ถ่ายรูปยังไงให้สีไม่เพี้ยน ถ้าเพี้ยนแล้วจะแก้ยังไง
Na-nacha 64 24เคยมั้ยถ่ายรูปรีวิวผลิตภัณฑ์ หรือ Make Up Look แล้วสีเพี้ยน?
ถ่ายออกมาแล้วรูปติดเหลือง ติดฟ้าบ้าง ส้มบ้าง
หรือจัดไฟยังไงก็ไม่ลงตัวซักที
ไม่รู้จะแก้ยังไง ต้องเซ็ทฉากรอแสงใหม่ ถ่ายใหม่?
About This Look!
รูปซ้ายคือ รูปที่ถ่ายออกมาโดยไม่ผ่าน Process ใดๆ ส่วนรูปขวาคือ รูปที่ผ่าน Process มาแล้ว
งานล่าสุดที่เราถ่ายเลยจ้าาา
งาน BurberryxJeban แสงเพี้ยนจนนางแบบหน้าเทาไปเลยยยย
ทั้งๆ ที่ในงานคือไฟแบบในห้างสรรพสินค้า โซนบิ้วตี้
ที่แบบ.. แต่งหน้าส่องกระจกยังไงฉันก็สวย
วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคเกี่ยวกับแสงและการตั้งค่ากล้องถ่ายรูปของเรา
รวมถึง วิธีการรีทัชภาพกัน
โดยปกติแล้วเราเป็นสายถ่ายรูป Cityscape ไม่ได้ถนัดถ่ายพวก Object เท่าไรนัก
โดยวิธีที่เราใช้นั้นจะค่อนข้างเบสิก โดยอยู่บนพื้นฐานการถ่ายรูปทั่วๆไป
ขอออกตัวแบบแรงไว้ก่อนเลยว่า.. "เราแค่ถ่ายรูปเป็น ไม่ได้ถ่ายรูปสวย"
ทำความรู้จักเกี่ยวกับแสง
ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้จักแสงที่จะส่อง Object ที่เราต้องการถ่ายก่อน
โดยเราจะแบ่งแสงออกเป็น 2 ประเภท คือ
แสงธรรมชาติ คือแสงจากดวงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า สาย บ่าย หรือเย็น หรือค่ำมืด Indoor หรือ Outdoor นั้นคือมีแสงธรรมชาติเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน เราไม่สามารถกำหนดทิศทางหรือ ความเข้มแสงได้ แต่แสงธรรมชาติจะเป็นแสงที่ถ่ายรูปออกมาแล้วสีเพี้ยนน้อยมาก คือ สีในรูปถ่ายจะค่อนข้างตรงกับที่ตาเราเห็น
แสงประดิษฐ์ คือแสงที่เราสามารถสร้างขึ้นมาหรือควบคุมได้ เช่น แสงจากหลอดไฟ แฟลช แสงพวกนี้บางมีจะมีติดเหลือง ติดฟ้าบ้าง ซึ่งทำให้บางครั้งการถ่ายรูปออกมาสีเพี้ยนได้ แต่ข้อดีของมันคือการที่เราสามารถควบคุมมันได้
การจัดการกับแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์
1. แน่นอนกว่าเราต้องควบคุมจัดการกับแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้องที่ใช้ในการบันทึกภาพของเรา
กล้องที่เราใช้เป็น Canon 650D ซึ่งค่อนข้างเก่าเลยทีเดียว
"โดยเราจะมาพูดถึงการปรับค่า ISO, F, Shutter Speed, WB"
ทั้ง 4 ค่านั้นเป็นเบสิกพื้นฐานตั้งค่ากล้องของเรา
ISO คือ ค่าแสงชดเชย ซึ่งกล้องแต่ละรุ่นจะปรับได้ไม่เท่ากัน ยิ่งเลขสูง แสงที่กล้องชดเชยให้ยิ่งมากตาม ใช้ตอนที่รู้สึกว่าแสงมีความสว่างไม่พอ อย่างกล้องเราสามารถปรับได้ตั้งแต่ 100-12800 ปกติบางคนอาจจะตั้งออโต้ไว้ก็ได้
F รูรับแสง มันคือการกำหนดยอมให้ปริมาณแสงผ่านเข้าไปสู่เซ็นเซอร์รับภาพ ยิ่งค่าน้อยรูรับแสงก็ยิ่งกว้าง แสงจึงยิ่งผ่านเข้าไปได้เยอะ
Shutter Speed คือ ความเร็วในการเปิด-ปิด ม่าน Shutter ที่จะยอมให้แสงผ่านเข้าไป ยิ่งค่ามาก ยิ่งเปิด-ปิด ไว แสงก็จะยิ่งผ่านไปได้น้อย ส่วนค่าน้อย ก็จะเปิด-ปิดช้า แสงก็จะผ่านเข้าไปได้เยอะ
About This Look!
ภาพซ้ายคือ Shutter Speed จะสูงกว่าภาพขวา จะเห็นว่าไอน้อจะมีความฟุ้งมากกว่า เพราะว่า Shutter Speed ที่ต่ำทำให้แสงเข้ามาได้มากขึ้น บางครั้งแสงเยอะเกินไปอาจจะไปปรับค่า F ให้มากขึ้น เพื่อลดแสงที่จะเข้าสู่เซ็นเซอร์
สามรูปนี้คือเราปรับแค่ Shutter Speed ให้มีความแตกต่างกัน จะเห็นปริมาณแสงที่เข้ามาได้ชัดเลย
WB หรือ White Balance มันคือการควบคุมโทนสีของภาพ อันนี้แล้วแต่เลยว่าใครชอบภาพโทนสีประมาณไหน อย่างเราชอบให้รูปที่ถ่ายออกมาติดสีส้มนิดๆ แดงหน่อยๆ ก็จะตั้งไปที่กราฟล่างขวา
ทริค สำหรับเราคือ สีฟ้าจะให้ความรู้สึกที่สะอาดๆ ส่วนถ้าถ่ายรูปคนสีที่ขาดไม่ได้เลยคือส้ม หรือแดง เพราะเป็นสีที่เป็นส่วนประกอบของสีผิว หรือสีโทนน้ำตาล ส้ม จะทำให้อาหารน่าทานมากขึ้น สีเขียวเป็นสีที่ทำให้สบายตา แต่ทั้งหมดนี้ต้องไม่ปรับค่าสีจนรูปสีเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
2. การจัดการกับแหล่งกำเนิดแสง
แสงธรรมชาติเราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเราควรเลือกช่วงเวลาถ่ายภาพตอนที่แสงกำลังดี คือไม่ใช่ว่าพอควบคุมไม่ได้ เราก็ต้องเซ็ทฉากใหม่ทั้งหมดนะ สำหรับเราคือ ถ้าเลือกช่วงเวลาที่แสงกำลังดี รูปจะออกมาดีมาก เพราะแสงมันจะไม่เพี้ยน ช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าถ่ายรูปสวยคือช่วงสายๆ ก่อน 11 โมง จากนั้นก็ประมาณ บ่าย 2-4 โมงเย็น ตรงนี้เป็นเพราะองศาที่ดวงอาทิตย์ที่ทำให้แสงกระทบวัตถุสวยหรือไม่สวยนั่นเอง
แสงประดิษฐ์ โดยปกติที่เจอบ่อยๆ จะมีประมาณ 3 แบบ
แสงพวกนี้จะมีส่วนทำให้รูปเราเพี้ยนได้ วิธีแก้เบื้องต้นคือ เริ่มจากการตั้ง WB กล้อง ให้อยู่ที่จุด 0,0 ก่อน เพื่อเช็คว่ารูปที่ถ่ายออกมานั้นสีเพี้ยนไปทางโดยไหน หลังจากนั้น จึงปรับค่าสี WB ให้ Contrast กับรูปแรก เช่น รูปติดเขียว ให้ปรับกราฟไปโทนส้ม แดง
เมื่อเป็นแสงประดิษฐ์เราสามารถจัดการกับทิศทางของมันได้ เพราะฉะนั้นควรจัดการแหล่งกำเนิดแสงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย
ถ้าสังเกตรูปที่ 2 ฝั่งขวา แหล่งกำเนิดแสงตั้งฉากกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงาที่เยอะเกินไป นั่นเป็นสาเหตุนึง ที่เรารู้สึกว่าช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ จะถ่ายรูปออกมาไม่ค่อยสวย เนื่องจากพระอาทิตย์จะตั้งฉากกับเราพอดี
About This Look!
เราคิดว่าสิ่งที่ทำให้รูปสีเพี้ยนคือ แสงไฟ กับองศาของแสงที่ทำให้เกิดเงาบนหน้าที่มากเกินไป
ต่อไปคือการนำรูปที่ได้จากการถ่ายไปผ่าน Process
คือบางทีมันก็มีที่แบบ.. เออออ ทำทุกวิถีทางแล้ว แต่รูปสีก็ยังเพี้ยนอยู่ดี แล้วแบบ..
เออออ.. ถ่ายแก้ ถ่ายซ่อมไม่ได้ไง อย่างงาน Event งี้ จะไปถ่ายซ่อมยังไงอะแกร๊..
จุดนี้ถ้ามันสุดจะทนแล้วก็ Photoshop แต่งรูป แก้สีไปจ้าาา
ค่าที่เราปรับหลักๆ มีด้วยกัน 4 ค่า คือ
Brightness/Contrast
Level
Curves
Color Balance
โดยเข้าไปที่ เมนู Image > Adjustments
- Brightness/Contrast, Level, Curves เป็นการปรับแสงให้มืด-สว่าง
Color Balance แก้สีของภาพ
ต่อการกันที่การแก้สีของภาพเลยจ้า
ถ้าสังเกตรูปต้นฉบับคือ แสงที่หน้า คอ ไหปลาร้า คือไม่มีความพอดีกันเลย เป็นคนละโทนหมด หน้าคือ ติดม่วง ฟ้า ประมาณนั้น ไหปลาร้าก็คือติดส้มไปอี้กกก ส่วนที่เรารู้สึกว่าสีมันดูตรงกับความเป็นจริงคือ ช่วงหูถึงคอ คือช่วงบริเวณนี้แสงตกกระทบเยอะสุด
คือแบบบ.. ถ้าเจอแบบนี้ต้องนั่งไล่แก้สีกันไปทีละจุดเลย โดยยึดจุดที่ดูธรรมชาติไว้ ไม่ต้องปรับเยอะ
เลือกเมนูด้านซ้าย Marquee แบบวงกลม > ลากครอบบริเวณที่ต้องการแก้สี > คลิกขวา > Feather (ค่าเลขที่ใส่ขึ้นอยู่กับขนาดของรูป) ค่านี้ทำให้บริเวณขอบที่ต้องการแก้สีมีความเบลอ ฟุ้ง กลืนไปกับบริเวณรอบๆ
ไปที่เมนู Image > Adjustments > Color Balance
จะมีแถบสีขึ้นมา ให้ปรับสีโดยเลือกสีที่เป็นคู่ตรงข้ามกับสีที่เพี้ยน เช่น ถ้าเพี้ยนฟ้า-ม่วง ก็ปรับเพิ่มสีแดง แต่ละแถบที่ขึ้นมามันจับเป็นคู่ตรงข้ามไว้อยู่แล้ว
อันนี้มันไม่มีกฎตายตัวนะ ว่าทุกรูปต้องเป็นเลขเท่านี้ตลอด
About This Look!
อันนี้เป็นอีกรูปที่เราปรับแสงแล้วก็แก้สีให้ติดโทนเขียวฟ้ามากขึ้น
About This Look!
รูปนี้คือแก้ที่แสง ไม่ได้แก้สีเลย แสงที่เห็น Contrast ชัดๆ นั่นคือ แฟลชจากมือถือแค่นั้นเลย