รวมหนังนอกที่ปลุก soft power แบบไทยให้ลือลั่น

23 8
ย้อนไปเนิ่นนานเมื่อยุค 2000s   เราเคยได้ยินคำบอกเล่าจากคู่รักนักท่องเที่ยวเชื้อสายยุโรปว่า ตัดสินใจเดินทางมายังปรเะเทศไทย ทั้งๆที่ตอนแรกวางแผนจะเที่ยวที่ประเทศอื่นเพราะภาพของเมืองฟ้าอมรแห่ง Thailand จาก MV ของเพลงแดนซ์ที่ขึ้นชาร์ทอันดับ 1 'Groovejet (If This Ain't Love)' ที่ศิลปิน Spiller & Sophie Ellis Bextor ได้จุดประกายให้อยากเข้ามาลองผจญภัย   เมื่อเราได้ชม MV นี้จากช่อง MTV  ก็ยังนึกภาพตามแบบสับสนนิดหน่อย จากภาพศิลปินสองคนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเมืองหลวงที่เบียดเสียดวุ่นวายไปด้วยผู้คน  นั่งกินอาหารในร้านห้องแถว เดินทางฝ่าการจราจรด้วย taxi และรถตุ๊กตุ๊ก ในเวลานั้น ตัวเราที่ยังไม่เคยรู้จักคำว่า  Soft Power ก็ได้แต่สงสัยว่า เรื่องที่ดูธรรมดาพวกนี้จึงมีเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจริงหรือ?



แต่เมื่อได้เรียนรู้ชีวิตจากการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้รับรู้เรื่องราว Soft Power ที่น่าทึ่ง ฉากหนังเพียงไม่กี่นาทีอาจจะกลายมาเป็น Game Changer ที่กระตุ้นการท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจไทยขึ้นมาได้เลย หรือเพียงคำว่า You know I larb you ก็อาจจะทำให้อยากมีคนอยากจองร้านอาหารไทยเพื่อลองลิ้ทความแซ่บเหมือนกับตัวละครดังในหนัง SPIDER-MAN : Homecoming (แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้ใช้ตะเกียบคีบลาบกินแบบพวกเค้า)

มาติดตามกันเลยว่า หนังเรื่องใดที่ทำให้ soft power แบบไทยโด่งดังขึ้นมาในสายตาชาวต่างชาติ


The Man with the Golden Gun (1974)


เขาตะปู landmark ที่หลายคนเรียกชื่อกันติดปากว่า 'เกาะเจมส์ บอนด์' มาเนิ่นนานหลายปี แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้อินกับหนัง 007 สุดclassic จากยุค 70s ก็อาจจะไม่คุ้นเคบกับที่มาของฉายานี้ เมื่อเกือบห้าสิบปีก่อนนั้น คงไม่ต้องพูดถึง social media ถนนข้าวสารอันลือเลื่องในปัจจุบันก็ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นย่าน guest house ของบรรดา backpackers แต่ความสำเร็จของหนัง James Bond ภาคนี้เองที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะเพชรที่รอการเจียรนัยแห่งวงการท่องเที่ยวของโลก ในขณะที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังสับสน Thailand กับ Taiwan แม้ว่าจะเคยมีการสร้างหนังดังที่เมืองไทยมาก่อน The Man with the Golden Gun มาแล้ว หนังที่ทำรายได้มากถึงว 97 ล้านดอลลาร์ในตอนนั้น (หรือคำนวณกับเงินปัจจุบันจะอยู่ที่ราวๆหกร้อยล้านดอลลาร์) ได้ทำให้นักสร้างหนัง Hollywood หันมาพิจารณาเมืองไทยจากโลเคชั่นสุด amazing และเริ่มมีการขยายตัวของธุรกิจ guest house เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและกองถ่ายหนัง Hollywood แถบถนนข้าวสารนับแต่ยุค 80s

ปังขนาดไหนคิดดู!
นักท่องเที่ยวที่เกิดทันและชื่นชอบฉากดวลปืนของ 007 ในตำนาน Roger Moore และ Christopher Lee ต่างหลั่งไหลเข้ามาโพสเท่ๆถ่ายภาพโชว์ background เขาตะปูอันโดดเด่น และครีเอทโพสใหเข้ากับอารมณ์นักเดินทางร่วมสมัย  ถึงแม้จะไม่ใช่คนที่อินกับหนังสายลับคลาสสิค   ความงดงามของเกาะโขดหินที่เหมือนกับแท่งมหึมากลางเวิ้งอ่าวน้ำสวยใสก็ช่างมีเสน่ห์ตราตรึงใจ  

ก่อนหน้าที่เกาะเขาพิงกันจะถูกให้เป็นโลเคชั่นหนังระดับตำนาน มันไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวอันเป็นที่รู้จักกว้างขวาง เมื่อนึกถึงการท่องเที่ยวไทยเมื่อเกือบห้าทศวรรษก่อนก็พอนึกภาพออกว่า มันยังเป็นเพียงเกาะลึกลับที่คงมีแแต่คนท้องถิ่นที่เดินทางเข้าถึงได้  แม้ว่าทุกวันนี้นักท่องเที่ยวจะโดยสารเรือจากฝั่งเพียงไม่ถึงชั่วโมงก็สามารถสัมผัสความสวยงามของเขาพิงกันและเขาตะปูได้แล้ว  แต่การคมนาคมในยุคนั้นหาได้สะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน  แม้แต่ภูเก็ตที่มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวรุดหน้าเมื่อเทียบกับท้องที่อื่นในภาคใต้  ในยุค 70s ก็เพิ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยวตะวันตกกลุ่ม first wave ที่ติดตามข้อมูลจากคู่มือ  Lonely Planet มาสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ  ความบูมของเกาะ Jame Bond สร้างเสียงเลื่องลือแบบปากต่อปาก ตามมาด้วยห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเดินทางจนกลายเป็นที่หมายปลายทางระดับ world class มาจนทุกวันนี้


ผู้สร้างJ ames Bond ภาค Tomorrow Never Dies ที่นำแสดงโดย Pierce Brosnan ยังได้เลือกเกาะเขาพิงกันเป็นหนึ่งในโลเคชั่นถ่ายทำ ประเทศไทยกลายเป็นตัวเลือกสำหรับนักสร้างหนังดังอีกหลายเรื่อง ทั้ง  Rambo, Star Wars, Alexander, Bridget Jones ฯลฯ

Kickboxer  (1989)


ผู้สร้างหนัง action หลายเรื่องเล็งเห็นว่า เมืองไทยคือโลเคชั่นที่เหมาะสมเพื่อสร้างฉากดุเด็ดเผ็ดมันโดนใจผู้ชม (แม้บางเรื่องเนื้อไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่ปรับเปลี่ยนให้ดูเหมือนต่างประเทศ) หนึ่งใน soft power โดดเด่นคือเรื่องศิลปะการป้องกันตัว Bruce Lee ตำนานนักแสดงผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้เคยเดินทางมาปากช่องเพื่อถ่ายทำหนังไอ้หนุ่มซินตึ๊ง หรือ The Big Boss หนึ่งในผลงานที่ทำให้เขาโด่งดังเป็นพลุแตก และผลักดันศิลปะการต่อสู้จากตะวันออกก้าวสู่ mainstream แม้จะไม่มีฉากต่อสู้กับนักมวยไทยในหนัง แต่นักแสดงสมทบคนหนึ่งได้เผยว่า กองถ่ายได้ว่าจ้างนักมวยไทยมาเข้าฉาก เข้ามาท้าประลองฝีมือแต่ก็พ่ายแพ้ฝีมือจีทคุนโดของพระเอกเชื้อสายฮ่องกง แต่ปรมาจารย์มวยไทยรายหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องราวที่ได้ยินมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง และดูเหมือนกับเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาจากกองถ่ายซึ่งไม่มีการยืนยันชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นจริง

แต่ในเวลาต่อมา ศิลปะการต่อสู้ของชาติไทยก็ได้ปรากฏในหนังดังและสร้างสมชื่อเสียงยาวนาน  นอกจากกีฬามวยไทยจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวต่างชาติ ก็ยังมีนักสู้ที่เดินทางเข้ามาฝึกฝนมวยไทยเหมือนกับหนัง Kickboxer จากปี 1989


ผลงานที่ Jean-Claude Van Damme รับบทนักมวยที่เดินทางมาฝึกฝนมวยไทยกับปรมาจารย์เพื่อล้างแค้นให้กับพี่ชายที่พ่ายแพ้ให้กับมักมวยไทยสุดโหดจนเป็นอัมพาตสามารรถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมจนสร้างรายได้สวยงามแม้จะเป็นหนังทุนสร้างต่ำ (imdbประมาณไว้ที่ $1,500,000 เท่านั้น) ถึงขนาดสร้าง franchise รวมกันถึง 7 ภาค และยังมีหนัง action แนวเดียวกันตามมาคือ The King of the Kickboxers (1990)

หนึ่งในหนังที่ได้นักวิจารณ์ให้คะแนนดีคือ A Prayer Before Dawn ที่สร้างขึ้นมาจากชีวิตของ Billy Moore นักมวยจากอังกฤษที่ต้องติดคุกข้อหายาเสพติดในเมืองไทย เพื่อเอาตัวรอดจากความรุนแรงและการใช้อิทธิพลระหว่างถูกจำจำจึงต้องหันมาพัฒนาทักษะการชกมวยไทยจนได้รับเลือกขึ้นสังเวียนต่อสู้ในฐานะตัวแทนเรือนจำ แม้หนังจะมีโอกาสได้เข้าฉายในเทศกาลเมือง Cannes และลงจอทาง Netflix แต่ภาพความโหดร้ายในคุกอาจจะทำเกิดความรู้สึกหดหู่มืดมนเกินกว่าประทับใจกับแม่ไม้มวยไทย





ภาพความดุดันทรงพลังแบบไม่ต้องจัดฉากของมวยไทยที่ปรากฏผ่านสื่อต่างๆจึงทำให้กีฬาชนิดนี้ดึงดูดผู้ติดตามเป็นล้านๆ แต่แม้ว่าจะมีชื่อเสียงถึงเพียงนี้ มวยไทยกลับถูกบรรจุในหนัง Hollywood ทุนต่ำหลายเรื่อง บ้างก็ถูกนำเสนอผ่านนักสู้ผู้ท้าชิงที่ถูกโค่นล้ม คงไม่น่าแปลกใจหากจะมีคนอยากจะเห็นหนังมวยไทยจากสตูดิโอดังที่พร้อมทุ่มทุนสร้างเหมือนกับหนังที่เชิดชูศิลปะการต่อสู้ชนิดอื่น เพราะแค่ได้ชมภาพ slowmotion จากการต่อสู้ในสังเวียนจริงก็น่าตื่นตาตื่นใจแล้ว




The Beach (2000)

 The Beach อาจจะไมใช่หนังที่กอบโกยรายได้ถล่มทลาย  ด้วยทุนสร้างถึง 50 ล้านดอลลาร์ ก็พอจะได้กลับมาที่ 144.ล้าน   แต่มันกลายเป็นผลงานที่สร้างเสียงถกเถียงถึงผลกระทบต่างๆที่ตามมาหลังจากที่สร้างชื่อเสียงให้กับอ่าวมาหยาให้ระบือไกลไปทั่วโลก   แท้จริงแล้ว  นี่ไม่ใช่หนังเรื่องแรกที่ใช้อ่าวอันงดงามนี้เป็นโลเคชั่นถ่ายหนัง   แต่ห้าปีก่อนหน้านั้น   Cutthroat Island หนังแนวโจรสลัดผจญภัยก็เคยนำเสนอหาดสวยน้ำใสราวกับคริสตัลแห่งนี้มาแล้ว  แต่น่าเสียดายที่มันกลายเป็นหนึ่งในหนังที่ล้มเหลวมากที่สุดในประวัติศาวตณ์  ผู้คนจึงไม่ได้ใส่ใจถึงโลเคชั่นสวยชวนตะลึงมากนัก

แต่เมื่อ The Beach ได้สร้างกระแสเกรียวกราวตั้งแต่เริ่มต้นที่คว้าตัว Leonardo ที่ครองตำแหน่งพระเอกสุด hot ในช่วงเวลานั้นมานำแสดง มนต์ขลังของการท่องเที่ยวแบบสะพายเป้แบกหลังก็ได้ดึงดูดให้อ่าวมาหยากลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังมากที่สุดแห่งหนึ่งในทะเลภาคใต้บ้านเรา


หลายคนที่เกิดทันยุค The Beach อาจจะยังไม่ลืมเลือนกันไปว่า การถ่ายทำหนังเรื่องนี้จุดประแสวิพากษ์วิจารณ์เป็น controversy ระดับชาติ ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ไม่เว้นวัน แม้ว่าจะเคยมีการใช่อ่าวมาหยาถ่ายทำหนังเรื่องอื่นมาก่อน แต่ด้วยชื่อเสียงของ Leo ทีร้อนแรงปรอทแตกจาก Titanic ทำให้ชาวไทยสนใจติดความเคลื่อนไหวของหนังเรื่องนีี้และถกเถียงกันถึงผลดีผลเสียหลังจากอธิบดีกรมป่าไม้อนุญาตให้บริษัทสร้างหนังเข้ามาปรับภูมิทัศน์หน้าหาด ภาพของการใช้รถและเครื่องจักรใหญ่เข้ามาขุดทรายและปลูกต้นมะพร้าวเพิ่มเติมทำให้นักอนุรักษ์ต่างวิตกกังวลถึงสภาพนิเวศที่อาจจะถูกทำลายจนยากจะหวนคืน อบจ.กระบี่ และ อบต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ ได้ยื่นฟ้องอดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์และอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้อนุญาตให้ 20th Century Fox เข้ามาถ่ายทำหนังและปรับสภาพพื้นที่ชายหาดการต่อสู้คดียืดเยื้อยาวนานจนมาถึงบทสรุปเมื่อปีที่แล้วให้สตูดิโอยักษ์ใหญ่ชดเชยเงินค่าเสียหายเป็นจำนวนสิบล้านบาทจากที่โจกท์เรียกค่าเสียหายนับร้อยล้าน ส่วนจำเลยอีกสองราย ศาลพิพากษายกฟ้อง


ปัญหาความเสียหายทางระบบนิเวศที่เกิดจากการถ่ายทำ The Beach ยังสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องจากความโด่งดังจากภาพเกาะสวรรค์ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและขาวต่างประเทศต้องได้เห็นสักครั้งในชีวิต แม้มันจะไม่ได้ถูกยกเป็นหนังคลาสสิคที่ทำรายได้ถล่มทลาย แต่ความบูมก็แทบไม่ลดลงไปตามเวลา นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติของหาดทรายขาวละเอียดและน้ำสีฟ้าใสดุจอัญมณี หนังเรื่องนี้ถ่ายทำในช่วงเวลาที่รัฐบาลไทยเร่งเดินหน้าโครงการ Amazing Thailand เพื่อโพรโมทการท่องเที่ยวหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และคาดหวังเงินรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อประคับประคองให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติไปให้ได้ มันคือยุคที่การเดินทางสู่ภาคใต้เป็นเรื่องสะดวกสบายและยังมีตัวเลือกหลายระดับที่เหมาะสมกับงบประมาณใช้จ่ายตั้งแต่การท่องเที่ยวแบบ backpack ไปจนถึงบริการหรูหราห้าดาว อ่าวมาหยากลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศ

จำนวนผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามาเยือนหาดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์บนดินพุ่งสูงจนนักอนุรักษ์ออกมาทัดทานอย่างหนัก การจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้หาดเสื่อมโทรมลงอย่างน่าใจหาย ช่วงที่ยังไม่ได้จำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวนั้นอาจจต้องรองรับผู้มาเยือนถึง 5000 คนต่อวัน รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมไร้ระเบียบและการทิ้งสมอเรือ ในที่สุดต้องใช้มาตรการปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูสภาพนิเวศ เมื่อถึงเวลาเปิดอ่าว นักท่องเที่ยวก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียนที่เคร่งครัดขึ้น ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำหน้าหาด ทั้งจำกัดเวลาและจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละรอบ

The Beach อาจจะจุดประเด็นความขัดแย้งว่าในแง่การอนุรักษ์ธรรมชาติ  แต่ยังมีคนมากมายที่เชื่อว่า  การถ่ายทอดเรื่องราวการเสี่ยงผจญภัยแบบ backpacking ไปสู่เกาะสวรรค์เปรียบได้กับแม่เหล็กที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้จัดของใส่เป้ใหญ่เดินทางเข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่น่าลิ้มลอง ซึ่งไม่จำเป็นว่าพวกเค้าจะต้องตั้งจุดหมายปลายทางไว้ที่อ่าวมาหยาเพียงเท่านั้น  แต่สามารถตามรอยหนัง (และหนังสือ) ตั้งแต่ถนนข้าวสาร เกาะสมุย พะงัน   การปิดหาดมาหยาในแต่ล่ะปีไม่ใช่ปัญหา เพราะเพียงแค่คลิกหาข้อมูลจากโลกออนไลน์ก็จะได้พบว่า ยังมีความงดงามจากฃฃหมู่เกาะอื่นๆที่รอให้ไปเยือน   ถึงแม้ในความเป็นจริง เราอาจจะไม่สามารถปล่อยใจระดับ exmtreme จนทิ้งความปลอดภัยเหมือนกับตัวละครในหนังที่ลุยว่ายน้ำข้ามไปเกาะลึกลับที่น้อยคนจะรู้จัก กระโดดน้ำตกชวนหวาดเสียว หรือไปขอใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชุมชนที่แทบจะตัดขาดจากโลกภายนอก   แต่ภาพที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาของหนุ่มสาวใน The Beach ก็ได้จุดประกายให้หลายคนเดินทางเข้ามาค้นหารสชาติใหม่ของชีวิตจากทริปเมืองไทย


Lost in Thailand (2012)

สมัยที่ห้วยขวางยังเป็นห้วยขวาง ไม่ได้มีฉายามณฑลไท่กั๋ว  และเชียงใหม่ก็ยังไม่ได้คลาคล่ำไปด้วยทัวร์จีน    หนัง comedy เรื่องนี้ทำให้การท่องเที่ยวเมืองไทยกลายเป็นเทรนด์ดังที่ชาวจีนจำนวนมากมายต้องเข้ามาสัมผัสให้ถึงแก่น  นี่คือหนังทุนต่ำที่สามารถกอบโกยรายได้มหาศาลจนผู้สร้างยังตกอกตกใจ นับเป็นผลงานที่สร้างประวัติศาสตร์เรื่องตัวเลขรายได้ในยุคนั้น ทั้งๆทีเคยเป็นผลงานที่เกือบจะถูก cancel เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน   เนื่องจากสวีเจิ้ง ผู้กำกับและทีมงานยังหน้าใหม่สุดๆ  เขาทั้งอำนวยสร้าง กำกับ เขียนบท โพรดิวซ์และเล่นนำเอง แต่นักลงทุนกลับไม่แน่ใจว่า หนังเรื่องนี้จะมีโอกาสสร้ากำไร หรือเป็นเรื่องการนำเงินไปละลายให้กับ project สุดเพ้อฝันของนักแสดงตลกผู้นี้   จะมีใครบ้างที่คาดคิดว่าหนังแก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์จะทุบรายได้ไปเกิน 1,000 ล้านหยวน  ในตอนนั้น คนไทยบางคนยังบอกว่าเหลือเชื่อ!   ปัจจุบันมีหนังเรื่องอื่นทำลายสถิติรายได้นี้ไปแล้วหลายเรื่อง  แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังฟอร์มยักษ์ที่มีนักแสดงระดับแม่เหล็ก ไม่ใช่หนังฟอร์มเล็กที่ต้องกว่าจะสร้างให้เสร็จก็หืดขึ้นคอเช่นนี้



นวดไทย ปลาสปาเท้า สาวสองสุดสวย รถไฟชั้นสาม รถตุ๊กตุ๊กยันรถซาเล้งพ่วงข้าง แม่ไม้มวยไทย ปล่อยโคมยี่เป็ง วัดวาอาราม เมื่อนึกถึงฉาก Soft Power จัดเต็มนี้อาจจะทำให้พวกเรายกให้เป็น case study ของการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวระดับประเทศ ไม่ต้องอวยยศแต่ด้านสวยเงามให้ดูเกินจริง คนบ้านเราอาจจะฮากับลีลาการพากย์เพิ่มมุกแพรวพราวของทีมงานพันธมิตร ส่วนฝั่งจีนนั้นเกิดปรากฏการณ์ booking ทริปตามรอยหนังกันแทบไม่ทัน เมื่อนักท่องเที่ยวจากจีนเฮโลเข้ามาก็ได้ค้นพบกับสิ่งดึงดูดใจนอกเหนือจากในหนังจนกลับมาย้ำความฟิน

ในช่วงเริ่มต้นก็สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงชัดเจน จากที่เคยเดินเที่ยวสยามสแควร์ในยุครุ่งเรืองมาหลายปี ไม่เคยประสบพบพานการต่อคิวซื้อน้ำมะม่วงมาก่อนก็ได้สำเหนียกว่ามันแสนจะ fever มากแค่ไหน ทั้งยังมีแหล่ง shopping ที่ผุดขึ้นมารองรับทัวร์จีน กลุ่มหนุ่มสาวจีนที่แต่งตัวฟรุ้งฟริ้งแมทช์กันดูเป็นเรื่องผู้คนตามแหล่งท่องเที่ยวคุ้นเคย บางครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่และภูเก็ต ก็มีเสียงทักทายจากพ่อค้าแม่ค้าเป็นภาษาจีนไว้ก่อนซะด้วยซ้ำ




แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่า นี่คือหนังที่ตามรอยความสำเร็จของ The Hangover 2 ที่ใช้โลเคชั่นหลักในเมืองไทยขายพล็อทการผจญภัยฝ่าวิบากกรรมทุกข์เข็ญของตัวละครนำจนโกยรายได้ทั่วโลกไปถึง 586.8 ล้านดอลลาร์  แต่ความสำเร็จของแก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์ได้ช่วย boost กระแสการท่องเที่ยวไทยจากฝั่งตลาดจีนอันเป็นเป้าหมายที่หลายฝ่ายถวิลหา  เงินที่ไหลเวียนเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลไทยเชื้อเชิญทีมงานสร้างหนังมาพบปะพูดคุยและแสดงความยินดี และประกาศ welcome ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการภาพยนตร์และรายการจากจีนให้เข้ามาสร้างผลงานเพื่อเผยแพร่สิ่งดีๆจากบ้านเรา วางแผนโพรโมทการท่องเที่ยวในประเทศมหาอำนาจกันแบบยาวๆ

ในปี 2015 ยังมีที่หนังกระแสดีที่ใช้โลเคชั่นเมืองไทยอีกเรื่องคือ Detective Chinatown หรือแก๊งม่วนป่วนเยาวราช แม้ว่าหนังจะไม่ได้โฟกัสที่การโชว์ด้านที่สวยงามเพียงอย่างเดียวแต่ก็มีฉากน่าสนใจ ทั้งฉากตลาดน้ำ (ที่แสนวุ่นวาย) ชุมชนแออัดริมทางรถไฟ สายไฟที่พันกันยุ่งเหยิงที่เสาไฟฟ้า ทำหมั่งหมิงริมถนน เครื่องแบบนักเรียนอันโด่งดัง และภาพของนักแสดงที่มอมแมมจนแทบจะรู้สึกถึงความเหนียวเหนอะหนะจากอุณหภูมิร้อนผ่าวแทบทั้งเรื่อง แต่มันก็กลายเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ถูกจริตชาวจีน ทำรายได้ไปมากกว่าสี่พันล้านบาทไทย

ความสำเร็จของหนังเหล่านี้ก็น่าจะพิสูจน์ว่า ไม่จำเป็นต้องงัดเอาสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามตระการตามาเป็นจุดขายเท่านั้น ในบางครั้งความดิบ แบบ Thailand Only ก็ดึงดูดใจไม่แพ้กัน และดูเหมือนว่าการนำเสนอ Soft Power มักจะไปกันได้ดีกับแนว comedy ถึงขนาดว่า ผู้กำกับ Detective Chinatown เลือก ending credit แบบ music videoที่จัดขบวนอวยวัฒนธรรมไทยแบบเต็มๆ นางรำก็มี นางโชว์ก็มา ยังไม่หนำใจ ต้องมีฉีดน้ำสงกรานต์ประกอบเพลงสวัสดีครับ สบายดีครับ

แต่หนังจีนดึงคนไทยให้มาเที่ยวเมืองไทยได้อย่างน่าทึ่งสักเพียงใด ก็มีหนังจีนที่จุดประเด็นให้นักท่องเที่ยวเกิดความหวาดหวั่นกับความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพในทริปเช่นเดียวกัน

  • Lost in the Stars หนังสืบสวนระทึกขวัญที่สร้างขึ้นมาจากเรื่องจริงจากคดีสามีพยายามฆ่าภรรยาที่ผาแต้ม หนังสร้างรายได้พุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งด้วยตัวเลข 3,471 ล้านหยวน (อันดับ 12 ในประวัติศาสตร์ box office จีน) 
  • No More Bets ที่ตีแผ่ขบวนการค้ามนุษย์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ (แม้จะไม่ได้ระบุประเทศ แต่ก็มีตัวอักษรและฉากที่พวกเราคุ้นตา) ทำเงินไปแบบสวยๆ 2,746 ล้านหยวน






หนังทั้งสองเรื่องต่างมีจุดเชื่อมโยงที่การคอร์รัปชั่นในระบบที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนขาดความเชื่อถือในความปลอดภัยระหว่างเดินทางมายังไทย ถึงขนาดถูกเปรียบเทียบเป็นการออกคู่มือเตือนภัยไม่ให้ท่องเที่ยวในประเทศแถบ Asean มีการวิเคราะห์ว่า นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนชะลอตัวลงไป ทั้งๆที่รัฐบาลนำเสนอโครงการ free visa เพื่อดึงดูดให้ชาวจีนเข้ามาท่องเที่ยวหลังผ่อนคลายมาตรการ COVID มากกว่าเดิม เมื่อบวกกับกระแสข่าวลือจาก social media จากเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์และและการขโมยอวัยวะ ทำให้มีคนออกมาตั้งคำถามว่า หากมาเที่ยวไทยแล้วเสี่ยงจะถูกลับพาตัวไปผ่าตัดอวัยวะขายหรือไม่?!

เมื่อมีการตั้งแบบสำรวจความคิดเห็นจากชาวเน็ทจีนก็ดูจะสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดฮวบลง เพราะมีคนจำนวนมากที่ระบุว่า เกิดความกังวลต่อความปลอดภัยจนเลือกท่องเที่ยวในประเทศหรือประเทศอื่นที่ดูปลอดภัยมากกว่า

ชัดเจนว่า การเชิดชู Soft Power แบบไทยในหนังนอกได้ส่งผลดีกับตัวเลขรายได้ที่เกิดจากห่วงโซ่การท่องเที่ยว แต่เมื่อเปลี่ยนทิศทางการสร้างหนังมาเป็นการตีแผ่ด้านมืดของสังคมไทยบวกกับการปล่อยข่าวที่ขาดหลักฐานก็ยิ่งส่งผลกระทบทั้งเรื่องภาพลักษณ์ อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ไม่พุ่งตามเป้าหมายที่รัฐคาดการณ์ไว้ยังเกิดจากปัจจัยอื่นๆ จากการรายงานของสำนักข่าวซินหัวว่า ประเทศไทยยังได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน แม้กระแสด้านลบที่เกิดขึ้นทาง social media จะสร้างความกังวลอยู่บ้าง

แต่จะมีสถานที่ใดบ้างในโลกที่สมบูรณ์แบบไปหมดทุกประการ? ภาพจากหนังดังบางเรื่องอาจจะไปกระทบกระเทือนความรู้สึกของคนบางกลุ่มที่ไม่ต้องการให้โลกได้รู้จักประเทศไทยในแง่มุมที่ฉาวโฉ่ แต่ประชาชนอีกไม่น้อยที่ยักไหล่ใส่กับเรื่องพวกนี้อย่างไม่ยินดียินร้าย เพราะถึงหนังจะเล่นใหญ่ดูเกินจริงยังไง ก็เป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจาก fact อย่างเช่น ฉาก Bridget Jones ที่กินออมเล็ตเห็ดเมาไปอย่างไม่ตั้งใจจนเกิดอาการเห็นภาพหลอนที่ชายหาด หรือแกงค์ Hangover ที่เมาไร้สติจนลืมตาตื่นขึ้นมาในห้องสกปรกน่าขยะแขยงพร้อมกับแมลงสาบตัวบึ้ม ต่อด้วยการยกขบวนเดินทางไปยังย่านที่ถูกเรียกว่าถนนโลกีย์ในกรุงเทพฯ พล็อทอาจจะดูหลุดโลกจนมีคนออกมาแสดงความเป็นห่วงต่อภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศ แต่คงต้องสะกดจิตตัวเองอย่างแรงหากจะปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านี้ไร้ที่มาที่ไปอย่างสิ้นเชิง

การนำเสนอศิลปะภาพยนตร์ย่อมมาจากจินตนาการผสานกับเรื่องราวชีวิตจริง มันอาจจะสร้างความสงสัยให้กับใครบางคนว่า จะเกิดความเสียหายทางการท่องเที่ยวหรือไม่? แต่กระแสตอบรับจากหนัง Hangover และ Bridget Jones ก็ไม่ถึงกับน่าหวั่นใจเหมือนกับกระแสข่าวลือเรื่องการลักพาตัวนักท่องเที่ยวเพื่อเผ่าตัดไตไปขาย หรือล่าสุดคือข่าวขบวนการขอทานจีนที่มีรอยแผลผิวหนังไหม้และพิการที่มีการตั้งข้อสันนิษฐานถึงความโยงใยกับขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ



การท่องเที่ยวเป็นเรื่องของรสนิยม หากชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือธรรมชาติก็มีสถานที่ให้เลือกสรรตรงกับจริต แต่สำหรับคนที่ต้องการสัมผัสความบันเทิงยามค่ำคืนเพราะได้แรงบันดาลใจจากหนังดังดัง มีผู้ผลิตคอนเทนท์ให้ตามรอยและยังมีคำเตือนเพื่อท่องราตรีอย่างปลอดภัยอีกด้วย


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE