศทาง ค่ายเล็กก็อาจจะก้าวขึ้นมาเป็นค่ายดังได้เลยทีเดียว

     ซึ่งที่เกาหลีนั้นได้แบ่งไอดอลไว้ 4 generation ดังนี้



generationแรก
 

ยุคบุกเบิก แฟนๆต่างประเทศที่ติดตามศิลปินเกาหลีจะอยู่ในระดับเฉพาะกลุ่มจริงๆ หากเป็นประเทศแถบเอเชียในยุคนั้น ศิลปินจากอเมริกาเหนือและยุโรปรวมถึงญี่ปุ่นยังยืนหนึ่งในตลาดดนตรีต่างประเทศ concept ของวง K Pop จะดูคล้ายกับญี่ปุ่นผสมผสานกับอเมริกัน



รูปแบบของไอดอล generation  ช่วงบุกเบิกมีความเปลี่ยนแปลงชัดเจนในตอนปลาย  เพราะไอดอลเกาหลีเริ่มก้าวออกไปสร้างความนิยมในประเทศใกล้เคียงอย่างจีนและ ญี่ปุ่น  จึงใช้คำว่า "รุ่นทดลอง"  เรียกไอดอลกลุ่มนี้    จะบอกว่าเป็นการลองผิดลองถูกเพื่อเป็นรากฐานแห่งความสำเร็จของ K Pop ในยุคปัจจุบันก็ไม่ผิดไปนัก


ถ้าเป็นศิลปิน K Pop จากยุคบุกเบิกนั้น มองภายนอกอาจจะไม่ได้แตกต่างจาก J Pop นัก   แต่พอศิลปินเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศละแวกเดียวกัน และค่อยๆขยายออกมาเป็นทั่วเอเชีย  แฟนๆต่างประจักษ์ว่า  K Pop  มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะสไตล์การเต้นที่หนักแน่นไม่ต่างจากนักเต้นมืออาชีพ    เมื่อมาถึงยุคของ Rain  ที่มักถูกเปรียบเทียบกับ Justin Timberlake และ  Usher จากพรสวรรค์ในการแสดงบนเวทีที่ดึงดูดใจและมีแรงขับทางเพศจนแฟนๆตกตะลึง      นี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่า     KPop มีโอกาสสร้างชื่อได้ในระดับ global   ซึ่งในเวลานั้น อาจจะมีคนไม่มากที่เชื่อมั่นว่า พวกเค้าก้าวไปสร้างความยอมรับในตลาดดนตรีตะวันตกได้


generation ที่2  

ยุทธการ Korean Wave บุกเอเชียประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้หลายประเทศคุ้นเคยกับ K Pop และเปิดใจต้อนรับอย่างง่ายดาย  "วัฒนธรรมติ่งเกาหลี" ขยายตัวอย่างรวดเร็วในหมู่คนหนุ่มสาว    แต่ความพยายามในการขยายตลาดในอเมริกายังไม่ประสบความสำเร็จนัก


ทั้งพรสวรรค์และการฝึกฝนอย่างหนักของศิลปิน K Pop ตั้งแต่ยุคบุกเบิกได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับแฟนๆ    ยุคทองของ Rain   ได้ยกมาตรฐานการเต้นของศิลปิน K Pop ให้สูงลิบลิ่ว  เพราะความสามารถที่ถูกยกไปเปรียบเทียบกับ Justin Timberlake และ  Usher จากพรสวรรค์ในการแสดงบนเวทีที่ดึงดูดใจและมีแรงดึงดูดทางเพศจนแฟนๆตกตะลึง      นี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่า     KPop มีโอกาสสร้างชื่อได้ในระดับ global   ซึ่งในเวลานั้น อาจจะมีคนไม่มากที่เชื่อมั่นว่า พวกเค้าก้าวไปสร้างความยอมรับในตลาดดนตรีตะวันตกได้

ในgeneration นี้ แทบทุกวงจะมีกลุ่มแฟนที่รวมตัวกันและตั้งชื่อเรียกไว้เก๋ไก๋สะดุดหูเพื่อแสดงออกถึงความรักและให้การสนับสนุนไอดอลคนโปรด         เรื่องกำแพงภาษานั้นดูจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการติดตามK Pop  เพราะแฟนๆต่างชาติหันมาร่ำเรียนภาษาเกาหลีและแบ่งปันการแปลผลงานต่างๆให้ผู้อื่นเข้าร่วมอินด้วย  รวมถึงสื่อออนไลน์จากฝั่งเกาหลีเองที่ได้ตระหนักถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาไม่กี่ปี ทำให้มี website ข่าวคราวบันเทิงต่างๆเป็นภาษาอังกฤษให้ติดตามหลายเจ้า    ในยุค digital  นี้    แม้แฟนๆจะไม่เข้าใจภาษาเกาหลี  แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่อุปสรรคที่สกัดกั้นความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ

มาถึง generation ที่2  แค่ได้ยินดนตรีและประโยคในท่อนแร็พที่เป็นภาษาอังกฤษก็ทำให้หลายคนฟันธงได้ทันที่ว่านี่คือวงดนตรี K Pop แน่ๆ พวกเค้ามาพร้อมกับท่วงทำนองที่ติดหู เนื้อร้องที่แม้ว่าจะเป็นแฟนๆต่างชาติก็จำท่อนฮุกได้แม่นยำ ทักษะการเต้นที่พร้อมเพรียงและต่อเนื่องพริ้วไหว ทั้งยังนำเสนอ fashion ที่เปลี่ยนแปลงหลากหลาย concept ทั้งแนวลูกกวาดหวานแหวว sexyร้อนฉ่า ดิบๆกระชากใจ ดูเหมือนว่าพวกเค้าไม่ยอมหยุดนิ่งให้เกิดความรู้สึกที่ซ้ำซากหรือำให้ให้แฟนๆที่รอผิดหวัง ความคาดหวังในตัวไอดอลมีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเค้าไม่ได้เป็นเพียงperformer ที่สร้างความสุขให้แฟนๆเท่านั้น แต่ยังต้องรักษาภาพลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบทุกด้าน




ผู้ที่ไม่ได้ติดตามวงการ K Pop มากนักอาจจะประหลาดใจเมื่อได้ทราบว่า แฟนๆหลายประเทศในอเมริกาใต้นั้นคลั่ง K Pop ไม่แพ้ทางฝั่งเอเชียเลย ไอดอลชื่อดังอย่าง TVXQ, Big Bang, Super Junior  และวงอื่นๆจากgeneration ได้ปูทางสู่ความสำเร็จในละตินอเมริกาไว้แล้ว   และเป็นเหตุผลที่คุณจะได้ยินคำภาษาสเปนในเพลง K Pop อยู่หลายครั้ง 
Generation ที่ 2 นี้เป็นช่วงที่โครงสร้างวัฒนธรรมไอดอลก่อตัวขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง  พวกเค้ามีรายการ reality show เป็นของตัวเอง  และได้รับเชิญให้เข้าร่วม variety show ชื่อดัง     หากใครมีแวว ก็จะฝ่าด่าน casting  ไปเล่นซีรีส์     เราเริ่มจับทางวิธี PR สร้างกระแสให้เหล่าไอดอลกันได้ชัดขึ้น  ทั้งการเปิดเผยภูมิหลังชาติตระกูลที่มาจากชนชั้นสูงหรือความเป็น "เด็กอินเตอร์"   ผลการเรียนที่โดดเด่น  เบื้องหน้าเบื้องหลังรูปลักษณ์ที่ไร้ที่ติ   ไม่ว่าขยับตัวองศาใดก็เป็นข่าวได้ทั้งนั้น

