ปัญหาแบ่งแยกทางเชื้อชาติที่สร้างแรงกดดันให้กับไอดอลต่างชาติในวงการ K-Pop
candy 11 4
..
ปัญหาการแบ่งแยกเชื้อชาติในเกาหลีใต้นั้นสร้างเสียงกล่าวขวัญอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีเสียงชี้แจงจากคนในประเทศว่า นี่เป็นเพียงข้อกล่าวหาที่เกินจริง เพราะพวกเค้ามั่นใจว่า สังคมเกาหลีเปิดกว้างมากขึ้น มีเพียงแต่กลุ่มคนที่ยึดมั่นกับความคิดหัวโบราณที่ยังเลือกปฏิบัติกับชาวต่างชาติ แต่นั่นดูจะสวนทางกับคำบอกเล่าของเหล่า expats ที่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสวัฒนธรรมเกาหลีแบบวงในจริงๆ หลายคนต่างแชร์ประสบการณ์ย่ำแย่จากปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและเรียกร้องให้สร้างความเปลี่ยนแปลง
เรื่องราวเหล่าที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ทำให้หลายคนเชื่อว่า เหล่าไอดอลต่างชาติที่ก้าวเข้ามาสร้างความโด่งดังในวงการ K-Pop ก็ไม่น่าจะเลี่ยงปัญหาอันน่าหนักใจนี้ไปได้...
เรื่องราวเหล่าที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ทำให้หลายคนเชื่อว่า เหล่าไอดอลต่างชาติที่ก้าวเข้ามาสร้างความโด่งดังในวงการ K-Pop ก็ไม่น่าจะเลี่ยงปัญหาอันน่าหนักใจนี้ไปได้...
สังคม Monocultural และ Monoethnic ที่หล่อหลอมให้ชนชาติเกาหลีตั้งกำแพงอคติกับชาวต่างชาติ
เมื่อเสาะหาต้นตอของปัญหาที่สร้างความแบ่งแยกจากความเกลียดกลัวคนต่างชาติ (Xenophobia) และการเหยียดเชื้อชาติ (Racism) ที่ฝักรากลึกในสังคมเกาหลี ก็อาจจะไม่ต้องคิดซับซ้อน เพราะสังคมแห่งนี้มีลักษณะความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน (Monoethnicity) ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศเป็นชาวเกาหลี มี minorities อาศัยรวมอยู่ด้วยเพียง 1% ประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวเกาหลีนั้นจึงไม่ได้ปรากฏจุดเปลี่ยนเพื่อเปิดรับความหลากหลายทางเชื้อชาติมากนัก และยังหล่อหลอความยึดมั่นจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว( Monocultural) สำหรับคนภายนอกที่ได้เพียงแต่ติดตามชีวิตคนเกาหลีผ่านซีรีส์ ก็คงสัมผัสได้แล้วว่า ชนชาตินี้คาดหวังให้ผู้คนแสดงออกตามบรรทัดฐานที่ตรงกัน ทำสิ่งใดก็ควรเกาะกันเป็นหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็นสังคมในโรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชนต่างๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากมีเทรนด์ใดได้รับความนิยมขึ้นมา ชาวเกาหลีก็แห่แหนไปทำตามกันให้พรึ่บ ส่วนผู้ที่ลุกขึ้นมาสร้างความแตกต่างอาจจะถูกตราหน้าเป็นขบถสังคมและไม่เป็นที่ยอมรับเทียบเท่ากับผู้ที่อยู่ในกรอบกฎเกณฑ์
หากคนเกาหลีที่ฉีกกรอบค่านิยมยังเสี่ยงจะเจอคนเกาหลีด้วยกันกีดกัน คงพอจะนึกภาพกันออกว่า คนต่างชาติที่แตกต่างทั้งเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก ภาษา พื้นเพวัฒนธรรม จะยิ่งต้องรับมือกับการเลือกปฏิบัติสักแค่ไหน
วรรณะทางสังคม..ข้อเท็จจริงที่ชาวเกาหลีอาจจะไม่ประกาศชัดๆ แต่ผู้คนมากมายต่างสัมผัสได้
การเหยียดเชื้อชาติยังถูกมองเป็นประเด็นเปราะบางที่ชาวเกาหล่ีหลายคนยังไม่อยากยอมรับ แต่หลายคนที่ได้สัมผัสประสบการณ์ย่ำแย่จากการถูกเลือกปฏิบัติได้ชี้ว่า นี่คือปัญหาที่ไม่ควรถูกมองข้าม การพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุดหน้าของเกาหลีใต้ทำให้ทรัพยากรแรงงานในประเทศไม่เพียงพอ จำเป็นต้องดึงแรงงานจากต่างชาติเข้ามาช่วยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ทั้งยังมีบริษัทข้ามชาติและหลากหลายธุรกิจที่ต้องร่วมงานกับชาวต่างชาติ สังคมเกาหลีจึงควรมองถึงความสำคัญในการยอมรับความแตกต่างหลากหลายที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม และลดละการแบ่งระดับคุณค่าความเป็นมนุษย์
สิ่งที่สร้างเสียงกล่าวขวัญมานานคือ การจัดลำดับชนชั้น เพราะถึงจะชื่อว่าชาวต่างชาติเหมือนกัน แต่อาจจะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่าง
พัค ยอนมี นักเคลื่อนไหวผู้แปรพักตร์จากเกาหลีเหนือที่หลบหนีเข้ามาอาศัยที่เกาหลีใต้เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานมายังอเมริกาได้เผยประสบการณ์จริงในการใช้ชีวิตอยู่ฝั่งใต้ว่า ชาวอเมริกันไม่ได้รับรู้ถึงปัญหาการเหยียดเชื้อชาติในเกาหลีเลย เนื่องจากชาวอเมริกันจะได้รับการปฏิบัติในสังคมเกาหลีแตกต่างออกไปจากผู้คนที่มาจากประเทศยากจน ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และแน่นอนว่าจะมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แม้แต่เกาหลีเหนือที่พูดภาษาเดียวกัน มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ก็ถูกเหยียดหยันเพราะความยากจน
มีการวิเคราะห์ว่า เกาหลีใต้จะต้องวิกฤติทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง ทั้งต้องตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นยาวนานหลายปี ประชาชนต้องอดสูใจกับกับคำเย้ยหยันว่าเป็นประเทศที่ล้าหลังไร้อำนาจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ต้องแบ่งแยกการปกครองออกเป็น 2 ส่วน หลังญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามและเกิดความขัดแย้งรุนแรง ก่อให้เกิดสงครามเกาหลีที่สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง แม้จะพยายามเยียวยาประเทศจนก้าวหน้าขึ้นมาได้ แต่ก็ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤต IMF ในปี 1997 ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่หายนะ ค่าเงินวอนตกต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่ในที่สุดก็สามารถกอบกู้เศรษฐกิจให้มารุ่งเรือง (ปัจจุบัน ค่า GDP ของเกาหลีใต้อยู่ลำดับ 13 ของโลก)
การฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการจนก้าวสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างเต็มภาคภูมิทำให้มีการปลูกฝังความภาคภูมิใจในความกล้าแกร่งอดทนของชนชาติเกาหลีจากรุ่นสู่รุ่น จนขึ้นชื่อลือชาเรื่องความเป็นชาตินิยม การรับวัฒนธรรมของอเมริกาและยุโรปมาปรับใช้และสร้างความเจริญทางวัตถุทำให้ดูโมเดิร์นไม่แพ้โลกตะวันตก แต่ในขณะเดียวกัน บทบาทผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชียก็ทำให้ชาวเกาหลีจำนวนไม่น้อยมองชาวต่างชาติจากประเทศที่ยังไม่พัฒนาด้วยอคติ โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานที่มีรูปลักษณ์สวนทางกับ beauty standard ของเกาหลี พวกเค้ามักถูกด้อยค่าว่า ดูเป็นชนชั้นล่าง ไร้การศึกษา ป่าเถื่อน ไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง ขาดทักษะจนทำได้แต่อาชีพที่ต้องใช้แรงกายค่าแรงต่ำ
'ดูบ้านนอก สมกับเป็น Southeast Asia'
'เชยจัง ดูไทยสุดๆ'
'น่าผิดหวังเพราะดูไม่แพงเลย'
หลังจากที่ Lisa ไอดอลชื่อดังแห่งวง BLACKPINK ได้ปล่อย ROCKSTAR ออกมาสร้างความฮือฮา คอมเมนท์โจมตี MV ที่ซุ่มถ่ายทำในประเทศไทยก็ผุดขึ้นมารัวๆในเว็บบอร์ดของเกาหลี ราวกับว่าการนำเสนอความเป็นไทยเป็นการก้าวสู่จุดตกต่ำลง ซึ่งลองเมื่อคิดกลับกัน หากมีชาวอเมริกันจิกกัด Tyla ที่โชว์ภาพบ้านเกิดเมืองนอนใน South Africa ผ่าน MV ว่าดูล้าหลังไม่น่าประทับใจ ย่อมมีคนร่วมกันต่อต้านพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติ รวมถึงสื่อที่จะไม่เพิกเฉย ขยายเรื่องราวให้สังคมได้รับรู้ว่า นี่คือพฤติกรรมย่ำแย่ที่ไม่อาจจะยอมรับหรือปล่อยผ่านไปได้
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมายในสังคมเกาหลี เพราะแม้แต่ไอดอลเชื้อสายเกาหลีแท้ๆที่มีผิวสีเข้มกว่า beauty standard ก็เคยถูกชาวเน็ทเหยียดแรงว่า 'คล้ำอย่างกับคนสวนเก็บมะม่วงในฟิลิปปินส์' และยังมีเรื่องเล่าขานกับชาวต่างชาติในเกาหลีที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำสร้างกระทบกระเทือนในจิตใจ อาจจะเริ่มจากการถูกมองแรง หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ (ถึงขนาดมีผู้ขอสัมภาษณ์ชาวเกาหลีตามท้องถนนเพื่อให้อธิบายเหตุผลที่จึงไม่ยอมนั่งติดกับชาวต่างชาติบนรถไฟ) ไปจนถึง bully เรื่องรูปร่างหน้าตาหรือสถานะทางเศรษฐกิจ
ชาวต่างชาติหลายคนยืนยันตรงกันว่า ในเกาหลี สีผิวมีส่วนสำคัญในการปฏิบัติต่อคนต่างชาติ ผู้ที่มีเชื้อชาติแอฟริกัน อาหรับ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะเป็นชาวต่างชาติที่มาจากประเทศที่เจริญแล้ว แต่หากไม่ใช่ฝรั่งผิวขาว แต่เป็น people of colour ที่ผิวสีเข้มอาจจะต้องทำใจอดทนต่อการเหยียดเชื้อชาติ สอดคล้องกับการสำรวจของ National Human Rights Commission of Korea ที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวต่างชาติเกือบครี่งยืนยันว่า การเหยียดเชื้อชาติในเกาหลียังเกิดขึ้น และ 24% ตอบว่า การเลือกปฏิบัติมีสาเหตุมาจากสีผิว
Hyein Amber Kim โพรเฟสเซอร์เชื้อสายเกาหลีจากแผนกภาษาศาสตร์แห่ง State University of New York ได้แสดงพีระมิดวรรณะทางสังคมที่ยกให้ชาวเกาหลีแท้ๆไว้เบื้องบน ผู้ที่อยู่ในระดับกลางคือ ชาวเอเชียตะวันออก ลูกครึ่ง และชาวต่างชาติที่มีผิวสว่าง และชั้นล่างสุดคือแรงงานจากประเทศด้อยพัฒนาที่มีผิวสีเข้ม ผู้ที่มีเชื้อสายผิวดำ ผู้ที่มีผิวสีเข้มที่มาจากตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ลูกครึ่งที่มีเชื้อชาติเหล่านี้ ซึ่งสื่อดัง The Korea Herald ได้เปรียบเทียบไว้ว่า นี่คือระบบการจัดชั้นวรรณะที่ไม่มีใครอยากพูดถึงกันในเกาหลีใต้
Hyein Amber Kim โพรเฟสเซอร์เชื้อสายเกาหลีจากแผนกภาษาศาสตร์แห่ง State University of New York ได้แสดงพีระมิดวรรณะทางสังคมที่ยกให้ชาวเกาหลีแท้ๆไว้เบื้องบน ผู้ที่อยู่ในระดับกลางคือ ชาวเอเชียตะวันออก ลูกครึ่ง และชาวต่างชาติที่มีผิวสว่าง และชั้นล่างสุดคือแรงงานจากประเทศด้อยพัฒนาที่มีผิวสีเข้ม ผู้ที่มีเชื้อสายผิวดำ ผู้ที่มีผิวสีเข้มที่มาจากตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ลูกครึ่งที่มีเชื้อชาติเหล่านี้ ซึ่งสื่อดัง The Korea Herald ได้เปรียบเทียบไว้ว่า นี่คือระบบการจัดชั้นวรรณะที่ไม่มีใครอยากพูดถึงกันในเกาหลีใต้
บรรดาหนุ่มสาวต่างชาติหลายคนได้วิ่งไล่ตามความฝันเพื่อจะมาสร้างชื่อเสียงในฐานะ K-Pop idol ต่างก็มีรูปลักษณ์ดึงดูดใจตรงกับอุดมคติของชาวเกาหลีใต้ บางคนมาไกลจากรูปโฉมวัยเยาว์ จากเดิมที่อาจจะมีผิวสีน้ำตาลตามธรรมชาติหรือมีเฉดเข้มขึ้นจากแสงแดด ก็ดูขาวใสกเข้ากับ beauty standard ของไอดอลเกาหลี สอดคล้องกับการวิเคราะห์จากโพรเฟสเซอร์ Kim ว่า
"ยิ่งมีสีผิวใกล้เคียงกับชาวเกาหลีมากเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงความมีอำนาจและอภิสิทธิ์ กล่าวคือ หากมีรูปลักษณ์คล้ายกับคนเกาหลีและมีตัวตนที่มีความเป็นเกาหลีสูงมากเท่าใด ก็จะเผชิญกับการเลือกปฏิบัติน้อยลง"
แม้จะมีคำอธิบายจากชาวเกาหลีว่า คนรุ่นใหม่ไม่ตั้งกำแพงอคติกับชาวต่างชาติเหมือนกับคนหัวเก่า ในขณะที่บรรดานักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาไม่น่าจะต้องรับมือกับการเหยียดเชื้อชาติกันเท่าใดนัก แต่ชาวเกาหลีหลายคนยอมรับตรงกันว่า แรงงานที่มาจากประเทศยากจนยังถูกมองในแง่ลบและถูกดูถูกดูแคลนจากแนวคิดแบ่งแยกชนชั้น และนั่นก็น่าจะอธิบายถึงเรื่องสองมาตรฐานในวงการ K-Pop แม้ไอดอลจะมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน แต่หากมีรูปลักษณ์และโพรไฟล์ที่ตรงอุดมคติชาวเกาหลี ครบแพ็คเกจทั้งหน้าตาสวยงาม ฐานะร่ำรวย ความสามารถรอบด้าน ก็อาจจะถูกยกเว้นจากการเหยียดเชื้อชาติไปได้
อีกหนึ่งข้อสังเกตที่ทำให้หลายคนเชื่อว่า การแบ่งแยกทางเชื้อชาติมีอยู่จริง.ในสังคมเกาหลีมีอยู่จริง พิสูจน์ได้จากความไร้ตัวตนของศิลปินเชื้อสายผิวดำในวงการ K-Pop แม้ล่าสุด HYBE ฉีกกรอบเดิมด้วยการปั้น KATSEYE เกิร์ลกรุ๊ปนานาชาติที่มีหนึ่งในสมาชิกเป็นสาวสวยลูกครึ่งสวิส-กาน่า และวง BLACKSWAN ที่สร้างชื่อเสียงมาก่อนหน้านี้ก็มีสมาชิกเชื้อสายเซเนกัล หรือจะเป็น SM ที่จ่อคิวเดบิวท์วง Dear Alice จากการคัดเลือกเด็กหนุ่ม British มาฝึกฝนตามวิถีไอดอล K-Pop แต่พวกเค้าเหล่านั้นยังเป็นเพียงส่วนน้อยแทบหยิบมือได้ในวงการนี้ แม้ว่าวัฒนธรรรมและดนตรีของคนผิวดำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อวงการนี้ ค่ายดนตรีชื่อดังต่างทาบทามโพรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้นเชื้อสายผิวดำให้มาร่วมทีมสร้างสรรค์ผลงาน แต่คนผิวดำมักถูกจัดให้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ไม่ใช่ศิลปินที่ได้รับเลือกให้เปล่งประกายท่ามกลางสปอทไลท์
ถึงจะมีหนุ่มสาวเชื้อสายผิวดำที่หลงรักดนตรี K-Pop และพร้อมจะทุ่มเทสร้างความฝันให้เป็นจริงเหมือนกับไอดอลเชื้อชาติอื่น แต่พวกเราต่างรับรู้ว่า เชื้อชาติและสีผิวก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับวงการ K-Pop ณ ตอนนี้ โอกาสที่จะเห็นไอดอลผิวดำก้าวสู่ระดับท็อปยังมีอยู่น้อย ถึงจะเริ่มมีการสร้างแตกต่างด้วยการปั้นวงไอดอลนานาชาติ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
ถึงจะมีหนุ่มสาวเชื้อสายผิวดำที่หลงรักดนตรี K-Pop และพร้อมจะทุ่มเทสร้างความฝันให้เป็นจริงเหมือนกับไอดอลเชื้อชาติอื่น แต่พวกเราต่างรับรู้ว่า เชื้อชาติและสีผิวก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับวงการ K-Pop ณ ตอนนี้ โอกาสที่จะเห็นไอดอลผิวดำก้าวสู่ระดับท็อปยังมีอยู่น้อย ถึงจะเริ่มมีการสร้างแตกต่างด้วยการปั้นวงไอดอลนานาชาติ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
แม้ไอดอลต่างชาติจะเป็นพลังสำคัญที่ร่วมผลักดันให้ K-Pop ก้าวไกลระดับโลก แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอคติในสังคมเกาหลี
แต่กระนั้น เรื่องการเหยียดเชื้อชาติในวงการนี้ก็เกิดให้เห็นบ่อยครั้ง แม้จะ FC จากต่างประเทศจะร่วมประนามต่อต้านพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติที่สร้างความเจ็บปวดให้ไอดอลที่ตกเป็นเหยื่อ ทั้งยังสร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคม แต่ก็ดูเหมือนจะไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นชาวเน็ทเกาหลีส่งข้อความสาปส่งไล่ให้ไอดอลต่างชาติกลับประเทศไป โดยเฉพาะไอดอลที่มาจากประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งกันมาก่อน
หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นี่ไม่ต่างจากตลกร้าย เพราะบรรดานายทุนจากค่ายยักษ์ใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการขยายฐานความนิยมของดนตรี K-Pop ด้วยการเสริมกำลังด้วยไอดอลต่างชาติ เพราะไม่เพียงแต่จะเพิ่มความโดดเด่นด้วย story ที่แตกต่าง ศิลปินเหล่านั้นยังติดต่อสื่อสารได้หลายภาษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการโพรโมทผลงานในระดับนานาชาติ และยังเรียกความนิยมจาก FC ประเทศบ้านเกิดและสร้างกระแสจากต่างประเทศได้ดี แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนๆสัมผัสได้ชัดเจนว่า ไอดอลต่างชาติที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน K-Pop ให้โด่งดังกลับถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกับไอดอลเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นจากชาวเน็ท สื่อ หรือแม้แต่เอเจนซี่ของพวกเค้าเองที่แสดงออกคล้ายกับมีลูกรักลูกชัง ทำให้แฟนหลายคนฟันธงว่า นี่คือความลำเอียงที่เกิดจากการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ
หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นี่ไม่ต่างจากตลกร้าย เพราะบรรดานายทุนจากค่ายยักษ์ใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการขยายฐานความนิยมของดนตรี K-Pop ด้วยการเสริมกำลังด้วยไอดอลต่างชาติ เพราะไม่เพียงแต่จะเพิ่มความโดดเด่นด้วย story ที่แตกต่าง ศิลปินเหล่านั้นยังติดต่อสื่อสารได้หลายภาษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการโพรโมทผลงานในระดับนานาชาติ และยังเรียกความนิยมจาก FC ประเทศบ้านเกิดและสร้างกระแสจากต่างประเทศได้ดี แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนๆสัมผัสได้ชัดเจนว่า ไอดอลต่างชาติที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน K-Pop ให้โด่งดังกลับถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกับไอดอลเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นจากชาวเน็ท สื่อ หรือแม้แต่เอเจนซี่ของพวกเค้าเองที่แสดงออกคล้ายกับมีลูกรักลูกชัง ทำให้แฟนหลายคนฟันธงว่า นี่คือความลำเอียงที่เกิดจากการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ
ไอดอลที่มาจากประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับเกาหลี
Kazuha และ Sakura ไอดอลสาวจากญี่ปุ่นเคยตกเป็นเป้าโจมตีจากชาวเน็ทเกาหลี ตามมาด้วยคำขับไล่ให้กลับประเทศ แม้ญี่ปุ่นและเกาหลีจะมีปมขัดแย้งยาวนาน แต่ญี่ปุ่นก็เป็นตลาดสำคัญในการส่งออกดนตรี K-Pop ซึ่งไอดอลญี่ปุ่นต้องแบกรับแรงกดดันจากแนวคิดต่อต้านญี่ปุ่นในสังคมเกาหลีเสมอ อย่าง Kazuha และ Sakura สองศิลปินสาวสัญชาติญี่ปุุ่นและเพื่อร่วมวง LE SSERAFIM เคยถูกกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันกับการเผยแพร่ความคิดเชิดชูญี่ปุ่นแฝงมากับสัญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏใน MV พวกเธอถูกตราหน้าว่าไอดอลทรยศ LE SSERAFIM ยังถูกเพ่งเล็งว่าทำการตลาดเอาอกเอาใจแฟนชาวญี่ปุ่นจนไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดของชาวเกาหลี
ไม่ว่าพวกเธอจะถูกโจมตีด้วยประเด็นใดก็ตาม ก็จะถูกขับไล่ให้กลับประเทศบ้านเกิด โดยเฉพาะ Sakura ที่ถูกโจมตีเรื่องความบกพร่องด้านทักษะการขับร้องเพลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากขึ้นแสดงบนเวที Coachella ถูกถล่มยับเยิน เธอจึงพยายามตกผลึกความคิดจากการตั้งคำถามจากมุมมองของศิลปินว่าการแสดงบนเวทีควรสมบูรณ์แบบทุกด้านและไร้ข้อผิดพลาด หรือควรจะให้ความสำคัญกับการมอบความบันเทิงให้กับผู้ชม ส่วนตัวเธอนั้นต้องการจะทำให้ผู้ชมสนุกสนานไปการการแสดงและสร้างความตราตรึงใจไม่ลืมเลือนช่วงเวลานั้นไป แม้ว่าจะไม่เคยได้ฟังเพลงของพวกเธอมาก่อน ซึ่งเธอก็บรรลุความตั้งใจและคิดว่าสามารถนำเสนอการแสดงที่ดีที่สุดแล้ว
ไม่ว่าพวกเธอจะถูกโจมตีด้วยประเด็นใดก็ตาม ก็จะถูกขับไล่ให้กลับประเทศบ้านเกิด โดยเฉพาะ Sakura ที่ถูกโจมตีเรื่องความบกพร่องด้านทักษะการขับร้องเพลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากขึ้นแสดงบนเวที Coachella ถูกถล่มยับเยิน เธอจึงพยายามตกผลึกความคิดจากการตั้งคำถามจากมุมมองของศิลปินว่าการแสดงบนเวทีควรสมบูรณ์แบบทุกด้านและไร้ข้อผิดพลาด หรือควรจะให้ความสำคัญกับการมอบความบันเทิงให้กับผู้ชม ส่วนตัวเธอนั้นต้องการจะทำให้ผู้ชมสนุกสนานไปการการแสดงและสร้างความตราตรึงใจไม่ลืมเลือนช่วงเวลานั้นไป แม้ว่าจะไม่เคยได้ฟังเพลงของพวกเธอมาก่อน ซึ่งเธอก็บรรลุความตั้งใจและคิดว่าสามารถนำเสนอการแสดงที่ดีที่สุดแล้ว
แต่คำชี้แจงของ Sakura กลับทำให้ชาวเน็ทเกาหลียิ่งไม่พอใจ ความเห็นโจมตีเธอพุ่งรัวนับพันในเว็บบอร์ด มีผู้ฟาดฟันเธอว่า แก้ตัวแบบโลกสวยด้วยการใช้ mindset แบบญี่ปุ่นที่คนเกาหลียี้สุดๆ และตอกย้ำว่า ความสามารถในระดับเธอไม่ควรค่าพอจะเป็นตัวแทนของ K-Pop จึงควรต้องกลับไปหาลู่ทางทำอาชีพไอดอลขายหน้าตาที่ญี่ปุ่นหรือแรงกว่านั้นก็ชี้ทางให้เธอเปลี่ยนสายเป็นกราเวียร์ไอดอล(นางแบบสาย sexy) กระแสโจมตียังลุกลามไปยังไอดอลสัญชาติญี่ปุ่นจากวงอื่นๆ พร้อมกับการตั้งคำถามถึงความจำเป็นที่ต้องปั้นไอดอลญี่ปุ่นมาประดับวงการ K-Pop เพราะหากเรื่องร้องเต้นไม่โดดเด่นเทียบเคียงไอดอลเกาหลี เน้นแต่ visual ตาแตก ก็จะเกิดดราม่า perform ไม่ถึงตามมาตรฐานที่แฟนๆตั้งไว้
แฟนๆมั่นใจ.. Lisa เจอเหยียดมาอ่วม
เหล่า Lilies ต่างต้องพยายามเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับ Lisa เมื่อสังเกตมาตั้งแต่ช่วงเดบิวท์ว่า ค่ายปฏิบัติกับเธออย่างไม่เท่าเทียมกับสมาชิกคนอื่นๆ หลายคนถึงกับกล่าวหาว่า ค่ายไม่ต้องการให้เธอเปล่งประกายเกินหน้าเกินตาไอดอลเชื้อสายเกาหลีเพราะอาจจะทำให้คนเกาหลีรู้สึกไม่พอใจ และแม้ Lisa จะไม่ได้ปริปากพูดถึงความยากลำบากที่เกิดขึ้นจากปัญหาเหยียดเชื้อชาติ (เมื่อเร็วๆนี้ เธอเปิดใจเรื่องการรับมือกับความเห็นเกลียดชัง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเรื่องเหยียดความเป็นคนไทย) แต่เป็นที่รับรู้ของแฟนๆว่า เธอจะต้องได้รับผลกระทบจากพวก haters ที่ตามเหยียดหยามคุกคาม แต่ต้นสังกัดกลับไม่ได้ take action ช่วยแก้ไขสถานการณ์จนแฟนๆต้องช่วยกันติด #YGTreatLisaBetter
เมื่อ Lilies พบกับความผิดหวังเมื่อรับรู้ว่า YG ไม่ได้อนุญาตให้ Lisa เข้าร่วม Paris Fashion Week แม้แบรนด์ดังจะเผยชัดว่า ต้องการจะเชื้อเชิญเธอให้เข้าร่วมอีเวนท์ให้ได้ พวกเค้าจึงร่วมประท้วงต้นสังกัดให้ปฏิบัติต่อเธออย่างให้เกียรติและเท่าเทียมกับสมาชิกคนอื่นที่มีโอกาสเข้าร่วมอีเวนท์ ชาวเน็ทเกาหลีที่ตามติดดราม่าจึงเปิดประเด็นในเว็บบอร์ดดังพร้อมสาดความเห็นเผ็ดร้อนโดยไม่ปิดบังความหมั่นไส้ หลายคนลำเลิก Lisa ว่า เธอโด่งดังได้เพราะมีค่ายเกาหลีเห็นแววดึงตัวมาปลุกปั้น แต่กลับไม่รู้บุญคุณ เชื้อชาติไทยของเธอไม่ได้ทำให้มาไกลได้ถึงขนาดนี้ หากแฟนไม่พอใจกันนักก็จงส่งเธอกลับเมืองไทยไม่ต้องมาทำมาหากินในเกาหลี และแนะนำว่า ทางที่ดี พวกค่ายดังควรจะปั้นวงไอดอลเกาหลีล้วนไม่ต้องพ่วงด้วยปัญหาความเยอะของ FC ต่างชาติ
ความขัดแย้งครั้งนี้อาจจะทำให้นึกสงสัยว่า กลุ่มชาวเน็ทเกาหลีกลุ่มนี้เพียงแค่ปรามาส Lisa เพราะพื้นเพความเป็นไทยของเธอ หรือว่าเชื่อมั่นกันจริงๆว่า ค่ายเพลง K-Pop นั้นสูงส่งจนแฟนไม่ควรทักท้วง?
จนกระทั่งที่ใกล้เวลาที่ BLACKPINK จะหมดสัญญากิจกรรมเดี่ยวกับ YG บรรดาสื่อเกาหลีต่างลงข่าวกระตุ้นให้ชาวเน็ทวิพากษ์วิจารณ์ Lisa ในด้านลบ ชาวเน็ทเกาหลีกลุ่มหนึ่งรุมประนามว่าเธอเป็นพวกไม่รู้จักบุญคุณคน หลังจากกอบโกยความโด่งดังจากค่ายในเกาหลีไปเต็มที่ แต่เล่นแง่ไม่ยอมต่อสัญญา ในขณะที่สมาชิกคนอื่นๆไม่ถูกโจมตีรุนแรงถึงขั้นนี้ ซึ่งหากมีวุฒิภาวะเพียงพอก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายดายว่า นี่คือโลกแห่งธุรกิจ ไม่ใช่การรับอุปการะเลี้ยงดูไอดอลและทุ่มเทปั้นให้โด่งดังโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หากไม่สามารถทำข้อตกลงทางธุรกิจที่ทุกฝ่ายพอใจตรงกันได้ ก็ต้องแยกจาก นี่คือสัจธรรมธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน ศิลปินที่อยู่ระดับท็อปอย่าง Taylor Swift ก็เคยแตกหักกับค่ายเดิมแบบจบไม่สวย แต่เธอไม่ต้องมาพบกับคำตราหน้าว่าเนรคุณแต่อย่างใด ซึ่งแฟนๆต่างเชื่อว่า Lisa ต้องแบกรับความกดดันอย่างหนักหน่วงเพราะเธอเป็นไอดอลต่างชาติ หนำซ้ำต้นสังกัดไม่ปกป้องเธอเท่าที่ควร ไม่ต้องแปลกใจว่า Lilies ต่างยินดีปรีดาเมื่อ Lisa แยกตัวออกมาสร้างผลงานเดี่ยวอย่างมีอิสระได้เต็มที่โดยไม่ต้องถูกเลือกปฏิบัติอีกต่อไป
สื่อเกาหลียังถูก call out เรื่องการเลือกปฏิบัติต่อไอดอลต่างชาติ
เรื่องการเลือกปฏิบัติยังเกิดขึ้นกับไอดอลชื่อดังอย่าง Giselle แห่ง aespa ไม่เพียงแต่เรื่องคอสตูมและการโพรโมทผลงานที่แฟนๆสังเกตว่า เธอไม่ได้รับการผลักดันให้โดดเด่นเท่าเทียมกับไอดอลเกาหลี แต่ยังเกิดดราม่าเลือกปฏิบัติ หลังจากที่รายการ TV เลือกใช้มุมกล้องที่เจาะไปยังเพื่อนๆในวง แต่ไม่เผยใบหน้าของ Giselle หรือจะเป็นสื่อเจ้าอื่นที่ครอปภาพเธอออกจากกลุ่ม ถึงขนาดเบลอใบหน้าก็ทำมาแล้ว ซึ่งแฟนๆของเธอเชื่อว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการจงใจสกัดดาวรุ่ง เพราะแม้สายเลือดอีกครึ่งหนึ่งของเธอจะเป็นเกาหลีและพูดภาษาเกาหลีได้ดี แต่เพราะมีพ่อเป็นคนญี่ปุ่นและเติบโตในโตเกียว เธอจึงเป็นสาวญี่ปุ่นเต็มตัวในสายตาหลายคน ถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังมีแอนตี้แฟนก็ยังวิจารณ์ถึงความเป็นญี่ปุ่นในตัวเธอ
ส่วน Ningning สมาชิกสาวชาวจีนก็ถูกแอนตี้แฟนเหยียดตั้งแต่ที่มีข่าวลือว่า เธอคือเด็กฝึกตัวเก็งที่จะได้รับเลือกให้ร่วมวงที่ SM หมายมั่นปั้นให้โด่งดัง ชาวเน็ทเกาหลีบางคนแสดงอคติอย่างแจ่มแจ้งว่า ไอดอลจีนไม่คู่ควรจะรับตำแหน่ง main vocalist เพราะหากเธอเลือกกลับไปสร้างชื่อเสียงที่จีน ก็เป็นเรื่องยากที่วงจะไปต่อ และยังมีกลุ่มที่เกรี้ยวกราดใส่ SM ว่า ค่ายนี้มักจะเลือกปั้นไอดอลจีนเพื่อหวังกระตุ้นยอดขายจากแผ่นดินใหญ่ เมินเฉยปมความขัดแย้งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติตึงเครียด ซึ่งไม่ต่างจากการข้ามหน้าข้ามตาชาวเกาหลีที่ควรโดดเด่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม K-Pop
ก่อนเดบิวท์ยังโดนจับผิดหนัก เมื่อโด่งดังขึ้นมา Ningning ก็ยิ่งเจอเรื่องเหยียดเชื้อชาติหนักขึ้น แม้แต่ตอนที่ทักทายแฟนๆผ่าน ฺBubble ด้วยการพิมพ์ข้อความว่า คิดถึงคุณ และ ราตรีสวัสดิ์ ด้วยภาษาบ้านเกิดของเธอ แต่กลับถูกชาวเน็ทเกาหลีเอาไปแขวนในเว็บบอร์ดว่า น่าตลกที่เธอกอบโกยเงินทองในประเทศเกาหลี และแฟนๆที่ติดตาม Bubble ก็มีแต่คนเกาหลีทั้งนั้น แต่ยังเขียนถึงแฟนๆเป็นภาษาจีน และไม่ต้องเดาว่า จะต้องมีประโยคเหยียดสุดคลาสสิคตามมา 'เธอจะน่ากลับไปโพรโมทตัวเองที่จีนไปถาวรซะเลย' ซึ่งคนเกาหลีด้วยกันก็ยังรู้สึกแย่แทน Ningning ที่เพียงแค่สื่อสารด้วยภาษาจีนก็ยังถูกว่าร้ายรุนแรงขนาดนี้
พยายามสร้างจุดเปลี่ยนเรื่องปัญหาคุกคามในสถานที่ทำงาน แต่กลับถูกจิกกัดว่า แคร์แต่เรื่องของตัวเอง ทำเงินได้มากมายแม้จะไม่ได้เป็นคนเกาหลี แต่กลับไม่ยอมใส่ใจกลุ่มคนทำงานที่ลำบากยิ่งกว่า
เพียงไม่นานมานี้ ภาพของ Hanni ไอดอลสาววัย 20 ปีแห่ง New Jeans ที่ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับอุตสาหกรรม K-Pop จากการขึ้นให้การต่อหน้าฝ่ายนิติบัญญัติของเกาหลีใต้ในฐานะพยานที่ประสบปัญหาคุกคามในที่สถานที่ทำงาน นั่นคือ HYBE บริษัทแม่ของค่ายที่เธอสังกัดอยู่ ในขณะที่ผู้คนมากมายได้ชื่นชมถึงความกล้าหาญของ Hanni ที่ได้ก้าวขึ้นมาปกป้องตัวเองและเรียกร้องให้บุริษัทปฏิบัติกับศิลปินคนอื่นๆด้วยการให้เกียรติกัน นับเป็นแบบอย่างให้กับบรรดาไอดอลที่ถูกกดขี่ปิดกั้นไม่ให้มีสิทธิ์มีเสียงให้ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเองและพวกพ้อง แต่ยังมีกลุ่มคนที่ตามจับผิดเธอ รวมถึงประเด็นเรื่องเชื้อชาติ แม้ว่า Hanni จะถูกยกให้เป็นไอดอลต่างชาติที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเกาหลี แต่เพราะเธอเป็นเด็กสาวออสซี่เชื้อสายเวียดนาม จึงไม่รอดพ้นจากการแบ่งแยกทางเชื้อชาติไปได้
C.A.P อดีตไอดอลวง TEEN TOP ที่ผันตัวมาเป็น Youtuber ได้โจมตี Hanni ที่เข้าสภาเพื่อแสดงจุดยืนเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับศิลปินว่า เธอใส่ใจแต่เรื่องตัวเอง ไม่ยอมใช้โอกาสนี้เปิดประเด็นของเพื่อนร่วมวงการ อย่างพวกเด็กฝึกที่ทำงานแทบตายแต่ไม่ได้รับค่าตอบแทน หรือพนักงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เธอเล่าเฉพาะเหตุการณ์เกิดขึ้นกับตัวเองเท่านั้น
แต่ไฮไลท์ของวีดีโอนี้คือ คำวิจารณ์โจมตีว่า ไอดอลสาวใสทำเงินได้หลายพันล้านวอนทั้งๆที่ไม่ได้เป็นคนเกาหลีซะด้วยซ้ำ แต่เล่าเรื่องราวของตัวเองไปแล้ว 90% การกระทำเช่นนี้ทำให้ภาพพจน์ของเธอและวงดูย่ำแย่
Youtuber รายนี้อาจจะกำลังบอกสังคมว่า ไอดอลดังเชื้อสายต่างชาติไม่สมควรจะออกมาเปิดโปงปัญหาการคุกคามในที่ทำงาน เนื่องจากเธอสร้างรายได้สูงลิบลิ่ว ปัญหาของเธอจึงเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ถูกกดขี่ในที่ทำงาน แต่มีความจำเป็นใดที่เขาจะต้องยกเรื่องเชื้อชาติของเธอมาเกี่ยวข้อง? หรือเขากำลังสื่อว่า ชาวต่างชาติที่ประสบความสำเร็จจนร่ำรวยจากการทำงานในเกาหลีไม่มีสิทธิ์จะพูดถึงปัญหาการ bully ในที่ทำงานที่ตัวเองประสบพบเจอ? ในเมื่อเธอได้รัuการเรียกตัวมายังรัฐสภาเพื่อแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง กลายเป็นว่า เธอเป็นฝ่ายผิดและดูแย่ที่ไม่ได้เป็นตัวแทนเรียกร้องให้กับพนักงานหรือไอดอลที่ต้องพบกับความยากลำบากยิ่งกว่า
จากสถานการณ์ของไอดอลแทบทั้งวงการที่ต่างถูกควบคุมไม่ให้ออกความเห็นทาง political เพราะว่าสังคมคาดหวังให้ไอดอลวางตัวให้ห่างจากความขัดแย้งและมีภาพลักษณ์ขาวสะอาดปราศจากดราม่า หากไอดอลลุุกขึ้นมาต่อกรกับต้นสังกัดด้วยการฟ้องร้องหรือเปิดโปงระบบภายในที่ร่ำลือกันว่าเต็มไปด้วยการใช้อำนาจบาตรใหญ่คุกคามผู้ใต้บังคับบัญชา ก็เคยมีกรณีตัวอย่างไอดอลที่ต้องเจอผลกระทบจากอิทธิพลมืดจนเข้าสู่ขาลงมาแล้ว มันย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับศิลปินดังที่จะออกมาเป็นปากเป็นเสียงแทนคนอื่น เมื่อ Hanni ที่เพิ่งจะอายุ 20 ปี รวบรวมความกล้าออกมาเปิดเผยประสบการณ์ แม้รู้ดีว่าอาจจะเจอกระแสตีกลับเพราะคนในสังคมอาจจะไม่เชื่อถือเธอ นัับว่าเป็นก้าวใหม่เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนให้ศิลปินได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น เธอกลับถูกโจมตีว่าเป็นไอดอลต่างชาติร่ำรวยที่เอาแต่สนใจปัญหาของตัวเอง ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้ตกทุกข์ได้ยากร่วมวงการ ส่วนไอดอลเกาหลีที่ไม่เคยพูดถึงปัญหานี้กลับไม่ถูกเล่นงาน
ไม่เพียงเท่านั้น รายการ Saturday Night Live Korea ที่พัฒนามาจากต้นแบบจากอเมริกาก็สร้างเสียงวิจารณ์ร้อนแรง เพราะถึงจะเป็นรายการที่โด่งดังจากมุกตลกล้อเลียนสถานการณ์ต่างๆในสังคม แต่เมื่อจับเอาประเด็น Hanni ให้การที่รัฐสภามาเรียกเสียงฮา ทั้งเรื่องการออกเสียงภาษาเกาหลี ท่าทางสะเทือนใจจนหลั่งน้ำตา ก็ทำชาวเน็ทหลายคนฟันธงว่า นี่คือภาพสะท้อนของการเหยียดเชื้อชาติในเกาหลีใต้อย่างชัดเจน แม้จะมีผู้แย้งว่า การล้อเลียนสำเนียงชาวต่างชาติมาจากความเอ็นดูไม่ใช่การดูหมิ่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกสบายใจที่ถูกมองว่าสำเนียงการพูดของพวกเค้าเป็นเรื่องชวนหัวเราะ กลุ่มชาวเกาหลีเองก็ยังรู้สึกแย่ที่ถูกล้อเลียนเรื่องการพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องและติดสำเนียง แม้ว่าการเลียนแบบสำเนียงชาวต่างชาติจะปรากฎในวงการ comedy มาโดยตลอด แต่เมื่อสำเนียงของ Hanni ระหว่างให้การในรัฐสภาถูกนำมาดัดแปลงเป็นบทตลกเสียดสีก็สื่อได้ว่า พวกเค้าไม่ได้มองปัญหาของเธอเป็นเรื่องจริงจัง ทั้งๆที่คนที่ทำงานในเกาหลีจำนวนมากมายต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการคุกคามในสถานที่ทำงาน