ล่อซื้อหรือรวบซื้อ? เมื่อแบรนด์เครื่องสำอางยักษ์ใหญ่เข้าซื้อแบรนด์เล็กๆ
sweetsong13 53 13
ในโลกของทุนนิยม การที่แบรนด์ใหญ่จะเข้ามา Take Over แบรนด์เล็กแบรนด์น้อยเป็นเรื่องที่ปกติมาก และอย่างที่เรารู้กันว่าในโลกของความสวยความงาม ก็มีแบรนด์เครือใหญ่อยู่ไม่กี่แบรนด์หรอก บริษัทก็จะแตกย่อยเป็นแบรนด์เล็กๆ ในเครืออีกเป็นร้อยๆ แบรนด์ แบรนด์เล็กก็ขายดีเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ทำไมต้องยอมเข้ารวบกิจการกับแบรนด์ใหญ่ โดนล่อซื้อหรือหลอกให้ขายหรือเปล่า มาดูกัน
ทำไมแบรนด์ใหญ่ซื้อแบรนด์เล็ก?
อย่างที่บอกไปว่าบริษัทเครื่องสำอางใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่ชื่อเท่านั้นแหละ เช่น Estee Lauder, L'oreal, Coty, Elca ล้วนแต่เป็นชื่อที่เราคุ้นหูอยู่แล้ว แล้วทำแบรนด์ใหญ่ที่โด่งดัง รายได้เยอะอยู่เข้าซื้อแบรนด์เล็กๆ เขาได้อะไรกัน?
1. เพิ่ม Market Share
เพิ่ม Market Share หรือส่วนแบ่งทางการตลาด ก็คือเมื่อแบรนด์ใหญ่ซื้อแบรนด์เล็ก ก็จะได้ฐานลูกค้าจากแบรนด์เล็กพ่วงมาด้วย ก็ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดไปในตัว2. ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
บริษัทพัฒนาธุรกิจของตัวเองด้วยการทำให้โปรดักส์มีความหลากหลาย ก็ได้ยอดขายเพิ่มจากโปรดักส์ใหม่ๆ รวมถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่มาจากแบรนด์ด้วยUnilever ซื้อ Paula's Choice
เมื่อไม่กี่วันก่อน Unilever ก็ได้ประกาศว่าตอนนี้ได้เข้าซื้อ Paula Choice อย่างเป็นทางการแล้ว และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกของ Paula's Choice ก่อนหน้านี้ในปี 2016 บริษัท TA Associates ก็ได้เข้าซื้อมาแล้ว แน่นอนว่า Unilever ต้องไปตกลงเจรจากับทาง TA Associates ถึงจะได้ Paula's Choice มาครอบครอง
Paula Begoun ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Paula's Choice เคยเปิดเผยในปี 2018 ว่า TA Associates ได้ทอดทิ้งและไม่ค่อยสนใจลูกค้าหลักของ Paula's Choice เท่าไหร่ นี่ก็อาจเป็นเหตุผลที่ป้าพอลล่าดีใจที่จะได้เข้าร่วมกับบริษัทใหญ่อย่าง Unilever และเชื่อว่าในนามของยูนิลีเวอร์แล้ว Paula's Choice จะมีผลิตภัณฑ์เริ่ดๆ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ให้คนรู้สึกมั่นใจในตัวเอง จากการที่ได้มีสกินแคร์ดูแลผิวได้ดีที่สุดแน่นอน
Estee Lauder ซื้อ Deciem (The Ordinary)
ถ้าเอ่ยชื่อบริษัท Deciem หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่พอพูดถึง The Ordinary น่าจะร้องอ๋อกันทุกคน เมื่อสองสามปีก่อนสกินแคร์ที่มาแรงมากทั่วโลกจะเป็นแบรนด์ไหนได้นอกจาก The Ordinary ที่เน้นใส่สาร Active Ingredients มาแบบจุกๆ ในราคาที่แสนจะประหยัด จนได้ใจคนทั้งโลกไปครอง และด้วยความที่ดังและปังมากนี่แหละ Estée Lauder ก็ได้มาซื้อบริษัท Deciem ไป และลงทุนเพิ่มจาก 29% เป็น 76%.
Coty ซื้อ Kylie Cosmetics
แบรนด์เครื่องสำอาง Kylie Cosmetics ของ Kylie Jenner ที่มีมูลค่าสูงลิบ ในปี 2018 ก็ขายหุ้นให้กับ Coty ไป 51% คิดเป็นเงินไทยเลขกลมๆ ก็ 18,000 ล้านบาท และใช่ค่ะไคลี่ในตอนนั้นอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น แม้ไคลี่จะขายหุ้นไปให้ Coty และรวบกิจการด้วยกันแล้ว แต่เจ้าตัวก็ยังถือหุ้นอยู่ 49% และมีส่วนร่วมในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ของตัวเองเหมือนเดิม ที่เห็นได้ชัดหลังจากที่รวมกิจการกันแล้ว ก็เป็ฯโปรดักส์ไลน์สกินแคร์ และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายลงในร้าน Ulta หลังจากที่เมื่อก่อนขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว
L'Oréal ซื้อ NYX Cosmetics
NYX Cosmetics ก่อตั้งในปี 1999 โดย Toni Ko ซึ่งเป็นนักลงทุนอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น ในช่วงแรกที่ NYX เข้าสู่ตลาด ก็มีขายเพียงแค่ดินสอแต่งหน้าเท่านั้น แล้วก็ค่อยๆ ขยับขยายไปขายอายแชโดว์และลิปสติก ในราคาย่อมเยา
ในปี 2014 L'Oréal ก็เข้าซื้อกิจการ เปลี่ยนจากชื่อ NYX Cosmetics มาเป็น NYX Professional Makeup อย่างในทุกวันนี้ และทำให้ NYX วางขายทั่วโลกกว่า 70 ประเทศ (น่าเสียดายที่โควิดทำให้ต้องม้วนเสื่อกลับอเมริกาไปแล้ว ในหลายๆ ประเทศรวมถึงไทยด้วย) ในอเมริกาคนก็สามารถหาซื้อ NYX ได้ง่ายขึ้นตามร้านขายปลีกหรือดรักสไตร์ เช่น Target และ Ulta และ L'Oréal ก็สามารถเข้ามาตีตลาดนี้ได้ในช่วงที่ยอดขายของลอรีอัลเองลดลง
จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ก็จะเข้าซื้อหุ้นของบริษัทเล็กกว่า ร่วมกันพัฒนา เพิ่มยอดขาย ขยายตลาดและช่องทางการจำหน่ายไปด้วยกัน เรียกได้ว่า Win-Win ทั้งสองฝ่าย