เพราะอะไรเราจึงควรสนับสนุนคำพูดต่อต้าน ageism บนเวที Oscar ของ Michelle Yeoh

36 8

การประกาศรางวัล Oscar ครั้งล่าสุดนับเป็นอีเวนท์ที่พร่างพรูไปด้วยภาพความซาบซึ้งตรึงตราใจ เพราะรางวัลอันทรงเกียรตินี้ไม่ได้มีความหมายต่อคนจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนอีกมากมาย แน่นอนว่า ชัยชนะของ Michelle Yeoh นางเอกชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจุดประกายความหวังให้กับ Asian community จากบทบาทสายลับสาวสุดแกร่งแห่ง Tomorrow Never Die เธอได้ฝ่าฟันกำแพง typecast ในวงการ Hollywood เมื่อนักแสดง Asian จะได้รับบทบาทเดิมๆจนยากจะไขว่คว้าโอกาสเพื่อหลายเป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงรางวัลการแสดงชั้นนำ ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จจนก้าวสู่รางวัล Oscar ในวัย 60 ปี

Michelle ได้ส่งสารเพื่อ empower ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะชาวเอเชียนที่เคยถูกมองว่าเป็นม้านอกสายตาในการประชันขันแข่งเพื่อสร้างความโด่งดังใน Hollywood และส่งกำลังใจไปถึงผู้หญิงว่า

"อย่ายอมให้ใครมาพูดตอกหน้าเราได้ว่า เราได้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ไปแล้ว  ขอให้อย่ายอมแพ้"




แต่แม้ว่าเธอจะได้รับแรงสนับสนุนอย่างท้วมท้นจากสื่อในประเทศแถบ Asia แต่ดูเหมือนว่า จะไม่ใช่การแสดงออกอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยเฉพาะสังคมที่มองว่าการแสดงออกเพื่อสนับสนุนสิทธิสตรีเป็นเรื่องเปราะบางหรือเข้าขั้นต้องห้าม เนื่องจากมันอาจจะไปยั่วยุให้คนกลุ่มหนึ่งไม่พอใจ ดังกรณี SBS สื่อยักษ์ใหญ่แห่งเกาหลีได้ตัดคำว่า Ladies ใน Oscar speech ของ Michelle ออก จนสร้างเสียงโจษจันว่า นี่คือ censorship ที่ไม่สมควรเกิดขึ้นในโลกเสรี เพราะเธอไม่ได้ด่ากราดผู้ชายแบบเจ็บแสบแต่เลือกใช้คำพูดปลุกใจให้ผู้หญิงไม่ยอมแพ้ต่ออคติที่คอยถูกกีดกันเมื่อมีอายุมากขึ้น

SBS พยายามชี้แจงว่า จุดประสงค์ของการนำเสนอข่าวนี้คือ นางเอกขาวเอเชียนที่ก้าวข้ามกำแพงกีดกันทางเชื้อชาติจนสามารถประสบความสำเร็จ ที่ไม่ได้มีความตั้งใจไม่ดี แต่คำว่า Ladies นั้นมีนัยยะแฝงบางอย่างคำกล่าว อย่าได้ปล่อยให้ใครบอกเราว่าได้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ไปแล้วไม่จำเป็นเจาะจงเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น จึงต้องแก้ไขคำบรรยาย

ชาวเน็ทหลายคนรับรู้เรื่องนี้พร้อมกับเครื่องหมายคำถาม จู่ๆจะมาเปลี่ยนคำพูดของผู้ชนะกันเฉยๆ?? ในเมื่อเธอเจาะจงถึงเพศหญิงอย่างตรงไปตรงมา คำว่า Ladies จะมีนัยยะอย่างไร??? นางเอกวัยหกสิบที่ก้าวสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิตได้ส่งสารถึงเพื่อนหญิงคนอื่นๆทั่วโลกไม่ให้ยอมแพ้ต่อวัยที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีความชัดเจนตรงตัว ชาวเน็ทจึงทักท้วงว่า สมควรแล้วหรือที่จะ censor กันเพียงเพราะเธอไม่ได้ empower ผู้ฟังเพศชาย ageism ในวงการ Hollywood หรือไม่ว่าจะเป็นที่ใด ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และผู้หญิงมักจะต้องรับมือกับความกดดันเมื่อผ่านพ้นวัยสาว Michelle คือบุคคลต่นแบบที่เผชิญกับอุปสรรคนี้มานักต่อนัก และได้พิสูจน์ให้ประจักษ์กันแล้วว่า เธอสามารถเจิดจ้าได้มากเพียงใด




 


การกระทำของ SBS ไม่น่าจะเป็นเรื่องเหนือความคาดหมายในเกาหลีใต้ สังคมที่ยังมีผู้คนยึดมั่นแนวคิดอนุรักษ์นิยมและต่อต้านการ[mสนับสนุนสิทธิสตรี ทั้งๆที่หนังสือ Kim Ji Young, Born 1982 บทประพันธ์ที่ถ่ายทอดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในเกาหลีใต้จะมียอดขายเป็นล้าน แต่เมื่อเซเลบหญิงเปิดเผยว่าอ่านหนังสือเล่มนี้ กลับถูกประนามว่าเป็นพวกเกลียดผู้ชาย และถูกชาวเน็ทคุกคาม ไม่ต่างจากไอดอลที่ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่มีสโลแกนเชิดชูพลังหญิง ยากนักที่จะได้เห็น public figure ออกมา call out เรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ พวกเราคงไม่ลืมสิ่งเลวร้ายที่เกิดกับ Sulli ไอดอลที่ตกเป็นเป้าโจมตีว่ามีพฤติกรรมแหกคอกและเป็นเฟมินิสต์หัวรุนแรงเพราะเธอเรียกร้องความเท่าเทียม censorship จาก SBS ได้ตอกย้ำถึงการเกลียดกลัวเฟมินิสต์ที่ฝังรากลึกในสังคม ในขณะที่ฝั่ง Hollywood ความเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติแนวคิดดั้งเดิมเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำเริ่มแสดงประสิทธิผล ดังเรื่อง pay gap (นักแสดงหญิงได้รับค่าตัวน้อยกว่า แม้จะรับบทโดดเดนไม่แพ้กัน) และ casting บทที่หลากหลาย รวมถึงศิลปินนักแสดงที่สามารถแสดงออกเพื่อ call out ความไม่เป็นธรรมได้โดยที่ไม่ถูกปิดกั้น หรือเกิดวิกฤติความนิยมเสื่อมถอย









ไม่เพียงแต่คนดังเท่านั้นที่ต้องสงวนท่าทีต่อการแสดงความเห็นเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คิม จินซุก จากแผนกสื่อและภาพยนตร์แห่งมหาวิทยาลัย Emory ระบุว่า ผู้หญิงเกาหลีจำนวนมากไม่สามารถพูดเรื่องนี้ได้ในที่สาธารณะ แม้กระทั่งเพื่อนฝูงที่สนิทกันก็ยังไม่กล้าหยิบยกมาพูดคุย เพราะเพียงเห็นหน้าก็ไม่รู้ใจว่า จะต่อต้านเรื่องสิทธิความเท่าเทียมหรือไม่ หากเปิดประเด็นขึ้นมา อาจจะถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นนักสิทธิสตรีหัวรุนแรง ซึ่งชาวเกาหลีหลายคนถือว่าเป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่น่ารังเกียจ ฉกฉวยโอกาสในการหางาน เห็นแก่ได้ ไม่สมควรมีที่ยืนในสังคม บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่า speech ของ Michelle จึงอาจถูกตีความไปว่า เธอกำลังโน้มน้าวใจให้ผู้หญิงหันมาต่อต้านผู้ชาย คำว่า ladies จนอาจจะยั่วโมโหให้กลุ่มแอนตี้เฟมินิสต์ SBS จึง edit คำพูดเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลมไม่ให้เกิดดราม่าความขัดแย้ง แต่ก็มีผู้ที่เชื่อว่า นี่คือการแสดงท่าทีแอนตี้เฟมินิสต์อย่างแจ่มแจ้งของสื่อดังสัญชาติเกาหลี


จริงหรือที่ prime จะจบสิ้นลงเมื่อเราเริ่มสูงวัย?

 

มีความเชื่อว่า prime หรือช่วงเวลาอันสุดยอดของคนเรานั้นจะเกิดขึ้นในช่วงวัยหนุ่มสาว เมื่อยังมีกำลังวังชา รูปลักษณ์ที่ดึงดูดใจ เต็มไปด้วย passion ความฝัน และพลังสร้างเพื่อผลงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด คนจำนวนไม่น้อยจึงมองผู้ที่อยู่ในวัยอาวุโสว่าได้ผ่าน prime ไปแล้ว ดังกรณีของ Don Lemon ผู้สื่อข่าว CNN ที่วิจารณ์ Nikki Haley ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีผู้นำเสนอให้มีนักการเมืองวัยเกิน 75 ปีรับการประเมินศักยภาพความคิดสติปัญญาว่า สำหรับนักการเมืองหญิงวัย 51 ปีอย่างเธอ ก็ไม่ถือว่าอยู่ในช่วง prime แต่อย่างใด เพราะสำหรับผู้หญิง จะมีช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ได้ก็อยู่ระหว่างวัย 20-40 ปีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนักเมื่อผู้สื่อช่าวหนุ่มคนนี้จะถูกโจมตีอย่างหนักว่าใช้คำพูดเหยียดเพศหญิงจนเขาต้องออกมาขอโทษขอโพย ดังที่ได้เห็นกันมาช้านานว่ามีนักการเมืองชายอายุ 50 เดินชนเกลื่อนสภา แต่ไม่ถูกเหน็บแนมว่าสูงวัยเกินกว่าจะเข้าถึงช่วงเวลาอันสุดยอดแห่งชีวิต การเหมารวมว่าผู้หญิงจะหมดไฟพ้น prime หลังจากอายุ 40 ก็ฟังดูล้าสมัย เพราะมีตัวอย่างให้เห็นมานักต่อนักแล้วว่า แม้จะขึ้นหลัก 4-5-6 ก็ ผู้หญิงยังมีพลังสดใสซาบซ่า ไม่ได้ก้มหน้าก้มตาห่อเหี่ยวไปกับสังขารที่เปลี่ยนไปตามวันเวลา

ชาวเน็ทบางคนสันนิษฐานว่า คำพูดของ Michelle บนเวที Oscar นั้นคือการโต้ตอบคอมเมนท์ของ Don Lemon แต่หลายคนกลับเชื่อว่า ในวินาทีอันสำคัญของชีวิต เธอคงไม่ได้ใส่ใจกับคำพูดของผู้สื่อข่าว CNN แต่น่าจะสะท้อนถึงประสบการณ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหา ageism ใน Hollywood ต่างหาก





ปัญหา ageism ใน Hollywood


ปัญหา ageism ใน Hollywood ถูกตีแผ่มาตลอดระยะเวลาหลายปีและเริ่มเกิดความเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง แม้แต่นักแสดงชายชื่อดังก็ได้ยอมรับถึง bias ที่สร้างความแตกต่างเมื่อพวกเค้าเริ่มแก่ตัวลง ในขณะที่นักแสดงหญิงต้องถูกปิดกั้นจากบทหนังดีๆเพราะรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย โอกาสสร้างชื่อจากบทบาท action สุดมัน หรือหนังรักชวนฟินจิกหมอนก็เริ่มริบหรี่ลงไป

นี่เป็นเพียงการบอกเล่าประสบการณ์ของนางเอกชั้นนำเพียงไม่กี่คน พวกเธอต้องเจอกับอะไรเมื่อมีอายุมากขึ้น

Charlize Theron ได้รับการทาบทามให้รับบทแม่ของ Gal Gadotทั้งๆที่เธอมีอายุแค่สี่สิบเศษๆ และแก่กว่า Gal แค่9 ปี เธอได้ชี้ว่า ภาพยนตร์ก็เหมือนกับกระจกสะท้อนสภาวะของสังคม ความไม่เท่าเทียมทางเพศใน Hollywoodมีอยู่จริง แต่มันก็ยังไม่หนักหนาสาหัสใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมภายนอกได้เลย


Anne Hathaway ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องรูปลักษณ์ที่อ่อนเยาว์ยอมรับว่า เมื่ออายุเลยสามสิบไปแล้ว ก็เริ่มพ่ายแพ้ในการประชันขันแข่ง casting บทหนังให้กับนางเอกสาววัยยี่สิบ แต่เธอไม่กล้าบ่น เพราะในอดีตเคยเป็นสาวยี่สิบที่คว้าบทที่เขียนไว้สำหรับหญิงที่อายุมากกว่ามาแล้ว

Maggie Gyllenhaal เผยว่า โพรดิวเซอร์ปฏิเสธให้เธอรับบทหนังเพราะเธออายุมากเกินไปที่แสดงเป็นคนรักของบทพระเอกที่มีวัย 55 ทั้งๆที่ตอนนั้นเธออายุแค่ 37ปี

Liv Taylor บรรยายว่า ตัวเธอในวัย 38 มีโอกาสในวงการ Hollywood ราวกับพลเมืองชั้นสอง แต่เมื่อเข้าใกล้วัยสี่สิบก็ถูกจำกัดลงให้เป็นบทภรรยาแบบเดิมๆ ทั้งเมื่อยังสาวสดนั้นมีงานที่ท้าทายน่าสนใจเข้ามาเยอะแยะ

Amilia Clarke วัย 36 ถูกผู้ชาย tweet เหน็บแหนมภาพของเธอที่ปรากฏริ้วรอยตามวัยว่าสภาพแก่ราวกับไปเจออุบัติเหตุขี่มังกรโหม่งโลกมา โพสต์ของผู้ชายคนนั้นของเธอดึงดูดให้มีคนเข้าไปชมเกือบ 33 ล้านครั้ง และคอมเมนท์บน Twitter เต็มไปด้วยผู้ที่เข้ามาปกป้องเธอและบริภาษพฤติกรรมของชายคนนั้น และตามไปให้กำลังใจเธอที่ Instagram อีกมากมาย แต่นั่นไม่ได้เป็นความเห็น bully เธอเพียงแค่อันเดียว มีทั้งคนแนะนำเธอให้ไปฉีด filler และจิกกัด line ผมที่บางต่างจากลุคแม่มังกร มันก็ได้จุดเด็นข้อถกเถียงถึงสิ่งที่ตามมาเมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้นแล้วมีเส้นริ้วรอยตีนกาตามธรรมชาติ แต่ในทางกลับกัน นักแสดงชายชื่อดังหลายคนมีทั้งเส้นลึกบนใบหน้าและผมหงอกก็ยังได้รับเสียงชื่นชมว่าหล่อสมาร์ทน่ามอง






หากมีเสียงทักท้วงว่า ageism ได้ส่งผลกระทบต่อทุกเพศ มิใช่ผู้หญิงเท่านั้น แต่ยากที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน Hollywood กระทั่งมีผู้วิจัยชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม Geena Davis นางเอกผู้ก่อตั้ง Geena Davis Institute on Gender in Media ได้เปิดเผยการสำรวจว่า ในปึ 2019 ไม่มีหนังชั้นนำเรื่องใดเลยที่เลือกนางเอกวัยเกินห้าสิบปีมารับบทนำ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ Holllywood เท่านั้นแต่ยังรวมถึงประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี และนักแสดงหญิงอาวุโสมักได้รับเลือกให้แสดงบทบาทที่ถูก stereotype นั่นคือ หญิงวัยกลางคนที่หัวดื้อ มีรูปลักษณ์ไม่น่ามอง เจ้าอารมณ์ และตกยุคสมัย

เรื่องนี้สอดคล้องกับเสียงโอดครวญจาก Dakota Johnson ที่ได้เห็นทั้งแม่และยายที่เคยเป็นนางเอกโด่งดังในอดีตแต่ต้องพบกับความโหดร้ายของวงการบันเทิง เมื่อไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไปแม้ว่าจะเก่งกาจทางการแสดง และทำให้เธอวิตกกังวลว่า สักวันเมื่อแก่ตัวลงก็จะต้องประสบชะตากรรมเดียวกัน

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ Cameron Diaz ที่ถูกยกให้เป็นสาวแซ่บตัว top แห่งยุค 2000s ที่คว้าบทหนัง comedy โกยรายได้ติดต่อกันหลายเรื่องจนติดอันดับนางเอกค่าตัวสูงที่สุด แต่เมื่อเธออายุสี่สิบ แม้จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากวัยด้วยความคิดในแง่บวก แต่ก็ต้องยอมรับกับตัวเองแบบเจ็บปวดลึกๆว่า มันได้ส่งผลกระทบอาชีพนักแสดง เมื่อเธอไม่ใช่สาววัย 25อีกต่อไป ก็ถูกลดทอนคุณค่าลง หลังจากนั้นเธอออกจากวงการใช้ชีวิตกับสามีอย่างเงียบๆถึงแปดปี และสร้างเซอร์ไพรส์ดจากการประกาศหวนคืนสู่ Hollywood ในวัย 50












ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา Women in Television and Film แห่งมหาวิทยาลัย San Diego State ลงความเห็นว่า ถึงแม้ปัจจุบันจะได้เห็นนางเอกรุ่นใหญ่โชว์ฝีไม้ลายมือในหนังมากขึ้น แต่หากไม่ใช่นางเอกทรงอิทธิพลเทียบชั้น Meryl Streep หรือ Frances McDormand ก็เป็นไปได้ว่า เมื่ออายุมากขึ้นงานแสดงหนังจะลดน้อยถอยลง จากการวิเคราะห์ 1700 ตัวละครจากหนังทำเงินร้อยอันดับในปี 2020 พบว่าจำนวนนางเอกในช่วงวัย 30 จะอยู่ที่ 29% แต่เมื่อจะมีนางเอกวัย 40 ตกลงไปที่ 16% เมื่อเปรียบเทียบกับบทพระเอกวัย 30 ที่วัดได้ที่ 31% และวัย 40 ที่ลดลงไปไม่มากนักคือ 28%

กล่าวคือ เมื่อนางเอกล่วงเลยสู่วัยกลางคน ก็เข้าถึงโอกาสที่จะได้คว้าบทเด่นที่ท้าทายความสามารถเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จได้ยากเย็นขึ้น ในขณะที่พระเอกหนุ่มใหญ่หลายคนยังเนื้อหอม แม้จะไม่ใช่นักแสดงที่มีรางวัลใหญ่การันตีฝีมือ แต่นักสร้างหนังพร้อมทุ่มทุนเพื่อข้อเสนอให้รับบทหลากหลายท้าทายความสามารถ พระเอกวัยหลักสี่ปลายๆหลายคนรับบทนำในหนัง superhero ฟอร์มยักษ์เป็นเรื่องปกติ หรือจะเป็นหนัง action บางคน feedback ดีจัด อายุ 70 แล้วก็ยังบู๊ดุเดือดเลือดพล่าน เมื่อฉีกมาแสดงหนัง romance ที่นำเสนอความสัมพันธ์กับผู้หญิงรุ่นราวคราวลูกก็เป็นเรื่องที่เห็นจนชินตามาตั้งแต่ Hollywood ยุคทอง


จะดีต่อใจแค่ไหนหากสังคมเปิดใจต่อผู้หญิงรุ่นใหญ่ให้แสดงศักยภาพโดยปัดความคิดอคติออกไป เราอาจจะได้ชมฉากหนังที่เชิดชูเสน่ห์ดึงดูดใจของสาวงามรุ่นใหญ่กันมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องมาคอยจับผิดเรื่องรอยตีนหาและความเหี่ยวย่น หรือได้เห็นนางเอกในวัยใกล้เคียงกับ Mihelle Yeoh วาดลวดลายบู๊ดุเด็ดเผ็ดมันเหมือนเหมือน Keanu Reeves และ Liam Neeson หรือแสดงหนัง romance หวานซึ้งชวนอินแบบไม่ต้องกดดันกับข้อครหาว่าดูแก่เกินไปสำหรับพระเอก

แล้ว Michelle Yeoh ล่ะ? เธออายุมากกว่านางเอกที่ยกตัวอย่างในในเบื้องต้น ไม่น่าแปลกใจเมื่อเธอต้องรับมือเรื่องเหล่านี้เช่นเดียวกัน

"Everything Everywhere All At Once ได้สร้างประสบการณ์ที่ได้เติมเต็มความปรารถนา ฉันเฝ้ารอมาเนิ่นนานเพื่อจะได้รับบทเช่นนี้    นั่นเป็นเพราะว่า เมื่ออายุมากขึ้น เราก็เริ่มถูกตีกรอบโอกาสจนเล็กลงไปเรื่อยๆ  โดยเฉพาะนักแสดงหญิงเชื้อสายเอเชียน   เพียงแค่เริ่มต้นมันก็ยากเย็นแล้ว     พูดจริงๆ  ฉันมองนางเอกที่อ่อนวัยกว่าด้วยความอิจฉา  เพระาพวกเธอคว้าโอกาสที่จะเข้าถึงบทที่แตกต่างกันไป    แต่สำหรับเรา จะมีสักโอกาสหนึ่งก็เพียงนานทีปีหน   Crouching Tiger นั้นสร้างมาแล้ว 22 ปีนะคะ   พอมาถึง  Crazy Rich Asians  ฉันก็ต้องรับแม่ผู้ร้ายกาจ แล้วก็มารับบทป้า  แล้วพวกเค้าก็ส่งบทมา ร้องขอฉันว่า..."

"ช่วยแสดงเป็นคุณยายด้วยเถอะ"


"ฉันก็ได้แต่คิดว่า อย่าจับฉันไปใส่ในกรอบแบบนั้นเลย"


หลังจากสร้างชื่อเสียงในยุค 90s จากบท Bond girl Michelle ก็ได้รับการทาบทามให้กลับมาแสดงหนัง Hollywood ในขณะกระแสตอบรับกำลังร้อนฉ่า แต่เธอกลับเลือกพักงานเกือบสองปีเพราะไม่สามารถทำใจยอมรับบทที่ถูก stereotype จากภาพลักษณ์สาวเอเชียนในสายตานักสร้างหนังอเมริกัน หลายปีผ่านพ้นไป แม้เธอจะถูกยกเป็นนักแสดงเชื้อสายเอเชียนที่ประสบความสำเร็จโดดเด่นใน Hollywood แต่ก่อนหน้านี้ หลายคนมักจดจำเธอในภาพของนางเอกหนังกำลังภายในที่ไปได้ไกลเพียงบทนักแสดงสมทบในหนังดัง ก่อนที่ Everything Everywhere All at Once จะประสบความสำเร็จ จะมีใครบ้างที่จินตนาการว่าเธอจะเบียดนางเอกตัวเต็ง Cate Blanchett กวาดรางใหญ่ยิ่งใหญ่กลุ่ม Big 3 ทั้ง Golden Globe, SAG และ Oscar

แม้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผู้ลงคะแนนโหวตเพื่อคัดเลือกผู้เข้าชิงรางวัล Oscar และรางวัลชั้นนำอื่นๆจะสนับสนุนนางเอกรุ่นใหญ่จนคว้ารางวัลทรงเกียรติไปได้หลายคน โดยเฉพาะผู้สั่งสมประสบการณ์โชกโชนจากการแสดงหนังดราม่าทรงพลัง แต่จะมีอีกสักกี่ครั้งที่เราจะได้เห็นนักแสดงที่ผู้คนติดภาพจากหนังจีนกำลังภายในที่สามารถก้าวมาอยู่ในจุดเดียวกับ Michelle




Michelle ในวัย 60 เปล่งประกายจนรู็สึกภาคภูมิใจไปด้วย เธอเป็น woman of colour คนที่สองที่เอาชนะรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมแห่ง Oscar (หลังจาก Halle Berry ทำได้เมื่อปี 2002) เมื่อเธอประกาศให้ผู้หญิงคนอื่นๆอย่ายอมแพ้ อย่าปล่อยให้ใครพูดได้ว่าล่วงเลยวันคืนแห่งความรุ่งโรจน์ไปแล้ว มันจึงไม่ควรถูกจัดเป็นคำพูดต้องห้ามแต่อย่างใด

สำหรับเรา speech ของ Michelle ไม่ใช่การเกรี้ยวกราดใส่เพศชายเพื่อประชันขันแข่งว่าใครกันแน่ที่มีดีกว่า  หรือจงใจปลุกปั่นยั่วยุให้คนบางกลุ่มต่อต้าน แต่มันเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และปลุกกำลังใจให้ผู้หญิงพัฒนาตัวเอง ไม่ปล่อยให้ใครพูดได้ว่า คุณค่าของเราจะเสื่อมหายไปตามวัย  เธอนี่แหละคือผู้หญิงต้นแบบในการฝ่าฟันกำแพงอุปสรรค ageism เพื่อพยายามสร้างฝันให้เป็นจริง  


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE