เจาะเรื่องราวเจ้าชายผู้โด่งดังจากประวัติศาสตร์ยุโรป
candy 49 12เรื่องราวของเจ้าชายรูปงามที่มีตัวตนจริงๆในประวัติศาสตร์ที่มีทั้งromance หวานซึ้ง และโศกนาฏกรรมที่สะเทือนขวัญยิ่งกว่าพล็อทเรื่องในนิยาย ลองมาติดตามกันได้เลยค่ะ
เจ้าชาย Albert แห่ง Saxe-Coburg and Gotha บรรพบุรุษผู้หล่อเหลาของราชวงศ์อังกฤษปัจจุปัน
เมื่อพูดถึงเเชื้อพระวงศ์ผู้โด่งดังที่ถูกนำมาเป็นต้นแบบสร้างเป็นหนังและซีรีส์หลายครั้ง ย่อมเป็นเรื่องราวของสมเด็จพระราชินี Victoria และ สวามี เจ้าชาย Albert เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น ราชนิกูลจากดินแดนต่างๆในยุโรปนั้นมักจะต้องเสกสมสมรสทางการเมือง แม้จะเป็นชีวิตคู่ที่ไร้รักก็ต้องอดทนเพื่อครองความเป็นสามีภรรยากันเพื่อมีรัชทายาทสืบรชสมบัติโดยไม่หย่าร้าง เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เชื้อพระวงศ์ชายจะอุปการะชู้รัก ( mistress) คราวละหลายๆคน
แต่สำหรับสวามีของสมเด็จพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่องค์นี้ เขากลับแตกต่างไปจากเจ้าชายและกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงไปอย่างสิ้นเชิง
ในบันทึกของสมเด็จพระราชินี Victoria ได้บรรยายความหล่อเหลาของสวามีเมื่อครั้งแรกที่ได้พบกันไว้ว่า
" เขาช่างรูปงามอย่างล้นเหลือ เส้นผมของเขามีสีที่ใกล่เคียงกับผมของเรา เขามีดวงตาสีฟ้าขนาดใหญ่ และเขามีจมูกได้รูปสวย ริมฝีปากน่ารักและฟันที่ดูดี"
ในขณะนั้น สมเด็จพระราชินียังเป็นเจ้าฟ้าหญิงวัยทีนเอจ และถึงแม้จะถูกตาต้องใจกัน เจ้าหญิงผู้มีบัลลังก์รออยู่ในอนาคตข้างหน้าก็ยังไม่นึกถึงเรื่องอภิเษกสมรส เพราะการศึกษาอบรมเพื่อปฏิบัติตัวในฐานะว่าที่เจ้าแผ่นดินนั้นอาจจะไม่เหมาะในการประนีประนอมกับใครในชีวิตคู่
หลังจากที่พบกันครานั้น เวลาได้หมุนผ่านไปยาวนานกว่าสามปี เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าชายรูปงามจากต่างแดนได้มาเยือนพระราชวัง Windsor อีกครั้ง และทำให้สมเด็จพระราชินีสาวรู้สึกหวั่นไหวขึ้นมา พวกเค้าไม่ต้องplay dating game ให้ยาวนานยุ่งยากมาความ เมื่อทำความรู้จักจนแน่ใจว่าต่างมีใจให้กัน สมเด็จพระราชินีก็เป็นฝ่ายขอแต่งงานเองซะเลย!
การก้าวมาเป็นสวามีของพระประมุขแห่งอาณาจักรที่รุ่งเรืองเป็นที่สุดนั้นสร้างความกดดันให้เจ้าชายจากเยอรมนีไม่น้อย พวกเค้าเป็นลูกพี่ลูกน้องกันก็จริง ( ในยุคนั้น การแต่งงานกับคนร่วมครอบครัวเพื่อรักษาสายเลือดอันสูงศักดิ์ยังเป็นเรื่องที่ยอมรับได้) แต่เหล่าขุนนางอังกฤษก็ยังจ้องมองอย่างจับผิดว่าเขาเป็นเจ้าจากต่างแดนที่ใช้การสมรสเพื่อผลประโยชน์ และมองว่า ไม่ว่าจะอย่างไร เขาก็เป็นรองภรรยาผู้สูงส่งอยู่ดี
" เรารู้สึกมีความสุขและพึงพอใจ แต่อุปสรรคที่ขัดขวางความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของเราก็คือ เราเป็นเพียงสวามี มิใช่ประมุขแห่งครอบครัวนี้"
เจ้าชาย Albert ไม่ใช่ "ตัวเลือก" ที่โปรดปรานของพระเจ้าWilliam ที่4 ผู้เป็นพระราชปิตุลาที่ยังครองบัลลังก์ในตอนที่สมเด็จพระราชินียังเป็นองค์หญิงรัชทายาทที่เริ่มมองหาคู่หมายที่เหมาะสม แต่เจ้าชายที่พระเจ้าWilliamเห็นว่าคู่ควรกับราชนัดดาคือ เจ้าชาย Alexanderแห่ง Orange แต่สมเด็จกลับมองว่า เจ้าชายผู้นี้ดูจืดชืด แตกต่างเสน่ห์อันล้นหลามของเจ้าชาย Albert
เมื่อพวกเค้าได้สมรสสมรักกันตามที่ใจปรารถนา ไม่ใช่ "แต่งการเมือง" เพื่อถ่วงดุลย์หรือแผ่ขยายอำนาจ ว่ากันว่า เจ้าชายAlbert ผู้มาจากตระกูลสูงศักดิ์ในเยอรมนีและผจญกับความแตกแยกในครอบครัวถึงขั้นหย่าร้างมาก่อน ประสบการณ์ที่ย่ำแย่ที่ได้เห็นความขัดแย้งของบิดามารดาทำให้เจ้าชายมุ่งมั่นพิสูจน์ให้ราชสำนักและประชาชนได้เห็นภาพความรักใคร่ปรองดองของครอบครัว และต้องการปฏิรูปภาพลักษณ์ของเชื้อพระวงศ์ เพราะที่ผ่านมานั้นชื่อเสียงของราชวงศ์ทั่วยุโรปต้องถูกดึงให้เกลือกกลั้วกับเรื่องอื้อฉาวจากความมากรักของราชนิกูลทั้งหลาย และมีรายงานว่า ตลอดชีวิตสมรสของทั้งคู่ เจ้าชายAlbert ไม่เคยนอกใจองค์ราชินีหรือมีชู้รักเหมือนกับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงคนอื่นๆ และมีราชโอรสและราชธิดาถึง9 คน!
ดยุคแห่ง Saxe-Coburg-Saalfeld ผู้เป็นบิดาของเจ้าชาย Albert นั้นขึ้นชื่อลือชาเรื่องความเจ้าชู้มากรัก ทำให้โอรสทั้งสองต้องห่างไกลดัชเชสผู้เป็นแม่แท้ๆ และยังมีลูกนอกสมรสอีกสามคน หนำซ้ำ แม่เลี้ยงคนใหม่ยังเป็นหลานแท้ๆหรือลูกพี่ลูกน้องของเจ้าชายAlbert เอง แม้ว่าตัวเขาจะกลายมาเป็นสวามีของลูกพี่ลูกน้องสาวผู้เป็นราชินีอังกฤษ แต่คงไม่ต้องการความสัมพันธ์ที่ฉาวโฉ่จนต้องนับญาติกันยุ่งเหยิง แม้พี่ชายของเขาจะดำเนินรอยตามบิดาด้วยการคบชู้จนมีลูกนอกสมรสหลายคน ทั้งยังก่อความฉาวโฉ่ด้วยการติดโรคติดต่อทางเพศตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น แต่กลับไม่มีบันทึกเรื่องชู้รักของเจ้าชาย Albertเหมือนกับบิดาและพี่ชาย ทำให้เชื่อได้ว่า นี่คือการสมรสที่เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์ (หรือไม่ก็ซ่อนโลกอีกใบได้เก่งมากๆ)
หลายคนวิเคราะห์ตรงกันว่า เพราะเจ้าชายไม่ได้เป็นประมุขของราชวงศ์ แต่มีฐานะใกล้เคียงกับมเหสีที่"แต่งเข้า" แม้จะสร้างอิทธิพลในราชสำนักขึ้นมาไและมีบทบาทสำคัญในการร่วมงานราชการแผ่นดิน แต่ไม่ว่าจะอย่างไร พระราชินีถูกยกให้เป็นผู้นำที่แท้จริง ทั้งยังเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรืองทำให้สถานะของพระองค์น่าเกรงขาม หากสวามีเลี้ยงดูชู้รักเหมือนกับเชื้อพระวงศ์ชายคนอื่นๆย่อมเป็นการทำลายชื่อเสียงอันดีงามของราชินีผู้ครองบัลลังก์ นั่นออาจจะเป็นเหตุผลที่เจ้าชายAlbert วางตัวในกรอบแห่งความซื่อสัตย์และเป็นที่รักขององค์ราชินีอย่างยาวนาน
หลายคนวิเคราะห์ตรงกันว่า เพราะเจ้าชายไม่ได้เป็นประมุขของราชวงศ์ แต่มีฐานะใกล้เคียงกับมเหสีที่"แต่งเข้า" แม้จะสร้างอิทธิพลในราชสำนักขึ้นมาไและมีบทบาทสำคัญในการร่วมงานราชการแผ่นดิน แต่ไม่ว่าจะอย่างไร พระราชินีถูกยกให้เป็นผู้นำที่แท้จริง ทั้งยังเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรืองทำให้สถานะของพระองค์น่าเกรงขาม หากสวามีเลี้ยงดูชู้รักเหมือนกับเชื้อพระวงศ์ชายคนอื่นๆย่อมเป็นการทำลายชื่อเสียงอันดีงามของราชินีผู้ครองบัลลังก์ นั่นออาจจะเป็นเหตุผลที่เจ้าชายAlbert วางตัวในกรอบแห่งความซื่อสัตย์และเป็นที่รักขององค์ราชินีอย่างยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ทั่วอังกฤษต้องพบกับความโศกศัลย์ เมื่อเจ้าชายถูกโรคร้ายพรากชีวิตไปทั้งๆที่มีวัยเพียง 42 พรรษา จากแรกเริ่มที่เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงมองเจ้าชายด้วยสายตาที่ไม่เชื่อถือ แต่ทั้งการริเริ่มเพื่อสร้างผลงานที่มีประโยชน์รวมถึงการวางตนตามครรลองที่ดีงามแตกต่างกับราชวงศ์ยุคก่อนๆที่เต็มไปด้วยเรื่องราวอื้อฉาวทำให้เจ้าชายได้รับการยกย่อง และยังมีผู้ที่เปรียบว่าบทบาทของเขานั้นไม่ต่างจากกษัตริย์ผู้เป็นคู่คิดที่สมเด็จพระราชินีไว้ใจมากที่สุด และการจากไปกะทันหัน ทำให้สมเด็จพระราชินีต้องเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า เก็บตัวจากงานสังคมภายนอกเป็นเวลาหลายปี และไม่แตะเสื้อผ้าสีอื่นนอกจากชุดไว้ทุกข์สีดำตลอดระยะเวลาอีก 40 ปี ที่ต้องครองราชย์ตามลำพังโดยไร้สวามีผู้เป็นที่รักอยู่เคียงข้าง
ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ เจ้าชายได้นำเรื่องวินัยทางการศึกษาเรียนรู้ที่เคร่งครัดมาใช้กับโอรสธิดา ด้วยชื่อเสียงของทักษะ "ความเป็นเจ้าชาย" ทั้งเรื่องวิชาการที่เป็นเลิศ กีฬาเด่น (ฟันดาบ ขี่ม้า) ไม่น่าแปลกใจที่เจ้าชายจะเป็นผู้จัดรายวิชาให้กับเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชายได้ศึกษากับ tutor ส่วนตัว
เมื่อเจ้าชายแห่ง Wales รัชทายาทที่ได้รับพระนามเดียวกันกับเจ้าชายผู้เป็นพระบิดาไม่ได้มีผลการเรียนที่โดดเด่นก็ทำให้เจ้าชาย Albert ต้องผิดหวัง แต่เมื่อรัชทายาทได้เปิดโลกการศึกษาที่ Oxford และ Cambridge ที่ไม่ต้องปฏิบติตามตารางเรียนที่แสนเคร่งครัดของพระบิดาแล้ว ก็สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยจิตใจที่เพลิดเพลินมากขึ้น ผลการเรียนเป็นไปอย่างน่าพอใจ
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เจ้าชายรัชทายาทแตกต่างกับเจ้าชาย Albert มาก คือชีวิตรักนั่นเอง
เจ้าชายแห่ง Wales ผู้สืบทอดบัลลังก์ที่ภายหลังถูกเรียกว่ากษัตริย์นักรัก
จ้าชาย Albert Edward โอรสองค์โตผู้เป็นรัชทายาทกลับกลายมาเป็นว่าที่กษัตริย์ที่มีชู้รักมากมายไปหมด ชื่อเสียงเสียหายจากความมากรักทำให้เจ้าชายต้องห่างเหินพระมารดาผู้ครองบัลลังก์ แม้ว่าจะได้ขึ้นเครองราชย์แล้ว ก็ยังรักษาภาพของ playboy อย่างเหนียวแน่น ก่อเกิดเป็นฉายา " Edward นักรัก" หรือแม้กระทั่ง " Bertie จอมสัปดน"
แต่กว่าจะได้เป็นกษัตริย์ ก็มีพระชนมายุถึง 60 พรรษา ชีวิตรักที่ผาดโผนจึงปรากฏในช่วงที่ยังเป็นเจ้าชายแห่ง Wales โดยเฉพาะ "เก้าอี้อัศจรรย์รัก" ที่ช่างฝีมือได้ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อท่วงท่าที่สะดวกสบายในการร่วมรัก!!
มีชู้รักเยอะแยะยุ่บยั่บไปหมด จะไม่ส่งผลต่อการสืบบัลลังก์หรือ ? คำถามนี้ตอบได้ชัดว่า ในยุโรปนั้น ให้ความสำคัญกับสิทธิตามสายเลือดที่เกิดจากการแต่งงาน และสามารถมีสามีภรรยาและครั้งละหนึ่งคนเท่านั้น ไม่ได้แต่ง ภรรยาหลวงและภรรยารองและได้รับการับรองว่ามีสถานะเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ทายาทที่เกิดกับชู้รักไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ได้ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงหลายคนยอมรับบุตรนอกสมรสและสนับสนุนให้ใช้ชีวิตในฐานะชนชั้นสูง แต่สำหรับพระเจ้า Edward ไม่ได้ยอมรับผู้ใดเป็นทายาทจากการผิดประเวณีนอกสมรส มีเพียงแต่โอรสธิดาประสูติจากราชินี Alexandra เท่านั้นที่ถือเป็นสายเลือดกษัตริย์
สมเด็จพระราชินี Alexandra หรือในอดีตคือเจ้าหญิง Alexandra แห่ง Denmark นั้นรับรู้เรื่องการนอกใจของสวามีมาโดยตลอด ทั้งๆที่พระองค์เป็นราชนิกูลที่มีชื่อเสียงเรื่องความงามและสามารถรักษารูปโฉมเยาว์วัยแม้จะมีโอรสธิดาหลายคน และยังเคยผ่านอาการเจ็บป่วยอย่างหนักมาก่อน แต่ดูเหมือนว่าจะฝืนใจยอมรับกับเสียงซุบซิบนินทาต่อเรื่องอื้อฉาวของสวามีไปเลี้ยงดูชู้รักไว้จำนวนมาก ทั้งยังไม่ปรากฏข่าวว่าพระองค์เคยหาที่พักใจจากชายอื่น ว่ากันว่า ก่อนที่พระเจ้า Edward จะสวรรคต พระราชินีได้อนุญาตให้ Alice Keppel ชู้รักคนโปรดของสวามีได้มาเยี่ยมเยือนดูใจกัน และสิ่งที่กลายเป็นตลกร้ายแห่งประวัติศาวตร์ราวงศ์อังกฤษก็คือ Alice Keppel ก็คือทวดของดัชเชส Camilla ชายาคนที่สองของเจ้าชาย Charles ที่สืบสายเลือดจากพระเจ้า Edward นั่นเอง! และพวกเราต่างก็ทราบกันดีว่า ก่อนจะได้มาเป็นชายาที่ถูกต้องตามกฎหมาย Camilla เคยมีสถานะเดียวกันกับคุณทวดผู้งดงามจากศตวรรษที่ 19 มาก่อน นั่นคือชู้รักรัชทายาทนั่นเอง!
นี่คือรูปโฉมอันงดงามอ่อนวัยตั้งแต่ยังเป็นเจ้าหญิงแห่ง Wales เมื่อเลื่อนขึ้นเป็นพระราชินีในหลายสิบปีต่อมาก็ยังคงไว้ความงามไม่สร่างซา และยังมีชื่อเสียงเรื่องการทุ่มเทความรักให้กับโอรสธิดา ประชาชนยังชื่นชมเจ้าหญิงจากงานการกุศลต่างๆ ในเรื่อง fashionก็ยังเป็น trendsetter แห่งยุค ดังการปกปิดรอยแผลเป็นด้วยการใส่ชุดปิดคอที่กลายเป็นtrendยอดนิยมของสตรีชั้นสูง แม้แต่ท่าเดินของเจ้าหญิง อันมีที่มาจากอาการเจ็บป่วยจากไข้รูมาติกทำให้ขาตึงชาจนเดินได้ลำบากก็ยังถูกเลียนแบบ!
แต่เรื่องอื้อฉาวของสวามีก็ดูจะกลบเกลื่อนความโดดเด่นของว่าที่ราชินีไปไม่น้อยเลย แต่อาจจะเป็นเพราะว่า เป้าหมายในการใช้ชีวิตในราชสำนักแห่งนี้อาจจะไม่ใช่การเป็นยอดรักยอดดวงใจของสวามี แต่คือการดำเนินไปตามเส้นทางแห่งราชินีที่เพียบพร้อมนั่นเอง
Archduke Franz Joseph (ภายหลัง สมเด็จพระจักรพรรดิ Franz Joseph ที่ 1 แห่งออสเตรีย) จักรพรรดิผู้มีมเหสีที่มีความงามเป็นเอก
เมื่อพูดถึงจักรพรรดินีผู้งดงามมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป หลายคนมักถึง Sissi หรือจักรพรรดินี Elisabeth แห่งฮังการีและออสเตรียที่มีชีวิตในช่วงเดียวสมัย Victorianที่อังกฤษ แต่คราวนี้เราจะมาพูดถึงสมเด็จพระจักรพรรดิผู้เป็นสวามีที่มีเรื่องราวชีวิตไม่ต่างกับนิยายเลยทีเดียว
อาร์ชดยุค Franz Joseph มิได้เป็นโอรสของ Ferdinand ที่ 1 จักรพรรดิผู้สละราชสมบัติจากอาการเจ็บป่วยและสภาวะทางจิตที่ไม่พร้อมจะปกครองแผ่นดิน (สันนิษฐานว่า นี่เป็นผลจากการแต่งงานกับผู้ที่ร่วมสายเลือดเดียวกันของเชื้อพระวงศ์นั่นเอง)
แต่นับตั้งแต่ลืมตาดูโลก อาร์ชดยุคตัวน้อยได้ถูกกำหนดโชคชะตาแล้วว่า เป็นผู้ที่ถูกเลือกที่คู่ควรแก่บัลลังก์มากที่สุด แม้ว่าจักรพรรดิ Ferdinand จะมีพระอนุชา คือ อาร์ชดยุค Franz Karl เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติอยู่แล้ว แต่ เจ้าหญิง Sophie แห่ง Bavaria ผู้เป็นชายาได้ชักจูงให้อาร์ชดยุคยอมรับว่า ควรจะส่งเสริมให้โอรสคนแรกได้ขึ้นครองราชย์แทน ตลอดระยะเวลาที่จักรพรรดิFerdinand ยังครองราชย์อยู่ อาร์ชดยุค Franz Josephจะต้องเล่าเรียนอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวเป็นจักรพรรดิ เริ่มจากวัยเด็กที่ต้องใช้เวลาประมาณ18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อศึกษาหาความรู้แขนงต่างๆ และยืดขยายมาเป็น 50 ชั่วโมงเมื่อเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่น อาร์ชดยุคสามารถพูดได้หลายภาษาเพื่ออนาคตในการพัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้จะเป็นเพียงเด็กชายวัย13 เจ้าชายผู้นี้ก็ต้องฝึกฝนวางแผนยุทธศาสตร์กองทัพ บนเส้นทางอันแสนกดดันเพื่อจะพิสูจน์ศักยภาพของรัชทายาทที่ราชสำนักยอมรับนั้น เจ้าหญิง Sophie เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโอรสให้กลายมาเป็นเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอำนาจ เมื่อทำได้สำเร็จ เธอจึงเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างสูงที่อยู่เบื้องหลังการว่าราชการแผ่นดินของจักรพรรดิหนุ่ม และนั่นรวมไปถึงการเฟ้นหาเจ้าหญิงมาเป็นชายาและจักรพรรดินีคนใหม่อีกด้วย
แต่นับตั้งแต่ลืมตาดูโลก อาร์ชดยุคตัวน้อยได้ถูกกำหนดโชคชะตาแล้วว่า เป็นผู้ที่ถูกเลือกที่คู่ควรแก่บัลลังก์มากที่สุด แม้ว่าจักรพรรดิ Ferdinand จะมีพระอนุชา คือ อาร์ชดยุค Franz Karl เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติอยู่แล้ว แต่ เจ้าหญิง Sophie แห่ง Bavaria ผู้เป็นชายาได้ชักจูงให้อาร์ชดยุคยอมรับว่า ควรจะส่งเสริมให้โอรสคนแรกได้ขึ้นครองราชย์แทน ตลอดระยะเวลาที่จักรพรรดิFerdinand ยังครองราชย์อยู่ อาร์ชดยุค Franz Josephจะต้องเล่าเรียนอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวเป็นจักรพรรดิ เริ่มจากวัยเด็กที่ต้องใช้เวลาประมาณ18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อศึกษาหาความรู้แขนงต่างๆ และยืดขยายมาเป็น 50 ชั่วโมงเมื่อเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่น อาร์ชดยุคสามารถพูดได้หลายภาษาเพื่ออนาคตในการพัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้จะเป็นเพียงเด็กชายวัย13 เจ้าชายผู้นี้ก็ต้องฝึกฝนวางแผนยุทธศาสตร์กองทัพ บนเส้นทางอันแสนกดดันเพื่อจะพิสูจน์ศักยภาพของรัชทายาทที่ราชสำนักยอมรับนั้น เจ้าหญิง Sophie เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโอรสให้กลายมาเป็นเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอำนาจ เมื่อทำได้สำเร็จ เธอจึงเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างสูงที่อยู่เบื้องหลังการว่าราชการแผ่นดินของจักรพรรดิหนุ่ม และนั่นรวมไปถึงการเฟ้นหาเจ้าหญิงมาเป็นชายาและจักรพรรดินีคนใหม่อีกด้วย
ไม่น่าแปลกใจที่เจ้าหญิง Sophie ได้เล็งตัวเจ้าสาวจากราชวงศ์เดิมของตัวเอง เธอติดต่อเจ้าหญิง Ludovika แห่ง Bavariaผู้เป็นน้องสาวเพื่อพิจารณาว่าที่ชายาผู้สูงส่ง และตกลงปลงใจเลือกดัชเชส Helene Caroline หลานสาวคนโต แต่กลายเป็นว่า ผู้ที่คว้ากัวใจของจักรพรรดิ Franz Joseph ไปได้คือดัชเชส Elisabeth ผู้เป็นหลานคนสาวคนรอง ราชนิกูลสาวใสวัย 15 งามเฉิดฉายและมีเสน่ห์จนจักรพรรดิยื่นตำขาดว่า จะไม่ขอHelene Caroline มาเป็นคู่อภิเษก แต่ต้องการให้ Elisabeth มาเป็นจักรพรรดินีอยู่คู่เคียงกันแทน พิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในปีต่อมา และดูเหมือนว่าเรื่องราวจะจบด้วยความสุขตลอดไปเหมือนในนิทาน
แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย
แต่ชีวิตในราชสำนักที่เวียนนาไม่ได้สวยงามตามที่หลายคนจินจนาการ ความเข้มงวดและการกลั่นแกล้งทางการเมืองทำให้จิตใจของจักรพรรดินิ Sissi แห้งเหี่ยว จักรพรรดิอาจจะมอบความรักให้เธอมากมายในช่วงแรก แต่เรื่องราวแบบ "แม่ผัว - ลูกสะใภ้" ที่ขัดแย้งกันรวมถึงแรงกดดันให้เธอให้กำเนิดรัชทายาทยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาผู้สูงศักดิ์ยิ่งห่างเหิน และในที่สุดจักรพรรดิก็ได้หันไปหาชู้รักคนอื่น
ในชีวิตคู่ที่ไร้สุขนี้ จักรพรรดินีได้ให้กำเนิดรัชทายาทสมหวังราชสำนักที่จับจ้องเธออย่างจับผิดเรื่อยมา เจ้าฟ้าชาย Rudolf โอรสผู้แรกและผู้เดียวที่ควรจะได้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป
เจ้าชาย Rudolf รัชทายาทบัลลังก์ออสเตรียผู้ปลิดชีวิตตัวเอง
แต่การเติบโตท่ามกลางความสัมพันธ์แบบ "ครอบครัว" ที่เหินห่างนั้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อเจ้าฟ้าชาย Rudolf พระมารดาผู้เลอโฉมที่ได้รับความรักจากประชาชนในออสเตรียและฮังการีนั้นต้องพบกับความทุกข์ทนจากชีวิตในรั้ววังจนเจ็บป่วยทางจิตใจและต้องออกเดินทางห่างรั้ววังไปหลายครั้งเพื่อเยียวยาความเจ็บปวด ส่วนพระบิดาผู้ปกครองแผ่นดินก็ตั้งความหวังในตัวรัชทายาทสูงมากจนแสดงออกด้วยความเข้มงวดเด็ดขาด และออกคำสั่งให้โอรสฝึกฝนอย่างหนักหน่วงโดยไร้ข้อต่อรอง ไม่ว่าจะมีสภาพอากาศเลวร้ายแค่ไหน หรือเหน็ดเหนื่อยเพียงใด เมื่อถูกบงการเป็นระยะเวลานาน ผลที่ตามมาร้ายกาจเกินกว่าที่ใครคาดคิด
รัชทายาทดูจะไม่ได้ดั่งใจจักรพรรดิไปซะทุกอย่าง เขามีความสัมพันธ์กับหญิงสาวหลายคน และแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้งกับความคิดอนุรักษ์นิยมของเสด็จพ่อ เพื่อจะบีบให้โอรสแสดงความรับผิดชอบในฐานะว่าที่จักรพรรดิ เขาจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการคลุมถุงชนแต่งงานกับเจ้าหญิงที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผู้คู่ควร เธอร่ำรวยและมีconnectionที่ดี แต่คงจะบรรยายว่านี่คือชีวิตคู่ที่แสนสุขไม่ได้
เจ้าฟ้าชายมีความคิดที่จะร้องชอให้การเสกสมรสกับเจ้าหญิง Stéphanie แห่ง Belgiumเป็นโมฆะ แต่แน่นอนว่า จักรพรรดิ Franz Joseph ได้สกัดกั้นความคิดนี้ไว้
เจ้าชายยังนอกใจชายาต่อไปเรื่อยๆ จนทำให้เธอติดเชื้อโกโนเรียจนไม่สามารถมีลูกได้อีก
แต่จุดจบของเรื่องราวหนักหนาสาหัสกว่านั้น
เมื่อเจ้าฟ้าชายRudolf เข้าสู่วัย 30 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจอย่างรุนแรงต่อจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย เมื่อเขาได้นัดแนะบารอนเนส Mary Vetsera ชู้รักวัยเพียง 17 เดินทางไปยังบ้านพักในทริปล่าสัตว์ แต่ไม่นานต่อมา ข้ารับใช้พบร่างที่ไร้วิญญาณจมเลือดของทั้งสองบนเตียง ฝ่ายรัฐบาลพยายามปิดบังสาเหตุของความสูญเสียได้ระยะหนึ่ง แต่การใช้นิติวิทยานั้นระยุเรื่องกระสุนในร่างของเจ้าชาย และมีการสันนิษฐานไปแตกต่างกันว่า ชู้รักสาวอาจจะเป็นผู้วางยาและฆาตกรรมรัชทายาทบัลลังก์จักรพรรดิออสเตรีย หรือเป็นตัวเจ้าชายที่ลงมือฆ่าอีกฝ่ายก่อนแล้วตัดสินใจจากลาโลกไป แต่เนิ่นนานหลังจากเหตุการณ์ช็อคดินแดนยุโรป ก็มีการเปิดเผยจดหมายหลักฐานว่า ทั้งสองตั้งใจปลิดชีวิตตัวเองไปพร้อมๆกัน ในขณะที่มีรายงานหลายอันชี้ว่า เจ้าฟ้าชายมีอาการซึมเศร้ามามาก่อนหน้า แต่ตัวบารอนเนสสาวรุ่นนั้นส่งข้อความถึงแม่เพื่อให้อภัยในสิ่งที่ทำ แต่เธอไม่อาจต้านทานอานุภาพรักได้
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าชายได้สร้างผลกระทบอันใหญ่หลวง ทั้งความเจ็ลปวดรวดร้าวของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จักรพรรดินีElisabeth ไม่เคยทำใจต่อความสูญเสียได้ และหันมาสวมใส่เสื้อผ้าสีดำขาวเพื่อไว้ทุกข์เท่าตลอดระยะเวลาที่ยังมีพระชนม์ชีพ ก่อนที่จักรพรรดินีจะถูกนักอนาธิปไตยลอบสังหาร 9 ปีต่อมา ซึ่งยิ่งสร้างความโศกสลดให้ราชวงศ์นี้ล้นพ้นขึ้นไปอีก
ส่วนจักรพรรดิ Franz ๋Joseph ต้องเลือกผู้สืบทอดคนใหม่ นั่นคือ อาร์ชดยุค Franz Ferdinand โอรสของอนุชาผู้ล่วงลับของพระองค์ แต่กลับมีการลอบลอบปลงพระชนม์รัชทายาท จนทำให้เกิดการแก้แค้นกระทบต่อกันเป็นทอดๆจนเกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1
โศกนาฏกรรมชีวิตของเจ้าฟ้าชาย Rudolf ถูกนำมาสร้างเป็นภาพนตร์ รวมถึงละครmusical และบัลเลต์มาแล้วหลายครั้ง
The End