ส่องนโยบายชุดนักเรียนหลายประเทศผ่านเชื้อพระวงศ์วัยเยาว์
candy 28 15จากกระแสความขัดแย้งอันเกิดมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างเรื่องชุดนักเรียนที่เหมาะสมซึ่งสร้างเสียงวิจารณ์อื้ออึงมาหลายวัน
ลองตามพวกเรามาชมชุดนักเรียนทั้ง casual wear และ uiform จากเชื้อพระวงศ์วัยเรียนในต่างแดน เริ่มอยากรู้แล้วล่ะว่า ผู้ที่ถูกมองในภาพลักษณ์อภิสิทธิ์ชนในสังคมกลุ่มนี้จะเลือกเศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนที่มีนโยบายเรื่องชุดนักเรียนรูปแบบใด
เจ้าหญิงรัชทายาทแห่ง Belgium
เข้าโรงเรียนที่มีกฎให้นักเรียนเลือกแต่ง casual และเจอกับเครื่องแบบในระดับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
ด้วยสถานะเจ้าหญิงรัชทายาทผู้ถูกวางตัวให้เป็นผู้ที่จะเข้ามาครองบัลลังก์ราชวงศ์ Belgium คนแรกในประวัติศาสตร์ แน่นอนว่า profile การศึกษาของเจ้าหญิง Elisabeth จึงดูน่าสนใจ จากโรงเรียน Roman Catholic ที่มีก่อตั้งมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ฟังดูแล้วอาจชวนให้คิดว่า โรงเรียนเก่าแก่ถึงขนาดนี้ น่าจะกำหนดกฎระเบียบเครื่องแบบเคร่งครัด แต่จากภาพวันเปิดเรียน (ที่่เป็นธรรมเนียมของราชวงศ์ยุโรปหลายประเทศที่ทั้งกษัตริย์และราชินีจะทำหน้าที่มาส่งทายาทด้วยตัวเอง) ทั้งเจ้าหญิง Elisabeth และน้องๆต่างก็แต่งตัวตามสบาย
ด้วยเสื้อผ้าโมเดิร์นสมวัย ไม่ว่าเป็นกางเกง skinny หรือ sneakers ที่ไม่ได้หรูหรา ทำให้เจ้าหญิงเจ้าชายดูกลมกลืนไปกับนักเรียนคนอื่น เมื่อบินไปศึกษาต่อที่ต่างปประเทศ ก็ใช้เพียงชื่อย่อ ไม่ได้ใส่บรรดาศักดิ์ต่างๆมาด้วย ภาพเจ้าหญิงรัชทายาทในโลกแห่งความจริงนั้นไม่ได้หรูหราตลอดเวลาเหมือนกับนิยาย ในรั้วโรงเรียน เธอก็เหมือนกับเด็กสาวทั่วไป
เมื่อเจ้าหญิงได้ศึกษษต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่ Lincoln College สถาบันอันเป็นส่วนหนึ่งของ University of Oxford ก็ได้มาพบกับ uniform ซึ่งสถาบันได้กำหนดให้นักศึกษาต้องใส่ชุดที่เรียกว่า sub fusc กันเต็มยศในงานที่เป็นทางการ รวมถึงการเข้าสอบ หากเป็นช่วงเวลาการศึกษาหาความรู้ แน่นอนว่า ชุด casual ที่ดูสุภาพใส่สบายตัวก็เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษา ไม่ได้จัดเต็ม sub fusc กันทุกวัน
เจ้าหญิงรัชทายาทแห่ง Spain
ใส่ uniform มาตั้งแต่ยังตัวจิ๋วๆ ในโรงเรียนเอกชน แล้วเปลี่ยนไปแต่ง casual ตอนเรียนต่างประเทศ
ดูเหมือนว่าราชวงศ์ Spain จะยึดมั่นกับ tradtion ไม่แพ้อังกฤษเลยทีเดียว เจ้าหญิง Leonor เข้าโรงเรียนเอกชนที่เสด็จพ่อเป็นศิษย์เก่า และเป็นตัวเลือกทางการศึกษาของเหล่าชนชั้นสูงรวมถึงคนดัง
เครื่องแบบเช่นนี้จะถูกกำหนดใช้ในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนรัฐบาล สำหรับนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลนั้นจะเน้น casual wear มีเพียงส่วนน้อยที่โรงเรียนรัฐจะออกกฎให้นักเรียนสม uniform มาเรียน และยังมีโรงเรียนที่ colegios concertados ซึ่งดำเนินงานในเอกชนแต่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ทำให้ค่าใช้จ่ายเบากว่าโรงเรียนเอกชน มีรายงานว่า ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองประเทศนี้เพื่อจัดหา uniform ให้เด็กๆอยู่ที่ €200 ถึง €800 แปรผันตามค่าเทอม โรงเรียนหรูก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่พุ่งตามนั่นเอง
จากภาพ เจ้าหญิง Sofía ผู้เป็นเจ้าหญิงคนน้องก็เข้าโรงเรียนเดียวกันกับพี่สาวแบบไม่ต้องคาดเดา จากระดับความยาวของถุงเท้าของเจ้าหญิงสองพี่น้องก็พอเดาออกว่า มีกฎระเบียบเคร่งครัดในระดับหนึ่ง แต่สำหรับในโลกตะวันตก เด็กนักเรียนไม่จำเป็นต้องทำผมแบบเดียวกันไปหมด อาจจะปล่อยยาวสลวย รวบหางม้าตึง และเลือกเป้ได้เอง ซึ่ง uniform ของพวกเธอมีดีไซน์ที่พบเห็นได้ในอีกหลายโรงเรียนที่ Spain คือ สเวตเตอร์สีกรมท่าสวมทับเชิ้ตขาว จับคู่กับกระโปรงสั้นสีเทา ส่วนรองเท้าก็เป็นหนังดำและถุงเท้าดำเรียบๆ หรืออาจจะเป็นถุงน่องสีดำยาว
เมื่อเติบโตขึ้นมา เจ้าหญิงได้เดินทางห่างจากอกพ่อแม่ไปเรียนในสถาบันที่โด่งดังในหมู่ชนชั้นสูงนามว่า UWC Atlantic College โรวเรียนประจำที่มีภูมิทัศน์งดงามแบบปราสาทโบราณใน Welsh และได้รับการตั้งฉายาว่า Hippie Hogwarts จากที่เคยแต่งกายด้วยเครื่องแบบรัดกุมมาตลอด กฎระเบียบเรื่องเครื่องแต่งกายก็ผ่อนคลายมากขึ้น เป็นโรงเรียนได้รับความนิยมในหมู่เจ้าหญิงเจ้าชายยุคโมเดิร์นหลายคน ซึ่งหากมองว่า เพียงแค่เรียนอยู่นประเทศบ้านเกิดก็ฝึกฝนเรื่องวิชาการและความสามารถทางการสื่อสารภาษาที่ 2,3 ได้อย่างชำนาญแล้ว แต่ด้วยภาระหน้าที่การเป็นผู้นำราชวงศ์ในอนาคต เจ้าหญิงรัชทายาทจึงต้องแสวงหาประสบการณ์และความรู้รอบด้านจากเดินทางออกจากวังไปใช้ชีวิตในโรงเรียนประจำที่มีนักเรียนจากทุกมุมโลกมารวมตัวกัน
แม้แต่ในพิธีจบการศึกษาก็ไม่ได้กำหนดให้นักเรียนต้องแต่งเหมือนกันหมด บางคนอาจจะเลือกลุคที่ดู smart แบบเจ้าหญิง Leonor แต่ก็มีทั้งชุดที่ casual มากๆ บางคนก็แต่งชุดประจำชาติ ดูชิลแบบหลากหลายสมกับเป็นโรงเรียนที่มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากวงการต่างๆ แต่ด้วยสถานะเชื้อพระวงศ์ระดับสูงที่ต้องคุม dress code ให้ดูสุภาพ เดรสเก๋ไก๋ของเจ้าหญิง Leonor ไม่ได้ฉีกกรอบมากนัก พอจะเดาได้แล้วว่า เธอน่าจะได้รับ fashion sense มาจากพระมารดาที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีที่แต่งกายดีที่สุดในโลก
เจ้าหญิงเจ้าชายจากราชวงศ์ Denmark
แต่ง casual wear ในโรงเรียนรัฐบาล ได้เปลี่ยนมาใส่ uniform ตอนเข้าเรียนนานาชาติที่ต่างประเทศ
เด็กๆทั้งสี่ผู้เป็นทายาทของมกุฎราชกุมาร Frederik และมกุฎราชกุมารี Mary ได้สร้างจุดเปลี่ยนให้กับราชวงศ์ Denmark เริ่มจากเจ้าชาย Christian โอรสคนโตผู้มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ในลำดับสองต่อจากเสด็จพ่อ เขาคือเชื้อพระวงศ์คนแรกของประเทศนี้ที่ถูกส่งเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา เหล่าเชื้อพระวงศ์มักยึดมั่นในธรรมเนียมดั้งเดิมในการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาให้กับบุตรหลาน ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการเป็นเลิศที่ีค่าเทอมแพงระยับ แต่ต้องเป็นโรงเรียนเอกชนเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยชนชั้นลูกท่านหลานเธอ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนประถมที่ว่าที่คิงและควีนเลือกให้โอรสนั้นไม่ใช่โรงเรียนเอกชน high class ก็จริง แต่ก็เป็นโรงเรียนในเขตเทศบาลที่โชว์ประสิทธิภาพโดดเด่นด้วยผล GPA ที่ติดระดับ top 16 ของประเทศ แต่มันก็ได้สร้างความประหลาดใจกับผู้คนถึงการตัดสินใจครั้งนี้อยู่บ้าง
ว่ากันว่า บางราชวงศ์ในยุโรปพยายามปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ดูเข้าถึงได้ง่าย และเผยให้เห็น lifestyle ที่ดูใกล้เคียงกับคนทั่วไปมากขึ้น แม้สังคมจะรับรู้ว่า อภิสิทธิ์จากฐานันดรที่ 1 นั้นย่อมทำให้พวกเค้าแตกต่างกับประชาชนธรรมดา แต่เมื่อเชื้อพระวงศ์ได้ประกาศให้รับรู้ถึงความเชื่อมั่นในระบบการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ก็เพิ่มความนิยมชมชอบจากมวลชนได้ไม่น้อยเลย
ตามที่เห็นจากภาพ โรงเรียนประถมของเจ้าชายที่จะกลายเป็นกษัตริย์ในอนาคตนั้นไม่ได้กำหนดให้นักเรียนใส่ uniform ตรงกับนโยบายของหลายโรงเรียนรัฐบาลทั่วประเทศ ส่วนน้องๆทั้งสามคนต่างก็เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ลองไปส่องข้อมูลแล้ว เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่โมเดิร์นและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นเหตุผลที่ช่วยอธิบายชัดเจนว่า เหตุใดว่าที่ King&Queen ส่งทายาทเข้าไปร่ำเรียน น่าอิจฉาระบบการศึกษาบ้านเมืองเค้าจริงๆ
ตามที่เห็นจากภาพ โรงเรียนประถมของเจ้าชายที่จะกลายเป็นกษัตริย์ในอนาคตนั้นไม่ได้กำหนดให้นักเรียนใส่ uniform ตรงกับนโยบายของหลายโรงเรียนรัฐบาลทั่วประเทศ ส่วนน้องๆทั้งสามคนต่างก็เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ลองไปส่องข้อมูลแล้ว เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่โมเดิร์นและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นเหตุผลที่ช่วยอธิบายชัดเจนว่า เหตุใดว่าที่ King&Queen ส่งทายาทเข้าไปร่ำเรียน น่าอิจฉาระบบการศึกษาบ้านเมืองเค้าจริงๆ
แม้เจ้าหญิงเจ้าชายจะเรียนโรงเรียนรัฐบาลทั้งสี่คน แต่ก็มันย่อมถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสักวัน พวกเค้าถูกส่งตัวไป Switzerland เพื่อร่วม program การศึกษาระยะสั้นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และได้สวม uniform ของโรงเรียนนานาชาติ elite แห่งนี้ เปรียบเทียบกับลุคที่ดูสบายๆใน Denmark ก็แปลกตาเชียว (ในSwitzerland uniform เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเอกชนเช่นเดียวกัน )
ไม่นานที่ผ่านมา ว่าที่รัชทายาทแห่งราชวงศ์ Denmark ก็ได้รับผลกระทบจากดราม่าที่อื้อฉาวในสังคมผู้ดี จากสารคดีตีแผ่โรงเรียนประจำ Herlufsholm ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในกลุ่มชนชั้นนำ ซึ่งถูกกล่าวหาว่า สถาบันที่เก่าแก่หลายร้อยปีแห่งนี้ซุกซ่อนไปด้วยด้านมืดการปัญหา bully การใช้ความรุนแรง และการล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าจะส่งโอรสคนโตไปเรียนที่นั่นแล้ว ดังในภาพที่เจ้าชาย Christian ใส่ uniform เป็นสูทที่ดูเป็นทางการ ราวกับจะประกาศความ elite ออกมาดังๆ และยังวางแผนให้เจ้าหญิงคนรองคือ เจ้าหญิง Isabelle เข้าเรียนตามไปด้วย แต่มกุฎราชกุมาร Frederik และมกุฎราชกุมารี Mary ไม่อาจฝืนกระแสต่อต้านจากสังคมที่รุนแรงถึงขนาดว่า เมื่อพบเห็นเด็กนักเรียนจากโรงเรียนนี้แต่ง uniform นอกโรงเรียน ก็จะมีปฏิกิริยาด้านลบ ตั้งแต่มองแรงไปจนถึงตะโกนด่า จึงต้องตัดสินใจให้โอรสย้ายเข้าไปเรียนต่อในโรงเรียนรัฐบาลเหมือนในอดีต ส่วนเจ้าหญิง Isabelle ก็เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนที่ popular มากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุง Copenhagen
ฝาแฝดแห่งราชวงศ์ Monaco
สามารถ mix เสื้อผ้าชิ้นอื่นกับเสื้อที่โรงเรียนกำหนดให้ได้
เจ้าชาย Albert แห่ง Monaco คือหนึ่งในเชื้อพระวงศ์ที่ถูกยกว่ามีความร่ำรวยติดอันดับ top ในยุโรป (ทรัพย์สินมากกว่ากษัตริย์ Charles แห่งอังกฤษ) ประมุขแห่งราชวงศ์ Grimaldi ได้ส่งฝาแฝดให้เข้าเรียนชั้นประถมในโรงเรียน Catholic เอกชนที่โด่งดังของประเทศ โรงเรียนนี้มีเครื่องแบบในแต่ละชั้นปีแตกต่างกัน และสิ่งที่น่าสนใจคือ การวางกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นให้เด็กๆเลือกเสื้อผ้าชิ้นอื่นได้หลากหลาย มีทั้งกางเกงขาสั้น-ขายาว เด็กผู้หญิงจะเลือกใส่กระโปรงหรือกางเกงก็ได้ รวมถึง sneakers หลากสี
เจ้าหญิง Gabriella และเจ้าชาย Jacque ต่างใส่กางเกง denim เหมือนกันดูน่าเอ็นดู เมื่อได้เห็นกระเป๋าต่างstyle ของฝาแฝด royal ก็เห็นได้ชัดถึงความชื่นชอบที่แตกต่างกัน ท่ามกลางชุดที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็สามารถแสดงความสร้างสรรค์และตัวตนออกมาได้ และที่สำคัญ เป็นเสื้อผ้าที่ดูแลได้ง่าย คงพอจินตนาการออกว่า พ่อแม่ทำงานมาเหนื่อยๆ และอยากพักผ่อน ก็ไม่ต้องคอยมารีดกระโปรงจับจีบหรือเน้นคอเสื้อและแนวกระดุมให้เรียบกริบ ในใจเราโอนเอียงมาที่นโยบายนี้ค่อนข้างมากเลยทีเดียวค่ะ เชื่อว่ามันช่วยประหยัดเวลา ดูนำสมัย คล่องตัว และให้ความหลากหลายได้แม้จะเป็นชุดนักเรียนที่โรงเรียนกำหนดมา
ภาพของนักเรียนชั้นมัธยม ใช้กฎที่ดูคล้ายกับน้องประถม เด็กผู้หญิงนิยมปล่อยผม สวมใส่รองเท้าหุ้มส้นหลายแบบ แต่แม้จะให้อิสระเรื่อง dress code ในระดับหนึ่ง ก็ยังมีระเบียบปลีกย่อยอื่นๆ
เจ้าหญิงสามใบเถาแห่ง Netherlands
casual wear ในโรงเรียนเป็นเรื่องปกติของประเทศ
หากพูดถึงราชวงศ์ที่มีภาพลักษณ์ที่เข้าถึงได้จากยุโรป ราชวงศ์ Orange-Nassau นั้นดูโดดเด่นขึ้นมา พวกเค้าได้เผยถึงด้านที่โมเดิร์นและดูติดดิน ซึ่งเนิ่นนานมาแล้วที่ราชวงศ์ต้องพบกับคำครหาที่ว่า พวกเค้าเป็นกลุ่มก้อนอภิสิทธิ์ชนที่หลงยุคสมัย out of touch อาจเป็นได้ว่าการสัมผัสชีวิตคนธรรมดาจริงๆ ไม่ได้รีบส่งจ้าหญิงทั้งสามเข้าเรียนนานาชาติตั้งแต่ยังวัยประถม แต่เลือกโรงเรียนรัฐบาลใกล้วัง ใกล้จนปั่นจักรยานไป นั่นคิอพาหนะยอดนิยมของประชาชนชาว Dutch
โรงเรียนของพวกเจ้าหญิงก็ไม่ได้ออกข้อบังคับเรื่อง uniform ซึ่งตรงกับค่านิยมสังคมประเทศ เมื่อได้ติดตามการถกประเด็นว่า พ่อแม่ชาว Dutch จะรู้สึกอย่างไรหากมีการกำหนดกฎใหม่ให้ลูกๆใส่ uniform ชาวเน็ทหลายคนก็ก็แสดงความเห็นในแง่ลบทันที และยังเปรียบเทียบไปถึงค่านิยมเรื่อง uniform ในอังกฤษ ซึ่งพวกเค้ามองว่า เป็นเรื่องสิ้นเเปลือง ไม่จำเป็น และไม่สร้างประโยชน์ใดๆ และถ้าเปลี่ยนกฎก็ดูเป็นการก้าวถอยหลังลงคลอง เพราะพวกเค้าได้ก้าวข้ามการใช้ข้อบังคับนั้นมานานแล้ว
โรงเรียนของพวกเจ้าหญิงก็ไม่ได้ออกข้อบังคับเรื่อง uniform ซึ่งตรงกับค่านิยมสังคมประเทศ เมื่อได้ติดตามการถกประเด็นว่า พ่อแม่ชาว Dutch จะรู้สึกอย่างไรหากมีการกำหนดกฎใหม่ให้ลูกๆใส่ uniform ชาวเน็ทหลายคนก็ก็แสดงความเห็นในแง่ลบทันที และยังเปรียบเทียบไปถึงค่านิยมเรื่อง uniform ในอังกฤษ ซึ่งพวกเค้ามองว่า เป็นเรื่องสิ้นเเปลือง ไม่จำเป็น และไม่สร้างประโยชน์ใดๆ และถ้าเปลี่ยนกฎก็ดูเป็นการก้าวถอยหลังลงคลอง เพราะพวกเค้าได้ก้าวข้ามการใช้ข้อบังคับนั้นมานานแล้ว
แต่หลายคนก็คงเดาออกว่า พวกเจ้าหญิงไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลแบบยาวๆจนเข้ามหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา เจ้าหญิง Catharina-Amalia ผู้ได้รับการวางตัวเป็นรัชทายาทเพื่อก้าวสู่บัลลังก์ราชินีในอนาคตก็ได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมในโรงเรียนดังที่เชื้อพระวงศ์ Dutch หลายคนเป็นศิษย์เก่า (ส่วนเจ้าหญิงน้องสาวทั้งสองก็บินไปเรียนต่อนานาชาติที่ต่างประเทศ) เธอพยายามทำตามความฝันที่จะใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นปกติเมื่อเข้าสู่รั้ว University of Amsterdam แต่การใช้ชีวิตเด็กหอก็เป็นอันยุติไป เนื่องจากคำขู่ลักพาตัวที่ยังไม่ได้เปิดเผยแน่ชัดว่าเป็นฝีมือผู้ใด แต่มันก็สร้างความกดดันให้มากพอที่จะทำให้เธอต้องรีบย้ายกลับไปอาศัยที่วัง และเพิ่มการรักษาปลอดภัยให้เข้มงวด
เจ้าชาย Hisahito แห่ง Akishino
ความอนุรักษ์นิยมมาเต็ม
เมื่อพูดถึงราชวงศ์ญี่ปุ่น ก็น่าจะทำให้หลายคนนึกถึงกลิ่นอายความอนุรักษ์นิยมขึ้นมาทันที เพระาแม้ว่าญี่ปุ่นจะมีชื่อเสียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนที่ดู fashionable สักเพียงใด เหล่าเชื้อพระวงศ์จะต้องเข้าศึกษาที่ Gakushuin สถาบันที่ที่สร้างขึ้นเพื่อบ่มเพาะเยาวชนจากชนชั้นปกครอง จากพระราชโองการของอดีตจักรพรรดิในอดีตที่กำหนดให้เชื้อพระวงศ์ศึกษาในโรงเรียน Gakushuin นับเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดที่ยึดมั่นมาหลายชั่วคน แม้ในปัจจุบันจะเปิดรับสามัญชนให้เข้าเรียน แต่มันก็ยังถูกมองในภาพของโรงเรียนหลวงที่ยากจะเข้าถึงอยู่ดี
ธรรมเนียมนี้ได้เกิดความเปลี่ยนแปลง เมื่อเจ้าชาย Hisahito ผูัมีสิทธิ์ขึ้นครองบัลลังก์เป็นลำดับ 2 ต่อจากมกุฎราชกุมาร Fumihito ผู้เป็นบิดา ได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย Ochanomizu เพราะปรารถนาจะได้เข้าเรียนในสถาบันเดียวกันกับเพื่อนๆจากชั้นอนุบาล เจ้าชายที่ถูกวางตัวให้เป็นรัชทายาทของจักรพรรดิในอนาคตจึงกลายมาเป็นเชื้อพระวงศ์คนแรกที่ไม่เข้ารับการศึกษาที่ Gakushuin
เรื่องนี้อาจจะทำให้บางคนนึกสงสัยถึงความแตกต่างเรื่อง uniform แต่ uniform ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยชื่อดังก็มี vibe ย้อนยุคไม่ต่างกัน เชื้อพระวงศ์ชายที่เข้าเรียนใน Gakushuin ก็ใส่ชุดสีเข้มติดกระดุมคอปิด หมวกก็มีดีไซน์เดียวกัน ลองดูจากภาพของอดีตจักรพรรดิ Akihito ที่กำลังเดินเข้าโรงเรียน Gakushuin ที่ไม่ได้แตกต่างจากว่าที่รัชทายาทเมื่อเข้าสาธิต Ochanomizu นัก ซึ่งว่ากันว่า ดีไซน์ที่มีรูปแบบคล้ายทหารนี้ก็ได้รับอิทธิพล uniform ทหาร Prussian จากช่วงสงครามโลก
ดูจากความเรียบร้อยของเจ้าชายรวมถึงนักเรียนคนอื่นๆแล้ว ถ้าจะให้เดา คงจะมีระเบียบเข้มงวดเลยทีเดียว
uniform ที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่อาจจะทำให้บางคนมองว่า ดูล้าสมัย สวนทางกับดีไซน์โมเดิร์นที่หลายโรงเรียนใช้เป็นสัญลักษณ์ดึงดูดความสนใจ แต่มันก็มีความขลังที่มีคนชื่นชอบอยู่ด้วยนะ พอได้เห็นชุดมัธยมต้นของเจ้าชาย Hisahito แล้วนึกถึงการ์ตูนดังอย่าง Kaguya-sama: Love Is War เหมือนกัน
เจ้าหญิงเจ้าชายตัวน้อยแห่งอังกฤษ
ใส่เครื่องแบบตาม culture
เรื่อง uniform ของเจ้าหญิงเจ้าชายอังกฤษนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้สร้างความกังขาแต่อย่างใด เพราะที่จริง ตอนที่เด็กๆเหล่านี้ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการก็แต่งกายตาม dress code ที่เคร่งครัดดูคล้ายกับแต่ง uniform ไปเรียนอยู่แล้ว เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในยุคใหม่อย่างเจ้าชาย William และ เจ้าหญิง Kate ไม่ได้กำหนดเป๊ะๆว่าจะต้องเป็นโรงเรียนที่มีแต่ชนชั้นสูงเข้าเรียนเท่านั้น แต่ก็คงเดากันได้ว่า พวกเค้าไม่ได้ส่งลูกๆให้สัมผัสชีวิตคนธรรมดาเหมือนราชวงศ์อื่นในยุโรป แต่เป็นโรงเรียนเอกชนค่าเทอมไม่ใช่เล่นๆ ดูจากโรงเรียน Thomas’s Battersea ใน London ที่สื่อเจาะข้อมูลมาว่า สนนราคา uniform ทั้งหมดของเจ้าหญิง Charlotte จะอยู่ราวๆ 25,000 บาทต่อปี (ของเจ้าชาย George ก็ไม่น่าต่างกัน)
ครอบครัวนี้ผ่านการย้ายที่อยู่ จึงต้องย้ายโรงเรียน uniform ของโรงเรียนแห่งใหม่คือ Lambrook นั้นดูเข้ากับฤดูที่อบอุ่น แต่ถ้าความเย็นมาเยือน ก็ย่อมมี blazer และชุดอื่นๆด้วย สื่อรายงานว่า เมื่อทั้งคู่ใช้จ่ายไปกับ uiform ครบแบบให้กับลูกๆสามคนไปเกือบๆ 90,000 บาท! คุณอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติของโรงเรียนเอกชน แต่สิ่งที่ทำให้อังกฤษแตกต่างไปจากหลายประเทศแถบยุโรปคือ uniform ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นของโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาล เรื่องนี้ทำให้ชาวต่างประเทศ หรือแม้แต่ชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ uniform ตั้งคำถามและวิเคราะห์ว่า เหตุใด ระบบการศึกษาอังกฤษจึงยึดมั่นกับ uniform อย่างเหนียวแน่นถึงเพียงนี้?
ประเด็นต่อมาคือ พ่อแม่แบกรับค่าใช้จ่ายกันเช่นไร? เพราะ uniform ของนักเรียนอังกฤษนั้นถูกตั้งราคาไว้สูงกว่าราคาชุดที่วางขายในห้างขายปลีกค่อนข้างมาก มีผู้เปรียบเทียบบ่อยครั้งว่า หากนักเรียนได้รับอนุญาตให้ซื้อหาชุดจากภายนอกที่ดูคล้ายคลึงกัน ไม่ใช่แบรนด์ที่โรงเรียนจัดจำหน่าย ก็จะประหยัดเงินไปได้มากเลยทีเดียว
ขอเล่าจากประสบการณ์ตรงกับโรงเรียนทั่วไปที่ไม่ได้เก็บค่าเทอมสูงปรี๊ดแบบที่เชื้อพระวงศ์เค้าไปเรียนกัน
- ชุดนักเรียนอังกฤษที่เห็นได้ทั่วไปคือ blazer เสื้อขาวตัวใน เนคไท กระโปรง กางเกงขายาว รองเท้าหนัง บางโรงเรียนจะประกาศในคู่มือและเว็บไซต์ชัดว่า หากไม่ยินดีกับกฎการแต่งกาย ให้นัดพบเพื่อเจรจาชี้แจงเหตุผล และหาทางออกร่วมกัน
- ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หลายๆโรงเรียนได้อนุญาตให้นักเรียนหญิงใส่กางเกงได้ตามสะดวกใจ และเด็กๆ trans และ non binary สามารถปรึกษากับโรงเรียนในการเลือกเครื่องแต่งกายที่ตรงกับ identity ได้ แต่ไม่ใช่ทุกโรงเรียน
- uniform ราคาสูงสำหรับชาวไทย แต่เมื่อพบกับปัญหาเศรษกิจ หลายครอบครัวก็บ่นกันระงมเหมือนกัน ลองตีคร่าวๆจากโรงเรียนของคนใกล้ตัว blazer ประมาณ 1300 บาท เชิ้ตขาว 700 บาท กางเกงและกระโปรง 1000 บาท เมื่อรวมกับยิบย่อยอย่าง jumper และ puffer jacket ทุกอย่างก็ร่วมๆหมื่น
- มีการสำรวจข้อมูลว่า พ่อแม่จ่ายค่า uniform และของใช้จิปาถะแล้ว ตกที่ 13,000 ถึง 15,000 บาทเลยทีเดียว ยิ่งเป็นช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายเติบโตเร็วมาก หรือเด็กที่ขี้ลืมทำชุดหาย แทนที่จะใช้ได้หลายปี ก็ต้องจ่ายเพิ่มกันเหงื่อตกเลยทีเดียว
- สำหรับผู้ที่ขาดแคลน มี options ช่วยเหลือคือ School Uniform Shop ที่ศิษย์เก่าได้บริจาคเสื้อผ้าที่ยังมีสภาพดีไว้ สามารถจับจ่ายกันได้ในราคาเบาหวิว และยังมีหน่วยงานอิสระต่างๆที่รวบรวมชุดนักเรียนมือสองเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ลำบาก รวมถึงสนับสนุนเงินช่วยเหลือบางส่วน ซึ่งตัวผู้ปกครองต้องวางแผนเสาะหาตัวช่วย รวมถึงการปรึกษากับโรงเรียน มิเช่นนั้นลำบากตอนเปิดเทอมแน่ๆ
- มีการผ่านร่างกฎหมายให้โรงเรียนเปิดทางเลือกให้นักเรียนซื้อเครื่องแบบจากห้างร้านที่มีราคาย่อมเยาว์กว่าแบรนด์ราคาแพงที่โรงเรียนจัดจำหน่าย ซึ่งเป็นวิธีบรรเทาปัญหาวิกฤติค่าครองชีพให้กับประชาชน
ถึงอังกฤษจะเป็นประเทศที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญกับการใส่ uniform ไปเรียน จนถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของระบบการศึกษาของประเทศไปแล้ว แต่ก็คงฟันธงไม่ได้ว่า จะไม่มีทางเกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับ uniform หรือไม่ สิ่งสำคัญคือการรับฟังเสียงส่วนใหญ่จากการ debate ถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับการการปฏิบัติตามกฎนี้