HOW TO ทำให้เงินงอกเงย สไตล์คนรุ่นใหม่

58 18
เพื่อนๆ รู้มั้ยคะว่าการออมเงินสำคัญมากแค่ไหน… อยากขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัวว่าเมื่อก่อนเจลทำงานได้เงินมาเท่าไหร่ก็คือแทบจะไม่เหลือเก็บเลยค่ะ เพราะคิดแค่ว่าเดี๋ยวก็ได้มาใหม่ แต่พอนานๆ ไป เห็นชีวิตคนรอบตัวที่ต้องเจอความไม่แน่นอน ทำให้คิดได้ว่าเราไม่สามารถรู้ได้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น และอาจจะมีเหตุฉุกเฉินที่เราจะต้องใช้เงินก้อน ถ้าเราไม่รู้จักเก็บเงินบ้างก็จะลำบาก เลยทำให้เจลเริ่มเก็บเงินอย่างจริงจังเพราะว่าเงินคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตเราเดินหน้าต่อไปได้ แรกๆ วิธีการเก็บเงินของเจลก็ง่ายๆ ค่ะ เริ่มจากดูว่าแบงก์ไหนมีบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงๆ บ้าง แล้วก็เปิดบัญชีแบ่งเงินมาฝากไว้กินดอกเบี้ย เจลเลือกบัญชีออมทรัพย์มีแต่ได้ ออนไลน์ของธนาคารกรุงศรี เพราะสะดวก เราเปิดได้เองง่ายๆ ผ่าน KMA-Krungsri Mobile App พอเวลาเจลทำงานได้เงินมาปุ๊บเจลจะโอนเข้าบัญชีนี้ไว้ 50% ของรายได้ และเจลตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าเจลจะไม่ถอนเงินจากบัญชีนี้เลยจนกว่าจะได้เงินก้อนเท่าที่ตั้งไว้ ตอนนั้นตั้งไว้ 50,000 บาทค่ะ ค่อยๆ เริ่มอ่ะเนอะ… พอเวลาผ่านไปเจลเก็บเงินได้ประมาณ 30,000 บาท เจลรู้สึกว่าเจลอยากให้เงินก้อนนี้งอกเงยเพิ่มขึ้นเร็วกว่านี้ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า เจลยังไม่รู้วิธีว่าจะต้องทำยังไง จะเอาไปลงทุนขายของออนไลน์ก็คือไม่มีเวลาเลย เพราะเจลออกไปทำงานแต่เช้ากลับมาถึงบ้านก็ค่ำ แค่นี้ก็เหนื่อยแล้ว จะเอาแรงจากไหนไปแพ็คของส่งให้ลูกค้า เจลก็เลยลองหาดูว่ามีวิธีไหนอีกบ้างที่จะทำให้เงินงอกเงยเร็วขึ้นโดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยเกินไป ก็ไปเจอเว็บนึงเค้าอธิบายเรื่องการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งพออ่านแล้วก็สนใจ เลยไปหาข้อมูลต่อ ก็ค้นพบว่านี่แหละคือการลงทุนที่เหมาะกับเจลมากกกกก ด้วยหลายๆ เหตุผล แต่เจลเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่รู้จักว่ากองทุนรวม คืออะไร มาเจลจะบอกให้ค่ะ
กองทุนรวม คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เค้ามีผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน หรือที่เรียกว่าผู้จัดการกองทุน นำเงินจากคนที่อยากลงทุนแบบเราๆ นี่แหละ หลายๆ คนรวมกันเป็นเงินก้อนใหญ่แล้วไปลงทุนตามนโยบายที่กำหนด เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน และหากลงทุนแล้วเกิดผลตอบแทนขึ้น ก็จะแบ่งผลตอบแทนแก่คนที่ร่วมลงทุนทุกคนตามจำนวนหน่วยที่มีอยู่
การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เสี่ยงมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร โดยแต่ละกองทุนรวมจะระบุระดับความเสี่ยงไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยจะแสดงเป็นตัวเลขระดับ 1 ถึง 8 ความเสี่ยงระดับ 1 หมายถึง กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เช่น กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารทางการเงินในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ในขณะที่ความเสี่ยงระดับ 8 หมายถึง กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงมาก เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก อย่างทองคำ น้ำมัน หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น กองทุนรวมที่ยิ่งเสี่ยงสูง ก็มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น ก่อนจะลงทุนเราก็แค่ต้องประเมินว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน แล้วก็เลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เรารับไหวนั่นเอง
1. สำรวจตัวเอง ดูว่าตัวเองยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน โดยสามารถประเมินได้เบื้องต้นจากการทำแบบประเมินความเสี่ยงที่ธนาคาร หรือ บลจ. ให้เรากรอกตอนเปิดบัญชีกองทุนรวม พอรู้แล้วเราจะได้เลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับตัวเราได้
2. ดูนโยบายการลงทุนและประเภทกองทุนรวม หลักๆ แล้ว กองทุนรวมจะแบ่งออกเป็นประเภทๆ ตามสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุน หรือลักษณะพิเศษของกองทุน เช่น • กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) • กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) • กองทุนรวมผสม (Mixed fund) • กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) • กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment) • กองทุนรวมที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
3. ศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุนรวม การศึกษาผลตอบแทนย้อนหลัง เราสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เราสนใจกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) หรือเปรียบเทียบกับกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีอยู่ใน Fund Fact Sheet นะ
4. ค่าธรรมเนียม ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ควรพิจารณา โดยค่าธรรมเนียมกองทุนรวมจะมีด้วยกัน 2 ส่วน
4.1 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย: เมื่อมีการซื้อ-ขายกองทุนรวม ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะถูกหักจากยอดซื้อ-ขาย โดยอัตราเปอร์เซ็นต์ที่เก็บจะไม่เท่ากันในแต่ละกองทุนรวม หรือบางกองทุนรวมก็ไม่มีการเรียกเก็บ
4.2 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม: เป็นค่าบริหารจัดการกองทุนรวมให้กับเรา ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอด NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
5. รู้เงื่อนไขการซื้อ-ขาย แต่ละกองทุนรวมจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราจะต้องศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น จำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อ เวลาในการรับคำสั่งซื้อซึ่งแต่ละกองทุนก็จะมีเวลาแตกต่างกันไป หรือเงื่อนไขการขายคืน โดยบางกองทุนรวมอาจไม่สามารถขายคืนได้ถ้ายังไม่ถึงกำหนดเวลา
6. ต้องติดตามข้อมูลกองทุนเป็นประจำ ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยบริหารกองทุนรวมที่เราลงทุนอยู่ แต่เราก็ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารของกองทุนรวมเป็นประจำ ควรทบทวนพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เวลาตลาดหรือเศรษฐกิจเปลี่ยนทิศทาง จะได้สามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันเวลา ทำให้เงินที่เราลงทุนไปยังสร้างผลตอบแทนอย่างที่คาดหวังไว้
เพื่อนๆ อาจกำลังสงสัยอยู่ว่าข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีอะไรบ้าง งั้นมาดูกันเลย…

1. มีมืออาชีพที่เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกคอยบริหารจัดการให้ ช่วยเพิ่มความมั่นใจและลดภาระให้เราที่อาจไม่มีความรู้มากนัก พอมีคนดูแลให้เนี่ย เราก็เอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้ไง
2. มีเงินน้อยก็เริ่มลงทุนได้ คือเราอาจจะเก็บเงินได้ 500 บาท หรือ 1,000 บาท ก็สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้แล้ว
3. มีกองทุนรวมที่หลากหลายให้เลือกตามเป้าหมายการเงินของเราและความเสี่ยงที่เรารับได้
4. สะดวกมาก ทุกอย่าง online หมด คือ เปิดบัญชี ซื้อ-ขาย ดูผลการดำเนินงานพอร์ตของเราได้เองผ่านแอปตลอดเวลา
เจลเลือกเปิดบัญชี และซื้อ-ขายกองทุนรวมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพราะสะดวก ทำทุกอย่างได้เองผ่าน KMA-Krungsri Mobile App แถมที่นี่เค้าคัดกองทุนรวมเด่นๆ ที่ผลการดำเนินงานดีจากหลาย บลจ. มาให้เราเลือก เรียกว่าตอบโจทย์มาก สำหรับใครที่สนใจอยากลงทุนแบบเจล ก็เพียงแค่ต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรีก่อน เพื่อไว้ตัดเงินเวลาซื้อและรับเงินเวลาขายคืนกองทุนรวม ถ้ายังไม่มี ก็ดาวน์โหลด KMA-Krungsri Mobile App แล้วเปิดบัญชีออมทรัพย์ออนไลน์นะ พอมีบัญชีออมทรัพย์แล้วก็ค่อยกดเปิดบัญชีกองทุนรวมบนแอป ทำตามขั้นตอนไม่ยาก แป๊บเดียวเสร็จ ก็เริ่มซื้อ-ขายกองทุนรวมได้เลยค่ะ
1. เข้ามาหน้าแรกแล้วเลือกเมนู “กองทุนรวม”​
2. เลือก “เปิดบัญชีกองทุน” แล้วกรอกข้อมูลไปเรื่อยๆ และทำแบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน
3. ระบบจะบอกคะแนนว่าเรารับความเสี่ยงได้ที่ระดับไหน
4. กรอกรายละเอียดต่างๆ ของตัวเองให้ครบ
5. และแล้วเราก็เปิดบัญชีกองทุนรวมสำเร็จ ก็จะขึ้นหน้าแบบนี้ และทำการซื้อกองทุนรวมต่อได้เลย
6. เลือกกองทุนรวมที่สนใจ ตามที่ศึกษาทำการบ้านมา แล้วกดซื้อได้เลย แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าเราเหมาะกับกองทุนรวมประเภทไหนก็ลองใช้บริการ Smart advisor ได้ฟรีๆ ระบบจะให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับเรา โดยบริการนี้ก็อยู่ใน KMA-Krungsri Mobile App ในเมนู “กองทุนรวม” นั่นเอง เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย
เห็นมั้ยง่ายนิดเดียว สะดวก ทำเองได้ง่ายๆ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คนรุ่นใหม่อย่างเราต้องศึกษาเลยนะ วัยรุ่นยุคนี้ต้องเริ่มลงทุนกันล่ะ เพราะจะหวังพึ่งดอกเบี้ยอย่างเดียวน่าจะไม่ได้แน่ และนี่ก็คือสิ่งที่เจลอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองศึกษาดูค่ะ
วันนี้เจลขอตัวลาไปก่อนน้า ไว้มีอะไรใหม่ๆ เจลจะมาบอกต่ออีกนะคะ  


Jell'y Nareerat

Jell'y Nareerat

สวัสดีค่า?
เจลนะค้าา (—-:

FULL PROFILE