ประวัติศาสตร์ผ้าอนามัย ย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน
sweetsong13 44 11
ผู้หญิงมีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติ ที่ไม่สามารถไปห้ามให้เลือดหยุดไหลได้ ในสมัยนี้ผ้าอนามัยมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะ แบบแผ่น แบบสอด ถ้วยอนามัย หรือกางเกงในอนามัย
แล้วในสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนาแบบปัจจุบัน ผู้หญิงสมัยก่อนเขาจัดการกับประจำเดือนยังไง ใช้อะไรในการป้องกันการซึมเปื้อนของประจำเดือน ใช้กาบมะพร้าวอย่างที่คนชอบพูดจริงมั้ย เรามาย้อนดูไทม์ไลน์ผ้าอนามัยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกัน (ตัวเลขอาจจะคลาดเคลื่อนนะคะ รวบรวมมาจากหลายแหล่ง แต่ก็อยู่ในช่วงเดียวกัน)
แล้วในสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนาแบบปัจจุบัน ผู้หญิงสมัยก่อนเขาจัดการกับประจำเดือนยังไง ใช้อะไรในการป้องกันการซึมเปื้อนของประจำเดือน ใช้กาบมะพร้าวอย่างที่คนชอบพูดจริงมั้ย เรามาย้อนดูไทม์ไลน์ผ้าอนามัยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกัน (ตัวเลขอาจจะคลาดเคลื่อนนะคะ รวบรวมมาจากหลายแหล่ง แต่ก็อยู่ในช่วงเดียวกัน)
ประจำเดือนในอดีตกับปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงไปยังไง
เราอาจจะคิดว่าในสมัยก่อนผู้หญิงต้องมีประจำเดือนน้อยกว่าแน่ๆ เพราะไม่ได้รับประทานอาหารที่ดีเท่าปัจุบัน แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้ว่า ผู้หญิงสมัยก่อนมีประจำเดือนเยอะกว่าปัจจุบันซะอีก หรือไม่ ก็ไม่ได้ต่างจากปัจจุบัน และถ้าเลือดออกมาน้อยก็จะต้องทำการรักษาแบบพยายมทำให้เลือดออกมา
ผู้หญิงจัดการกับปประจำเดือนอย่างไรในสมัยก่อน
ข้อมูลเท่าที่มีการศึกษาก็บอกได้น้อยมาก และคนที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย เพราะว่าในสมัยก่อนการมีประจำเดือนเป็นเรื่องน่าอาย ไม่มีใครอยากพูดถึง มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งๆ ที่ก็เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายเรา
สมัยโบราณ
สาวๆ ในสมัยโบราณกาล ก่อนที่จะมีการผลิตผ้าอนามัยแบบต่างๆ ออกมา จะม้วนผ้าเป็นแท่งอนามัย, ที่ปิดแผล เศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว หรือไม่ก็ปล่อยให้เลือดไหลลงไปบนฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง (เข้าใกล้กาบมะพร้าวขึ้นมาทุกที) เยื่อไม้ แผ่นไม้บางๆ หรือยางกันเปื้อน เหมือนผ้าอนามัยแบบสอดหรือแผ่นอนามัย ที่สามารถป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าเลอะได้
ช่วงปีค.ศ. 1800s -1900
สังคมยุโรปและอเมริกาเหนือ จะ DIY ทำผ้าอนามัยกันเอง โดนใช้ผ้าสักกะหลาดหรือผ้าใยสังเคราะห์ เป็นที่มาของคำว่า “on the rag” ที่หมายถึงช่วงที่มีประจำเดือน จุดเปลี่ยนของยุคนี้อยู่ที่มีเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัย ถ้าใช้ผ้าซ้ำและซักได้ไม่สะอาดก็จะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตขึ้น
ในช่วงปี 1854 ถึง 1915 ก็ได้เริ่มมีบริษัททำผลิตภัณฑ์ซึมซับประจำเดือนออกมามากมาย เช่น ถ้วยอนามัยที่ทำจากอะลูมิเนียมหรือยางแข็งๆ, Rubber Pants กางเกงอนามัยที่ทำจากยาง (ส่วนที่รองรับประจำเดือนทำจากยาง) และ Lister’s towels แผ่นอนามัยแบบแรกของโลกที่ทำจากผ้าก็อซและผ้าคอตตอน
ในปี 1870s ได้ทำารตลาดถึงหน้าบ้าน ช่วงปี 1890s ก็ได้มีโฆษณาชิ้นแรกออกมาในรูปแบบแคตาล็อก มีทั้ง Ladies Elastic Doily Belt (แผ่นอนามัยทำจากผ้าไหม และมีเข็มขัดที่ช่วยยึดไว้) แผ่นฆ่าเชื้อและช่วยซึมซับประจำเดือน เมื่อผ้าอนามัยเป็นที่ต้องการมากขึ้น แต่คนก็ต้องซื้อแบบหลบๆ กลัวคนอื่นเห็น
ช่วงปีค.ศ. 1900s - สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มีพยาบาลได้สงเกตุว่า Cellucotton ที่ใช้พันแผลเนี่ยสามารถซึบซับเลือดได้ดีกว่าผ้าปิดแผลแบบอื่นๆ พันแผลห้ารอบก็ซึมซับเลือดในดีเหมือนผ้าคอตตอนแถมถูกกว่า ก็เลยเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแผ่นอนามัยในชื่อว่า “Kotex Sanitary Napkin” หรือที่เราเรียกกันว่า “โกเตกซ์” นั่นเอง มาจาก Cotton-like Texture ทำจาก Cellucotton ขายครั้งแรกในปี 1918 แต่ในช่วงนั้นผู้หญิงก็ยังนิยมใช้ผ้าอนามัยโฮมเมดที่ทำเองมากกว่า (ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นคนรวยผิวขาว ถึงจะมีเงินซื้อ)
ในปี 1921 โกเตกซ์ก็กลายเป็นแบรนด์ที่ขายดีมากในตลาดผ้าอนามัย เพราะในช่วงสงครามผู้หญิงต้องเริ่มออกไปทำงานในโรงงาน บวกกับมีโฆษณาแผ่นอนามัยมากขึ้น ก็ทำให้ผู้หญิงกล้าที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยในตลาด เพื่อจะได้เข้มแข็งและทำงานต่อไปได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้หญิงสามารถใช้ชีวิตประจำวันต่อไปได้อย่างปกติ จากก่อนหน้านี้ช่วงมีประจำเดือน ต้องอยู่แต่ในบ้าน ก็สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเลอะ
คนก็ยังอายที่จะพูดถึงเรื่องประจำเดือนอยู่ แพ็กเก็จิ้งของ Kotex จึงเรียบๆ และถูกวางอยู่บนเคาน์เตอร์เลย ผู้หญิงจะได้ไม่ต้องถามหาว่าอยู่ที่ไหน บางที่ก็มีขวดโหลให้ใส่เงิน ไม่ต้องจ่ายเงินกับพนักงาน
ในปี 1927 Johnson & Johnson ได้ออกแคมเปญโฆษณาผ้าอนามัยแบบสอด ที่โฟกัสไปที่การใช้ผ้าแม้จะใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ก็ยังคงความใสซื่อของเราไว้ได้, ประจำเดือนกับเซ็กซ์เป็นคนละเรื่องกันนะ ตัวโฆษณาเลยออกมาเป็นกลุ่มสาวที่ไปเล่นกีฬา ทำให้เห็นภาพว่าแม้จะวันนั้นของเดือนเราก็ยังร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ ได้เหมือนเดิม โฆษณาทำเพื่อให้คนก้าวข้ามผ่านความกังวลทางศีลธรรมเกี่ยวกับผ้าอนามัย
ช่วงปีค.ศ. 1930s - 1940s
ในขณะที่ผ้าอนามัยโฮเมดยังคงถูกใช้ในยุโรปจนถึงช่วงปี 1940s ในปี 1930s ก็เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาก็คือ “ผ้าอนามัยชนิดสอด แบบใช้แล้วทิ้ง” ในปี 1933 ก็จดสิทธิบัตรในชื่อ “Tampax”
จากการกังวลเรื่องปัญหาสุขอนามัย ว่าการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น อาจจะปะปนแบคทีเรียจากอุจาระได้หรือเปล่า ผ้าอนามัยแบบแท่งก็เลยมาตอบโจทย์ตรงนี้ และในวงการแพทย์ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่สุขภาพดีกว่า แพทย์หญิง Dr. Mary Barton ก็ได้มาคอนเฟิร์มว่า ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ได้ทำให้เกิดรอยหรือฝีในปากช่องคลอดแต่อย่างใดนะจ๊ะ ปลอดภัยเหมือนแผ่นอนามัยแหละ แต่อย่าใส่แท่งอนามัยในช่องคลอดนานเกินไป อันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
มีการสัมภาษณ์เชิงการตลาดและการแพทย์ว่า ผู้ที่ได้ลองใช้ผ้าอนามัยแบบสอดแล้ว จะไม่กลับไปใช้แบบแผ่นอีกเลย แต่ในยุคนั้นก็ยังมีผู้หญิงบางกลุ่มที่ยังไม่กล้าใช้ผ้าอนามัยแบบสอด เพราะกังวลและมีความเชื่อว่า ถ้าใส่ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปก็กลายเป็นคนไม่บริสุทธิ์แล้ว ผู้หญิงที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นคนที่แต่งงานแล้ว โฆษณาส่วนใหญ่เลยเน้นไปที่กลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ภายหลังที่ขยายกลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน ก็เลยมีโฆษณาว่าผ้าอนามัยแบบสอดไม่ได้ทำลายความจิ้นไป
เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ผ้าอนามัยแบบแผ่นก็เลยยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 1956 Mary Beatrice Davidson Kenner ก็ได้ประดิษฐ์เข็มขัดอนามัย ที่ช่วยเกี่ยวผ้าอนามัยให้อยู่กับที่ เรียกว่า Maxi Pads
ช่วงปีค.ศ. 1950s – 1990s
ในปี 1956 Leona Chalmers ได้ปรับเปลี่ยนถ้วยอนามัยใหม่ จากเดิมที่ทำจากอะลูมิเนียมหรือยางแข็งๆ ก็เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่นุ่มกว่า และปรับรูปทรงใหม่ ดูใกล้เคียงกับที่เราใช้กันในปัจจุบันมากขึ้น
ในปี 1972 ก็ได้ถือกำเนิดผ้าอนามัยแบบไร้เข็มขัดขึ้นมาหลายแบบ หรือผ้าอนามัยแบบแผ่นกาวที่เราใช้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะมามาก มาน้อย หรือแผ่นเล็ก และในช่วงปี 1980s ผ้าอนามัยแบบมีปีกก็ถือกำเนิดขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมาก ทุกวันนี้ถ้วยอนามัยก็ทำจากซิลโคนหมดแล้ว
ในขณะที่ผ้าอนามัยแบบสอดก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่ก็มีข้อกังวลด้านสุขภาพ ในปี 1979-1996 มีผู้หญิง 5,000 กว่าคนที่มีอาการ Toxic Shock Syndrome (TSS) หรือท็อกซิกช็อก คือเกิดอาหารติดเชื้อแบคทีเรียที่ปล่อยสารพิษเข้าร่างกาย ทำให้ไข้ขุ้นสูง และความดันเลือดต่ำฉับพลัน จนทำให้อวัยวะสำคัญเกิดการล้มเหลว
สาเหตุเชื่อมโยงถึงผ้าอนามัยแบบสอด และวัสดุบางอย่างที่ตอนนี้ไม่มีขายในตลาดแล้ว ถึงจะฟังดูน่ากลัวแต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้หญิงหยุดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด แต่ทำให้ออกมาเรียกร้องว่าจริงๆ แล้วรัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายความปลอดภัยด้านนี้เลย และทำให้มีผ้าอนามัยที่เน้นธรรมชาติเกิดขึ้น
ช่วงปีค.ศ. 2000s - 2021
ทุกวันนี้เราก็ตัวเลือกให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด ถ้วยอนามัย กางเกงอนามัย ทั้งแบบปกติและออแกนิค และตอนนี้พวกเราหันมาให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็เลยเกิดกระแสการกลับมาใช้ผ้าอนามัยที่ใช้ซ้ำได้ เช่น ถ้วยอนามัย ที่ซื้อเพียงครั้งเดียวแต่สามารถใช้ซ้ำได้เป็นสิบปี