เก้าอี้ที่บ้านยังโอเคมั้ย? เลือกยังไงให้ดีต่อหลัง เหมาะกับการนั่ง WFH ยาวๆ

87 17
จากเก้าอี้ทำงานคุ้นเคย กลายมาเป็นเก้าอี้ที่บ้าน ที่ไม่ได้ตั้งใจไว้นั่งทำงานตั้งแต่แรก ก็เริ่มรู้สึกเมื่อยตัว ปวดหลัง เพระาเก้าอี้ที่มีนั้นไม่ซัพพอร์ท

บอกเลยว่า เก้าอี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากจริงๆ เพราะวันหนึ่งๆ เราต้องติดอยู่กับเก้าอี้ตั้ง 8-12 ชั่วโมง เก้าอี้ดีจึงมีชัยไปกว่าครึ่ง ลองหาตำลงทุนกับเก้าอี้ทำงานดีๆ สักตัวน่าจะช่วยให้งานเดินดีขึ้นไปอีก แถมลดปัญหาร่างพังปวดหลังปวดคอได้นะจ๊ะ
Ergonomic Chair เดี๋ยวนี้มีศาสตร์หนึ่งเรียกว่า เก้าอี้การยศาสตร์ (Ergonomic Chair) หมายถึงเก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ ออกแบบคำนึงถึงท่านั่งที่เหมาะกับร่างกายของคนที่แตกต่างกัน เพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งนานๆ Ergonomic Chair จึงปรับฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของเราได้นั่นเอง

Ergonomic Chair

เดี๋ยวนี้มีศาสตร์หนึ่งเรียกว่า เก้าอี้การยศาสตร์ (Ergonomic Chair) หมายถึงเก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ ออกแบบคำนึงถึงท่านั่งที่เหมาะกับร่างกายของคนที่แตกต่างกัน เพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งนานๆ Ergonomic Chair จึงปรับฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของเราได้นั่นเอง

เทคนิคเลือกเก้าอี้ให้นั่งสบาย


ปรับระดับสูงต่ำได้
เก้าอี้ปรับความสูงต่ำให้พอดีกับตัวเรา นั่งแล้วเท้าต้องวางราบกับพื้นได้ ถ้ามีงบสักหน่อยเลือกเก้าอี้ที่ปรับความสูงต่ำได้ด้วยระบบโช๊คแก๊สไฮดรอลิก ระบบนี้ช่วยรองรับน้ำหนักได้อีกด้วย เวลานั่งจะรู้สึกว่าเก้าอี้เด้งได้ รับน้ำหนักได้พอดีกับตัวเรา ไม่ยุบตัวลงไปมากหรือน้อยเกินไป และไม่เด้งกลับ เก้าอี้ดีๆ บางรุ่นสามารถปรับระดับแก๊สมากหรือน้อยได้ตามต้องการอีกด้วย

ความลึกของเบาะนั่ง
เลือกเบาะนั่งที่มีความกว้างและความลึกพอดีรองรับให้นั่งได้เต็มก้นจนรู้สึกสบาย ตอนนั่งหลังด้านล่างต้องชนกับพนักพิงพอดี ถ้าให้ดีควรมีหมอนรองเอวที่ติดมากับเก้าอี้เพื่อป้องกันการปวดหลัง

วัสดุภายในของเบาะ
ภายในของเบาะจะมีฟองน้ำหรือโฟมหลายแบบ หลายระดับราคา ราคาปานกลางจะเป็นโฟมที่มีความหนาแน่นสูง ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย แต่โฟมที่ดีที่สุดตอนนี้เรียกว่า Memory Foam ที่จะยุบตัวลงรับน้ำหนักตัวเรา และยังป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนดี แต่ Memory Foam ราคาก็จะแพงกว่าแบบทั่วไปสักหน่อย

พนักพิง
เวลานั่งแผ่นหลังต้องชิดกับพนักพิง สังเกตตอนที่พิงน้ำหนักตัวต้องถ่ายไปอยู่ที่พนักไม่ใช่ที่ก้นของเรา เวลาพิงพนักแล้วพนักต้องยื่นมาด้านหน้าเล็กน้อยช่วยรองรับแผ่นหลังของเราได้พอดี เพราะเวลานั่งทำงานตัวเราจะโน้มมาด้านหน้า พนักพิงมีหลายแบบ แบบที่ช่วยให้สบายสุดน่าจะเป็นพนักพิงทรงสูงที่รองรับศีรษะและคอได้ บางรุ่นมีหมอนรองคอแบบถอดได้แถมมาด้วย ต้องลองนั่งดูว่าช่วยรองรับคอให้สบายขึ้นได้อีกทางไหม

ที่เท้าแขน
แนะนำให้เลือกแบบมีที่เท้าแขน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าของช่วงไหล่เวลานั่งนานๆ เลือกความสูงที่ท้าวแขนให้พอดีกับร่างของเรา เพราะถ้าสูงเกินไปจะทำให้รู้สึกเกร็ง ที่เท้าแขนควรมีขนาดใหญ่กว่าสองนิ้วครึ่ง วัสดุนุ่มและยืดหยุ่นดีป้องกันการกดทับ ถ้าจะให้ดีเลือกแบบที่สามารถปรับระดับได้ ทั้งเลื่อนขึ้นลงหรือกางออกสำหรับคนตัวใหญ่

วัสดุหุ้มมี 3 อย่างให้เลือก ผ้า หนัง และตาข่าย


  • หนัง : ไม่ว่าจะเป็นหนังแท้และหนังเทียมหน้าตาโดยรวมอาจจะไม่ต่างกัน แต่หนังแท้จะสวยงามคงทนกว่า ทำความสะอาดดูแลรักษาง่าย
  • ผ้า : นุ่ม นั่งสบาย ระบายอากาศได้ดี
  • ตาข่าย : เน้นดีไซน์บางเรียวทันสมัย และระบายอากาศได้ดี

Tips เลือกเก้าอี้ให้เหมาะกับเรา


  • ดีไซน์ที่ชอบ เลือกดีไซน์ที่ชอบ เปรียบเทียบงบประมาณ ราคา และวัสดุ
  • ลองนั่ง  ถึงตอนนี้จะไปลองนั่งเองที่ร้านไม่ได้ แนะนำให้ดู VDO สาธิตจากทางร้านแทนนะคะ แต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้ลองนั่งและปรับระดับต่างๆ ดูว่าเข้ากับสรีระของเราหรือเปล่า ตอนนั่งหลังด้านล่างต้องชนกับพนักพิงพอดี เท้าวางได้ราบกับพื้น เท้าแขนวางแล้วมือเสมอกับข้อศอก เวลาเอนหลังพิงพนักทิ้งน้ำหนักตัวลงไปแล้วพนักพิงรับน้ำหนักให้นั่งทำงานหลังตรงได้ และมั่นใจได้ว่าเก้าอี้จะไม่ล้มหงายหลัง ที่สำคัญนั่งแล้วรู้สึกสบายตัว
  • เลือกวัสดุ สอบถามรายละเอียดของวัสดุ คุณสมบัติของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณ


natiprada

natiprada

FULL PROFILE