เรื่องน่าสนใจของแฟชั่นผู้ร่วมงาน State Banquet ที่พระราชวัง Buckingham
candy 24 7
งานเลี้ยงรับประทานหารค่ำที่ประมุขราชวงศ์จัดขึ้นอย่างเป็นทางการหรือ state banquet เพื่อต้อนรับการมาเยือนของประธานาธิบดียุนซอกยอลของเกาหลีใต้ที่พระราชวัง Buckingham เมื่อวานก่อนได้จุดกระแสความสนใจจากโลกออนไลน์ไม่น้อยเลย งานเลี้ยงดูสุดอลังการนี้จะมีเรื่องราวแฟชั่นที่น่าสนใจอย่างไร มาติดตามกับเราได้เลยค่ะ
เพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มีความสำคัญระดับประเทศนับเป็นอีเวนท์ที่ผ่านการวางแผนตระเตรียมเข้มข้นยาวนาน เพื่อจะรองรับและสร้างความประทับใจให้กับแขกเหรื่อนับร้อย มีรายงานว่า สำหรับการจัดโต๊ะรับประทานอาหารให้สวยงานถูกต้องตามหลักการทุกประการก็ต้องใช้เวลาถึงสามวัน! หลายคนคงจินตนาการได้ถึงแฟชั่นอันหรูหราของผู้ร่วมงานที่เต็มไปด้วยเชื้อพระวงศ์และชนชั้นขุนนางบรรดาศักดิ์สูงซึ่งคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมมารยาทในงานเลี้ยงทางการเป็นอย่างดี
แต่แม้ว่างานเลี้ยงรับรองแขกบ้านแขกเมืองที่รักษาแบบแผนมายาวนานจะชวนให้นึกถึงภาพความหรูหราฟู่ฟ่าในฉากหนังพีเรียด แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้แฟชั่น state banquet ในปัจจุบันแตกต่างจากชุดกระโปรงสุ่มฟูฟ่องและเครื่องหัวอลังการจากยุค Victorian
แล้วพวกเค้านำเสนอความสวยแพงในรูปแบบใดกันบ้างนะ?
Dress Code
แขกจะได้รับคำขอให้แต่งกายอย่างเป็นทางการที่สุดในรูปแบบ white-tie decorations โดยเฉพาะสุภาพบุรุษที่ต้องแต่งกันเต็มยศส่วนมากแล้วเราจะเห็นแขกชายแต่งเสื้อโค้ทหางยาวผูกโบว์ไทสีขาว ส่วนสุภาพสตรีจะใส่ชุดราตรีไปงาน ball แบบเต็มตัว ในอดีต การใส่ถุงมือยาวดูเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ แต่ตอนนี้ดูไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึดมั่นเคร่งครัดกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม dress code ของงานนี้อยู่ห่างไกลกับคำว่า smart casual แขกที่ได้รับคำเชิญล่วงหน้าหลายเดือนจะได้รับคำแนะนำ guideline ชัดเจนเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ตามมา
มงกุฎและเครื่องประดับที่ได้รับการสืบทอดมาหลายชั่วคน
เมื่อกล่าวถึงเชื้อพระวงศ์หญิงระดับสูงที่รับหน้าที่รับรองแขกผู้มีเกียรติ ย่อมขาดเครื่องประดับที่เชิดหน้าชูตาไปไม่ได้ นับตั้งแต่ Kate Middleton ยังไม่ได้เลื่อนฐานันดรเป็นเจ้าหญิงแห่ง Wales ธอก็ได้รับมงกุฎและเครื่องประดับสูงค่าจาก 'คลัง' ที่ผ่านการดูแลรักษามายาวนาน (บางชิ้นมีอายุร่วมร้อยปี) มาสวมใส่ออกงานในงานใหญ่ ซึ่ง 'Strathmore Rose tiara' หรือมงกุฎรูปดอกไม้ที่เธอใส่ใน state banquet ครั้งล่าสุดนี้เป็นสมบัติตกทอดมาจากสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงที่ได้เป็นของขวัญวันเสกสมรสในขณะยังมีฐานันดรดัชเชสแห่ง York ทว่า นับตั้งแต่ยุค 1930s มันถูกเก็บใน collection จนคนนอกไม่ได้เห็นอีกเลย เรียกว่าเป็นงาน rare ที่เกือบถูกลืมไปซะแล้ว!
แน่นอนว่าพระราชินี Camilla ได้เลือกสวมมงกุฎที่ตกทอดจากราชินี Elizabeth ที่ 2 มันเป็นมงกุฎgเพชรประดับทับทิมพม่าที่แมทช์กับ ball gown กำมะหยี่สีแดง ส่วนดีไซน์ดอกไม้นั้นมาจากกุหลาบ Tudor เครื่องหมายที่สืบทอดมาช้านานของประเทศอังกฤษนั่นเอง
ไม่บ่อยครั้งที่ศิลปินดาราจะได้รับเชิญ
งานครั้งนี้สร้างความฮือฮาใน social media เพระาไม่เพียงแต่จะมีการบรรเลงเพลง DDU-DU DDU-DU ที่เบื้องหน้าพระราชวัง BLACKPINK คือแขกสร้าง surprise ที่ทำให้หลายคนหันมาจับตามองว่า ราชวงศ์ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องการยึดมั่นในกรอบแนวคิดอนุรักษ์นิยมกำลังจะปรับภาพลักษณ์ให้ดูเข้าถึงได้มากกว่าเดิมด้วยการผนึกกำลังกับศิลปินทรงอิทธิพลใน pop culture ยุคโมเดิร์น จากที่ราชวงศ์อังกฤษถูกกล่าวหามายาวนานว่า out of touch ไม่เข้าใจชีวิตประชาชนทั่วไป King Charles ก็ได้เอื้อนเอ่ยถึงเพลง Gangnam Style, BTS และ Squid Game ใน speech ต้อนรับอาคันตุกะจากเกาหลีใต้ ทั้งยังแสดงความประทับใจต่อศิลปิน girl group ทรงอิทธิพลแห่งวงการ K-Pop จนพวกเธอยิ้มแย้มสบตากันด้วยความเขิน (หรือจีซูที่ถึงกับสะดุ้ง)
พวกเราอาจจะเห็นคนดังได้รับคำเชิญจากสำนักราชวังให้เข้าร่วมอีเวนท์ของราชวงศ์มาแล้วหลายครั้ง เช่น garden party, พิธีเสกสมรสและการเข้าเฝ้าเพื่อรับราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บางครั้งก็เปิดวังเชิญคนดังมาเปิดหูเปิดตาในอีเวนท์การกุศลหรือแฟชั่น (แตกต่างจาก state dinnerในทำเนียบข่าวในฝั่งอเมริกาที่คนดังมีโอกาสจะได้รับคำเชิญจากรัฐบาลให้เห็นเป็นเรื่องปกติ) แขกราวๆ 150-170 คนจที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วม state banquet ประกอบไปด้วยเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์ นักการเมืองอังกฤษ นะักการทูต คนสำคัญที่มีชื่อเสียงทั้งจากประเทศของผู้มาเยือนและเจ้าภาพ แต่เราจะไม่ได้เห็นแขกคนดังในงานเลี้ยงรับรองอาคันตุกะจากแดนไกลที่มีความเป็นทางการสูงเช่นนี้บ่อยนัก
เมื่อ Girl Group จากเกาหลีใต้ได้เดินเข้าสู่ ballroom พร้อมกับแขกคนใหญ่คนโต หลายคนก็ถามไถ่กันยกใหญ่ว่า เหตุใดเธอพวกเธอจึงได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม state banquet ที่พระราชวัง Buckingham?
เมื่อ Girl Group จากเกาหลีใต้ได้เดินเข้าสู่ ballroom พร้อมกับแขกคนใหญ่คนโต หลายคนก็ถามไถ่กันยกใหญ่ว่า เหตุใดเธอพวกเธอจึงได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม state banquet ที่พระราชวัง Buckingham?
เจาะแฟชั่นกันก่อน
งานนี้ Lisa ไม่ได้ใส่ Celine นะคะ น่าจะเป็นเพราะว่าเธออยากจะได้ลุคที่งาม regal จึงมาลงเอยที่ชุด cape พริ้วไหวจาก Georges Hobeika บางคนถึงกับตื่นเต้นที่เมื่อเห็น Lisa ได้จำแลงร่างเป็น Elsa แห่ง Frozen ตรงปกสุดๆ
จีซูเลือกใส่ Dior หัวจรดเท้าตามคาด ส่วน Rosé นั้นหลายคนคาดการณ์ไว้ว่าเธอไม่น่าเปลี่ยนใจจาก Saint Laurent เพราะ signature ชัดเจน แต่สื่อก็ ID ว่า เป็นชุดจาก Pinkong แบรนด์เกาหลี ต่อมา official page ของแบรนด์ก็ชี้ว่าชุดเกาะอกสีดำเป็นดีไซน์ของพวกเค้าเอง ซึ่ง Rosé และสมาชิกคนอื่นเคยใส่ชุดแบรนด์นี้มาแล้ว
คนที่สร้างความแปลกใจให้เราคือ Jennie ที่ได้รับฉายาจากแฟนๆว่า 'มนุษย์ Chanel' จนทำให้นึกไปว่า Chanel ที่ชื่อลือชาเรื่อง ball gown สวยอลังการบนพรมแดงจะไม่หลุดไปจากตัวเลือกของเธอ แต่สำหรับงานที่เป็นทางการคราวนี้ เธอเลือกชุดจาก Lihi Hod ซึ่งเป็นดีไซน์เนอร์ชุดเจ้าสาวที่เน้นความเรียบหรูดูแพง ในตอนแรกสื่อนั้นได้ระบุว่าเป็นแบรนด์อื่น แต่ไม่นานต่อมา official page ของ Lili Hod ได้ประกาศว่า เป็นเจ้าของดีไซน์ชุดปาดไหล่ที่เรียกว่า Hailey ถึงจะเป็นชุดเจ้าสาว แต่ก็ดูสวยนำสมัยจนทำให้อยากเห็นเธอแต่งตัวแนวนี้อีก
อาจจะมีคนเปรียบเทียบว่า BLACKPINK เป็น girl group วงที่สองต่อจาก Spice Girls ที่ได้รับเชิญมาร่วมอีเวนท์ถึงพระราชวัง แต่ย้อนไปในยุค 90s Spice Girls ได้รับเชิญเข้ามาร่วมอีเวนท์ระดมเงินบริจาคขององค์กร The Prince's Trust นอกจากจะขึ้นแสดงบนเวทีก็ยังได้เข้าเฝ้า King Charles ที่ 3 ในขณะที่ยังมีสถานะเจ้าชายแห่ง Wales ซึ่งระดับพิธีรีตองความเป็นทางการห่างจาก state banquet ชัดเจน
ชาวเน็ทบางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า ฝ่ายรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นตัวตั้งตัวตีในการสนับสนุนให้ BLACKPINK ได้รับเชิญมาร่วมงานเพื่อประกาศศักดาความสำเร็จระดับโลกของอุตสาหกรรม K-Pop
แต่ที่จริงแล้วศิลปินดังทั้งสี่ได้ร่วมงานรัฐบาลอังกฤษมาก่อนหน้านี้มานานแล้ว
มนระหว่างที่ King Charles แสดงสุนทรพจน์ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติได้กล่าวชื่นชมถึงศิลปินสาวทั้งสี่คนโดยตรงว่า พวกเธอได้รับการแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ ambassador นับตั้งแต่การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 ในปี 2021 และการรณรงค์เรื่องการตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับ UN และขอยกย่องพวกเธอที่สามารถช่วยเหลืองานด้านนี้ไปพร้อมกับการการเป็นศิลปินระดับโลก ซึ่งกรณียกิจด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ King Charles ทุ่มเทสนับสนุนอย่างเต็มที่มานานหลายปี
กระแสตอบรับอย่างสวยงามหลังจากที่พวกเธอได้ใช้ platform ของตัวเองช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อลดโลกร้อนกับรัฐบาลอังกฤษทำให้ได้รับจดหมายขอบคุณจากอดีตนายกรัฐมนตรี Boris Johnson เมื่อประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้มาเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการทั้งทีน่าจะเป็นโอกาสให้อันดีรัฐบาลอังกฤษเชื้อเชิญพวกเธอให้มาสัมผัสกับโมเมนท์พิเศษ นอกจากจะร่วมเป็นหนึ่งในแขกผู้มีเกียรติใน state banquet ในวันต่อมา พวกเธอยังได้รับเลือกให้เข้าเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอังกฤษชั้น MBEs จากประมุขราชวงศ์จากบทบาททูตสิ่งแวดล้อมนับตั้งแต่สองปีก่อนนั่นเอง
คนดังที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอังกฤษชั้น MBEs คือ Adele, Ed Sheeran และ The Beatles,
บรรดา Blinks ยิ้มไม่หยุดแล้ว!!!
แฟชั่นภรรยานักการเมือง
แทบลอยด์อังกฤษเริ่มตั้งประเด็นเรื่องรูปโฉมที่อ่อนเยาว์ของคิม ค็อนฮี สุภาพสตรีหมายเลข 1 แห่งเกาหลีใต้ หลายคนประหลาดใจเมื่อทราบว่าเธอมีอายุ 51 ปี บ้างก็วิจารณ์ว่า เธอดูหน้าเด็กกว่าเจ้าหญิง Kate ซะอีก ส่วนเรื่องสไตล์ของเธอก็ถูกวิจารณ์ไปทั้งแง่ดีและลบ เนื่องจากเธอดูแตกต่างจากภริยาประธานาธิบดีคนก่อนๆที่เลือกไม่แสดงตัวให้ดูโดดเด่นทัดเทียมกับสามี แม้จะถูกโจมตีด้วยข่าวลือทำศัลยกรรมความงามและขุดคุ้ย scandal ต่างๆ แต่เธอปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนแบบสวยแจ่มเสมอ ความสนใจจากผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามานั้นทำให้เธอมีทั้ง fandom ที่มีสมาชิกร่วมแสนไปพร้อมๆกับกลุ่ม haters ตามจับผิดทุกความเคลื่อนไหว ในขณะที่มีคนชื่นชมว่า สำหรับสังคมเกาหลี วิธีการนำเสนอตัวเองที่ดูมั่นใจของเธอดูฉีกกรอบแนวคิดเดิมๆและชวนให้ติดตาม glamourous ราวกับเซเลบทำให้เธอเป็นหัวข้อข่าวเสมอ
นอกจากเชื้อพระวงศ์และขุนนางบรรดาศักดิ์สูง นักการเมืองในอังกฤษก็ตบเท้าเข้าร่วมการต้อนรับอาคันตุกะต่างแดนเช่นกัน สื่ออาจจะพุ่งความสนใจไปยังแฟชั่นของราชินี Camilla และเจ้าหญิง Kate แต่ลุคของภรรยานายกรัฐมนตรี Rishi Sunak ก็ถูกจัดว่าสวยเด่นในงาน Akshata Murty ทายาทมหาเศรษฐีบริษัทเทคเลือกชุดไหมซาตินสีแดง burgundy แมทช์รองเท้า มี vibe คล้ายๆ Victoria Beckham เวอร์ชั่นยิ้มมั่นใจ
สำหรับงานใหญ่ที่เจ้าภาพคือฝั่งราชวงศ์ ถึงแขกผู้ร่วมงานจะมีทรัพย์สินล่ำซำไม่แพ้กันกับผู้มีศักดิ์สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประโคมเครื่องเพชรมาประชันกันจนวูบวาบทั้งงาน แต่ดูเหมือนว่า แขกหลายคนจะเน้นที่ความงามสง่าแบบเรียบหรูมากกว่า นี่เป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำ 4 คอร์สที่แขกจะต้องพูดคุยพยายามเข้าสังคมกับคนนั่งร่วมโต๊ะยาวๆ และพวกเค้าไม่ได้ถูกจัดที่นั่งใกล้กับคนสนิทเสมอไป แตกต่างจากอีเวนท์พรมแดง Hollywood ที่เน้นถ่ายรูปสวยและพิธีรีตองน้อยกว่า แฟชั่นอลังการเกินเบอร์ไม่น่าจะเข้ากับบรรยากาศงานเป็นทางการเช่นนี้นัก
สำหรับงานใหญ่ที่เจ้าภาพคือฝั่งราชวงศ์ ถึงแขกผู้ร่วมงานจะมีทรัพย์สินล่ำซำไม่แพ้กันกับผู้มีศักดิ์สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประโคมเครื่องเพชรมาประชันกันจนวูบวาบทั้งงาน แต่ดูเหมือนว่า แขกหลายคนจะเน้นที่ความงามสง่าแบบเรียบหรูมากกว่า นี่เป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำ 4 คอร์สที่แขกจะต้องพูดคุยพยายามเข้าสังคมกับคนนั่งร่วมโต๊ะยาวๆ และพวกเค้าไม่ได้ถูกจัดที่นั่งใกล้กับคนสนิทเสมอไป แตกต่างจากอีเวนท์พรมแดง Hollywood ที่เน้นถ่ายรูปสวยและพิธีรีตองน้อยกว่า แฟชั่นอลังการเกินเบอร์ไม่น่าจะเข้ากับบรรยากาศงานเป็นทางการเช่นนี้นัก
Samantha ภรรยาของอดีตนายก David Cameron มาฉีกตรงที่เธอไม่ได้ใส่ full dress เหมือนแขกหญิงคนอื่นๆ ส่วน Keir Starmer หัวหน้าพรรคแรงงานผู้นำฝ่ายค้านก็ควงภรรยาที่ค่อนข้างจะเก็บตัวจากอีเวนท์มาด้วย เมื่อเห็นเสื้อผ้าหน้าผมที่ดูเบาๆ แม้จะเป็นชุดราตรียาว แต่ก็ถึงขนาดเต็มยศแบบ white tie ของฝ่ายชาย หากพวกเธอแต่งตัวสวยเริ่ดไป dinner ในร้านหรูก็คงไม่แต่งตัวแตกต่างจากนี้มากนัก
เพราะอะไร เชื้อพระวงศ์และแขกบ้านเมืองคนสำคัญจึงแต่งชุดขาว?
อดีต butler ที่ทำงานให้กับราชวงศ์ Windsor ยืนยันว่า สีขาวเป็นสีดั้งเดิมประจำ state banquet มานาน บางครั้งผู้ร่วมงานหญิงจะใจตรงกันเลือกใส่ชุดขาวกันหลายคนจนมองเผินๆๆคล้ายกับการรวมตัวกันของเจ้าสาวผู้สูงศักดิ์
ว่ากันว่า เมื่อต้องรับหน้าที่ประธานงานเลี้นงรับรองแขกบ้านแขกเมือง ball gown สีขาวหรือขาวครีมคือตัวเลือกแรกๆของพระราชินี Elizabeth ที่ 2 มันจึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆรวมถึงเหล่าเลดี้จากตระกูลขุนนางให้หันมาใส่สีขาวเหมือนกัน บางงานราวกับนัดกันทั้งเจ้าภาพและอาคันตุกะ
ยังมีผู้ตีความหมายว่า สีขาวเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในอีเวนท์เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างชาติ เพราะเป็นสีที่สื่อถึงสันติและการเริ่มต้นเพื่อมุ่งไปข้างหน้า แม้ว่าจะไม่ได้สีที่ปลุกเร้าความรู้สึกแต่มันเปรียบเหมือนกับผืนผ้าที่ขาวสะอาดที่พร้อมจะรองรับการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ และยังทำให้รู้สึกถึงความเท่าเทียมมีความสมดุลที่สามารถเข้ากันกับทุกสีสัน จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่พระราชินีพระองค์ก่อนที่โปรดปรานเดรสสีสันสดใสเลือกชุดสีขาวทำหน้าที่เจ้าภาำ state banquet มาแล้วหลายครั้ง ทั้งที่พระราชวัง Buckingham และ royal tour ในต่างประเทศ
ส่วนแขกรับเชิญที่เป็นสามัญชนก็ดูจะเห็นด้วยกับไอเดีย coordinating ชุดสีขาว ตัวอย่างชัดเจนคืออดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 Michelle Obama และ Melania Trump ที่เลื่อกใส่ชุดสวยสีขาวมาร่วม state banquet ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ
ชุดสีขาวยังช่วยเน้นให้สายสะพายและตราสัญลักษณ์ต่างๆของเชื้อพระวงศ์ให้โดดเด่นสะดุดตา เฉิดฉายออร่า royal ให้เห็นแต่ไกลโดยไม่ต้องแนะนำตัว อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ระบุตายตัวว่า เชื้อพระวงศ์หญิงควรจะใส่ชุดขาวในงานนี้ สีอื่นๆที่พวกเธอเลือกใส่รองลงมาจากสีขาวคือสีแดงและสีน้ำเงิน