แฟชั่นจาก American Black Culture กับประเด็น Culture Vulture

61 11


คุณคงเคยการโต้แย้งกันของชาวเน็ทในประเด็น Culture Vulture ตัวอย่างชัดเจนนั่นคือ ครอบครัว KarJenner ที่แสนโด่งดัง แต่กลับต้องเจอข้อกล่าวหาว่า "พยายามลอกเลียนแบบคนดำ" หรือ "ไม่ให้เครดิตคนดำที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม" นับครั้งไม่ถ้วน


นับตั้งแต่ที่มีดราม่า "ฉกฉวยทางวัฒนธรรม" ในวงการบันเทิงขึ้นมาหลายครั้ง ก็เริ่มมีคอนเทนท์ที่แสดงถึงเหตุผลและความคิดเห็นจากสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน

ก่อนที่จะตัดสินว่า นี่คือการขโมย หรือเป็นวิธีแสดงออกด้วยความชื่นชม ลองมาฟังกันในหลายๆแง่มุมดูก่อนค่ะ




"I want a girl with extensions in her hair. Bamboo earrings. At least two pair.”



นี่คือเนื้อเพลง  Around The Way Girl ของ   LL Cool J    แร็พเพอร์ผู้โด่งดังจากช่วง 90s - 2000s ที่บรรยายถึงแฟชั่นของสาวผิวดำในสเป็ค   ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว  กว่าจะเป็นสไตล์ของคนผิวดำเชื้อสายแอฟริกันเหมือนทุกวันนี้   พวกเค้าก็ต้องเรียนรู้ประสบการณ์มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี  และไม่ใช่ว่าจะเรื่องที่สร้างความรื่นรมย์ให้จิตใจเสมอไป   และนั่นนำมาซึ่งข้อโต้แย้งในหัวข้อการฉกฉวยทางวัฒนธรรม ที่ทำให้สังคมต้องร่วมถกเถียงว่าว่า เหตุใด  ชุมชนชาวผิวดำจึงหวงแหนแฟชั่นที่เป็น trademark ยิ่งนัก    

" ต่างหูห่วงใหญ่คือวัฒนธรรมของพวกเรา   ไม่ใช่เทรนด์ของคุณ"   

นักเขียนสาวชาวละตินที่อาศัยในออสเตรเลียได้เปิดใจผ่านบทความบนเว็บไซท์ vice.com  แพลทฟอร์มสื่อที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ถึงความรู้สึกที่ได้เห็นเทรนด์ต่างหูห่วงกลมใหญ่ที่สาวผิวขาวหันมานิยมชมชอบไว้อย่างเผ็ดร้อนว่า

"สำหรับผู้หญิงผิวสีจำนวนมากมาย ต่างหูห่วงใหญ่มีบทบาทสำคัญเพื่อใช้ปกป้องตัวเองและการแสดงความนึกคิด " แต่เมื่อพวกเธอใส่ต่างหูแบบนี้ ก็ถูกตีตราว่าเป็นพวกชั้นต่ำ และเมื่อผู้หญิงผิวขาวใส่ กลับได้รับคำชื่นชมว่าสวยเริ่ดหรือแม้ก็ทั่งเป็นแฟชั่นชั้นสูง


" ผู้หญิงผิวสีที่มีเชื้อสายและวัฒนธรรมจากชาติต่างๆใส่ต่างหูห่วงใหญ่มาก่อนเหล่านางแบบผิวขาวที่ใช้เส้นสายสร้างชื่อในวงการหันมาเห่อใส่โชว์ตาม Instagram ในขณะที่สไตล์แบบละตินถูกจัดเป็นเรื่องเก่าเชย ต่างหูห่วงใหญ่กลายมาเป็นเครื่องประดับยอดนิยมใหม่ล่าสุด"


"ในวันหนึ่งหากความนิยมในสิ่งนี้ลดน้อยถอยลง นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าฉันจะหยุดเป็นคนละติน และจะไม่หยุดใส่ต่างหูห่วงใหญ่ด้วย"





"พวกสาวผิวขาวเอ๋ย  ถอดต่างหูห่วงใหญ่ของเธอออกซะ" 

 

นี่คือข้อความที่นักศึกษาสาวละติน่าพ่นสเปรย์บนกำแพงที่พอพักมหาวิทยาลัยเอกชนที่LA เพื่อประกาศว่า  มีเพียงคนเชื้อสายผิวดำ หรือผิวน้ำตาลเท่านั้นที่มีสิทธิ์สวมใส่ต่างหูสไตล์นี้
นางสาว Martinez ได้อธิบายถึงการการเรียกร้องนี้ว่า

" คนผิวดำและผิวน้ำตาลที่ใส่ต่างหูห่วงใหญ่เป็นเรื่องปกติ ถูกตีค่าดูเหมือนพวกตลาดล่าง รวมถึงการกรีดตาแบบ winged liner สร้อยทองประดับตัวอักษรเป็นชื่อ การเขียนขอบปาก มันถูกจัดให้เป็นเครื่องหมายของการแสดงความต่อต้าน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยแห่งนี้"

" เราสงสัยว่า ทำไมพวกผู้หญิงผิวขาวสมควรจะฉกฉวยส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนี้ไป เพียงเพราะพวกเธอคิดว่ามันดูน่ารัก สวยงามหรือเหมือนกับต่างเชื้อชาติ คนขาวมักหาประโยชน์จากวัฒนธรรมอื่นด้วยการเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่น"
นางสาว Aguilera   นักศึกษาอีกคนที่ร่วมในการเคลื่อนไหวนี้ได้ยืนคำขาดว่า

" ถ้าคุณไม่ได้เป็นคนสร้างสรรค์วัฒนธรรมนี้ขึ้นมาและไม่ได้แลเห็นความสำคัญของมัน"

"ถ้าความเป็นนักสิทธิสตรีของคุณ มีแค่ผิวเผิน ไม่ได้ใส่ใจเรื่องเชื้อชาติ เพศ หรือชนชั้นอื่นๆ "

"ถ้าคุณพยายามนำสิ่งของจากวัฒนธรรมของคนอื่นไปใส่ ทั้งๆที่เจ้าของวัฒนธรรมเองถูกตั้งแง่บีบคั้นไม่ให้ใส่ "

"ถ้าคุณใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลเป็น แต่ยังคาดหวังให้คนอื่นมาอธิบายให้เข้าใจ "

"ถ้าคุณไม่สามารถแม้แต่จะออกเสียงชื่อของฉันหรือสะกดมันได้ถูกต้อง "

"จงถอดต่างหูห่วงพวกนั้นออกซะ"

" ฉันใช้คำว่าต่างหูห่วงพวกนั้น ไม่ใช้ต่างหูห่วงของคุณ เพราะพวกคุณไม่ได้เป็นเจ้าของพวกมันมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว"


เหตุผลของนักศึกษาเหล่านี้ตรงกับผู้หญิงผิวดำและละติน่าอีกหลายคนที่ยอมรับว่า แม้จะได้รับการปลูกฝังให้ใส่ต่างหูห่วงจากครอบครัวและชุมชนเดียวกันมาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเติบโตขึ้นมา ก็ต้องพบกับสายตาที่เต็มไปด้วยอคติจากคนผิวขาวและเชื้อชาติอื่นๆว่าดู cheap ไร้คลาส และก๋ากั่นแบบสาวร้าย จากที่เคยภูมิใจในวัฒนธรรมนี้ ก็หมดความมั่นใจจนไม่กล้าหยิบมาใส่ แต่วันหนึ่ง เมื่อต่างหูห่วงที่ทำให้พวกเธอถูกมองในแง่ไม่ดีกลายมาเป็นที่นิยมเพราะมีสาวผิวขาวชื่อดังเป็นผู้ปั้นเทรนด์ขึ้นมา มันก็ได้สร้างความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนเกิดความเคลื่อนไหวต่อต้านนี้


แต่ไม่ใช่ว่า ผู้คนทั้งหมดในสังคมจะยอมรับแนวคิดนี้ .....



