Representation ของผู้มีความหลากหลายทางเพศจากK-Drama
candy 37 10ความเติบโตแบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรม K Dramaในราวๆสองทศวรรษที่ผ่านมาทำให้พวกเราได้ประจักษ์กับอิทธิพลของพลังบันเทิง หลายสิ่งที่ถูกสอดแทรกเข้ามากับฉากซีรีส์ดัง ได้รับการต่อยอดจนสร้างเม็ดเงินรวมกันมหาศาล เกิดเป็นสารพัดเทรนด์ที่ทำให้ต้องทึ่งกับนโยบาย soft power จนหลายคนชูให้นำมาเป็นกรณีศึกษา
เมื่อวงการ K-Drama ก้าวไกลไปถึงรางวัล Oscar และเรตติ้งสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของ Netflix ก็ส่งผลให้เหล่าสื่อตะวันตกต้องพยายามค้นหาคำตอบมาอธิบายประเด็นความค้างคาใจจากผู้ชมจากนอกประเทศที่มีวัฒนธรรมและสังคมอันแตกต่างกัน
หากเป็นประเด็นผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ community ล่ะ?
* คอนเทนท์ด้านล่างมีการเปิดเผยเรื่องเพศของตัวละครในซีรีส์ โปรดหลีกเลี่ยงหากไม่ต้องการรับทราบข้อมูลนี้
Squid Game
ฉากตัวร้ายวิปริตที่ทำให้ผู้ตั้งข้อสงสัยว่าเข้าข่าย homophobic หรือไม่?
ซีรีส์โหดเลือดสาดเรื่องนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ความโด่งดังระดับ global fever กันซะจนไม่รู้จะบรรยายได้ครบถ้วนยังไง แต่ฉาก VIP จิตใจเหี้ยมโหดที่จ่ายเงินก้อนโตมาเข้าชมเกมการฆ่าฟันสุดสยองนั้นทำให้บางคนตั้งคำถามว่า ฉากวายร้ายชายที่ล่วงละเมิดทางเพศเหยื่อชายที่ดูไร้ power ปกป้องตัวเองนั้นเข้าข่ายแนวคิด homophobic ที่จูงใจให้ผู้คนมองเกย์ในทางเสื่อมเสียหรือไม่? แต่ก็มีผู้กล่าวหาว่าการถ่ายทอดภาพ gay sex นั้นเป็นความตั้งใจของผู้สร้างซีรีส์เพื่อจะเกิดเป็น shocking value สั่นสะเทือนจิตใจกลุ่มผู้ชมให้มองว่า นี่คือสิ่งที่เพิ่มความน่าขยะแขยงของของVIP สุดวิปริตไปอีก และอาจจะทำให้ให้สังคมยิ่งต่อต้าน gay โดยเฉพาะสังคมอนุรักษ์นิยมของเกาหลีที่ยังเป็นเรื่องยากสำหรับชาว gay ที่จะเปิดเผยตัวตน
อย่างไรก็ตาม มีเสียงแย้งตามมาว่า การขืนใจผู้อ่อนแอกว่าจะเป็นเรื่องเลวทรามต่ำช้า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเพศใดก็ตาม และ predator ชายที่ก่ออาชญากรรมข่มขืนชายก็ปรากฏในชีวิตจริง ซีรีส์ดังเรื่องนี้มีฉาก shock ผู้ชมตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่น่าจะจงใจใช้เรื่องทางเพศของตัวร้ายที่ไร้ความสำคัญกับแก่นเรื่องมาต่อต้านเรื่องชายรักชายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม มีเสียงแย้งตามมาว่า การขืนใจผู้อ่อนแอกว่าจะเป็นเรื่องเลวทรามต่ำช้า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเพศใดก็ตาม และ predator ชายที่ก่ออาชญากรรมข่มขืนชายก็ปรากฏในชีวิตจริง ซีรีส์ดังเรื่องนี้มีฉาก shock ผู้ชมตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่น่าจะจงใจใช้เรื่องทางเพศของตัวร้ายที่ไร้ความสำคัญกับแก่นเรื่องมาต่อต้านเรื่องชายรักชายแต่อย่างใด
Hometown Cha-Cha-Cha
รักร่วมเพศไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิต
ภาพของตัวละครที่มีความหลากหลายทางเพศผ่าน K drama หลายเรื่องจะถูกกำหนดให้เป็นบุคคลที่หน้าชื่นใจตรม เก็บกดตัวตนของตัวเองไว้ เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็พบว่าแทบจะไม่ได้รับแรงสนับสนุน หรือแม้แต่พยายามทำความเข้าใจด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันหนักหน่วงเพื่อจะแสดงให้ทุกคนเห็นคนเห็นว่า กำลังดำเนินชีวิตในรูปแบบที่สังคมคาดหวัง มีคู่ชีวิตเพศตรงข้าม ให้กำเนิดทายาทสร้างครอบครัวที่มั่นคง
แต่ถ้าพวกเค้าไม่สามารถฝืนใจทำมันได้ล่ะ?
แต่ถ้าพวกเค้าไม่สามารถฝืนใจทำมันได้ล่ะ?
storyline หญิงรักหญิงในHometown Cha-Cha-Cha อาจจะทำให้แฟนๆซีรีส์เกาหลีรู้สึกคุ้นๆ เพราะมักจะมาพร้อมกับดราม่าน้ำตาพร่างพรู ครูสาวคนสวยในซีรีส์ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของชีวิตสุดแสนอาภัพ เพราะแม้แต่ครอบครัวที่ยึดมั่นเป็นที่พึ่งพาแลให้ความไว้วางใจมากที่สุดก็ยังไม่ยอมรับ ทั้งๆที่เธอไม่ได้ตั้งใจจะประกาศให้ทุกคนได้รับรู้ถึงตัวตนที่ปกปิดไว้มาตั้งแต่ยังเป็นวัยเยาว์ แต่ขอเพียงคนในครอบครัวไม่รังเกียจ กลับถูกผลักไสให้ไปรักษาอาการทางจิตเพื่อให้หันมาชอบเพศตรงข้ามจะได้สร้างครอบครัวมีลูกเต้าได้เหมือน 'คนปกติ'
อย่างไรก็ตาม การนำเสนอตัวละครเพศหลากหลายที่ต้องทุกข์ทรมานใจจากอคติของคนในสังคมและคนใกล้ตัว กลับไม่ได้เผยการเสนอแนะให้ผู้ชมปรับเปลี่ยนความเข้าใจ นอกจากพี่สาวที่เธอเคยแอบรักข้างเดียวเมื่อนานมาแล้ว คนในเกาะที่ดูมีน้ำใจสมัครสมานนั้นจะยังชื่นชมคุณครูคนนี้ได้ไหมหากรู้ว่าเธอชอบผู้หญิงและไม่ต้องการจะแต่งงานมีสามี? เพราะแม้แต่ครอบครัวของเธอก็ยังเชื่อว่า นี่คืออาการผิดปกติที่จำเป็นต้องได้การรักษาอย่างเร่งด่วน แล้วสำหรับคนที่ไม่ได้ผูกพันทางสายเลือดและใช้ชีวิตในสังคมที่ยังถือว่าการต่อต้านเพศทางเลือกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ มีความเป็นไปได้เท่าใดที่พวกเค้าก็หันมามองเธอด้วยความเข้าอกเข้าใจ?
พี่สาวผู้เข้มแข็งไม่ได้ประหลาดใจที่ได้รับรู้ความรู้สึกของเพื่อนรุ่นน้องเพศเดียวกัน และยังปฏิบัติกับเธอฉันมิตรที่ดีไม่แปรเปลี่ยน ทั้งยังชี้ว่า ตัวตนที่แสนดีของเธอ (ไม่ใช่เรื่องเพศ)เป็นสิ่งที่น่ายกย่องชื่นชม แต่กลับดูโดดเดี่ยวมากจนเธอต้องอาสาเข้ามาคอยดูแล แม้นี่จะเป็นการส่ง message ดีงามมาถึงผู้ชมว่า ไม่ว่าจะชอบเพศใด ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าของบุคคล แต่ก็ยังไม่ส่งสัญญาณต่อยอดออกไปว่า ไม่ใช่หน้าที่ของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่จะต้องฝืนตัวเองตามที่ผู้คนส่วนใหญ่คาดหวังให้เป็น แต่พวกเราต่างหากที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และหันมาสนับสนุนให้พวกเค้ามีที่ยืนในสังคมไม่ต่างจากคนอื่น
ในสังคมที่ยังมองว่า homosexual คือเรื่องต้องห้ามที่ฉาวโฉ่สร้างความอับอาย การสนับสนุนสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ แม้แต่ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังเคยประกาศว่า homosexual สามารถรักษาให้ 'หายขาด'ได้ หรือจะเป็นอดีตประธานาธิบดีคนก่อนที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของเสรีนิยมก็ได้หาเสียงผ่านโทรทัศน์ว่า เขาไม่ชอบพฤติกรรมรักร่วมเพศและการสมรสเพศเดียวกัน ฝ่ายผู้สนับสนุนเขาได้พยายามปกป้องว่า มีความจำเป็นต้องพูดออกไปเช่นนั้นเพื่อไม่ให้เสียฐานคะแนนเสียงในประเทศอนุรักษ์นิยมที่ยังเต็มไปด้วยแนวคิดเหยียดรักร่วมเพศ
นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ชัดเจนที่สุดว่า ในวงการบันเทิงที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ ก็การสนับสนุน representation ของความหลากหลายทางเพศผ่านจอ TV ก็ยังถูกวางในกรอบแคบๆ แม้พวกเราจะได้ยินคำพูดให้กำลังใจที่มอบพลังในด้านบวกจากในซีรีส์ว่า
- ชีวิตเป็นของเรา ควรเลือกเส้นทางตามรูปแบบที่เราต้องการ
- ความรักห้ามกันไม่ได้ การรักใครสักคน(ที่เป็นเพศเดียวกัน)ไม่ใช่ความเจ็บป่วยที่ต้องรักษา
- ไม่ว่าใครจะว่าร้ายยังไง ตัวตนที่แตกต่างก็ไม่ใช่ความผิดที่ต้องหลบหนี
เกาหลีขึ้นชื่อลือชาเรื่องการ์ตูน Boy Love สูสีกับญี่ปุ่นเลยทีเดียว แต่เพิ่งจะฉาย Where Your Eyes Linger ที่ถูกยกให้เป็นซีรีส์ Boy Love เรื่องแรกใน 2020นี่เอง (ทั้งยังเป็น web drama ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่หลักของซีรีส์ Boy Love ไม่ใช่สถานีโด่งดัง)
ที่ผ่านมานั้น ตัวละครเกย์มักถูกกำหนดให้เป็นบุคคลอมทุกข์ที่ต้องเก็บกดตัวตนภายใน เพราะไม่ต้องการให้คนรอบข้างสูญเสียความเชื่อมั่นและความชื่นชอบในตัวพวกเค้า หลายครั้ง storyline ของหนุ่ม gay ที่แอบรักคนเป็น straight จะมาในรูปแบบ fan service คล้ายๆกับเหล่าไอดอลเพศเดียวกันที่แสดง skinship สร้างความถูกอกถูกใจให้แฟนๆ เมื่อเกิดความใกล้ชิดมากขึ้นก็เปิดโอกาสให้เผยความในใจ โดยที่อีกฝ่ายให้กลับได้เพียงความรู้สึกดีๆ ที่ไม่เกินไปกว่าเพื่อน เพราะอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างกัน
แต่ representation รูปแบบนี้ได้แตะต้องประเด็นสิทธิความเท่าเทียมของชาวเพศที่หลากหลายเพียงผิวเผินเท่านั้น ไม่ได้เจาะลึกถึงวิถีชีวิตของพวกเค้าว่า พบรักกันได้เช่นไร และต้องต่อสู้เช่นไรกว่าผู้อื่นจะยอมรับว่าพวกเค้ามีคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน
Secret Garden
หนึ่งใน K- Drama ที่นำเสนอgayที่แอบหลงรักผู้ชาย straight
นี่คือซีรีส์ที่กอบโกยเรตติ้งถล่มทลายที่เกาหลีใต้จนเกิดเป็น fever สินค้าขายดี ถือเป็นประตูให้อี จงซ็อกแจ้งเกิดในฐานะดาราดาวรุ่งเนื้อหอม แม้ว่าจะได้รับบทสมทบที่เข้าฉากน้อยเมื่อเทียบกับสองคู่นำ แต่ภาพหนุ่มนักดนตรีหน้าใสที่เต็มไปด้วยออร่าดึงดูดใจนั้นบอกได้เลยว่าแย่งซีนไปได้เยอะ ตั้งแต่เริ่มปรากฏตัวก็ทำให้ผู้ชมสัมผัสถึง chemistry กับยูน ซังฮยอน(ออสการ์) และเฉลยออกมาภายหลังว่า เขาทำตัวเป็นมารหัวใจของผู้หญิงคนอื่นเพื่อแข่งขันเอาชนะใจผู้ชายคนเดียวกัน
ตอนแรก ไอดอลหนุ่ม Jay Park ถูกกกำหนดตัวให้มารับบทนี้ แต่เพราะไม่สามารถหาข้อตกลงที่ลงตัวกับต้นสังกัด อี จงซ็อกจึงได้รับโอกาสให้มาแสดงความเปล่งประกายจนทำให้หลังจากนั้น เขาได้รับบทนำในซีรีส์ดังหลายเรื่องติดต่อกัน
ตอนแรก ไอดอลหนุ่ม Jay Park ถูกกกำหนดตัวให้มารับบทนี้ แต่เพราะไม่สามารถหาข้อตกลงที่ลงตัวกับต้นสังกัด อี จงซ็อกจึงได้รับโอกาสให้มาแสดงความเปล่งประกายจนทำให้หลังจากนั้น เขาได้รับบทนำในซีรีส์ดังหลายเรื่องติดต่อกัน
อี จงซอก เผย ไร้ความกดดันที่ต้องรับบทชายรักชาย เพราะ 'คุ้นเคย'กับcommunity นี้ในวงการfashion
ย้อนไปเมื่อปี 2010 บท gay ในซีรีส์เกาหลีนั้นยังเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงกับการสร้าง controversy สื่อจึงตั้งคำถามต่อพระเอกหนุ่มหน้าใสว่า รู้สึกกังวลหรือไม่ที่ต้องรับบทชายรักชาย ซึ่งคำตอบของเขาก็คือ รู้มาตั้งแต่ตอนออดิชั่นอยู่แล้วว่าจะต้องเข้าฉากแสดงความรู้สึกกับพระเอกชาย แต่เขาได้รู้จักคบหากับ gay จากการทำอาชีพนายแบบ และเขาก็มีเพื่อนสนิทเป็น gay หลายคนมาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นจนทำให้เกิดความคุ้นเคยไร้ความกดดัน
คำบอกเล่าของอี จงซอกนั้นได้สื่อถึงเรื่องทัศนคติของผู้คนที่มีต่อ homosexual อย่างชัดเจน ไม่ว่าใครก็คงเดาออกว่า อุตสาหกรรมบันเทิงและ fashion ที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาวนั้น ย่อมต้องมีชาวเพศทางเลือกรวมอยู่ด้วย ทั้งไอดอลและนักแสดงจำนวนมากมายก่ายกอง แต่ในขณะที่ service ด้วยการเผยมุมที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ดูจะขาดไม่ได้ในวัฒนธรรม fandom แต่การเปิดตัวว่าเป็น gay กลับเป็นได้ยากมาก ฟังดูแล้วอาจจะทำให้สับสนกับความย้อนแย้ง ทั้งๆที่แฟนๆเพลิดเพลินใจกับ shipping แต่สังคมก็ไม่สามารถทำใจยอมรับคนดังที่เป็น gay ได้เต็มที่ สอดคล้องกับอดีต trainee ที่เคยให้สัมภาษณ์กับ BBC ฟังว่า หาก trainee จะชอบเพศเดียวกัน แต่ก็ห้ามแสดงออกให้ต้นสังกัดเห็นว่าไม่ใช่ straight
ส่วนการแสดงออกแบบ genderfluid ที่เห็นกันหลังจากเดบิวท์นั้นจะเป็นไปตามการตั้ง concept เพื่อโพรโมทผลงาน โดยเฉพาะไอดอลชายที่อาจจะถูกจับปรับเปลี่ยนการแต่งหน้าแต่งตัวให้ดู feminine จนดูเหมือนผู้หญิงมาก ก็เพื่อสร้างเสน่ห์ที่ดูแปลกใหม่ประทับใจแฟนๆ แต่ในเวลาต่อมาก็กลับมาแต่งเหมือนไอดอลชายคนอื่น
ดังที่ทราบกันว่า แม้แต่สังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าเกาหลีใต้ การตัดสินใจ come out (เปิดเผยตัวตน) ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องหวาดหวั่นกับสิ่งที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนไปข้างหน้าของสังคมก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนล้มเลิกอคติต่อเพศที่หลากหลายที่ส่งต่อกันมาหลายชั่วคน สถานศึกษาหลายแห่งได้เพิ่มหลักสูตรเพิ่มความรู้ให้เด็กๆเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเพศเดียวกันที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มนุษยชาติมาเนิ่นนาน รวมถึงนโยบายใหม่ที่สนับสนุอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่าง รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้ระบุเพศชัดเจน ในช่วงหลังๆ เราจะได้ยินเรื่องราวคนดังและ influencer ที่ค้นพบตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย และ come out ท่ามกลางเสียงสนับสนุนของแฟนๆ จากที่ผ่านมานั้น คนดังจำนวนไม่น้อยที่ปกปิดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศมาหลายปี และต้องต่อสู้กับความหวาดหวั่นภายในใจมามากมายกว่าจะตัดสินใจ come out และเมื่อก้าวข้ามอุปสรรคจนเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงได้สำเร็จ ก็ได้รับกำลังใจหลั่งไหลเทมา แม้จะยังต้องพบกับอคติของกลุ่มคนที่เหยียดเกย์และเพศทางเลือกอยู่ ก็มีผู้ออกตัวปกป้องอย่างเต็มที่
ปัจจุบัน เรามี
ปัจจุบัน เรามี
- Lil Nas X นักร้องและแร็พเพอร์ gay ที่ประกาศต่อสู้กับแนวคิด toxic hyper-masculinity ในวงการ hip hop
- พระเอก Bridgerton ซีรีส์ romance เรตติ้งสูงลิบลิ่วแห่ง Netflix ที่เป็นเกย์อย่างเปิดเผย
- Hikaru Utada นักร้องsupertar แห่งญี่ปุ่นก็ประกาศตัวตนว่าเป็น non-binary และร่วมสร้าง awareness เรื่องอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายในญี่ปุ่น
- What did you eat yesterday? ซีรีส์ญี่ปุ่นที่บอกเล่าเรื่องราวของคู่ชีวิต gay ในสังคมญี่ปุ่นแบบอิงความ real และมีกระแสตอบรับดีงามจนได้สร้างภาคต่อและเวอร์ชั่นหนัง
Sweet Munchies
coming out ในสังคมเกาหลี
Sweet Munchies เป็นอีกหนึ่งผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตของgayหนุ่มที่พยายามปฏิเสธidentity ของตัวเองมาตลอด เขาได้พบกับจุดเปลี่ยนจนตัดสินใจสารภาพความรู้สึกกับพระเอกด้วยเข้าใจผิดว่าอีกฝ่ายเป็นชายรักชายเหมือนกัน แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังจนเกลียดตัวเองขึ้นมาอีก ในที่สุด เขาก็เผยความจริงให้ผู้เป็นพ่อได้รับรู้เรื่อง identity ที่แท้จริงจากปากตัวเอง แม้จะมีผู้ชมชมเชยว่า เป็นฉากการ come out ที่น่าประทับใจ จากเริ่มต้นที่พ่อพูดดักคอไว้ว่า อยากจะให้ลูกชายใช้ชีวิต 'แบบทั่วไป' แต่เมื่อได้รับรู้เรื่องเพศของลูก ก็ไม่ได้แสดงท่าทางทุกข์ใจแสนสาหัสเหมือน reaction ของพ่อแม่ในซีรีส์เกาหลีเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นพ่อก็ได้แต่พยักหน้าตอบรับเศร้าๆและลุกกลับทันที ถึงจะเคยพูดไว้ว่า ชีวิตเป็นของลูกเอง และพ่อจะมีความสุขที่สุดเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของลูก แต่การแสดงออกเช่นนี้อาจจะไม่นับเป็นกำลังใจเพียงพอต่อผู้ที่ต้องรู้สึกหวาดกลัวกับสายตาที่ต่อต้านรังเกียจจากคนรอบข้างจนไม่กล้า come out และรู้สึกโดดเดี่ยวด้วยความแปลกแยกมาทั้งชีวิต
ปัญหา homophobic ที่ก่อให้เกิด hate crime กับผู้ที่เป็นgayอย่างเปิดเผย
Holland ได้ประนามสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็น hate crime ที่ยากจะทำใจเชื่อว่าเกิดขึ้นในปี 2022 ดึงดูดชาวเน็ททั้งเกาหลีและต่างชาติจำนวนนับหมื่นให้เข้ามาแสดงความเป็นห่วงเป็นใย และสื่อต่างประเทศก็ตีข่าวนี้ไปแพร่หลาย แต่เชื่อว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้น อาจจะสกัดกั้นไม่ให้ผู้ที่มีเพศหลากหลายคนอื่นเปิดเผย identity เพราะหวาดหลัวที่จะเป็นเหยื่อจากความเกลียดชังนั่นเอง
Mine
คู่รักเพศเดียวกันต้องแบกรับกับแรงกดดันจากสังคมที่ยากจะเปิดใจยอมรับ
พล็อทดราม่าเข้มข้นของชีวิตชนชั้นสูงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการ K drama แต่ tvN ได้แสดงความแตกต่างด้วยการเปิดไฟเขียวให้กับนักเขียนและผู้กำกับถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครนำที่เป็นเพศทางเลือก ซึ่งไม่ได้ปรากฏให้เห็นบ่อยนักจากสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ในเกาหลี แม้ไม่ได้โฟกัสที่เรื่องidentity ของตัวละครนำเป็นหลัก แต่เป็นการแก่งแย่งชิงอำนาจในตระกูลแชโบลที่นำไปสู่เหตุฆาตกรรม แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในใบเบิกทางไปสู่ความเปลี่ยนแปลงว่า ซีรีส์ที่มีตัวละครนำที่ไม่ได้ชอบเพศตรงข้ามก็ก้าวมาสร้างความนิยมได้เช่นกัน พิสูจน์จากเรตติ้งตอนจบที่ไปได้ถึง 10.5% ซึ่งดึงผู้ชมมากจากช่อง free TV ได้มากโข
นี่อาจจะไม่ใช่ผลงานสำหรับผู้ที่คาดหวังจะได้เห็น representation ของคู่ lesbian ว่า ต้องฟันฝ่าอุปสรรคเช่นไรจึงจะลงเอยด้วยความสุข แต่เป็นเรื่องของการรวมพลังsisterhoodเพื่อไม่ให้ถูกพรากสิ่งสำคัญไป ถึงจะเป็นเช่นนั้น เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของผู้นำธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ก็ต้องละทิ้ง identity ที่แท้จริง และสร้างครอบครัวกับคู่ชีวิตเพศตรงข้ามด้วยเหตุผลทางการเมืองและสถานะทางสังคม แม้ว่าจะเป็นหญิงแกร่งที่รับมือกับสถานการณ์หนักหนามาทุกรูปแบบก็ยังต้องอดทนกับความเจ็บปวดฝังลึกในจิตใจ ความร่ำรวยและอำนาจไม่สามารถเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปได้เลย
นี่อาจจะไม่ใช่ผลงานสำหรับผู้ที่คาดหวังจะได้เห็น representation ของคู่ lesbian ว่า ต้องฟันฝ่าอุปสรรคเช่นไรจึงจะลงเอยด้วยความสุข แต่เป็นเรื่องของการรวมพลังsisterhoodเพื่อไม่ให้ถูกพรากสิ่งสำคัญไป ถึงจะเป็นเช่นนั้น เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของผู้นำธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ก็ต้องละทิ้ง identity ที่แท้จริง และสร้างครอบครัวกับคู่ชีวิตเพศตรงข้ามด้วยเหตุผลทางการเมืองและสถานะทางสังคม แม้ว่าจะเป็นหญิงแกร่งที่รับมือกับสถานการณ์หนักหนามาทุกรูปแบบก็ยังต้องอดทนกับความเจ็บปวดฝังลึกในจิตใจ ความร่ำรวยและอำนาจไม่สามารถเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปได้เลย
หากถามถึงดีกรีความ controversial ของซีรีส์เรื่องนี้ว่าหนักหน่วงขนาดไหน? ก็อยู่ในระดับที่ตัวสามีของ คิม จองฮวานักแสดงที่เล่นเป็นคู่ lesbianของคิม ซอ ฮยอง นางเอกตัวนำได้วิจารณ์ประเด็นรักร่วมเพศของซีรีส์เรื่องนี้ว่า ตัวเขาและภรรยา (ที่เคร่งศาสนา) นั้นต่อต้านเรื่องรักร่วมเพศ และตัวผู้สร้างซีรีส์นั้นพยายามทำการตลาดด้วยการเชิดชูเรื่องรักร่วมเพศทำให้ภรรยาของเขาร้สึกกังวล แต่เธอรับบทนี้เพราะคิดว่า แก่นของเรื่องจริงๆคือ คนที่ต้องทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตที่ผิดธรรมชาติ แต่ลงท้ายก็ต้องกลับไปเป็นคนปกติ
netizen จำนวนไม่น้อยได้ฟาดฟันกลับถึงพฤติกรรมเหยียดชาวรักร่วมเพศ แต่ก็ไม่มีคำขอโทษโดยตรงต่อ community ที่เป็นคนมีเลือดเนื้อจิตใจเหมือนกับทุกๆคน หนึ่งในความเห็นที่ตรงใจสุดๆก็คือ นักแสดงเกาหลีสามารถรับบทบาทabuser ใช้ความรุนแรงกับผู้อ่อนแอ เป็น rapist เป็นพวก bully เป็นคนคดโกง ใช้ power harassment และคนชั่วช้าสารพัดรูปแบบได้อย่างไรปัญหา โดยที่สามีภรรยาของพวกเค้าไม่ต้องมาชี้แจงว่า ตัวตนในชีวิตจริงไม่ได้เป็นเหมือนในซีรีส์ แต่พอรับบทรักร่วมเพศ กลับต้องออกตัวแรงว่ารับไม่ได้ เหยียดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ หากจะเหยียดพวกรักร่วมเพศขนาดนั้น จะลำบากมารับแสดงแลกค่าตัวไปเพื่ออะไร?
Itaewon Class
เพศสภาพที่แตกต่างคือประเด็นฉาวที่ส่งผลต่ออาชีพ
เคยได้ยินว่าความสำเร็จของ Itaewon Class คือ game changer ที่จะทำให้สังคมเกาหลีลดละอคติต่อคนชายขอบ ซึ่งผู้ชมต่างเอาใจช่วยกับหลายตัวละครที่ต้องพยายามต่อสู้กับกระแสต่อต้านที่เกิดขึ้นเพียงเพราะพวกเค้ามีคข้อแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ แต่ขอยอมรับว่า หนึ่งในโมเมนท์ที่ทำให้รู้สึกอึดอัดใจก็คือ backlash ที่มีต่อแม่ครัวประจำร้านทันบัมที่เป็น transgender แต่ยังไม่ได้เปิดตัวกับสังคมภายนอกเต็มตัว ยังเป็นที่เข้าใจว่า เธอคือหนุ่มหน้าสวยดูสำอาง แต่เมื่อถูกฝั่งตรงข้ามปล่อยข่าวเรื่องเพศสภาพทาง internet จากแผนการปลุกปั่นให้สังคม'รังเกียจ' สายตาพิพากษาและเสียงติฉินนิทาของคนรอบข้างก็ทำให้เธอต้องหวาดกลัวจนตัวสั่น ...
มันทำให้เกิดเป็นความคิดขัดแย้งกับเนื้อหาของซีรีส์ขึ้นมาเต็มหัวเราไปหมด
เรื่องคนข้ามเพศถือเป็นประเด็นอ่อนไหวที่สร้างข้อถกเถียงในหลายสังคม ดังที่คุณเคยเห็นดราม่า J.K Rowling ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น transphobic รวมถึงตลกชื่อดังอย่าง Dave Chappelle และ Ricky Gervais ที่จิกกัดผู้คนที่ต่อต้านมุกตลกล้อเลียน trans ผ่าน Netflix Special จนพนักงาน Netflix รวมตัวประท้วงจากข้อกล่าวหาว่าผู็บริหารสนับสนุนcontent เหยียด trans
เรื่องราวของเชฟ trans ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์บีบคั้นผ่านรายการถ่ายทอดสด อาจจะสร้างความข้องใจว่า จะไม่มีที่ยืนให้กับคนข้ามเพศแม้แต่ในวงการอาชีพอาหารเช่นนั้นหรือ? และหากนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง หากเธอรวบรวมสติมาแข่งขันแล้วคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาได้ สังคมเกาหลียังจะชื่นชมสนับสนุนเธอจนกิจการร้านรุ่งเรืองหรือไม่? เพราะเพียงไม่นานก่อนหน้านี้ ยังมีคนมองเธอจากหัวจรดเท้าและกล่าวหาว่าเป็นพวกลวงโลก หรือแม้แต่ทีมงานรายการเองก็ยังแสดงออกชัดแจ้งว่า ไม่ได้ต้อนรับเธออย่างเต็มที่เหมือนก่อนจะรู้ว่าเป็น trans
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกชื่นชมต่อการเจาะปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศใน Itaewon Class นั่นคือ โมเมนท์ที่เชฟ call out ผู้ที่เปิดเผยเรื่องส่วนตัวของเธอโดยไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจ สำหรับผู้สนับสนุนสิทธิของผู้มีเพศหลากหลาย นี่คือการ abuse ที่ส่งผลต่อจิตใจอย่างร้ายแรง เพราะทุกคนต่างมีสิทธิ์ที่จะcome out โดยสมัครใจหรือเก็บไว้เป็นความลับจนกว่าจะพร้อมจริงๆ
เรื่องราวของเชฟ trans ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์บีบคั้นผ่านรายการถ่ายทอดสด อาจจะสร้างความข้องใจว่า จะไม่มีที่ยืนให้กับคนข้ามเพศแม้แต่ในวงการอาชีพอาหารเช่นนั้นหรือ? และหากนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง หากเธอรวบรวมสติมาแข่งขันแล้วคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาได้ สังคมเกาหลียังจะชื่นชมสนับสนุนเธอจนกิจการร้านรุ่งเรืองหรือไม่? เพราะเพียงไม่นานก่อนหน้านี้ ยังมีคนมองเธอจากหัวจรดเท้าและกล่าวหาว่าเป็นพวกลวงโลก หรือแม้แต่ทีมงานรายการเองก็ยังแสดงออกชัดแจ้งว่า ไม่ได้ต้อนรับเธออย่างเต็มที่เหมือนก่อนจะรู้ว่าเป็น trans
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกชื่นชมต่อการเจาะปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศใน Itaewon Class นั่นคือ โมเมนท์ที่เชฟ call out ผู้ที่เปิดเผยเรื่องส่วนตัวของเธอโดยไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจ สำหรับผู้สนับสนุนสิทธิของผู้มีเพศหลากหลาย นี่คือการ abuse ที่ส่งผลต่อจิตใจอย่างร้ายแรง เพราะทุกคนต่างมีสิทธิ์ที่จะcome out โดยสมัครใจหรือเก็บไว้เป็นความลับจนกว่าจะพร้อมจริงๆ
หลายฝ่ายชี้ว่า การปกปิด identity ของกลุ่มเพศทางเลือกนั้นไม่ได้มาจากการจงใจโกหกเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่พวกเค้าต้องอยู่ในภาวะฝืนใจเพราะไม่ต้องการพบกับผลกระทบรุนแรงที่ตามมา พิสูจน์ได้จากโพลThe Korea Social Integration Surve ที่ชี้ว่า ชาวเกาหลีใต้จำนวนมากไม่ต้องการมีเพื่อน,เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานรักร่วมเพศ รวมถึงกลุ่มเคร่งศาสนาที่ออกมาประท้วงต่อต้านรักร่วมเพศว่าเป็นบาปและเป็นตัวการแพร่เชื้อเอดส์จนเห็นกันบ่อยครั้ง
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนจาก LGBTQ community จำนวนหลายหมื่นได้มารวมตัวกันใน pride parade และเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศกันอย่างเต็มที่ แต่สำหรับหลายคน เมื่องานจบก็ต้องหวนคืนสู่ reality ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่ให้คนนอกได้รับรู้ตัวตนที่แท้จริง