Proud2bMom ตอน...ไขความกังวลในการทำIVF

3 4

     อย่างที่เราทราบกันดีใช่ไหมคะว่าเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ สำหรับผู้มีบุตรยากที่ทันสมัยที่สุดในโลกตอนนี้ก็คือการทำเด็กหลอดแก้ว มิ้นจะพูดถึงที่นิยมกันหลักๆคือ IVF,ICSI นะคะ แต่มิ้นจะข้ามขั้นตอนไปเลยนะคะว่า2วิธีนี้ต่างกันยังไง เพราะคนที่เตรียมตัวจะทำน่าจะรู้เบื้องต้นแแล้ว และมีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 40-50 หากอายุน้อยกว่า 35 ปี และน้อยลงเรื่อยๆ หากอายุมากขึ้น

     เนื่องจากความสำเร็จนั้นมีอยู่แค่ครึ่งๆ จึงทำให้ว่าที่คุณแม่หลายคนจะมีความกังวลใจหลายเรื่องว่าเราจะมีเปอร์เซนต์ในการสำเร็จไหม เพราะไม่เพียงแต่การเเลกมากับค่าทำที่แสนแพง ไหนจะเรื่องสภาวะจิตใจ การลางานที่แสนจะลายากเหลือเกิน นั่นคือทำให้เกิดความเครียดขณะทำ ซึ่งมิ้นคิดว่ามันเป็นศัตรูของควาสำเร็จเลยทีเดียวค่ะ ทีนี้เรามาดูความกังวลใจหลักๆที่จะต้องเกิดขึ้น และมาไขความกังวลใจตามแบบฉบับของมิ้นกันค่ะ

1. จำนวนไข่

   ว่าที่คุณแม่หลายคนจะกังวลกันเรื่องจำนวนไข่ ว่าทำไมไข่ตั้งต้นชั้นได้น้อยจัง กระตุ้นไปได้ไข่น้อยใบแหงๆทำไงดี พาลเอาเครียดก่อนเริ่มกระบวนการไปอีก --> ไม่ต้องเครียดเลย เพราะธรรมชาติคนเราไข่มันตกเดือนละใบอยู่แล้ว ที่นี้เราโกงธรรมชาติไงมันเลยจะได้เยอะขึ้น จำนวนไข่ก็ไม่ได้อยู่ที่ไข่ตั้งต้นเสมอไป เพราะบางคนไข่ตั้งต้นน้อย แต่พอกระตุ้นกลับได้เยอะ แต่คนไข่ตั้งต้นได้เยอะพอกระตุ้นกลับได้น้อยก็มีค่ะ อย่างมิ้นไข่ตั้งต้นเกือบ15ใบ กระตุ้นออกมาใช้ได้7ใบค่ะ

   สิ่งสำคัญจริงๆคือคุณภาพของไข่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าไข่เรามีคุณภาพ คำตอบคือ ไม่รู้ได้ค่ะ จนกว่าจะนำไปผสมแล้ววิเคราะห์การแตกเซลล์ ว่าดีหรือไม่ดี เพราะฉนั้นการกังวลใจไปก่อนไม่ได้ช่วยอะไรค่ะ มาทำให้อารมณ์ดีๆ กินอะไรที่มีประโยชน์เพื่อไปช่วยให้ไข่เรามีคุณภาพดีกว่าค่ะ  

2. ช่วงกระตุ้นไข่

    มีเพื่อนๆหลายคนมักจะมาถามมิ้นกว่าช่วงกระตุ้นไข่มิ้นกินอะไรเป็นพิเศษ หรืออาหารเสริมอะไรบ้าง จะได้หามากินกันบ้าง --> คำตอบคือ ไม่ได้กินเลยค่ะ ทั้งพวก ไข่เป็ดเปลือกเขียว น้ำเต้าหู้ น้ำมะพร้าว หรือวิตามินเสริม ช่วงที่เตรียมตัววิตามินตัวเดียวที่มิ้นกินคือ โฟลิค แต่พอตอนกระตุ้นไข่มิ้นไม่ได้กินค่ะ เพราะมิ้นอยากให้ยากระตุ้นไข่ที่เราฉีด ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด (อันนี้น้องออยน้องที่ออฟฟิศบอกมา) ส่วนอาหารมิ้นกินแบบปกติเลย ไม่ได้มาโหมกินช่วงนี้ เพราะอย่างที่เรารู้อ่ะค่ะ ว่าไข่ตั้งต้นมันเริ่มสร้างมาก่อนหน้านี้ มาโหมเอาตอนนี้มิ้นว่ามันดูเยอะไป แต่ใครจะกินก็ไม่ได้เสียหายนะคะ เพราะมันก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ที่บอกแบบนี้เพราะว่าเห็น เพื่อนๆหลายคนเครียดเรื่องนี้ บางคนกินไข่ต้มกันวันละ3-4 ฟอง บอกว่าหน้าจะเป็นไข่แล้ว แต่ต้องฝืนกิน นั่นล่ะ มันก็ทำให้เราไม่มีความสุขอีกใช่ม๊า เพราะฉนั้นไม่ต้องไปเครียดค่ะ กินแค่7-8วัน ไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่ กินอะไรที่จะทำให้เรามีความสุขไปเหอะค่ะ แต่ถ้าอยากกินเพื่อบำรุง พยายามกินให้ต่อเนื่องอย่างน้อย3เดือนขึ้นไปค่ะ 

3. การเตรียมผนังมดลูกก่อนใส่ตัวอ่อน

   ส่วนใหญ่คำถามเดียวกับการกระตุ้นไข่ --> คำตอบก็เหมือนช่วงกระตุ้นไข่อีกอ่ะค่ะ ไม่ได้กินอะไรเลย หลังเก็บไข่มิ้นก็กลับมากินโฟลิคต่อแค่นั้นเอง ส่วนผนังมดลูกคุณหมอจะวิเคราะห์มาแล้วว่าหนาบางเท่าไหร่ แล้วก็จะให้ยาสอดและยากิน (ยาที่ได้แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนนอยด์ว่าทำไมได้ไม่เหมือนมิ้น น่าน!!! ก็ร่างกายเราไม่เหมือนกันเนอะ ชื่อหมอดีที่สุดค่ะ) คำตอบอื่นก็เหมือนข้อ2เลยเนอะ5555  ทำอะไรทีไม่เครียดกินอะไรกินโล้ด

4. อาการหลังใส่ตัวอ่อน

    มิ้นเชื่อว่าทุกคนเป็นแน่ค่ะ พอใส่ตัวอ่อนปุ๊บ จะสังเกตละว่าเรามีอาการเปลี่ยนเเปลงอะไรบ้าง มีอาการเหมือนคนท้องรึยัง เช่น แปล๊บหรือจี๊ดที่ท้องน้อยด้านขวาบ้างซ้ายบ้าง ปวดหน่วงๆ เจ็บหน้าอกปวดตึงไปหมด เวียนหัว ท้องอืด ผายลมบ่อย (คนมักคนว่าอาการแบบนี้คืออาการคนท้อง) --> คำตอบ หลังมิ้นใส่ตัวอ่อน ไม่มีอาการดังที่กล่าวไปแล้วซักนิ๊ดดดดดนึง มีแค่ปวดหน่วงๆวันแรกจากการใส่เครื่องมือใส่ตัวอ่อนแค่นั้นเองค่ะ เงี๊ยบกริ๊บจนคิดว่าเอ๊ะ นี่ชั้นมาเสียเวลานอนนิ่งๆนานๆทำไมเนี่ย ทำไมไม่มีสัญญานอะไรบ่งบอกมั่งเลยว่าชั้นจะท้อง ไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ตั้งแต่หลังใส่ตัวอ่อน ยันวันที่ตรวจเจอ2ขีด ฉนั้น การสังเกตตัวเอง การจดจ่อ เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นนั้น มันทำให้เราเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัว บางคนไปอ่านมาว่าส่วนใหญ่ตรวจเจอ2ขีดตั้งแต่วันที่5-7 หลังใส่ตัวอ่อน พอตัวเองตรวจมั่งไม่เจอ2ขีด เลยพาลจะคิดว่าชั้นไม่ท้องแล้ว จะเลิกกินยาบ้าง สอดยาบ้าง ถึงขั้นนั้นกันเลยทีเดียว ยอมรับว่าส่วนใหญ่คนเจอช่วงนั้นกันจริงๆค่ะ แต่อย่างที่มิ้นบอก ร่างกายคนเรามันไม่ได้เหมือนกันทุกคน มิ้นพิสูจน์ด้วยตัวเองมาแล้ว ทั้งเรื่องอาการ และวันที่ตรวจเจอ2ขีด มิ้นเจอโน่นนนนเลยค่ะ วันที่11หลังใส่ตัวอ่อน และย้ำว่าไม่มีอาการใดๆที่หมือนอาการคนท้องเลย แต่ที่มิ้นไม่เครียดไม่จดจ่อเลยนันคือ มิ้นคิดไว้แล้วว่ามิ้นจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด นอนให้นิ่งและนานที่สุด กินยาสอดยาให้ครบที่สุด คือทำทุกอย่างให้มันขั้นสุด ถ้าไม่ติดก็จะได้ไม่ต้องมาเสียใจว่าวันนั้นชั้นน่าจะทำแบบนั้นแบบนี้ พอคิดและทำแบบนี้มันเลยชิลค่ะ (แต่หวังไหมก็หวังเหมือนกันนะเออ555) ตัวช่วยที่ดีที่สุดของมิ้นนั่นคือ ซีรี่ย์สนุกๆ กับหนังสือเล่มโปรดค่ะ 

     ปล. คุณหมอเคยบอกว่าอาการทั้งหมดทั้งมวลนั้น บางครั้งมันเกิดจากผลข้างเคียงของยาด้วยนะคะ เพราะฉนั้นอาการจึงไม่ได้เป็นตัวชี้วัดนะคะว่าเราจะท้องหรือไม่ท้อง

5. จำนวนวันในการพัก หลังจากใส่ตัวอ่อน

   ปัญหานี้ก็สร้างความกังวลใจให้กับเพื่อนที่กำลังคิดจะทำมากโขทีเดียวค่ะ มีหลายคนที่คิดจะทำแต่ติดอยู่กับเรื่องหน้าที่การงาน และภาระที่ที่ต้องรับผิดชอบ บางคนไม่สามารถลางานยาวๆได้ ซึ่งมีความเห็นบางส่วนบอกว่า ถ้าเป็นเราๆเลือกเอาลูก โดยการลาออกจากงานเพื่อมาทำเด็กหลอดแก้ว อันนี้มิ้นนับถือน้ำใจจริงๆค่ะที่ทุ่มเทเพื่อการมีเบบี๋ตัวน้อย แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีคนอีกส่วนนึงที่อยากมีลูกมาก ไม่ใช่งานสำคัญกว่าลูก แต่เค้าก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว ลูกก็อยากมีชีวิตปรกติก็ยังต้องดำเนินไป แถมค่าทำครั้งนึงรพ.รัฐก็เหยียบแสน เอกชนก็แสนอัพ ยังไม่นับค่ายาหลังจากติดตัวอ่อนอีก จ่ายรัวๆกันเป็นรายอาทิตย์เลยทีเดียวแล้วทำไงล่ะ -->ของมิ้นคือ มิ้นเป็นคนที่แทบจะไม่เคยลางานเลยถ้าไม่เจ็บป่วยแบบลุกไม่ขึ้นจริงๆ ซึ่งมีน้อยมาก และเป็นโชคดีที่มิ้นใส่ตัวอ่อนวันศุกร์ ที่10/2/17 ได้นอนพักส-อา 11-12 ได้ละ2วัน ขอลา 5วัน คือจันทร์ที่13-ศุกร์17 และได้ ส-อา 18-19 แถมอีก2วัน เลยกลายเปนว่าได้นอนยาวเลย9วัน (เป็นอะไรที่เบื่อมากกก555) ซึ่งจริงๆมิ้นคิดว่าถ้าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่อย่างน้อย5วัน (ในส่วนนี้คุณหมอออกใบรับรองแพทย์ให้ได้นะคะ) มันก็เพียงพอแล้วค่ะ อย่าไปเครียดว่าต้องหยุดเท่านั้นเท่านี้ตามคนอื่น ขอแค่วันที่เราหยุด ทำให้มันเป็นวันที่พักแบบมีคุณภาพจริงๆ โอกาสสำเร็จก็มีเหมือนกันค่ะ ฉนั้นคนที่จะทำวางแผนล่วงหน้าเลยค่ะ ห้ามขาด ห้ามสาย ห้ามลา สะสมไว้ก่อนเลยค่ะ ลาอย่างน้อย5วัไม่น่าจะมีปัญหา อ่อ แล้วไม่ต้องเครียดว่าถ้าชั้นลาใครจะทำแทนชั้นได้ล่ะ ตอนแรกมิ้นก็คิดแบบนี้ค่ะ เพราะทั้งออฟฟิศมิ้นเป็นคนทำเอกสารภาษาญี่ปุ่นคนเดียว ก้อนอยด์ว่าตอนชั้นหยุดเอกสารจะเดินได้ไง แต่ทำใจช่างมัน555 สรุปแล้วมันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรค่ะ บริษัทเค้าก็ยังดำเนินการต่อได้ แค่กลับมางาน(โครต)เยอะกว่าปกติเท่านั้นค่ะ

***** ปัจจัยด้านพฤติกรรมหลังย้ายตัวอ่อน            >>โดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซีสต์ (วันที่ 5) หรือ 5-7 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังจะฟักออกจากเปลือก และเริ่มแปะติดกับผนังเยื่อบุโพรงมดลูก ก่อนจะค่อยๆฝังตัวลงไป >> หากไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เดินเยอะ เดินทางไกล ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ยกของหนัก ท้องผูกเบ่งถ่าย ท้องเสียปวดท้อง กลั้นปัสสาวะนานๆ มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ >> อาจส่งผลทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ หรือฝังตัวได้ไม่ดีเครดิต : หมอเช้าตรู่

   เมื่อไขความกังวลหลักๆได้แล้ว มิ้นคิดว่ามันจะทำให้เพื่อนที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วนั้น มีกำลังใจดีขึ้น ไม่เครียด และเมื่อตัวเราไม่เครียด ฮอโมนดีๆต่างๆในร่างกายน่าจะช่วยเสริมให้ความสำเร็จในการทำเด็กหลอกแก้วนั้นมีมากขึ้นนะคะ

   สำหรับเรื่องอาหารการกิน หรือวิตามินบำรุง มิ้นไม่ได้แอนตี้นะคะ เพียงแต่อยากย้ำว่าทุกอย่างต้องใช้เวลา (อย่างน้อย3เดือน) ส่วนวิตามิน กินได้ แต่ขอให้ไปหาหมอเพื่อเชคปัญหาของร่างกายเราและทานให้ตรงกับอาการ อย่าไปกินตามคนอื่นนะคะ เพราะร่างกายของคนเราไม่เหมือนกันจริงๆค่ะ

ติดตามรีวิวอื่นๆในการทำ IVF ของมิ้นได้ที่ เพจ Proud 2b Mom ทาง facebook ได้แล้วนะคะ

https://www.facebook.com/Proud-2b-Mom-134400227135200/


Proud2bMom

Proud2bMom

https://www.facebook.com/Proud-2b-Mom-134400227135200/

FULL PROFILE