มีหลายคนที่ยืนหยัดกับข้อมูลที่ว่า ต่างหูห่วงใหญ่ปรากฏอยู่ในหลากหลายวัฒนธรรม  มิได้มีแต่เพียงอยู่ในกลุ่มคนผิวดำหรือคนละตินเท่านั้น   รวมไปถึงแนวคิดทางสิทธิเสรีภาพ  ที่ผู้คนควรจะแต่งกายได้ทุกอย่างที่ต้องการ หากมิได้สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น  ยังมีผู้คนอีกมากที่ไม่เชื่อถือในเรื่องการฉกฉวยทางวัฒนธรรม  เพราะมนุษย์เราได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจนสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆมาได้   นั่นรวมไปถึงการลอกเลียนแบบเครื่องแต่งกาย    อย่างในแถบเอเชียที่ผู้คนเคยแต่งกายตามวัฒนธรรมประจำชาติ  แต่ก็หันมาสวมใส่ชุดแบบตะวันตกเป็นเรื่องปกติ   หรือจะเป็นวงการอาหารที่มีการพัฒนาจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม  แม้แต่ลาบก็ยังไปปรากฏในหนัง blockbuster จนมีชาวต่างชาติติดตามไปลองลิ้มรส

Susan Scafidi นักประพันธ์ Who Owns Culture?   ได้ให้ความเห็นว่า

"มันไม่ยุติธรรมหากเราจะแช่แข็งวัฒนธรรมต่างๆและเก็บรักษามันเหมือนกับพิพิธภัณฑ์สามมิติ "

" ในบางครั้ง การฉกฉวยทางวัฒนธรรมจะกลายมาเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือใก้ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เริ่มจะสูญหายไปได้กลับมา"






Nail Arts

เล็บอะครีลิคยาวเฟื้อยเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดดราม่าเรื่อง culture ได้อย่างสม่ำเสมอ  เมื่อใดก็ตามที่สื่อแฟชั่นเยินยอว่า Kylie Jenner ได้สร้างเทรนด์ศิลปะบนเล็บให้เป็นที่นิยม  ไม่นานจากนั้นก็จะมีการทวงถามเครดิตจากชาวเน็ทที่เชื่อว่า   ราชินี Internet คนนี้ได้ลอกเลียนแฟชั่นเล็บจากผู้หญิงผิวดำที่นิยมทำเล็บอะครีลิคมาหลายสิบปีแล้ว


ในปัจจุบัน  Influencer ที่มีผู้ติดตามเป็นร้อยๆล้านอย่าง Kylie Jenner ได้กลายมาเป็นผู้นำเรื่องแฟชั่นเล็บ  เธอโปรดปรานเล็บยาวตัดหัวเหลี่ยมที่เรียกว่าทรง coffin    และมักสร้างความตื่นเต้นให้กับสื่อแฟชั่น  คุณสามารถค้นคอนเทนท์ " เมื่อฉันลองทำเล็บแบบ Kylie"  ได้เกลื่อนไปหมด


เมื่อย้อนไปเมื่อยุค 80s นักวิ่งสาวแชมป์โอลิมปิค Florence Griffith Joyner ได้สร้างความฮือฮาด้วยการทำเล็บยาวเฟื้อยสีสันสะดุดตาเข้าร่วมชิงชัย .ในสังคมที่ได้พิพากรูปลักษณ์ภายนอกของสาวอเมริกันผิวดำจากเล็บว่าดูไร้รสนิยมและเป็นเครื่องหมายของคนที่มาจากสังคมสลัม   แต่นักกีฬาผู้เก่งกาจบรรจงแต่งหน้าจัดเต็มและโชว์เล็บยาวแบบไม่แคร์สื่อ!


ในยุค 90s  Halle Berry ได้รับบทนำในในหนังคอเมดี้  B*A*P*S  (ฺย่อมาจาก Black American Princesses  ซึ่งจริงๆแล้วใช้เรียกผู้หญิงผิวดำที่มีฐานะร่ำรวย )  ว่าด้วยสองสาวผิวดำที่มาจากชนชั้นแรงงานที่ได้จับพลัดจับผลูเข้ามาใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมคนขาวที่ร่ำรวย  พวกเธอมาในชุดสี brightและต่อเล็บยาวดูกรีดกราย     หนัง flop  อย่างแรง   จนถึงปัจจุบัน  B*A*P*S   ก็ยังถูกจัดให้เป็นหนึงที่เป็นตัวอย่างชัดเจนของ stereotypeสาวผิวดำที่นิยมทำเล็บอะครีลิคว่าต้องเป็นพวกแสบซ่าปากคอเราะร้าย    
Bernadette Thompson   ช่างทำเล็บระดับไฮเอนด์ที่มีลูกค้าเป็นคนดังฐานะมั่งคั่ง  เธอได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในศิลปินที่ผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อศิลปะบนเล็บ    ในยุค 90s  เธอนำไอเดียสุดแหวกแนวด้วยการตัดธนบัตรดอลลาร์มาใส่ในเล็บอะครีลิคของ Lil Kim  และกลายมาเป็นช่างทำเล็บประจำตัวของศิลปินสาวผิวดำชื่อดังที่ทำให้เล็บแบบแปลกใหม่กลายเป็นสิ่งที่นิยมระดับ mainstream     ด้วยความสามารถที่โดดเด่นจึงได้ร่วมงานกับแบรนด์ดีไซน์เนอร์ชั้นนำและนิตยสารแฟชั่นต่างๆ  แต่เธอก็ต้องต่อสู้เพื่อให้ผู้คนในสงการแฟชั่นชั้นสูงยอมรับกับศิลปะบนเล็บที่ไม่ใช่การทาเล็บแบบ polish ด้วยสีพื้นเพียงอย่างเดียว 
เป้าหมายในการทำงานของช่างทำเล็บชื่อดังรายนี้คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้คนในเรื่องความงามของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคม เธอต้องการจะแสดงให้ทุกคนได้เห็นว่า Hip-Hop มีอิทธิพลสำคัญต่อแฟชั่น    แต่ความเห็นที่แตกต่างกันกลับทำให้เกิดการถกเถียงตามมาว่า  แฟชั่นต่อเล็บยาวนั้นเป็นวัฒนธรรมของคนดำเพียงผู้เดียวหรือไม่  ดังกรณีของดราม่า VOGUE ที่นำเสนอเทรนด์  "ประติมากรรมบนเล็บ"  


แต่คอนเทนท์นำเสนอเทรนด์เล็บสุดล้ำของ VOGUE กลับถูกกระแสโจมตีชาวเน็ทว่า ส่งเสริมการฉกฉวยทางวัฒนธรรมที่ไม่แฟร์ต่อผู้หญิงผิวดำ


ตัวอย่างที่ชัดเจนคือวงการศิลปะบนเล็บในประเทศญี่ปุ่นที่ได้พัฒนาไม่หยุดยั้งจนกลายมาเป็นความเมนสตรีมที่ไม่ห่างหายไปจากวงการแฟชั่นของดินแดนอาทิตย์อุทัย มีทั้งแม็กกาซีนสำหรับแฟชั่นเล็บโดยเฉพาะ รวมไปถึงมหกรรมแฟชั่นเล็บที่เปิดแสดงผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆในการทำเล็บให้สวยล้ำ สิ่งที่พวกเรามองมาตลอดว่าเป็นเล็บสไตล์ฮาราจูกุนั้นจะถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหาว่า "ขโมย" มาจาก Black Culture รึเปล่านะ ?



Wig  and Braids



ผู้คนที่มีเชื้อสายแอฟริกันผิวดำได้ออกมาเปิดใจมากมายหลายครั้งว่า สังคมที่มีอคติต่อลักษณะผมหยิกฟูตามธรรมชาติได้สร้างแรงกดดันจนต้องคล้อยตามว่า จะต้องปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์เพื่อจะได้มาซึ่งการยอมรับ          สำหรับบางคน วิกผมก็เหมือนกับเกราะกำบังป้องกันคำดูถูกดูแคลน และเพื่อสร้างความเชื่อถือจากรอบข้าง   วิกยังเป็นเครื่องมือย่นระยะเวลาในการจัดแต่งทรงที่มีขั้นตอนยุ่งยาก  ผู้หญิงผิวดำต่างก็มีประสบการณ์เลวร้ายจากช่างที่ขาดความชำนาญในการทำผมคนเชื้อสายแอฟริกัน  หรือแม้แต่จะทำผมด้วยตัวเองก็ต้องมีคนฝึกฝนให้   วิกจึงไม่ได้เป็นไอเท็มสร้างเสริมความงามเพียงเท่านั้น 


ฉาก Annalise แห่ง How To Get Away With Murder ถอดวิกออกและค่อยๆเช็ดเครื่องสำอางเปิดเผยรูปลักษณ์แบบธรรมชาติก่อนที่จะเผชิญหน้ากับสามี ถูกจัดให้เป็นฉากที่ทรงพลังที่สร้างความตราตรึงใจมากที่สุดฉากหนึ่ง Viola Davis ให้ความเห็นว่า การที่ Annalise แต่งเสื้อผ้สหน้าผมจัดเต็มตลอดเวลานั้นทำให้ดูเหมือนตุ๊กตามากกว่าคนมีเลือดเนื้อจริงๆ จึงเปิดเผยให้เห็นในด้านที่เป็นคนธรรมดา

" ผู้หญิงอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันใส่วิกหลากหลายรูปแบบ เราลบเครื่องสำอางและถอดวิกออกตอนกลางคืน เราอาจเดินบนรองเท้าส้นสูงไม่เก่ง เราอาจจะไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของใครๆไปซะหมด เราไม่ได้ใส่ชุดไซส์ 2 เราบางคนมีเสียงแหบห้าว แต่ยังไงคุณก็ต้องรับมือกับความเป็นเรา"


" เธอจำเป็นต้องถอดวิกออก เพราะต่อหน้าคนอื่น Annalise คือผู้หญิงมากเล่ห์ และเราจำต้องเห็นเธอปลดเกราะกำบังนี้ออกไป มันเป็นเกราะที่หนามากแและเมื่อวิกถูกถอดออก คุณจะได้เห็นความเจ็บปวดทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้"




ศิลปินสาวผิวดำในวงการ  Hip Hop R&B หลายคนขึ้นชื่อในเรื่องการออกจากกรอบโดยไม่ต้องรู้สึกติดค้างหรือวิกตกกังวลต่อค่านิยมคนหมู่มากที่ตามจับผิด  วิกสีสันสดใสจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มสาวผิวดำไม่น้อยหน้าไปจากสีธรรมดา



.ในช่วงแรกๆที่เริ่มสร้างความโด่งดัง  Kylie Jenner เคยให้สัมภาษณ์ว่า  " พอชั้นเริ่มเทรนด์ใส่วิก  ใครๆก็หันมาใส่วิกตามไปด้วย"    reaction ของชาวเน็ทอาจจะไม่ถึงขนาดทัวร์ลงรุนแรง  แต่ก็ล้อกันเฮฮาน่าดู  
บางคนไม่อยากเชื่อด้วยซ้ำว่า  Kylie ที่ยังเป็นน้องเล็กของบ้าน KarJenner จะ claim ว่าตัวเองสร้างเทรนด์วิกขึ้นมาทั้งๆที่อยู่ในวัยทีนเท่านั้น   เมื่อกระแสโจมตีเริ่มหนักขึ้น เจ้าตัวต้องออกมาชี้แจงว่า magazine ที่ขอสัมภาษณ์พลิกแพลงคำพูดของเธอออกไปแบบนั้นเอง  


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE