เจาะตำนานแฟชั่น Godmother Of Punk: Vivienne Westwood
candy 34 9เพียงไม่กี่วันก่อนจะสิ้นสุดปี 2022 โลกแฟชั่นก็ต้องพบกับข่าวที่สร้างความอาลัยอีกครั้ง หลังจากที่ Vivienne Westwood ดีไซน์เนอร์ชื่อก้องโลกได้ลาจากโลกใบนี้ไปอย่างสงบในวัย 81 ปี
เมื่อถึงชื่อของเธอก็อาจจะทำให้ผู้คนระลึกถึงชื่อเสียงอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฉายาราชินีแห่งแฟชั่นบริทิช, เจ้าแม่แฟชั่นพังค์, ผมสีส้มที่เป็น signature, ชุดแต่งงานของ Carrie จาก Sex And The City, ดีไซน์เสื้อสโลแกนเจ็บๆ และอีกหลายผลงานสุดเริ่ดบนพรมแดงที่เหล่า A Listers ปลาบปลื้ม แน่นอนว่าการต่อสู้กับปัญหาปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยิ่งตอกย้ำตัวตนที่เป็นขบถสังคมของ Vivienne Westwood ให้ตราตรึงใจผู้คนยาวนานหลายทศวรรษ
ตัวแม่สุด Bad-Ass ตลอดกาล
"ฉันมีตัวตนแบบขบถสังคมไม่แปรเปลี่ยน พังค์เป็นการประท้วงรูปแบบหนึ่ง แฟชั่นคือการประกาศว่า เราจะไม่ยอมรับสิ่งที่คุณมองเป็นเรื่องต้องห้าม เราจะไม่ยอมรับการใช้ชีวิตแบบปากว่าตาขยิบของคุณ"
ในยุค 70s Vivienne ในวัยสาวใฝ่ฝันจะใช้แฟชั่นเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด แต่เธอเกลีบดชังความเป็นฮิปปี้ที่เป็นกระแสยอดนิยมในช่วงนั้น เธอและMalcolm McLaren ผู้ที่เป็นทั้งหุ้นส่วนและคู่รักตัดสินใจเปิดร้านเสื้อผ้า Let it Rock ในย่าน Chelsea เพื่อนำเสนอแฟชั่นจากยุค 50s ที่เหล่าหนุ่มสาวหันมาต่อต้านสังคมผ่านแฟชั่น จากนั้นก็รีแบรนด์ร้านและสไตล์มาเรื่อยๆ จนกระทั่ง Malcolm ได้ก้าวไปรับหน้าที่ผู้จัดการให้กับวงพังค์ Sex Pistols ทั้งสองได้ดึงดูดความสนใจจากสื่อด้วยแฟชั่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความคลั่งไคล้ทางเพศและสไตล์พังค์ในบูทีคที่เปลี่ยนชื่อมาเป็น SEX ในปี 1974
เสื้อยืดขาดรุ่ยที่เพนท์สโลแกน กางเกงลายตารางหมากรุกที่มีสายรัดเกี่ยวขากางเกง เสื้อถักนิตที่มีรู ฟังดูแล้วไม่ต่างจากตัวละครใน Nana มังงะยุค 2000s อันโด่งดัง แต่นั่นก็ไม่น่าประหลาดใจ เพราะมันคือผลงานที่ได้รับอิทธิพลมาจาก Vivienne Westwood และ Sex Pistols มาเต็มๆ
เสื้อยืดขาดรุ่ยที่เพนท์สโลแกน กางเกงลายตารางหมากรุกที่มีสายรัดเกี่ยวขากางเกง เสื้อถักนิตที่มีรู ฟังดูแล้วไม่ต่างจากตัวละครใน Nana มังงะยุค 2000s อันโด่งดัง แต่นั่นก็ไม่น่าประหลาดใจ เพราะมันคือผลงานที่ได้รับอิทธิพลมาจาก Vivienne Westwood และ Sex Pistols มาเต็มๆ
คำว่า'อื้อฉาว' และ 'ยั่วยุ'ให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้อยู่คู่กับผลงานของ Vivien เสมอมา แต่ดีไซน์ที่หลายคนมองว่าดูฉาวโฉ่นั้นมาพร้อมกับพลังขับเคลื่อนบางอย่าง ดัง The Tits T - shirts หรือเสื้อลายนมที่สมาชิกวง Sex Pistols และ Siouxsie Sioux เคยใส่ ท้าทายแนวคิดของการปกปิดเรือนร่างของเพศหญิง และโชว์ความย้อนแย้งของแฟชั่นที่แม้จะใส่เสื้อผ้าแต่ก็ยังรู้สึกเปลือยเปล่า มันกลายมาเป็นไอเท็มที่ทั้งผู้หญิงผู้ชายกลุ่มหนึ่งชื่นชอบ และถือเป็นการถ่ายทอดอัตลักษณ์แบบ gender fluid (ในปัจจุบัน เสื้อผ้าพิมพ์ลายรูปร่างเปลือยกลับมาได้รับความนิยมสุดๆ)
โลกแฟชั่นหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่หยุดยั้ง Vivienne ไม่ได้มุ่งมั่นกับการสร้างสรรค์เสื้อผ้าสไตล์พังค์เพียงเท่านั้น ได้ก้าวสู่ era ใหม่ที่เธอได้เดบิวท์ผลงานใน fashion week เป็นครั้งแรกในต้นยุค 80s และได้ขนานนามไว้ว่า New Romantic และจากปลาย 80s ไปจนถึงค้น 90s ก็พลิกแนวมาเป็นสไตล์สุดดิบ Pagan Years เธอกันมาล้อเลียนการแต่งกายของชนชั้นสูง หนึ่งในผลงานเด่นคือ mini-crini ที่ได้แรงบันดาลใจจากกระโปรงสุ่มของสตรีในศตวรรษที่ 19 มาออกแบบเป็นชุดสั้นระดับ mini ซึ่งพิสูจน์ถึงการปลดแอกตัวตนของผู้หญิงในอดีตที่ต้องแบกรับความอึดอัดเพื่อแฟชั่นอันสวยหรูตามจารีตค่านิยมดั้งเดิม
ชื่อเสียงในวงการแฟชั่นทำให้แบรนด์ Vivienne Westwood เป็นเครื่องมือการันตีความโดดเด่นบนพรมแดง ท่ามกลางการแข่งขันสูงลิบลิ่วของห้องเสื้อที่มีชื่อเสียงเก่าแก่จากยุโรป ชุดราตรีที่แสนเลิศหรูผลงานการออกแบบของเธอได้รับการยกย่องให้เป็นชุดที่สวยที่สุดในอีเวนท์อย่างสม่ำเสมอ
ความเผ็ดแซ่บที่ไม่มีกาลเวลามาเป็นอุปสรรค
บางคนยืนยันว่า ผ่านไปนานเท่าไร เราก็จะได้เห็น Vivienne Westwood โชว์เรียวขาและใส่ชุดสวยล้ำ แต่ภาพที่ยังประทับในความทรงจำของผู้คนมากมายย่อมหนีไม่พ้น ลุคในวันเข้ารับพระราชทานเครื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด้จพระราชินี Elizabeth ในปี 1992 แม้ว่าเธอจะใส่ชุดที่ดูเรียบร้อยตรงกับ dresscode แต่เมื่อต้องโพสต่อหน้าช่างภาพก็สะบัดกระโปรงเผยให้เห็นภายในที่มีแต่ถุงน่องเต็มตัวโปร่งบางเพียงอย่างเดียว กลายมาเป็นตำนานเข้าเฝ้าประมุขราชวงศ์แบบไร้กางเกงชั้นใน แต่แม้ว่าภาพนั้นจะสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางถึงความไม่เหมาะสม ในปี 2006 สำนักพระราชวังก็เรียกตัวเธอกลับมาเพื่อรับพระราชทาน DBE เลื่อนยศเป็นคุณหญิง
"ฉันได้พบกับชายผู้หนึ่งที่ทำงานเพื่อสมเด็จพระราชินี และเขาบอกว่าท่านออกจะขำกับเรื่องนี้อยู่นะ"
เมื่อถูกถามว่า ไม่ใส่ชุดชั้นในมาเข้ารับพระราชทานเครื่องราชฯ ทั้งสองครั้งหรือไม่? เธอก็ยอมรับว่า ติดนิสัยไปแล้ว
"อย่าถามเรื่องนี้อีกเลย ฉันยังยืนยันคำตอบเดิม ฉันไม่ใส่กางเกงชั้นในกับเดรส แต่ถ้าเป็นกางเกงก็อาจจะใส่ บ็อกเซอร์ผ้าไหมของสามีฉันน่ะ"
ในขณะหลายฝ่ายมองว่า นี่คือการแสดงออกถึงจิตวิญญาณของผู้ต่อต้านระบบ แต่อาจจะเป็นไปได้ว่า เธอแค่ไม่อยากฝืนตัวตนเท่านั้น
ผ่านไปหลายสิบปี Vivienne ก็ยังแสดงท่าทางซุกซน สามีขอเธอมักจะแชร์ภาพภรรยาผู้โด่งดัง mix and match เสื้อผ้าจนสวยปิ๊ง ไม่ว่าจะเป็นวันอยู่บ้านสบายๆ หรือตอนแต่งจัดเต็มเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง climate change ไม่ว่าจะเป็น little black dress, hot pants, mini skirt, bodycon และยังใส่เสื้อยืดพิมพ์ลายหน้าอกเปลือยไม่ต่างจาก punk star ยุค 70s และสัมผัสได้ชัดเจนว่า ความสนุกสนานใน fashion ไม่เคยเสื่อมหายไป
บทบาทนักเคลื่อนไหวเพื่อโลก
การเรียกร้องให้ผู้คนมีจิตสำนึกต่อสถานการณ์ climate change ด้วยการโกนศีรษะนั้นอาจจะทำให้หลายคนคิดว่า เธอมุ่งมั่นเพื่อแสดงอุดมการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วเธอได้ร่วมหลายแคมเปญเพื่อสังคม เช่นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การต่อต้านสงคราม ต่อต้านการใช้อำนาจคอร์รัปชัน
จากยุค 70s ที่เคยขายเสื้อยืดสโลแกนที่มีคำว่า Destroy เมื่อเข้าสู่วัยอาวุโสเธอได้ใส่เสื้ออพรินท์สโลแกนเพื่อโพรโมทเรื่อง climate change ให้เห็นจนชินตา หรือแม้กระทั่งสโลแกนที่แนะนำผู้คนให้ซื้อเสื้อผ้าน้อยลง และโฟกัสเรื่องการเลือกสรรวัสดุนำมาใช้ได้ยาวนานเพื่อความยั่งยืนจากสโลแกน Buy Less Choose Well Make It Last
แต่การนโยบาย green movement ของ Vivienne ก็เคยถูกตั้งข้อกังขาจากสินค้าของแบรนด์ที่ผลิตในจีนและใช้วัสดุต่างๆที่ผลิตจากสารเคมี จนสื่อบางเจ้าตั้งข้อกล่าวหาว่า เธอใช้เรื่องรักษ์โลกมาเป็นเครื่องมือทางการตลาด สายตาที่จ้องจับผิดนั้นไม่ได้ทำให้เธอหยุดยั้งการเคลื่อนไหว ทั้งเข้าร่วมกับองค์กรการกุศลหลายแห่งและประกาศอุดมการณ์ผ่านผลงานดีไซน์บนรันเวย์จนถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของแบรนด์
ก่อนที่เธอจะจากโลกนี้ไป เธอได้ฝากคำสั่งเสียไว้ว่า "ทุนนิยมคืออาชญากรรม มันคือรากเหง้าของปัญหาสงคราม ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและคอร์รัปชั่น
ทีมงายของ Vivienne ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เธอยังทำสิ่งต่างๆที่มีใจรักจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งการออกแบบ งานศิลปะ เขียนหนังสือ และพยายามเปลี่ยนโลกนี้ให้ดีกว่าเดิม
"ฉันไม่ใส่ใจว่าจะถูกยกย่องเป็น icon หรือไม่ ถ้าฉันตายไปสักสิบปีก็คงไม่มีใครจำฉันได้แล้ว มันก็ไม่เห็นจะเป็นไรไป ฉันไม่แคร์ ที่จริงก็หวังไว้บ้างว่าธุรกิจนี้ยังจะดำเนินไปได้ แต่มันน่าคงไปได้ดีเพราะ Andreas (สามีคนที่ 3 ที่ใช้ชีวิตคู่และร่วมงานสร้างสรรค์แฟชั่นมาถึง 30ปีจนกระทั่งความตายทำให้พรากจากกัน) จะยังจดจำฉันได้เสมอและมั่นใจได้ถึงวิธีการทำงานร่วมกันแบบฉบับ Vivienne และ Andreas แต่ฉันไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น ฉันแค่อยากจะช่วยเหลือโลกของเราและใช้ชีวิตเต็มที่"