ครูสอนภาษาในสถาบันสอนภาษาที่ไอดอลนิยมลงเรียนระบุว่า ใน generationนี้ เหล่าไอดอลจะให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาจีนและญี่ปุ่นมากกว่าภาษาอังกฤษ จากpattern ความสำเร็จของวงชื่อดังที่ต่อตีตั๋วไปที่สองประเทศนี้เสมอ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติเราจะได้เห็นสมาชิกวงไอดอลที่เติบโตที่แดนตะวันตกและสามารถพูดภาษาอังกฤษในระดับfluent( หรือแม้กระทั่ง native speaker) แม้เพลง K Pop ในช่วงนี้จะมีเนื้อร้องเป็นภาษาเกาหลีส่วนใหญ่ แต่ไอดอลอินเตอร์เหล่านี้มักจะได้รับหน้าที่แร็พหรือร้องท่อนภาษาอังกฤษที่สำเนียงเป๊ะแบบเจ้าของภาษา และนี่ยังเป็นช่วงที่ค่ายเพลงได้เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวต่างชาติมาร่วมฝึกฝนเป็นไอดอล และเริ่มมีไอดอลที่ไม่ได้เป็นคนเกาหลีที่สร้างชื่อโด่งดังขึ้นมา



generation ที่3   

ส่งไอดอล K Pop ไปสร้างความลือลั่นระดับโลกได้สำเร็จ แม้จะยังมีเพียงไม่กี่วงที่สื่อบันเทิงจากอเมริกาและยุโรปให้ความสนใจอย่างเต็มที่ แต่ก็ก้าวผ่านอุปสรรคใน generation ก่อนๆ ที่เคยถูกปรามาสว่าส่งไปกี่ครั้งก็แป้ก ก็ดังเปรี้ยงข้ามทวีปจนได้ และกลายมาเป็นต้นแบบหรือแม้กระทั่ง goal ที่วงรุ่นใหม่ปรารถนาจะก้าวไปให้ถึง



นี่คือช่วงเวลาที่คำบรรยายว่า " ความสำเร็จระดับโลก" ได้กลายเป็นจริง   K Pop อาจจะไม่ได้ถูกจริตนักเสพดนตรีไปหมดทุกกลุ่ม  หลายครั้งที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุที่ไอดอลเกาหลียังไม่สามารถสร้างความโด่งดังนอกเอเชียได้เต็มที่   แต่ในที่สุด   BTS ก็ฝ่าฟันขวากหนามมากมาย ทั้งจากคนร่วมชาติที่เย้ยหยันว่าไม่มีทางไปถึงดาว  รวมไปถึงชาวต่างชาติที่แสดงความ"ไม่อิน" และตั้งแง่ไม่ยอมรับในสไตล์ที่แตกต่าง   แต่ทุกวันนี้ นอกจากจะทำลายสถิติมากมายในเกาหลีแล้ว  ก็ยังประสบความสำเร็จอย่างงดงามในแดนตะวันตกอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน  และเราแทบไม่แปลกใจที่ผลงานในระยะหลังของหนุ่มๆ BTS จะเป็นเพลงภาษาอังกฤษ   เพราะทุกวันนี้ พวกเค้าได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มของศิลปินในระดับที่นิตยสารดนตรีชื่อดังเจาะลึกทำ scoop สม่ำเสมอ  และมีลุ้นเข้าชิงรางวัลดังๆจากอเมริกาและยุโรป  เมื่อจะออกผลงานใหม่  รายการ talk show จากอเมริกาก็จะเปิดพื้นที่ให้โพรโมท  รวมไปถึงการร่วมงานกับศิลปินชื่อดังจากแดนตะวันตก

เมื่อ BLACKPINK ได้มาเยือน  Coachella เทศกาลดนตรีชื่อดังได้ทำให้ผู้ชมเปิดใจยอมรับ K Pop เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย  นอกจากผลงานดนตรีที่แฟนๆต่างเฝ้ารอ  เมื่อพวกเธอเผยลุคใหม่ใน MV  สื่อ fashion ต่างชาติต้องหาข้อมูลชิงกันนำเสนอจนไฟแทบลุก  ทั้ง 4 ต่างเป็นbrand ambassador ของ  brand แฟชั่นชั้นสูง  เป็นเครื่องเน้นย้ำว่า  ไอดอลไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียง performer บนเวที  แต่ยังมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายหลายรูปแบบ
ความโด่งดังของ EXO, Twice, Red Velvet, iKON, GOT7, Winner, Apink, G-friend, และCLC    ทำให้แฟนๆต้องละลานตาไปกับการแข่งขันในวงการนี้  ค่ายใหญ่ทุ่มให้กับ production เพื่อดึงดูดตัวเลขทาง social media   หากนำเสนอ concept ที่สร้างความฮือฮาให้กับชาวเน็ทได้สำเร็จ ก็จะเป็นเครื่อง boost ความโด่งดังชั้นดี     แม้ดนตรีจะไม่ถือว่าแปลกใหม่หรือดูเป็นเรื่องการย้อนรอยความสำเร็จเดิมก็ตาม
ในช่วงปลายของgeneration 3 นี้ รายการแข่งขันค้นหาไอดอลมาแรงเป็นที่สุด รายการที่แข่งกันผุดขึ้นมาจะมีรูปแบบกติกาต่างกันอยู่  แต่concept ที่น่าสนใจคือนำการเหล่าเด็กฝึกหัดมาแข่งขันกัดตามโจทย์ต่างๆ และการตัดสินจากกรรมการและผลโหวตจากคนทางบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ สาวๆวง TWICE ที่ชนะการแข่งขันรายการ Sixteen ของค่าย JYJ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า  ไอดอลจากsurvival show ก็เปรี้ยงได้เช่นกัน (แม้จะมีดราม่าเรื่องการตัดสินค้านสายตาก็ตาม)

รายการประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงลิ่วจนกลายมาเป็นเทรนด์ฮิตในวงการ pop ประเทศใกล้เคียงไปด้วย      เป็นระยะเวลาที่วงการ K Pop มีความเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้น  จากการเฝ้าชมการแข่งขันที่กดดันของเหล่าเด็กฝึกทำให้แฟนๆรู้สึกผูกพันกับวงไอดอลที่เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน แม้รายการ Produce 101 จะถูกจับได้ว่าโกงคะแนนโหวตเพื่อผู้ชนะที่ล็อคผลไว้ก่อนแล้วจนทำให้บอยแบนด์ดาวรุ่งจากรายการนี้ได้รับผลกระทบจนต้องพักงาน ทำให้แฟนๆที่ไม่เห็นด้วยมารวมตัวเรียกร้องให้พวกเขาได้รับโอกาสก้าวมาสร้างความฝันให้เป็นจริง  แต่ในที่สุดก็ยุบวงแยกย้ายกันไป



Generation ที่ 4

ความหวังใหม่ของ K Pop
วงการนี้มีไอดอลเยอะมากจริงๆ  ใครเป็นมือใหม่หัดติ่งก็อาจจะต้องงงงวยกันไปบ้าง   พวกเค้าต่างเป็นหนุ่มสาวหน้าตาสวยงามรูปร่างlean  มาพร้อมกับเสื้อผ้าหน้าผมเป๊ะที่พวกเราต่างเรียกว่า "สไตล์เกาหลี"   ทุกคนดูเต้นเก่ง มีลีลาแร็พเร้าใจ  ที่สำคัญ วงน้องใหม่มักจะต้องพบกับคำถามกดดันในการถูกนำไปเปรียบเทียบกับไอดอลรุ่นพี่ที่โด่งดังอลังการ บ้างก็ถูกกกล่าวหาว่าเลียนแบบ  แน่นอนว่า ศิลปินบางกลุ่มไม่ต้องการตกอยู่ภายใต้เงาคนอื่น และพยายามนำเสนอแนวทางที่ตัวเองยึดมั่นด้วยความหวังว่าแฟนๆจะยอมเปิดใจยอมรับ





Stray Kids ไอดอลอีกหนึ่วกลุ่มที่มาจาก Survival Show นั้นเคยได้รับเสียงวิจารณ์ว่า นำเสนอดนตรีที่ไม่ตรงจริตแฟนK Pop ในประเทศ หรือถูกมองว่า เริ่มต้นได้ไม่แรงนักเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพที่ได้เห็นในรายการแข่งขันเพราะเป็นดนตรีที่หนัก ดูเหมือนจะเป็นสไตล์ที่ดูเฉพาะกลุ่ม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มจับทิศทางในการนำเสนอเอกลักษณ์ให้โดนใจแฟนๆทำให้ได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการคาดการณ์ว่า เมื่อค้นหาจุดที่ลงตัวระหว่างแนวดนตรีที่ยึดมั่นกับกลุ่มเป้าหมายได้ พวกเค้าสามารถเติบโตไปได้อีกไกล ทั้งยังเป็นที่วงที่แสดงบนเวทีที่ดูอลังการด้วย themeที่สร้างสรรค์ ดู live ของเหมือนได้ชมละครเวทีทุนสร้างสูง


วงไอดอลแบบ multi-national ยังไม่ห่างหายไปใน generation นี้  อย่าง (G)I-dle ที่มีสมาชิกสัญชาติเกาหลี ไทย จีนและไต้หวัน   ซึ่งเป็นแผนการธุรกิจที่โดดเด่นของK Pop  ที่ช่วยขยายฐานแฟนคลับต่างชาติ   ไอดอลที่ต้องมาเรียนรู้ใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่ 2 ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว   จากข้อมูลของครูสอนภาษาที่ร่วมงานกับไอดอลมาก่อนนั้นช่วยยืนยันว่า  ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษนั้นเป็นหนึ่งในคุณสมบัติในการคัดเลือกไอดอลเพื่อเข้าสู่กระบวนการเดบิวท์  แม้จะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นที่สุด   แต่เมื่อกลายมาเป็นศิลปินเต็มตัวแล้ว   หากติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ดีนัก ก็ต้องลงเรียนเพิ่มเติมเพื่อเปิดโอกาสให้สร้างความนิยมในกลุ่มแฟนๆจากต่างประเทศนั่นเอง    จะเห็นได้ว่า   อาจจะมีวงไอดอลที่กระแสตอบรับในประเทศไม่ร้อนแรงนัก  แต่กลับได้รับแรงสนับสนุนจากแฟนๆจากทั่วโลก
จากทุก generation ที่ผ่านมา  ก็พิสูจน์แล้วว่า ไอดอลไม่ได้เป็นเหมือนกับสินค้าสวยงามที่ถูกออกแบบมาให้โดนใจผู้บริโภคและตั้ง program ให้ร้องเต้นตามคำสั่ง ในอดีตนั้น  พวกเค้าอาจจะถูกปรามาสว่า ใช้รูปร่างหน้าตาดึงดูดเงินจากกระเป๋าแฟนๆ   แต่เส้นทางความสำเร็จของหลายวง ทำให้แฟนๆประทับใจในศักยภาพหลายรูปแบบที่ไม่ได้อยู่หน้ากล้อง  ทั้งการแต่งเนื้อร้อง, compose, produce และ ออกแบบท่าเต้น    แทบไม่มีใครดังแบบชั่วข้ามคืน  กว่าจะก้าวมาสู่วันที่สดใส ต้องผ่านวันคืนที่หนักหนาสาหัสมานักต่อนัก ทั้งการฝึกฝนที่ร่ำลือว่าโหดหนักจัดเต็ม  ชีวิตที่ถูกควบคุมไร้อิสระ  ทั้งยังถูกโจมตีตั้งแต่เดบิวท์แบบแซะไม่มีวันเลิกราจนกว่าจะถึงวันที่โด่งดังเป็น superstar จึงได้หัวเราะทีหลังเสียงดังกึกก้อง

ไอดอล Generation ที่ 4 จะสร้างประวัติศาสตร์ให้ชื่อเสียง K Pop ยิ่งเลื่องลือต่อเนื่องหรือไม่   มีแต่เวลาเท่านั้นที่จะช่วยเฉลย


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE