ปมขัดแย้งเรื่องเพศสั่นสะเทือนวงการมวย Olympics

11 7

หลังจาก Imane Khelif นักมวยหญิงจากแอลจีเรียสามารถเอาชนะจันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง หนึ่งในทีมชาติที่ชาวไทยได้ร่วมส่งแรงเชียร์ไปให้ เพิ่มความเป็นไปได้ที่เธอจะคว้าเหรียญทองลำดับที่ 7 ให้กับแอลจีเรีย ไม่ต่างจากหลิน อวี้ ถิง นักมวยไชนีสไทเปที่การันตีเหรียญทองแดงไว้แล้วในการก้าวสู่สังเวียนรอบตัดเชือก แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จของนักกีฬาทั้งสองได้จุดประเด็นถกเถียงดุเดือดในโลกออนไลน์รวมถึงเสียงรียกร้องให้มีเปิดเผยข้อมูลเรื่อง'เพศทางชีววิทยา'องนักมวยทั้งสองว่า มีร่างกายเป็นหญิงแต่กำเนิด เนื่องจากผู้คนมากมายยังปักใจเชื่อว่า นักมวยจากสองชาตินี้ไม่ใช่หญิงแท้ แต่กำลังบิดเบือนความจริงด้วยการใช้ช่องโหว่ของกฎระเบียบการตรวจพิสูจน์เพศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการเอาชนะคู่แข่ง ส่วนฝั่งที่เห็นต่างก็ออกมาปกป้องพวกเธออย่างเต็มที่ หลายคนเลือกเชื่อในการตัดสินใจขององค์กร IOC ว่าถูกต้องเหมาะสม แม้องค์กร IBA (หรือเดิมคือ AIBA) จะเคยตัดสิทธิ์พวกเธอหลังจากผลการตรวจพิิสูจน์เพศหญิงไม่ผ่าน ทั้งยังมีกระแสข่าวแพร่สะพัดว่า ทั้งสองมีโครโมโซม XY ของเพศชาย

พวกเธอเป็นหญิงแท้หรือ intersex หรือ transgender กันแน่? โลกออนไลน์ก็พยายามปะติดปะต่อหาข้อมูลมายืนยันสมมุติฐาน

เราลองมาฟังข้อมูลจากฝ่ายที่ถูกกล่าวหากันบ้างค่ะ

กล่มคนคัดค้านซัดหนัก นักมวย XY มีกายภาพแบบผู้ชายและเสี่ยงจะสร้างอันตรายใหญ่หลวงต่อคู่แข่ง XX
ยังมีชางเน็ทอีกจำนวนที่ไม่เห็นด้วยที่ Imane Khelif และหลิน อวี้ถิงควรจะได้รับการรับรองเรื่องความเป็นหญิง เพราะเชื่อว่า เพียงแค่พิจารณาเรื่องกายภาพภายนอกที่ตรงกับเพศชายหลายประการ ทั้งลูกกระเดือกใหญ่ เสียงที่เหมือนกับผู้ชาย สัดส่วนร่างกายที่ดูกำยำ แม้ว่านักกีฬาหญิงจากหลายประเภืกีฬาจะเทรนจนร่างกายเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ แต่ก็สามารถแยกแยะเพศด้วยตาเปล่าได้อย่างง่ายดาย เกิดเป็นเสียงวิจารณ์ฮือฮาว่า มันเป็นเรื่องยากที่จะให้ หากให้มองข้ามเรื่องร่างกายภายนอกไป ก็ยังมีผลการตรวจเพศ AIBA (สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ หรือที่รีแบรนด์ตัวเองใหม่เป็น IBA) พิจารณาผลการตรวจร่างกายแล้วว่าไม่ผ่านเรื่องความเป็นหญิง โดยเฉพาะการยืนยันจาก Chris Roberts ผู้บริหาร IBA ว่าตรวจเลือกของนักมวยทั้งสองซ้ำสองครั้งและผลจากแลบที่ออกมาระบุโครโมโซมที่ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การแข่งขันชกมวย แม้เขาจะไม่ได้ฟันธงตรงๆว่า นักมวยจากแอลจีเรียและไต้หวันเป็นเพศชายเพราะมีโครโมโซม XY และอธิบายว่า ไม่สามารถล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของนักกีฬาได้ แต่การแถลงข่าวถึงสาเหตุที่ตัดสิทธิ์นักมวยทั้งสองก็ทำให้ชาวเน็ทโจมตีไม่หยุดยั้ง




หลายคนแสดงความเห็นตรงกันว่า แม้จะยกเหตุผลและหลักฐานจากสองประเทศมายืนยันเรื่องความเป็นหญิงของนักกีฬาทั้งสอง แต่ยังเกิดข้อถกเถียงเรื่องระดับเทสโทสเตอโรนที่ชาวเน็ทต้องการคำอธิบายเป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อหักล้างต่อข้อกล่าวหาว่า นักมวยสองคนคือชายแต่กำเนิด แต่ใช้ความได้เปรียบจากการเปิดโอกาสด้านความหลากหลายทางเพศเพื่อขึ้นมาต่อสู้บนสังเวียนกับนักมวยหญิง เพื่อสร้างความยุติธรรมให้นักกีฬาหญิงที่ธรรมชาติสร้างมาให้มีกล้ามเนื้อและพละกำลังแข็งแกร่งน้อยกว่าผู้ชายยัง รวมถึงกลุ่มคนที่แสดงความวิตกกังวลว่า หากยังปล่อยให้นักมวยที่มีเพศกำกวมและมีความได้เปรียบจากฮอร์โมนเพศชายขึ้นชกกับนักมวยหญิง ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของคู่แข่งหญิง

ดังที่ Brianda Tamara Cruz นักมวยชาวเม็กซิกันที่เคยแชร์ประสบการณ์ต่อยมวยกับ Imane Khelif เมื่อปี 2022 ว่า ในชีวินนักมวยที่ยาวนานถึง 13 ปีของเธอ ไม่มีครั้งใดเลยที่เธอจะเจ็บหนักจากการแข่งขันชกมวยได้เท่ากับการต่อสู้กับ Imane ทั้งๆที่เธอเคยชกกับผู้ชายมาแล้ว ก็ยังไม่สะบักสะบอมเช่นนี้ เธอได้แต่ขอบคุณพระเจ้าที่่สามารถออกจากสังเวียนโดยที่ไม่เกิดอันตรายต่อชีวิต และรู้สึกรู้สึกยินดีที่ Imane ถูกตัดสิทธิ์จาก IBA’s 2023 world championships เนื่องจากตรวจเพศไม่ผ่าน

กรณีตัวอย่าง: Maria Martinez-Patino นักวิ่งข้ามรั้วหญิงที่มีโคโมโซม XY แต่พิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้มีความได้เปรียบใดๆจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
หากเป็นในอดีต การตรวจเพศนักกีฬาอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ฟังดูซับซ้อนหรือมีปัจจัยที่กำกวมต่อการพิสูจน์ เทคโนโลยีการแพทย์ ที่นำสมัยทำให้พวกเราสามารถตรวจสอบโครโมโซมเพศของทารกในครรภ์ที่มีผลแม่นยำ  ที่ผ่านมา มหกรรมกีฬา Olympics ก็ได้พัฒนาวิธีการตรวจเพศนักกีฬาด้วยการยึดมาตรฐานการตรวจโคโมโซมเพศเป็นหลักมาเนิ่นนานสาม แต่ก็มีจุดเปลี่ยนในการใช้เกณฑ์อื่นมาร่วมตัดสิน นั่นคือ ผลการตรวจระดับเทสโทสเตอโรนที่จะแสดงความได้เปรียบทางความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน




Maria Martinez-Patino นักกีฬาวิ่งข้ามรั้วหญิงจากสเปนเคยถูกสังคมประนามว่า เป็นนักกีฬาลวงโลกที่เข้าร่วมการแข่งขันวิ่งข้ามรั้วหฐิง แต่เธอกลับมีโคโมโมโซม XY แม้ผลการตรวจจะยืนยันว่า เธออยู่ในกลุ่ม Intersexหรือเพศกำกวม ทั้งการใช้ชีวิตและรูปลักษณืภาบนอกก็ดูเป็นเพศหญิงไม่ผิดเพี้ยน แต่ก็ต้องต่อสู้ยาวนานหลายปีกว่าจะเป็นที่ยอมรับให้เข้าร่วมแข่งขันกีฬา Olympics ในยุค 90s เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่า เธอมีภาวะ androgen insensitivity syndrome (AIS) กลุ่มของความผิดปกติทางการเจริญทางเพศ เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนตอบรับต่อแอนโดรเจนกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาทางเพศเป็นเพศหญิง และทำให้เกิดความผิดปกติทางอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ไม่มีมดลูก ไม่มีประจำเดือน

จากรายงานข่าวในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ทำให้มีผู้วิเคราะห์ว่า หรือนักมวยจากแอลจีเรียและไต้หวันจะอยู่ในกลุ่มผู้อาการ AIS ไม่ใช่ trans ดังที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ทั้งยังมรายงานว่า อาจจะเป็นอาการ Swyer Syndrome ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ หรือเป็นอาการ 5α-Reductase 2 deficiency เหมือนกับนักวิ่งระยะไกล Caster Semenya ที่ถูกจัดอบู่ในกลุ่มนักกีฬา intersex


พ่อของ Imane งัดหลักฐานการแจ้งเกิด เป็นหญิงแต่กำเนิด

ฝ่ายครอบครัวคนสนิทของ Imane khelif ได้ยืนยันถึง identity ที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า เธอคือผู้หญิงที่แท้จริง พ่อของเธอได้นำเอกสารราชการมาท้าพิสูจน์ และยืนยันว่า นี่คือลูกสาวแท้ๆของเขา ตัวเขาเองก็ยังเคยต่อต้านเมื่อเธอสนใจฝึกฝนกีฬาชกมวยซะด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะเขามองว่า นี่คือกีฬาที่รุนแรง เหมาะต่อเพศชายที่มีพละกำลังสูงกว่า แต่ก็ต้องยอมให้กับความมุ่งมั่นของเธอ

พ่อของเธอประกาศว่า
"Imane คือสาวน้อยที่หลงรักในการกีฬาตั้งแต่เธออายุได้เพียงหกขวบ เธอเคยชอบเล่นฟุตบอลมาก่อน พวกคนที่โจมตีเธอและปล่อยข่าวลือเสียหายเพราะต้องการด้อยค่า Imane พวกเค้าไม่อยากเห็นเธอเป็นแชมป์โลก"
"ผมบอกลูกให้พิสูจน์ความสามารถบนสังเสียนให้คนพวกนั้นรู้ตัวว่าคิดผิด ผมหวังว่าเธอจะสร้างเกียรติภูมิให้กับแอลจีเรียและประเทศอารบิกด้วยเหรียญทอง"
"เธอคือแบบอย่างอันดีงามของพวกเรา พวกเราต่างอยากจะเป็นเหมือนกับเธอเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับแอลจีเรียและเมืองเทียเรต"




IOC ตัดสินจากเอกสาร passport ที่ระบุว่าเป็นเพศหญิง มั่นใจเรื่องเพศ
ฃแต่ถึงจะมีการยืนยันจากครอบครัวและเอกสารที่ถูกต้องทางกฎหมาย ที่ชัดเจนที่สุดคือพาสปอร์ตของ Imane ที่ระบุว่าเธอเป็นหญิง ข่าวลือโจมตีเธอก็ยังไม่สยบลงไปได้ ชาวเน็ทยังมองเธอในภาพของนักมวย transgender ที่สามารถโค่นคู่แข่งหญิงได้อย่างไม่คณามือ และไม่แคล้วก็จะคว้าเหรียญทองที่สร้างความกังขาให้ทั่วทั้งโลกกลับไปสร้างชื่อเสียงในประเทศ แต่ IOC (คณะกรรมการโอลิมปิกสากล) ได้ยืนยันความเป็นหญิงของนักมวยทั้งสอง โดยชี้ว่า พวกเธอเข้าร่วมการแข่งขันชกมวยหญิงมานานานหลายปี และเรียกร้องให้สังคมหยุดการคุกคามและเลือกปฏิบัติ
หลายฝ่ายยังชี้ว่า แอลจีเรียคือประเทศ Islamic ที่ไม่ได้ friendly กับกลุ่มเพศทางเลือก จึงเป็นสิ่งที่ยากจะเป็นไปได้หากเธอคือ trangender ที่มีร่างกายเป็นชายแต่กำเนิดแล้วเปลี่ยนแปลง identity ในภายหลัง อย่าว่าแต่จะได้ทำหน้าที่นักกีฬาทีมชาติ แต่อาจจะไม่ได้อยู่รอดในสังคมมาจนเป็นผู้ใหญ่อย่างทุกวันนี้ homosexual และการแต่งกายข้ามเพศคือสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศนี้ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของชาว LGBTQ ก็ไม่ได้รับการอนุญาต ทำให้มีผู้เชื่อว่า Imane ไม่น่าจะเข้าข่ายนักมวย transgender แต่อย่างใด


สัมภาษณ์เปิดใจ Imane "การ bully ทำให้คนพังทลายลงไปได้"
Imane อาจจะเข้าใกล้เหรียญทองเข้าไปทุกที แต่กระแสต่อต้านรุนแรงในโลกออนไลน์ทำให้เธอออกมาวิงวอนผ่านสื่อว่า

"ฉันขอส่งสารถึงผู้คนทั่วโลกให้สนับสนุนหลักการและยอมรับกฏของการแข่งขันกีฬา Olympic โปรดยุติการ bully นักกีฬาทุกคน เพราะการกระทำนี้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง"
"มันสามารถทำให้คนเราพินาศลงไปได้ ทำทำลายความคิด ขวัญกำลังใจและจิตใจเรา มันจะแบ่งแยกพวกเราจากกัน ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงขอให้หยุดยั้งเรื่อง bully ด้วยค่ะ"


เจ้าหน้าที่รัฐไต้หวันยืนยัน หลิน อวี้ถิงคือหญิงแท้
โช ควนถิง สมาชิกสภาเมืองไทเปได้ใช้พื้นที่ทาง social media อธิบายว่า หมายเลขตามบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วย 2 นั่นหมายความว่า เพศกำเนิดของเธอคือเพศหญิง เนื่องจากผู้ชายในไต้หวันจะมีเลขตามบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วย 1 และตัวเลขนี้ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงกันได้

แต่ถึงกระนั้น ในสังคมออนไลน์ของไต้หวันเองก็มีผู้ออกมาแสดงความข้องใจเรื่องเพศของเธอมากมายไปหมด บางคนถึงขั้นกล่าวหาว่ามีการบิดเบือนผลการตรวจการตรวจหาสารกระตุ้นจากองค์กรกีฬาไต้หวัน (อันเป็นหนึ่งในการคาดเดาว่า เธอโด๊ปฮอร์โมนเพื่อเร่งกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น แต่เป็นสารต้องห้ามในวงการกีฬา) หรือจะเป็นกลุ่มคนที่เหยียดหยามว่าเธอดูเหมือนกระเทย และยังมีอีกหลายคนที่เชื่อว่า เธอไม่ควรขึ้นชกมวยหญิงเพราะเป็นการเอาเปรียบคู่แข่งเกินไป แต่ก็ยังมีกองเชียร์ที่มั่นใจในความโปร่งใสของระบบทะเบียนราษฏร์ที่สามารถยืนยันเพศของเธอได้ตั้งแต่เกิด และร่วมให้กำลังใจเธอในฐานะนักมวยความหวังเหรียญทอง

สิ่งที่ชาวไต้หวันหลายคนได้รับรู้มาหลายปีคือ หลิน อวี้ถิงฝึกฝนและร่วมเข้าแข่งขันกีฬาชกมวยหญิงมาตั้งแต่เด็ก เธอเคยให้สัมภาษณ์ออกรายการ TV หลังจากที่เอาชนะในการแข่งขันชกมวยหญิงเยาวชน IBA Women’s Junior/Youth World Boxing Championships และได้รับเสียงชื่นชมจากพื้นเพชีวิตที่น่าประทับใจ เนื่องจากแรงบันดาลใจในการฝึกชกมวกคือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปกป้องแม่ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวจากน้ำมือพ่อของเธอ คนรอบตัวก็รู้จักเธอในฐานะเด็กผู้หญิงมาตลอด

หลิน อวี้ถิงไม่ได้ออกมาตอบโต้เสียงโจมตีและข้อกล่าวหาเรื่องเพศกำเนิดของเธอ เพียงแต่บอกว่า ได้รับข้อความให้กำลังใจมากมาย ทำให้เธอพยายามเพื่อจะเอาชนะอย่างเต็มที่ แต่เธอเคยประกาศหลังจากถูก IBA ริบเหรียญทองแดงจากผลการตรวจเพศไม่ผ่านไว้ว่า เธอคือผู้หญิงจริงๆ และจะไม่พยายามคิดเปลี่ยนแปลงตัวเองเพราะทัศนคติของผู้คนที่มีต่อรูปลักษณ์ภายนอกของเธอ

"ฉันต้องตั้งสมาธิจดจ่อกับผลงานบนสังเวียน หากฉันไว้ผมยาว ก็ต้องเสียเวลาดูแลมัน และก็คงไม่มีเวลาพอจะหยุดพักหลังจากฝึกซ้อม ฉันจะทำผลงานได้ดีอย่างไร หากเอาแต่ใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์"


ฝ่ายปกป้องสองนักมวยชี้ ไม่มีใคร call out ตอนที่พวกเธอชกแพ้
แม้ว่า Imane Khelif และหลิน อวี้ถิงจะเป็นแชมป์การแข่งขันในหลายรายการ แต่พวกเธอก็เคยพ่ายแพ้มาก่อน  Imane ผู้ที่ชนะน็อคมาแล้วหกครั้งเคยพ่ายนักมวยจากไอร์แลนด์ในรอบ 8 คนสุดท้ายใน Olympics ครั้งก่อนที่โตเกียว และชกแพ้มาแล้วถึงเก้าครั้ง ส่วนหลิน อวี้ถิงก็เคยตกรอบที่โตเกียวเช่นกันและพ่ายแพ้บนสังเวียนมาแล้วห้าครั้ง แต่ก่อนที่จะก้าวสู่เส้นทางคว้าเหรียญที่ Paris 2024 Olympic Games กลับไม่ได้มีคนจ้องโจมตีพวกเธอรุนแรง อาจจะมีสื่อจุดประเด็นเรื่องความกำกวมทางเพศเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คน แต่ก็ไม่ใช่การ debate ระดับโลกเหมือนในขณะนี้ หลายคนแนะนำให้ชาวเน็ทตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาถึงสิ่งเบื้องหลังความขัดแย้งระหว่าง IOC และ IBA ก่อนที่จะตัดสินว่า นักกีฬาทั้งสองคนคือชายแต่กำเนิดจากการมองเรื่องรูปร่างหน้าตาภายนอกของพวกเธอเพียงอย่างเดียว

หลิน อวี้ถิงเคยเปิดใจกับสื่อในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจกับเรื่องรูปลักษณ์ที่ดูเหมือนผู้ชายของเธอว่า มันได้บั่นทอนกำลังใจ ทำให้เธอไม่รู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับในฐานะนักมวยหญิง
"เมื่อฉันถูกชกคว่ำลงกับพื้นจนเลือดกำเดาไหล ในเวลาต่อมาก็จะเห็นแต่บทความที่วิจารณ์เรื่องรูปลักษณ์ที่ดูเป็นเพศกำกวม หาว่าฉันเป็นผู้ชายบ้างล่ะ หรือไม่ก็บอกว่าโด๊ปยาจนดูเป็นแบบนี้"

ไม่เพียงแต่เรื่องการแข่งกีฬา เรื่องธรรมชาติอย่างการใช้สุขาสาธารณะยังเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจให้กับเธอ เพราะมักถูกเตือนให้ไปเข้าห้องน้ำชายทั้งๆที่เธอคือผู้หญิง ถูก bully และถามเรื่องเพศต่อหน้ามาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่หลิน อวี้ถิงก็ยืนยันหนักแน่นว่า เธอจะไม่ทำให้เรื่องพวกนี้ฉุดรั้งตัวเธอ

"เมื่อคิดจะเป็นนักกีฬาผู้เก่งกาจ หากรับมือกับความกดดันในระดับนี้ไม่ได้ ก็คงไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะตัวแทนของชาติและมุ่งมั่นสู่ชัยชนะได้"



candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE