ทำความเข้าใจเรื่อง Non-binary จากเรื่องราวของคนดังHollywood

51 16
ความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้สังคมยอมรับอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างนั้นได้จุดประกายความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป   หลายครั้งก็กลายเป็นการโต้แย้งที่ผู้คนถกเถียงกันไม่รู้จบ   บ้างก็สร้างความสับสนกับคำจำกัดความอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย ดังที่ได้ปรากฏธงที่เป็นตัวแทนของเพศทางเลือกที่ปรากฏแถบสีเพิ่มขึ้น  อันเป็นสัญลักษษณ์ของกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศทีอยู่นอกเหนือกลุ่ม LGBT

หากตั้งคำถามว่า อะไรคือข้อแตกต่างของ
Queer
Agender
Gender Fluid
Pansexual

เชื่อว่า ยังมีอีกหลายคนที่ตอบอย่างมั่นใจไม่ได้ และต้องใช้Googleเป็นเครื่องมือช่วยคลายข้อข้องใจ  


Non-binary มีความหมายครอบคลุมสิ่งใดบ้าง


หากจะหาคำจำกัดความของ Non-binary (บางครั้งถูกย่อเป็น NBหรือ enby) ก็คงต้องมองถึงจุดยืนที่ปฏิเสธการแบ่งเพศเป็นเพียงสองขั้วจากบรรทัดฐานสังคม นั่นคือ คนเราสามารถแบ่งเป็นชาย/หญิงเท่านั้น และยังต่อต้านการเหมารวมที่เกิดจากมายาคติ เช่น ผู้หญิงที่มีบุคลิกห้าวหาญและแต่งตัวคล้ายผู้ชายจะต้องเป็นผู้รักร่วมเพศ แต่แท้จริงแล้วอาจจะมีแรงดึงดูดกับหลายเพศ และไม่ระบุว่าตัวเองเป็นเกย์หรือเพศใดเลย


การระบุอัตลักษณ์ทางเพศนั้นมีความทับซ้อนกัน ทำให้ Non-binary แสดงตัวตนออกมาได้หลายรูปแบบ

  • ผู้ที่เชื่อว่าตัวเองไร้เพศ   ไม่เข้ากลุ่มกับคำจำกัดความอัตลักษณ์ทางเพศใดๆ  
  • ผู้ที่เป็นได้หลายเพศ  ไม่ใช่แค่ชาย/หญิง
  • ผู้ทีมีสองเพศขึ้นไปหมุนเวียนสลับไปมา 
  • อาจจะเป็น trans หรือไม่เป็นก็ได้

มีผู้ชี้ว่า กฎเกณฑ์ของ Non-binary คือการไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆนั่นเอง เราไม่สามารถใช้รูปลักษณ์หรือท่าทางที่แสดงออกภายนอกตามมายาคติของสังคมเป็นสิ่งกำหนดเพื่อชี้ว่าใครเป็นNon-binary  เช่น ผู้มีเพศสภาพเป็นหญิงแต่กำเนิด แต่มีบุคลิกห้าวและแต่งกายแบบผู้ชายและเคยมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงด้วยกัน อาจจะถูกมองว่าเป็นเกย์ แต่ระบุตัวตนเป็น Non-binaryที่มีแรงดึงดูดใจกับเพศที่หลากหลาย หรือผู้หญิงข้ามเพศที่ถูกเหมารวมว่าจะต้องมีคนรักเป็นชาย แต่บางคนก็มีความสัมพันธ์กับผู้หญิง





เมื่อหันไปสำรวจวงการบันเทิง ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คุณจะได้พบกับ'การประกาศอัตลักษณ์ทางเพศ' (come out) จากเหล่าคนดังว่าที่อยู่ในกลุ่ม Non-Binary ดังเช่น Janelle Monáe, Sam Smith , Demi Lovato และ Elliot Page

ลองมาทำความเข้าใจกับ Non-Binary จากเรื่องราวของพวกเค้ากันสิคะ



Trans Non-binary


หลายคนอาจเคยมองว่าเส้นทางการแปลงเพศของ Elliot Page นั้นจะนำไปสู่ความเป็นชาย แต่เจ้าตัวได้ประกาศว่า ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริงที่ได้เป็น trans และ non-binary ที่ใช้สรรพนามว่าเขาและพวกเค้า และยังเคยระบุว่า ภาคภูมิใจกับความเป็น queer อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ Elliot เคยเผยตัวว่าเป็นเกย์และแต่งงานกับผู้หญิง แต่ความรู้สึกทุกข์ใจกับร่างกายที่ไม่ตรงกับตัวตนที่แท้จริงก็ยังคงอยู่ จึงตัดสินใจแปลงเพศ และยังแสดงบท Vanya แห่ง Umbrella Academy’ ต่อไป แม้ว่าร่างกายจะเปลี่ยนไปแล้ว   เขาได้รับกำลังใจล้นหลามจากเพื่อนร่วมวงการและแฟนๆ  และก้าวต่อไปอย่างแน่วแน่ในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาว trans

เส้นทางสู่บทใหม่ของนางเอกดาวรุ่ง


ความสำเร็จจากการสวมบทบทเจ้าหญิง Diana ใน  The Crown  บทำให้นางเอกวัย26 ผู้นี้ถูกจับตามองในฐานะดาวรุ่งที่กำลัก้าวสู่ทำเนียบ A Lister   เธอร่วมโพรเจ็คท์หนังคู่กับ Harry Styles และรับหน้าที่ brand ambassador ให้กับ Miu Miu     ภาพลักษณ์ในช่วงแจ้งเกิดในวงการของ Emma นั้นก็ไม่ต่างจากนางเอกดังร่วมวงการ  Emma  ปรากฏกายบนพรมแดงด้วยลุคที่ดูสวยสะดุดตา  รวมไปถึงfashion บนปก magazine ในชุดกระโปรงและบางครั้งก็เลือกดีไซน์ที่ดูเซ็กซี่    แต่เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา  Emma ก็ได้เผยสไตล์ที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของ  androgynous  แล้วประกาศอัตลักษณ์ทางเพศว่า เธอเป็น  queer 

เพียงไม่นานต่อมา Emma ก็ได้ก้าวตามชาว Non-binary ด้วยการเปลี่ยนใช้สรรพนามเป็นเธอ/พวกเค้า*

นางเอกอังกฤษได้บรรยายถึงการค้นพบตัวเองไว้ว่า

"เส้นทางการค้นหาของฉันดำเนินมาอย่างยาวนานและยังต้องก้าวไปต่ออีกไกล ฉันคิดว่าพวกเราเคยชินกับการให้คำจำกัดความตัวตนของเรา มันเป็นแบบแผนของสังคมที่กำหนดขั้วทางเพศเหล่านี้ และฉันต้องใช้เวลานานกว่าจะตระหนักได้ว่า มีตัวตนที่ยังกำกึ้ง และฉันเองก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นรูปแบบใดกันแน่"


*เรียกว่า rolling gender pronouns การใช้สรรพนามที่เปลี่ยนไปมาได้สองรูปแบบ 


เธอเปิดเผยว่า ทดลองใช้แถบพันหน้าอกที่ใช้แพร่หลายในกลุ่มtrans และ Non-binary  และตอบรับความรู้สึกที่แปลกใหม่ด้วยความตื่นเต้นยินดี

จุดเปลี่ยนที่ทำให้Emma ยอมรับตัวตนนี้ก็คือการแสดงเป็นเจ้าหญิง Diana นั่นเอง

" เธvเป็นคนที่เปิดใจยอมรับทุกสิ่งและเฝ้าเสาะหาสิ่งใหม่ๆ ฉันคิดว่า Diana มีส่วนช่วยอย่างมากให้ฉันได้ค้นหาตัวตนที่อยู่ล้ำลึกและทำให้ฉันได้พยจริงๆว่าความรู้สึกภายในของฉันเป็นเช่นไร นั่นเป็นเพราะว่า เจ้าหญิงเป็นคนที่ซับซ้อนมากๆเลยค่ะ"



การเปลี่ยนใช้สรรพนามเป็น they  ที่กลายมาเป็นข้อถกเถียง


ในซีรีส์ The Good Doctor ซึ่งสะท้อนถึงความเคลื่อนไหวในสังคมปัจจุบันเคยนำเสนอเรื่องราวของ 'ผู้ชายข้ามเพศตั้งครรภ์' ในฉากที่แพทย์สาวสอบถามข้อมูลของคนไข้ผู้ชายข้ามเพศที่มีคู่ครองเป็นชาย(มีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ) เธอก็ได้ตั้งร้องขอตรงๆว่า "ช่วยยืนยันเพศสภาพและสรรพนามที่ใช้เรียด้วยค่ะ " และได้รับคำขอบคุณจากคนไข้หนุ่ม จากการตั้งคำถามเพื่อแสดงความนับถือต่อการเลือกidenity ของเขา

พวกเราอาจจะเคยเห็นการเปลี่ยนสรรพนามของชาว trans มาเป็นเพศตรงข้ามตามปกติ แต่สำหรับ Non-binary หลายคน คำว่าเขาหรือเธอไมไ่ด้เข้ากับตัวตนที่ไม่จำกัดอยู่ที่ความเป็นชายหรือหญิง จึงหันมาใช้คำว่าพวกเค้าแทน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Non-binary จะเปลี่ยนมาใช้สรรพนามพวกเค้ากันไปหมดทุกคน บางคนแสดงความยืดหยุ่นกับการใช้สรรพนามตรงกับเพศที่ติดตัวแต่กำเนิด แต่ก็มีอีกหลายคนที่แสดงความไม่พอใจ หากแจ้งให้ทราบแล้วว่าต้องการเปลี่ยนสรรพนาม แต่ยังถูกเรียกว่าเขา/เธออีก ในปัจจุบันนี้ หากใครบางคนตัดสินใจประกาศอัตลักษณ์ทางเพศที่สวนทางกับบรรทัดฐานสังคม และเรียกร้องให้คนรอบข้างเปลี่ยนการใช้สรรพนามใหม่ หากคุณไม่ยินยอมใช้สรรพนามที่บุคคลผู้นั้นร้องขอ ก็อาจจะถูกโจมตีว่าไม่ให้เกียรติและอาจจะถูกกล่าวหาว่าเหยียดเพศทางเลือก




หลายคนยังหันมาใช้สรรพนามใหม่ จากที่เคยใช้คำว่า เขาหรือเธอตามเพศสภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงผู้ที่ใช้สรรพนามจากการแปลงเพศ ก็ขอให้ผู้อื่นบรรยายตัวตนด้วยคำว่า 'พวกเค้า' ตามหลักไวยากรณ์จะใช้กับคำเป็นพหูพจน์เท่านั้น แต่ ราวๆเกือบสามปีก่อน เว็บพจนานุกรมอเมริกัน Merriam-Webster ก็ได้เพิ่มความหมายของ they ความเคลื่อนไหวนี้ได้สร้างความฉงนใจกับแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศที่่เคยรับรู้ในอดีต มีทั้งผู้ที่ยินดีเข้าร่วมความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการสร้างความเข้าใจและแสดงความนับถือตัวเลือกนี้ และผู้ที่มองวานี่คือการกระทำที่ไร้สาระ

ชนวนความขัดแย้งนี้ทำให้สื่อหลายเจ้าได้นำเสนอ guideline สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจหรือเผลอเรียก Non-binary ด้วยสรรพนามเดิมจากความเคยชิน เพื่อรับมือกับสถานการณ์โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความบาดหมาง เช่น การชี้แจงอย่างสุภาพ และขอโทษที่ทำให้ลำบากใจ และแนะนำให้ใช้คำว่าพวกเค้าให้เกิดความเคยชิน จะได้ไม่ผิดพลาดอีก

ในขณะที่สื่อได้เปลี่ยนคำเรียกคนดังตามคำขอกันอย่างพร้อมเพรียง แต่บางเจ้าก็ยังเลือกจะใช้สรรพนามเดิมจนอีกฝ่ายออกมา call out ดังกรณีของ Halsey ที่ซัดAllure ว่าจงใจใช้สรรพนามเธอในบทความ โดยไม่แตะต้องคำว่าพวกเค้าเลย ซึ่งเป็นพฤติกรรมไม่ให้เกียรติเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศจนไม่อยากให้สัมภาษณ์อีกแล้ว เมื่อต้องพบกับกระแสตำหนิจากผู้สนับสนุนกลุ่มเพศทางเลือก magazine ดังจึงต้องประกาศขออภัยและแก้ไข่บทความใหม่ (Halseyใช้สรรพนามว่าเธอ/พวกเค้า)


แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ออกตัวชัดเจนว่า ไม่ปรารถนาจะฝืนใจตัวเองเพื่อรักษาน้ำใจกลุ่มNon-binary ด้วยการเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ที่ใช้มาตั้งแต่จำความได้ หากกวาดตามองปฏิกิริยาจากชาวเน็ท ไม่แคล้วจะต้องพบกับคำวิจารณ์รุนแรงว่า นี่คือพฤติกรรมเสแสร้งของผู้อยากจะสร้างตัวตนด้วยการตามเทรนด์ นักแสดงตลกชื่อดังบางคนนำเรื่องการเปลี่ยนสรรพนามมาจิกกัดสร้างเสียงหัวเราะดังลั่นจากผู้ชม หรือคนดัง Non-binary ก็ต้องรับมือกับการถูกล้อเลียนเรื่องเปลี่ยนสรรพนามให้เจ็บปวดใจ


ไม่เลือกว่าคำจำกัดความว่าเป็นเพศใด



เมื่อหลายปีก่อน Sam Smith เคยเปิดเผยถึงประสบการณ์รักกับผู้ชายด้วยกันจนสื่อตีข่าวใหญ่โตว่า นี่คือการประกาศตัวตนว่าเป็นชายรักร่วมเพศ จากประวัติความสัมพันธ์กับแฟนหนุ่มก็ทำให้หลายฝ่ายมั่นใจ แต่เมื่อปี 2019 Sam ก็ได้ประกาศว่า ไม่ได้เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง


"ในบางครั้ง ฉันคิดอะไรเหมือนกับผู้หญิง และก็นั่งถามตัวเองว่า อยากจะแปลงเพศอย่างนั้นเหรอ แล้วก็คิดเรื่องนี้เรื่อยๆว่าอยากเปลี่ยนมั้ย แต่ก็ว่าไม่น่าจะเป็นแบบนั้น"

แต่เมื่อได้ศึกษาความหมายของ Non-Binary ก็รู้เลยว่า นี่คือตัวเองอย่างแท้จริง!

"คุณก็แค่เป็นตัวคุณ คุณมาจากส่วนผสมที่หลากหลาย คุณคือการสร้างสรรค์ที่พิเศษเฉพาะตัว ฉันเข้าใจมันว่าเป็นแบบนี้นะ"

"ฉันไม่ได้เป็นชายหรือหญิง ตัวตนของฉันลอยตัวอยู่อย่างก้ำกึ่ง"



ในเวลาต่อมา Sam ได้ประกาศเปลี่ยนการใช้สรรพนามจากเขามาเป็นพวกเค้า และขอร้องให้ผู้อื่นพยายามเปิดใจ แต่ก็ต้องพบกับ cyberbullying

" ฉันบรรยายไม่ถูกจริงๆว่าต้องทำใจรวบรวมความกล้ามากมายแค่ไหน ฉันไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับการถูกเยาะเย้ยและbullyingมาก่อนมันเป็นสิ่งที่ฉันต้องเผชิญ"

"บรรดาคอมเมนท์และคำถามที่ฉันต้องคอยตอบและเห็นผ่านตาทุกๆวันน่ะมันช่างแรงเหลือเกิน"





ดราม่าการแบ่งหมวดหมู่รางวัลใน Brit Awards



เมื่อปีที่แล้ว งานประกาศรางวัล Brit Awards ก็ตกเป็นประเด็นร้อน เมื่อ Sam ได้วิจารณ์การแบ่งสาขารางวัลตามเพศของศิลปินไว้ว่า

" The Brits มีส่วนร่วมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออาชีพของฉัน สำหรับฉัน ดนตรีคือการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่แบ่งแยก ฉันเฝ้ารอวันเวลาที่งานประกาศรางวัลดนตรีได้กลายเป็นสิ่งสะท้อนสังคมที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน มาร่วมยินดีต่อทุกๆคนกันเถอะ ไม่ว่าจะมีเพศ เชื้อชาติ อายุ ความสามารถ เพศสภาพและชนชั้นใดก็ตาม"


ผู้จัด Brit Awards ตอบรับเสียงเรียกร้องของSam และสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปีนี้ด้วยการจัดสาขารางวัลโดยไม่แบ่งแยกเพศของศิลปินเป็นหญิง ชาย หรือเพศใดเลย แต่กระแสตอบรับนั้นมีทั้งเสียงชื่นชมและด่าทอ สื่อแทบลอยด์บางเจ้านำเสนอข่าวด้วยน้ำเสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน รวมไปถึงกลุ่มผู้ชมจำนวนไม่น้อยที่ประกาศboycott ไม่ยอมติดตามการถ่ายทอดงานด้วยข้อกล่าวหาว่า Brit Awards เปลี่ยนแปลงจากความเผ็ดแซ่บในอดีตกลายมาเป็นงานที่ woke จนทำใจยอมรับไม่ไหว




คำกล่าวขอบคุณของ Adele ที่คว้าไปถึงสามรางวัลจากงานนี้ว่า 'เข้าใจว่าเพราะอะไรBrit Awards จะต้องเปลี่ยนแปลง' แต่ก็ 'ปลาบปลื้มใจในความเป็นหญิงและภูมิใจในศิลปินหญิงทุกคน' ทำให้สื่อหลายเจ้าและชาวเน็ทตีความว่า เธอกำลังเหน็บแนมผู้จัดที่ยุบสาขารางวัลศิลปินเดี่ยวยอดเยี่ยมที่แยกตามเพศของศิลปิน  แม้ว่าผู้ชมในงานจะส่งเสียงชื่นชม และมีแฟนๆที่สนับสนุนจุดยืนในการปลุกพลังหญิง    แต่ Adele ก็ต้องพบกับข้อกล่าวหาว่าเป็น TEFR  (นักสิทธิสตรีที่ไม่สนับสนุน trans)   หลายคนแสดงความผิดหวังในตัวเธอ จากภาพลักษณ์ของศิลปินขวัญใจชาวเพศทางเลือก   แต่กลับไม่ประกาศชื่นชมยินดีในความเปลี่ยนแปลงของ  Brit Awards ที่ไม่แบ่งแยกเพศ   และมีการทำนายว่า เธอจะต้องพบกับกระแสต่อต้านตามรอย J.K Rowling ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกเหยียด trans เช่นเดียวกัน
The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE