เจาะลึก Dandy แฟชั่นสุภาพบุรุษสุดสำอางจากศตวรรษที่ 19

34 14
Dandy  ศัพท์ที่คุณอาจจะได้พบเห็นจากผลงานแสนclassic ของ  Jane Austen รวมถึงซีรีส์  Bridgerton ยอดฮิตที่บรรยายถึงสุภาพบุรุษสุดสำอางที่สร้างปรากฏการณ์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ไล่ไปถึงศตวรรษที่ 19   และเชื่อกันว่า พวกเค้ายังส่งอิทธิพลมาถึงวงการ fashion ในยุคปัจจุบัน


เรื่องราวที่น่าสนจของ Dandy จะเป็นเช่นไร   มาติดตามกับเราได้เลยค่ะ!

Dandy คืออะไร?
 หากมองจากภายนอก dandy คือชายหนุ่มที่ทุ่มเทกับรูปลักษณ์และสไตล์การแต่งกายให้ดูโดดเด่นสะดุดตาและเนี้ยบจากหัวจรดเท้า   ส่วนในทางปฏิบัติพวกเค้ายึดติดกับกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดเพื่อแสดงความหรูหราสง่างามแบบผู้ดี  แม้ว่า dandy หลายคนจะไม่ได้มาจากตระกูลสูงส่งที่สืบทอดบรรดาศักดิ์ขุนนางมาหลายชั่วคน แต่อยู่ในชนชั้นกลางที่มีอันจะกิน  ไม่เพียงมีเพียงแต่สไตล์ที่โดดเด่นเท่านั้น  แต่สามารถเรียนรู้ธรรมเนียมชนชั้นสูงและถ่ายทอดออกมาทางการใช้สำเนียงโวหาร กิริยาท่าทาง รวมถึงงานอดิเรกเฉพาะกลุ่ม

ที่มา...

กระแสความคลั่งไคล้ในเทรนด์ dandyism น่าจะถูกจุดประกายจากสมโสร Macaroni ใน London ซึ่งได้รวบรวมสมาชิกสุภาพบุรุษผู้ร่ำรวยที่เพิ่งจะเดนทางกลับมาจากการเดินทางท่องเที่ยวที่ Italy สโมรแห่งนี้ได้สร้างชื่อเสียงขจรขจายเรื่องการแต่งกายหรูหราฟู่ฟ่า พวกเค้าใส่วิกยาว ใช้ผ้าลูกไม้ระบายพันผูกทบกันหลายชั้น ใส่ชุดที่ปักดิ้นทอง ใส่รองเท้าส้นสีแกงสดใสจับคู่กับถุงเท้าลายริ้ว ส่วนเครื่องประดับก็จัดเต็มไม่แพ้กัน dandy จะถือไม้เท้าส่วนหัวประดับทอง และกล่องใส่ยาเส้นประดับอัญมณี ทั้งยังให้ความสำคัญกับกลิ่นกายที่สร้างความพึงใจ ต้องพกพาช่อดอกไม้เล็กๆหรือใช้น้ำหอมเพื่อกลบเกลื่อนกลิ่รที่ไม่พึงประสงค์ หลายคนหันมาใช้ชื่อเล่นว่า Beau แทรกอยู่ในชื่อจริงเพื่อความเก๋ไก๋ เทรนด์หนุ่มเจ้าสำอางนี้ได้ระบาดจากอังกฤษไปทั่วยุโรป ก่อให้เกิดกระแสนิยมจนมาถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 19



.

เวลาผ่านพ้นไปอีกหลายสิบปี  เทรนด์การแต่งกายย่อมเปลี่ยนแปลง  แต่ไม่ว่าจะเป็น Macaroni  หรือ Dandy ก็เป็นชายร่วมอุดมการณ์แห่งความรักสวยรักงามเช่นเดียวกัน  สำหรับในปัจจุบันนี้ ก็น่าจะตรงกับการบัญญัติศัพท์ว่า Metrosexual นั่นเอง
จากบทประพันธ์  Emma  Frank Churchill  หนุ่มหล่อเจ้าสำราญได้กลายมาเป็น topic เม้ามอยของผู้ดีในเรื่อง เพราะลงทุนนั่งรถม้าจากชนบทไปยัง  London เพื่อตัดผม    ซึ่งทัศนคติเจ้าสำราญของเขาอาจจะดูไร้แก่นสารสำหรับ Mr. Knightley   พระเอกผู้จริงจัง  ซึ่งนักอ่านหลายคนมองว่า  เขาน่าจะเข้าข่าย dandy  และเป็นเหตุผลที่ถูกมองอย่างไม่เชื่อถือ  ดังพระเอกผู้จริงจัง Mr. Knightley   ที่คิดว่าความรักสวยรักงามในระดับนี้ดูไร้แก่นสาร


fashionista ตัวจริงต้องสะโอดสะอง
คอร์เซ็ทอาจจะเป็นเครื่องแต่งกายสำคัญสำหรับสตรีที่ปรารถนาถึงส่วนเว้าส่วนโค้งในอุดมคติ   แต่สำหรับชายหนุ่มที่คลั่งไคล้เรื่องรูปลักษณ์ของตัวเอง  มันถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบ  คุณอาจจะงุนงงว่า เหตุใดผู้ชายจึงอยากจะโชว์รูปร่างแบบนาฬิกาทราย?   จากความเชื่อว่า ช่วงเอวบางดุจสตรีได้ส่งให้หน้าอกของพวกเค้ายิ่งดูผึ่งผายราวกับนกพิราบ และช่วยให้ท่าทางการยืนดูมาดแมนด้วยไหล่ตั้งหลังตรง จนเกิดเป็นออร่าชายเหนือชาย   นั่นพอจะอธิบายสิ่งที่อยู่เบื้องหลังภาพวาดผู้ชายจากยุคสมัยนี้ซึ่งเต็มไปด้วย S- curve!


อีกหนึ่งหลักฐานเรื่องผู้ชายใส่ corset มาจากฉาก title ของ Gentleman Jack ซีรีส์พีเรียดในช่วง 1830 ทางช่อง BBC และ HBO ที่นำเสนอขั้นตอนการแต่งกานของ Anne Lister ตัวเอกในเรื่อง แม้เธอจะเป็นหญิงตระกูลเก่าแก่ แต่ก็มีชื่อเสียงเกรียวกราวเรื่องการแสดงออกเหมือนกับผู้ชาย  รวมถึงการแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นสีดำ โค้ท เสื้อกั๊ก   การผูก cravat และดูเหมือนว่า เธอพยายามออกห่างจากสไตล์ที่ดู  feminine ให้มากที่สุด   แต่ภายใต้เสื้อผ้าแนว masculine เธอก็ใส่คอร์เซ็ท   ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปวกแนวสำหรับหญิงสาวมาดแมน เพราะแม้แต่พระเจ้า Georgeที่4  ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มบุรุษที่ใส่คอร์เซ็ทเช่นเดียวกัน

Dandy  ตัวพ่ออาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อแต่งตัวเต็มยศออกจากบ้าน

แท้จริงแล้ว dandyism ไม่ได้เป็นกระแสกว้างขวางในกลุ่มชนชั้นผู้ดีถึงขนาดที่บรรดาสุภาพบุรุษหันมาอวดโฉมด้วยสไตล์สุดเลิศเลอกันเป็นทิวแถว แต่เป็นกลุ่มคนจำนวนหยิบมือที่ได้สร้างความฮือฮา และถูกจับมาล้อเลียนเรื่องความหมกมุ่นเรื่องรูปลักษณ์ บรรดาบุรุษที่ใช้เวลาแต่งกายอย่างบรรจงเนิ่นนานหน้ากระจกอาจจะถูกค่อนขอดว่า  เป็นกิจกรรมที่'ออกสาว' มิใช่วิถีแห่งความมาดแมนที่ปลูกฝังมาหลายชั่วคน

Dandy ผู้ถูกยกให้เป็น  trendsetter


Beau Brummell หรือชื่อจริง George Bryan Brummell บุรุษที่เป็นที่รู้จักในหน้าประวัติศาlตร์ในฐานะเซเลบพลิกวงการ fashion ในยุค Regency ที่ (และเชื่อกันว่า เขาคือแรงบันดาลใจของทีม costume แห่ง Bridgerton) นับเป็น dandy ตัวพ่อที่หนุ่มสำอางรายอื่นแทบจะเทิดทูนราวกับเป็นผู้นำลัทธิซะด้วยซ้ำ เขาผู้นี้ไม่ได้เป็นผู้สืบทอดตระกูลขุนนางเด่นดังแต่ถูกจัดให้มีสถานะชนชั้นกลาง ถึงจะเป็นเช่นนั้น การเลี้ยงดูจากครอบครัวให้เขาเชื่อมั่นในความเป็นสุภาพบุรุษชั้นสูงทำให้แผ่ขยาย connection ในระหว่างการศึกษาที่ Eton และ Oxford และกลายมาเป็น trensetter คนสำคัญในประวัติศาสตร์ fashion อังกฤษ





Brummell ยึดมั่นในหลักการ less is more เพื่อนำเสนอรสนิยมที่ดูแพงสร้างความประทับใจให้กับแวดวงชั้นสูง แม้แต่เจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็ยังปลาบปลื้มเปิดใจต้อนรับเขาในฐานะสหายคนสนิท   เขาเมินหน้าหนีความฉูดฉาด แล้วโฟกัสที่การตัดเย็บอย่างประณีต สีเครื่องแต่งกายที่เคร่งขรึมสง่างาม  และ fitting สุดเป๊ะ   แม้แต่การผูก cravat ก็ต้องใส่ใจใช้วิธีผูกให้ดูดีราวกับไม่ได้พยายาม (แต่จริงๆแล้วผูกอยู่เป็นชั่วโมง)   แม้ว่าจะไม่เน้นความฉูดฉาดเหมือนกับพวก macaroni แต่ก็ล้ำระดับผู้มาก่อนกาลจนสุภาพบุรุษใน London มองด้วยสายตาที่ไม่เข้าใจ   เขาได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับห้องเสื้อในเมืองหลวง   ร้านตัดเย็บชื่อดังยังยื่นข้อเสนอให้เขาใส่เสื้อผ้าทางร้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการโฆษณาไม่ต่างจากการตลาดในปัจจุบัน  

หนุ่มสังคมผู้นี้ยังขึ้นชื่อลือชาเรื่องรักสะอาด เพราะไม่ว่าเสื้อผ้าจะดูสวยงามน่าดึงดูดใจเพียงใด แต่ถ้าพ่วงมาด้วยคราบไคลและกลิ่นไม่พึงประสงค์เป็นอันว่าจบกัน! ขั้นตอนความงามที่สำคัญคือการอาบน้ำร้อนทุกวัน ซึ่งในยุคสมัยนั้น ผู้คนยังว่าการล้างมือล้างหน้าและใต้วงแขนนั้นก็ถือเป็นการอาบน้ำแล้ว แต่เมื่อสร้างชื่อเสียงในฐานะ fashion icon ร่างกายที่สะอาดสะอ้านหอมกรุ่นของ Brummell ได้กลายมาเป็นต้นแบบที่ dandy คนอื่นๆเลียนแบบ ว่ากันว่า หลายครั้งหลายครา สุภาพบุรุษยุค Regency ได้มารุมล้อมเพื่อเฝ้ามองเขาอาบน้ำอย่างพิถีพิถัน รวมถึงขั้นตอนการดูแลตัวเองและการแต่งกายหน้ากระจกเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกวัน




มีผู้วิเคราะห์ว่า  เนื่องจาก Brummerll ไม่ได้มีพื้นเพแบบลูกท่านหลานเธอ  การประกาศความมั่งคั่งด้วยเพชรนิลจินดาหรือแพรพรรณสูงค่าที่นำเข้าจากต่างประเทศอาจจะไม่ใช่ option แรกในการถีบตัวเองเข้าสู่ตำแหน่ง influencer แห่งสังคมชั้นสูง   เขาจึงเพื่อยกระดับสถานะด้วยการใช้จุดแข็งจากความเป็น Le bon ton  คำพูดฝรั่งเศสที่หมายถึงสไตล์ที่ดูดี และยังมีอิทธิพลต่อการแต่งกายอย่างเป็นทางการของชายอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน   แต่การใช้ชีวิตที่รายล้อมไปด้วยมหาเศรษฐีกลับทำให้ชีวิตของเขาล่มจมด้วยหนี้สิน เพราะแม้ว่จะได้รับมรดกจนใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย แต่ก็สถานะความมั่งคั่งก็ยังห่างจากเพื่อนฝูงที่สามารถใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้ออย่างไร้จำกัด  หนำซ้ำยังสร้างข้อบาดหมางกับเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ    การรักษา lifestyle หรูระยับโดยไร้ผู้อุปถัมภ์ทำให้เขาใใช้วิธีจ่ายเงินเชื่อและกู้หนี้ยืมสินล้นพ้นตัว ลงท้ายต้องหนีเจ้าหนี้ไปยังฝรั่งเศส แต่ก็ยังไม่ทิ้งพฤติกรรมเบี้ยวหนี้จนต้องถูกจำคุก และใช้ชีวิตบั้นปลายชีวิตที่ขัดสน หมดลมหายใจไปโดยไร้สมบัติใดๆ  ฟังแล้วช่างแตกต่างจากความเป็น  fashion icon แห่งยุค

Modern Dandy
ในทุกวันนี้ ผู้ชายที่ทุ่มเทเพื่อรูปลักษณ์ที่ดึงดูดใจไม่ใช่เรื่องที่ขัดแย้งต่อความรู้สึกอีกต่อไป  เพราะพวกเราต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ว่าหญิงหนือชายก็มีสิทธิ์ไขว่คว้าหาความงามสมบูรณ์แบบ  สไตล์สุดเนี้ยบและความสะอาดที่ชวนพึงใจไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ที่สร้างความฮือฮาชั่วครั้งชั่วคราว   ที่สำคัญ หนุ่มสุดสำอางยังเป็น  type ที่ทำให้หลายคนหวั่นไหวซะด้วยสิ..


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE