ทิศทางของราชวงศ์ Windsor เมื่อไร้ Queen Elizabeth

35 11
การจากไปของสมเด็จพระราชินี Elizabeth ที่ 2  อาจจะดึงดูดให้ผู้คนจากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลายด้าน   แต่พิธีฝังพระบรมศพที่ผ่านเข้ามาถึงช่วงสุดท้ายแห่การส่งความอาลัยก็น่าจะพิสูจน์ถึงความผูกพันที่ชาวอังกฤษจำนวนมากมายมีต่อประมุขราชวงศ์ผู้ล่วงลับได้อย่างชัดเจน   ทั้งจำนวนผู้คนมหาศาลที่เข้าคิวข้ามวันข้ามคืนเพื่อเข้าร่วมแสดงความเคารพพระบรมศพรวมถึงการแลกเปลี่ยนเรื่องราวในความทรงจำที่ดีงาม

แต่ในขณะเดียวกัน   นี่ก็กลายเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์ British  ถูกจับตามองเพิ่มขึ้นอีกหลายระดับ  รวมถึงการขุดคุ้ยประเด็นที่สังคมตั้งข้อกังขา  จนทำให้มีการวิเคราะห์ทิศทางในอนาคตของราชวงศ์ที่เปลี่ยนผู้นำใหม่

ความนิยมของKing  Charles และ Queen Consort

แม้นี่จะอยู่ในช่วงเวลาที่พร่างพรูไปด้วยอารมณ์โศกเศร้าอาลัย แต่บางคนก็อาจจะสัมผัสว่า กษัตริย์ Charles ที่ 3 และชายาจะต้องพบกับแรงกดดันที่เพิ่มพูนขึ้นในวันข้างหน้า แม้ว่าเหตุการณ์ scandal ในยุค 90s จะเป็นเรื่องสาหัจสากรรจ์สำหรับราชวงศ์ British จนสมเด็จพระราชินี Elizabeth จะเปรียบเปรยว่าเป็น “Annus Horribilis,” หรือปีที่ย่ำแย่ แต่นั่นก็เป็นอดีตที่ผ่านพ้นมาเนิ่นนานถึงขนาดที่คนรุ่นใหม่ไม่ 'อิน' กับเรื่องรักสามเส้าในรั้ววัง และหันมาให้ความสำคัญกับคำสัญญาในการรับใช้ปวงชนของกษัตริย์พระองค์ใหม่แทน

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตตรงกันว่า แม้เหล่า royal fans จะร่วมแรงสนุบสนุนและคำพูดปลอบโยนกษัตริย์ที่สูญเสียพระมารดาอันเป็นที่รัก แต่ท่านก็ไม่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ที่นำโด่งเรื่องความนิยมดุจดังสมเด็จพระราชินี Elizabeth ทั้งยังมีข้อครหาที่ทับซ้อนกันหลายอย่างจนทำให้มีเสียงวิจารณ์ว่า อนาคตของสถาบันแห่งนี้ได้ขาดความยั่งยืนเหมือนกับรัชสมัยการครองราชย์ของสมเด็จพระราชินี Elizabeth ถูกยกย่องว่ามีเป็นผู้นำราชวงส์ที่มีภาพลักษณ์งดงามและอุทิศจนเพื่อทำหน้าที่ได้ไร้ที่ติ แม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้รู้สึกนิยมชมชอบราชวงศ์ British แต่เมื่อได้ติดตามภาพกรณียกิจและเรื่องเล่าขานของท่านมายาวนาน ทั้งภาพความเป็น global icon ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อ  ทำให้ความผูกพันก่อตัวราวกับได้เห็นญาติผู้ใหญ่ที่ใจดี ทั้งๆที่อาจจะไม่เคยพบกันอย่างใกล้ชิดมาก่อน แต่ฝ่ายกษัตริย์คนใหม่ที่เคยมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายรัชทายาทมาถึง70 ปี ความรู้สึกของประชาชนนัั้นกลับแตกต่างออกไป
บางคนคาดการณ์ว่า กษัตริย์ Charles อาจจะเข้ามาปฏิรูปราชวงศ์ด้วยการลดจำนวน working royals ให้เหลือเพียง 7 คน  (เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ปฏิบัติกรณียกิจสำคัญต่างๆ และได้รับจัดสรรปันส่วนเงินปีส่วนพระมหากษัตริย์) อันเป็นความพยายามที่จะจำกัดวงให้แคบเข้ามาเพื่อบริหารจัดการเรื่องPR ให้มีประสิทธิผล  รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายเงินปีส่วนพระมหากษัตริย์ที่ได้รับมาจากกระทรวงการคลัง



 แต่ถึงกระนั้น  เมื่อราชวงศ์รวมถึงกษัตริย์ได้รับข้อยกเว้นในการเสียภาษีมรดกในขณะที่ประชาชนมากมายต้องพพยายามเอาตัวรอดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจและพลังงาน   แม้จะมีภาพประชาชนให้ความต้อนรับท่านอย่างอบอุ่น    แต่ก็ไม่อาจกลบเสียง call out จากโลกออนไลน์   ซึ่งดูจะตรงกับผลการสำรวจของ yougov.co.uk ที่ระบุว่า ประชาชน 62% ยังต้องการให้ราชวงศ์อยู่คู่กับสหราชอาณาจักรต่อไป และได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากคนในช่วงวัยสูงอายุและมีแนวคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม  ส่วนผู้ที่ความคิดที่ควรจะใช้การเลือกตั้งประมุขของราชวงศ์แทนมีจำนวน  22% ซึ่งได้รับเสียงvote ส่วนใหญ่มาจากคนหนุ่มสาวและผู้สนับสนุนพรรคแรงงาน





ส่วนราชินี Camilla นั้น  แม้แต่แฟนๆซีรีส์ The Crown ก็อาจจะลืมเลือนบรรยากาศของช่วงเวลาในอดีตที่บรรดาสื่อนำสนอภาพของเธอที่ดูร้ายกาจจนยากจะใหเอภัย  ถึงขั้นที่ถูกขนาดว่าเป็นสตรีที่ถูกเกลียดชังมากที่สุดในBritain  แต่ชีวิตสมรสที่มั่นคงยั่งยืนมา 17 ปีจนกระทั่งพระสวามีได้ครองบัลลังก์ก็ได้ชี้ชัดว่า สาธารณชนได้มองผ่านข่าวอื้อฉาวที่แพร่ไปทั่วโลกในช่วงสองทศวรรษก่อนและหันมามองตัวตนของเธอ     โดยเฉพาะช่วง quarantine ที่ผู้คน royal fans ได้สัมผัสอีกด้านของเธอ นั่นคือภาพลักษณ์ของroyal ที่ดูติดดินและเข้าถึงได้  หลายครั้งก็แต่งกายด้วย jeans แบบเรียบง่าย หรือแม้แต่ face mask ลายเสือดาวที่ดูแหวกแนวจาก royal style  ที่ผู้คนติดภาพ  รวมถึงสื่อที่หันมาชื่นชมเธอว่าเป็นสตรีผู้มีสถานะสูงส่งและจิตใจอันอบอุ่นและมั่นใจว่าเธอได้ก้าวข้ามชื่อเสียงอันมัวหมองในอดีตไปไกล  แตกต่างจากกระแสต่อต้านในอดีตอย่างสิ้นเชิง  (ลำดับความนิยมของเธออยู่ที่ 8 จากเชื้อพระวงศ์ 15 คน)


หลายปีที่ผ่านมาแทบลอยด์ได้เล่นข่าวโจมตีไม่หยุดหย่อนว่า อดีตที่อื้อฉาวของชายาแห่งเจ้าชายรัชทายาททำให้สถานะในวันข้างหน้าดูคลุมเครือ และเธออาจจะได้รับอิสริยยศ Princess Consort หาใช่ Queen  ซึ่งมีแนวโน้มจากอิสริยยศดัชเชสแห่ง Cornwall ที่ได้รับหลังจากเข้าพิธีเสกสมรส    ไม่ใช่อิสริยยศดัเจ้าหญิงแห่งWales  ที่เจ้าหญิง Diana เคยครอบครอง แต่คำประกาศยอมรับและสนับสนุนให้ Camilla ก้าวเป็น queen consort จากสมเด็จพระราชินี Elizabethได้ลบล้างเสียงซุบซิบนินทาเรื่องอนาคตของเธอได้หมดจด

ความหวังที่จะหวนคืนสู่สถานะเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของเจ้าชาย Andrew
ข้อกล่าวหาคดีกระทำผิดทางเพศของเจ้าชาย Andrew นับเป็นมรสุมครั้งใหญ่ที่สั่นสะเทือนภาพลักษณ์ของราชวงศ์ฺ British จนด่างพร้อยยากจะลบเลือน  การเจรจาทำข้อตกลงกับฝ่ายฟ้องร้องด้วยการจ่ายเงินชดเชยไม่ได้หยุดกระแสต่อต้าน แต่กลับสร้างความไม่พอใจและเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลและราชวงศ์ได้เผยถึงที่มาของเงินที่คาดว่าว่าสูงถึงเจ็ดหลักด้วยความโปร่งใส  ผลกระทบที่ตามมานั้นเป็นจุดวิกฤติของเจ้าชายผู้ที่มีเสียงเล่าลือยาวนานว่าเป็นโอรสคนโปรดของสมเด็จพระราชินี Elizabeth  เพราะต้องถูกถอดพระยศของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงและยศทางทหาร  รวมถึงสถานะผู้นำขององค์กรการกุศลและตำแหน่งอันทรงเกียรติต่างๆที่ถูกริบไปเกลี้ยง  แต่ก็ยังมีเสียงเล่าลือว่า  เจ้าชายยังวาดหวังให้กาลเวลาได้ลบเลือนเรื่องอื้อฉาวนี้ และค่อยๆหวนคืนสู่บทบาทเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง  แต่เมื่อพระมารดาได้จากโลกนี้ไป หลายฝ่ายกลับเชื่อว่า    ความเป็นไปได้ที่จะได้ลาภยศสรรเสริญกลับคืนมานั้นยิ่งดูยาก!





หลายฝ่ายลงความเห็นว่า โลกอาจจะได้เห็นเจ้าชายเข้าร่วมกับเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆในพิธีการทางศาสนาทั้งยังพูดคุยทักทายกับประชาชนอย่างปกติ แต่การปรากฏตัวต่อหน้าผู้คนในโอกาสอื่นนอกเหนือจากพิธีที่สำคัญนี้ยังต้องถูกจำกัดต่อไป เพราะเมื่อไร้สมเด็จพระราชินี Elizabeth ผู้ที่เคยเป็นเสาหลักอันมั่นคงให้กับราชวงศ์ พวกเค้าย่อมต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนเพื่อก้าวสู่จรรลองอันดีงาม และหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาเอื้อประโยชน์ให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ที่สาธารณชนมั่นใจว่าสร้างความอับอายให้กับสถาบันนี้

เมื่อเวลาผลัดเปลี่ยนผู้ครองบัลลังก์มาเยือน ก็ยิ่งทำให้ผู้ติดตามข่าวราชวงศ์เชื่อว่า กษัตริย์ Charles ย่อมวางตัวห่างจากคำครหาเรื่องเจ้าชายคนน้องที่เคยผูกมิตรภาพกับอาชญากรทางเพศ Jeffrey Epstein และนักค้ามนุษย์ Ghislaine Maxwell แม้จะมีคำกล่าวว่า เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ แต่ความเสียหายจาก sex scandalยังไม่ได้รับการฟื้นฟูเต็มที่ หรือจะเป็นเจ้าชาย William รัชทายาทที่เป็นตัวแทนของ generation ใหม่ก ก็ดูเป็นไปได้ยากว่าจะหันมาสนับสนุนท่านอา



เสียงวิจารณ์แตกหลายฝ่าย - หนุ่มScottish ถูกจับหลังจากตะโกนด่าว่าเจ้าชาย Andrew
ไม่ได้มีเพียงแต่สื่อและคนบันเทิงที่โจมตีเจ้าชาย Andrew อย่างไม่หวั่นเกรงกระแสตีกลับ  จากเหตุการณ์ชายหนุ่มวัย 22 ในEdinburgh ตะโกนด่าว่าเชื้อพระวงศ์ผู้อื้อฉาวที่กำลังเดินในขบวนเคลื่อนพระบรมศพด้วยคำผรุสวาท เขาถูกลากตัวออกไปทันทีตามมาด้วยการจับกุมตัวในข้อหาก่อกวนความสงบ แม้ว่ทางการจะยืนยันว่า เขาได้รับการปล่อยตัวไปเรียบร้อย  แต่ก็มีเสียงถกเถียงตามมาว่า ชายที่ยังอายุน้อยรายนี้ทำผิดกฎหมายของ Scotland หรือว่าเขามีสิทธิ์เต็มที่ในการแสดงความเห็น?     ปฏิกิริยาจาก Twitter   ร้อนแรงตามคาด   ชาวเน็ทจำนวนมากยืนยันว่า  ชายผู้นี้พูดเรื่องจริง และไม่ควรถูกลากออกไปอย่างรุนแรงและตั้งข้อหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องเคารพหลักหลัก free speech

หากอ่านจากปฏิกิริยาของผู้คนที่กำลังยืนไว้อาลัยสมเด็จพระราชินีอย่างให้เกียรติ ก็เห็นชัดว่าพวกเค้าเห็นด้วยกับการจัดการของเจ้าหน้าที่ ที่ผ่านมานั้นก็เคยเกิดเหตุการณ์คล้ายกันมาแล้วไม่ใช่ว่าผู้คนในสหราชอาณาจักรจะไม่เคยรับรู้เรื่องกระแสต่อต้านเจ้าชาย Andrew มาก่อน หลายครั้งหลายครา เพียงเปิดหน้าจอ TV หรือตามอ่านข่าวจากแทบลอยด์ก็จะพบกับเสียงวิจารณ์ดุเดือดโดย แต่นี่เรื่องของกาลเทศะ ถึงจะเป็นพิธีเคลื่อนหีบศพของคนทั่วไป ก็คงไม่มีใครอยากเห็นคนยืนร้องด่าครอบครัวของผู้วายชนม์ด้วยคำหยาบคาย





รอยร้าวความสัมพันะ์ฉันพี่น้องของสองเจ้าชายจะประสานคืนกลับมาหรือไม่?
มาถึงนาทีนี้ คงยากจะปฏิเสธว่า สื่อทั้งหลายได้ focusกับดราม่าความแตกแยกของเจ้าชายพี่น้องที่ลุกลามเป็นปัญหาเรื้อรังมากกว่าสิ่งใด ทุกความเคลื่อนไหวของเจ้าชาย Harry และ Meghan กลายมาเป็นประเด็นร้อน  ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสมคบคิดหรือข่าวที่มีมูลความจริง แน่นอนว่า พวกเค้ายังจ้องจับตาชมปฏิกิริยาของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่ง Wales คนใหม่ว่าจะเปิดใจเพื่อประนีประนอมกับฝั่ง Sussex และมีสัญญาณที่พวกเค้าจะกลับมาสมัครสมานดุจวันวานหรือไม่?





ชาวเน็ทจำนวนไม่น้อยคิดตรงกันว่า  ทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทางที่กระอักกระอ่วน และยังมีบรรยากาศเย็นชา  แม้เจ้าชายรัชทายาทจะหันมาสนทนาของน้องชาย  แต่ก็ยังดูห่างไกลจากความใกล้ชิดสนิทสนมเมื่อหลายปีก่อน   ส่วนชายาของพวกเค้าก็ดูวางตัวไม่ถูก  แม้จะมีรายงานว่า  ทั้งสองครอบครัวพยายามเต็มที่เพื่อจะก้าวผ่านความบาดหมางด้วยการบทสนทนาระหว่าง dinner  หลังจากหมางเมินกันไปนาน   แต่การสมานรอยร้าวลึกนั้นย่อมต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจที่อาจจะกินเวลานานกว่านี้

แม้บรรสื่อจะพาดหัวข่าวเพื่อแสดงความคาดหวังให้เจ้าชายสองพี่น้องกลับมาคืนดี แต่ในขณะเดียวกันก็จุดประเด็นเรื่องความแตกแยกในราชวงศ์ ล่าสุด The Telegraph ได้ปล่อยข่าวว่า สำนักราชวังแจ้งให้เจ้าชาย Harry รับรู้เรื่องการสวรรคตของสมเด็จพระราชินี Elizabeth เพียงห้านาทีก่อนที่จะแถลงข่าวอย่าวเป็นทางการต่อสาธารณชน และทำให้เจ้าชายเป็นเชื้อพระวงศ์คนสุดท้ายที่ได้ยินข่าวความสูญเสีย และยังรู้ทีหลังLiz Truss นายกรัฐมนตรีคนใหม่ซะอีก นั่นได้ทำให้ผู้รับหน้าที่ตัวแทนกษัตริย์ต้องออกมายืนยันว่า เชื้อพระวงศ์ทุกคนได้รับแแจ้งข่าวก่อนการประกาศอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่มีถ้อยคำอธิบายเพิ่มเติม แต่ก็อาจจะนับว่าเป็นการโต้ตอบข้อกล่าวหาว่า เจ้าชาย Harry ต้องพบกับการเลือกปฏิบัตินั่นเอง



ความขัดแย้งภายในที่ส่งผลให้เจ้าชาย  Harry และชายาถอนตัวในการทำหน้าที่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงได้กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีของแทบลอยด์ แตกแขนงเป็นข่าวเล็กข่าวใหญ่  จนดูเหมือนว่าดราม่าได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบ ตำแหน่งที่นั่ง   หรือจะเป็นเรื่องการทำหน้าที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่เดินทางมาร่วมพิธี  จนมีเสียงทักท้วงว่า เจ้าชายทั้งสองคงไม่ได้ต้องการให้สื่อเกาะติดเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งหรือความพยายามรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของพวกเค้า  แต่ให้ความสำคัญกับการไว้อาลัยให้กับท่านย่าผู้จากไปเท่านั้น


การกลับมาเดินเคียงข้างกันในคราวนี้คล้ายกับการกระทำตามหน้าที่ หรือจะมีแนวโน้มว่า เมื่อต่างคนต่างแยกย้ายจนห่างไกลคนละประเทศอีกครั้ง เส้นทางความสัมพันธ์ของเจ้าชายทั้งสองอาจจะไม่เวียนมาบรรจบกันอีก?




เจ้าหญิงเจ้าชายตัวน้อยที่เข้าร่วมส่งความอาลัยถึงท่านทวด
ท่ามกลางพิธีการทางศาสนาที่อบอวลไปด้วยความอาลัย ภาพของเชื้อเจ้าหญิงเจ้าชายตัวน้อยก็ได้ดึงดูดความสนใจจากผู้ชมพิธีจำนวนมากมายทั่วโลก   เพียงไม่กี่เดือนก่อน เจ้าชาย George วัย 9 ขวบและเจ้าหญิง Charlotte วัย 7 ขวบเคยเข้าร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีที่เต็มไปด้วยความรื่นเริง    แต่พิธีฝังพระบรมศพถือเป็นสถานการณ์ที่ส่งแรงกดดันต่อเชื้อพระวงศ์วัยเยาว์ไม่น้อยเลย การเดินเคียงข้างพ่อแม่เข้าสู่พิธีการที่เป็นทางการเพื่อบอกลาท่านทวดเป็นครั้งสุดท้ายทำให้แฟนๆ ชื่นชมถึงความกล้าหาญโดดเด่น  สองพี่น้องต้องเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่ยาวนานต่อหน้าผู้คนจำนวนมากมาย และแม้ว่าทั้งสองยังเป็นเพียงเด็กไร้เดียงสา  แต่เมื่อถือกำเนิดในราชวงศ์ที่โด่งดังระดับโลก  ทั้งยังเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเจ้าชายที่ถูกวางตัวให้เป็นผู้ครองบัลลังก์ลำดับต่อไป  พวกเค้าจึงถูกมองว่าเป็นอนาคตใหม่ของราชวงศ์  เมื่อได้เติบโตขึ้น ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องรับมือกับความคาดหวังจากมวลชน

สื่อได้ชี้ว่า นี่คือโมเมนท์ที่เจ้าหญิง Charlotte กำลังทบทวนข้อกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีกับพี่ชายอย่างจริงจัง  มีเสียงบอกเล่ามายาวนานว่า  เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจะได้รับการปลูกฝังแนวทางการปฏิบัติตนแบบเชื้อพระวงศ์มาตั้งแต่เริ่มจำความได้ จึงไม่น่าประหลาดใจในเรื่องการแสดงกิริยาสำรวมและเป็นผู้ใหญ่กว่าวัย

โมเมนท์ที่เจ้าหญิงเจ้าชายแสดงท่าทางเศร้าสร้อยและแตะดวงตาเหมือนกับกำลังร้องไห้นั้นอาจจะทำให้ผู้ชมต้องใจหายไปด้วย    


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE